วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2559

๒๑ ธมฺมาทาสธมฺมปริยายา ธรรมเทศนาว่าด้วย ธัมมาทาส แว่น (กระจกเงา) คือธรรม

ธมฺมาทาสธมฺมปริยายา
๑๕๘. ‘‘อนจฺฉริยํ โข ปเนตํ, อานนฺท, ยํ มนุสฺสภูโต กาลงฺกเรยฺยฯ ตสฺมิํเยว [ตสฺมิํ ตสฺมิํ เจ (สี. ปี.), ตสฺมิํ ตสฺมิํ โข (สฺยา.)] กาลงฺกเต ตถาคตํ อุปสงฺกมิตฺวา เอตมตฺถํ ปุจฺฉิสฺสถ, วิเหสา เหสา, อานนฺท, ตถาคตสฺสฯ ตสฺมาติหานนฺท, ธมฺมาทาสํ นาม ธมฺมปริยายํ เทเสสฺสามิ, เยน สมนฺนาคโต อริยสาวโก อากงฺขมาโน อตฺตนาว อตฺตานํ พฺยากเรยฺย – ‘ขีณนิรโยมฺหิ ขีณติรจฺฉานโยนิ ขีณเปตฺติวิสโย ขีณาปายทุคฺคติวินิปาโต, โสตาปนฺโนหมสฺมิ อวินิปาตธมฺโม นิยโต สมฺโพธิปรายโณติฯ

๑๕๙. ‘‘กตโม จ โส, อานนฺท, ธมฺมาทาโส ธมฺมปริยาโย, เยน สมนฺนาคโต อริยสาวโก อากงฺขมาโน อตฺตนาว อตฺตานํ พฺยากเรยฺย – ‘ขีณนิรโยมฺหิ ขีณติรจฺฉานโยนิ ขีณเปตฺติวิสโย ขีณาปายทุคฺคติวินิปาโต, โสตาปนฺโนหมสฺมิ อวินิปาตธมฺโม นิยโต สมฺโพธิปรายโณติ?
‘‘อิธานนฺท, อริยสาวโก พุทฺเธ อเวจฺจปฺปสาเทน สมนฺนาคโต โหติ – ‘อิติปิ โส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควาติฯ
‘‘ธมฺเม อเวจฺจปฺปสาเทน สมนฺนาคโต โหติ – ‘สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม สนฺทิฏฺฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปเนยฺยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหีติฯ
‘‘สงฺเฆ อเวจฺจปฺปสาเทน สมนฺนาคโต โหติ – ‘สุปฺปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ, อุชุปฺปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ, ญายปฺปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ, สามีจิปฺปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฺฐ ปุริสปุคฺคลา, เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ อาหุเนยฺโย ปาหุเนยฺโย ทกฺขิเณยฺโย อญฺชลิกรณีโย อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺสาติฯ
‘‘อริยกนฺเตหิ สีเลหิ สมนฺนาคโต โหติ อขณฺเฑหิ อจฺฉิทฺเทหิ อสพเลหิ อกมฺมาเสหิ ภุชิสฺเสหิ วิญฺญูปสตฺเถหิ อปรามฏฺเฐหิ สมาธิสํวตฺตนิเกหิฯ
‘‘อยํ โข โส, อานนฺท, ธมฺมาทาโส ธมฺมปริยาโย, เยน สมนฺนาคโต อริยสาวโก อากงฺขมาโน อตฺตนาว อตฺตานํ พฺยากเรยฺย – ‘ขีณนิรโยมฺหิ ขีณติรจฺฉานโยนิ ขีณเปตฺติวิสโย ขีณาปายทุคฺคติวินิปาโต, โสตาปนฺโนหมสฺมิ อวินิปาตธมฺโม นิยโต สมฺโพธิปรายโณ’’’ติฯ
ตตฺรปิ สุทํ ภควา นาติเก วิหรนฺโต คิญฺชกาวสเถ เอตเทว พหุลํ ภิกฺขูนํ ธมฺมิํ กถํ กโรติ
‘‘อิติ สีลํ อิติ สมาธิ อิติ ปญฺญาฯ สีลปริภาวิโต สมาธิ มหปฺผโล โหติ มหานิสํโสฯ สมาธิปริภาวิตา ปญฺญา มหปฺผลา โหติ มหานิสํสาฯ ปญฺญาปริภาวิตํ จิตฺตํ สมฺมเทว อาสเวหิ วิมุจฺจติ, เสยฺยถิทํ กามาสวา, ภวาสวา, อวิชฺชาสวา’’ติฯ
๑๖๐. อถ โข ภควา นาติเก ยถาภิรนฺตํ วิหริตฺวา อายสฺมนฺตํ อานนฺทํ อามนฺเตสิ – ‘‘อายามานนฺท, เยน เวสาลี เตนุปสงฺกมิสฺสามา’’ติฯ ‘‘เอวํ, ภนฺเต’’ติ โข อายสฺมา อานนฺโท ภควโต ปจฺจสฺโสสิฯ อถ โข ภควา มหตา ภิกฺขุสงฺเฆน สทฺธิํ เยน เวสาลี ตทวสริฯ ตตฺร สุทํ ภควา เวสาลิยํ วิหรติ อมฺพปาลิวเนฯ ตตฺร โข ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ
‘‘สโต, ภิกฺขเว, ภิกฺขุ วิหเรยฺย สมฺปชาโน, อยํ โว อมฺหากํ อนุสาสนีฯ กถญฺจ, ภิกฺขเว, ภิกฺขุ สโต โหติ? อิธ, ภิกฺขเว, ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํฯ เวทนาสุ เวทนานุปสฺสีเป.จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสีเป.ธมฺเมสุ ธมฺม านุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํฯ เอวํ โข, ภิกฺขเว, ภิกฺขุ สโต โหติฯ
‘‘กถญฺจ, ภิกฺขเว, ภิกฺขุ สมฺปชาโน โหติ? อิธ, ภิกฺขเว, ภิกฺขุ อภิกฺกนฺเต ปฏิกฺกนฺเต สมฺปชานการี โหติ, อาโลกิเต วิโลกิเต สมฺปชานการี โหติ, สมิญฺชิเต ปสาริเต สมฺปชานการี โหติ, สงฺฆาฏิปตฺตจีวรธารเณ สมฺปชานการี โหติ, อสิเต ปีเต ขายิเต สายิเต สมฺปชานการี โหติ, อุจฺจารปสฺสาวกมฺเม สมฺปชานการี โหติ, คเต ฐิเต นิสินฺเน สุตฺเต ชาคริเต ภาสิเต ตุณฺหีภาเว สมฺปชานการี โหติฯ เอวํ โข, ภิกฺขเว, ภิกฺขุ สมฺปชาโน โหติฯ สโต, ภิกฺขเว, ภิกฺขุ วิหเรยฺย สมฺปชาโน, อยํ โว อมฺหากํ อนุสาสนี’’ติฯ

*********

ธมฺมาทาสธมฺมปริยายา
ธรรมเทศนาว่าด้วย ธัมมาทาส แว่น (กระจกเงา) คือธรรม
๑๕๘. ภควา พระผู้พระภาค อาห ตรัสแล้วว่า อานนฺท อานนท์ ปุคฺคโล บุคคล มนุสฺสภูโต ผู้เป็นมนุษย์ กาลงฺกเรยฺย พึงสิ้นชีวิต ยํ ใด[๑], ปน ก็ เอตํ กาลงฺกตํ การสิ้นชีวิต ตสฺส ของบุคคลผู้เป็นมนุษย์นั้น อนจฺฉริยํ โข ไม่น่าอัศจรรย์, ตสฺมิํ เอว กาลงฺกเต เมื่อเขานั้น สิ้นชีวิตแล้ว ตุมฺเห พวกเธอ อุปสงฺกมิตฺวา เข้าไปหา ตถาคตํ ซึ่งพระตถาคต ปุจฺฉิสฺสถ จักถาม เอตมตฺถํ ซึ่งความข้อนั้น (ยํ) อันใด, อานนฺท อานนท์ หิ ก็ เอสา ปุจฺฉา การถามถึงความข้อนั้น วิเหสา เป็นความลำบากกาย ตถาคตสฺส ของพระตถาคต โหติ ย่อมเป็น[๒]. อานนฺท อานนท์ ตสฺมาติห[๓] เพราะเหตุนั้น อริยสาวโก พระอริยสาวก สมนฺนาคโต ผู้ประกอบแล้ว เยน (ธมฺมาเสน) ด้วยธัมมาทาสะ ใด[๔] อากงฺขมาโน เมื่อปรารถนา พฺยากเรยฺย พึงพยากรณ์[๕] อตฺตานํ ซึ่งตน อตฺตนา ว ด้วยตนเอง ได้แน่นอนว่า อหํ เรา อมฺหิ เป็น ขีณนิรโย ผู้มีนรกสิ้นแล้ว ขีณติรจฺฉานโยนิ มีกำเนิดแห่งดิรัจฉานสิ้นแล้ว ขีณเปตฺติวิสโย มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว ขีณาปายทุคฺคติวินิปาโต มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว[๖], อหํ เรา อสฺมิ เป็น โสตาปนฺโน พระโสดาบัน อวินิปาตธมฺโม มีการไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา นิยโต เป็นผู้เที่ยงแท้ สมฺโพธิปรายโณ มีสัมโพธิธรรมคือมรรคเบื้องบน ๓ เป็นที่ไปถึงในกาลเบื้องหน้าอย่างแน่แท้[๗] อิติ ดังนี้,  อหํ เรา เทเสสฺสามิ จักแสดง ธมฺมปริยายํ[๘] ซึ่งธรรมเทศนา ตํ ธมฺมาทาสํ นาม ชื่อว่า ธัมมาทาสะ นั้น อิติ ดังนี้.
๑๕๙. อานนฺท อานนท์ อริยสาวโก พระอริยสาวก สมนฺนาคโต ผู้ประกอบแล้ว เยน (ธมฺมาเสน) ด้วยธัมมาทาสะ ใด อากงฺขมาโน เมื่อปรารถนา พฺยากเรยฺย พึงพยากรณ์ อตฺตานํ ซึ่งตน อตฺตนา ว ด้วยตนเอง ได้แน่นอนว่า อหํ เรา อมฺหิ เป็น ขีณนิรโย ผู้มีนรกสิ้นแล้ว ขีณติรจฺฉานโยนิ มีกำเนิดแห่งดิรัจฉานสิ้นแล้ว ขีณเปตฺติวิสโย มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว ขีณาปายทุคฺคติวินิปาโต มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว, อหํ เรา อสฺมิ เป็น โสตาปนฺโน พระโสดาบัน อวินิปาตธมฺโม มีการไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา นิยโต เป็นผู้เที่ยงแท้ สมฺโพธิปรายโณ มีสัมโพธิธรรมคือมรรคเบื้องบน ๓ เป็นที่ไปถึงในกาลเบื้องหน้าอย่างแน่แท้ อิติ ดังนี้, โส ธมฺมปริยาโย ธรรมเทศนา ธมฺมาทาโส อันแสดงถึงธัมมาทาสะนั้น กตโม จ เหล่าไหน?
อานนฺท อานนท์ อริยสาวโก พระอริยสาวก อิธ ในพระศาสนานี้ สมนฺนาคโต โหติ เป็นผู้ประกอบแล้ว อเวจฺจปฺปสาเทน ด้วยความเลื่อมใสอันเกิดขึ้นเพราะได้รู้จริง[๙]  พุทฺเธ ในพระพุทธเจ้า อิติ ว่า [๑๐]โส ภควา พระผู้มีพระภาคนั้น[๑๑] อรหํ ทรงพระนามว่า อรหัง (พระอรหันต์)  อิติปิ อิมินา จ อิมินา จ การเณน  ด้วยเหตุนี้ๆ [๑๒]. สมฺมาสมฺพุทฺโธ ทรงพระนามว่า สัมมาสัมพุทธ (พระสัมมาสัมพุทธเจ้า) อิติปิ = อิมินา จ อิมินา จ การเณน ด้วยเหตุนี้ๆ[๑๓]วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ทรงพระนามว่า วิชชาจรณสัมปันนะ (ผู้บริบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ) อิติปิ =อิมินา จ อิมินา จ การเณน  ด้วยเหตุนี้ๆ[๑๔]. สุคโต ทรงพระนามว่า สุคต (ผู้เสด็จไปดีแล้วและเป็นผู้ตรัสดีแล้ว)อิติปิ = อิมินา จ  อิมินา จ การเณน ด้วยเหตุนี้ๆ[๑๕]. โลกวิทู ทรงพระนามว่า โลกวิทู (ผู้รู้แจ้งโลก)  อิติปิ = อิมินา จ อิมินา จ การเณน ด้วยเหตุนี้ๆ[๑๖]. อนุตฺ-ตโร ทรงพระนามว่า อนุตตระ (ผู้ประเสริฐไม่มีใครเสมอเหมือน)[๑๗] อิติปิ = อิมินา จ อิมินา จ การเณน  ด้วยเหตุนี้ๆ[๑๘]. ปุริสทมฺมสารถิ ทรงพระนามว่า  ปุริสทัมมสารถิ (นายสารถีผู้ฝึกบุรุษ) อิติปิ =   อิมินา จ อิมินา จ การเณน  ด้วยเหตุนี้ๆ[๑๙]. สตฺถา ทรงพระนามว่า พระศาสดา (ครูผู้สอน) เทวมนุสฺสานํ ของเทวดาและมนุษย์ อิติปิ = อิมินา จ อิมินา จ การเณน ด้วยเหตุนี้ๆ[๒๐]. พุทฺโธ ทรงพระนามว่า พุทธะ (ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน) อิติปิ = อิมินา จ อิมินา จ การเณน  ด้วยเหตุนี้ๆ[๒๑]. ภควา ทรงพระนามว่า ภควา (พระผู้มีพระภาค) อิติปิ = อิมินา จ อิมินา จ การเณน  ด้วยเหตุนี้ๆ[๒๒]
อานนฺท อานนท์ อริยสาวโก พระอริยสาวก อิธ ในพระศาสนานี้ สมนฺนาคโต โหติ เป็นผู้ประกอบแล้ว อเวจฺจปฺปสาเทน ด้วยความเลื่อมใสอันเกิดขึ้นเพราะได้รู้จริง ธมฺเม ในพระธรรม อิติ ว่า ธมฺโม=ปริยตฺติยา สห นวโลกุตฺตรธมฺโม โลกุตรธรรม ๙ และปริยัติธรรม ภควตา สฺวากฺขาโต ชื่อว่า สวากขาตภควตา พระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว[๒๓]. ธมฺโม = นวโลกุตฺตรธมฺโม โลกุตรธรรม ๙ สนฺทิฏฺฐิโก ชื่อว่า สันทิฏฐิกะ (ควรแก่การเห็นประจักษ์)[๒๔]ธมฺโม=จตุมคฺคธมฺโม มรรคธรรม ๔  อกาลิโก ชื่อว่า อกาลิก (ไม่รอเวลาให้ผล)[๒๕]. ธมฺโม=นวโลกุตฺตรธมฺโม พระโลกุตรธรรม ๙ เอหิปสฺสิโก[๒๖] ชื่อว่า เอหิปัสสิกะ (ควรต่อการร้องเรียกว่า"จงมาดูธรรมนี้")[๒๗]. ธมฺโม=อฏฺฐมคฺคผลธมฺโม มรรคและผลธรรมทั้ง ๘ โอปเนยฺยิโก ชื่อว่า โอปเนยยิกะ (ควรต่อการนำสัตว์ไปสู่นิพพานด้วยการเข้าไปเห็นแจ้งซึ่งพระนิพพานนั้น) [๒๘]. ธมฺโม = นวโลกุตฺตรธมฺโม โลกุตรธรรม ๙ (สพฺเพหิ) วิญฺญูหิ = วิทูหิ สจฺจปฏิวิทฺเธหิ ปจฺจตฺตํ = ปติ อตฺตนิ อตฺตนิ เวทิตพฺโพ ชื่อว่า ปัจจัตตังเวทิตัพโพวิญญูหิ (อันบัณฑิตทั้งหลายที่บรรลุอริยสัจแล้วทุกคน พึงรู้ ในตน.) [๒๙]
อานนฺท อานนท์ อริยสาวโก พระอริยสาวก อิธ ในพระศาสนานี้ สมนฺนาคโต โหติ เป็นผู้ประกอบแล้ว อเวจฺจปฺปสาเทน ด้วยความเลื่อมใสอันเกิดขึ้นเพราะได้รู้จริง สงฺเฆ ในพระสงฆ์ อิติ ว่า
สาวกสงฺโฆ สงฆ์ผู้เป็นสาวก[๓๐] ภควโต ของพระผู้มีพระภาค สุปฺปฏิปนฺโน ชื่อว่า สุปฏิปันนะ (ปฏิบัติดีแล้ว)[๓๑]. สาวกสงฺโฆ สงฆ์ผู้เป็นสาวก ภควโต ของพระผู้มีพระภาค อุชุปฺปฏิปนฺโน ชื่อว่า อุชุปฏิปันนะ (ปฏิบัติตรง)[๓๒]. สาวกสงฺโฆ สงฆ์ผู้เป็นสาวก ภควโต ของพระผู้มีพระภาค ญายปฺปฏิปนฺโน ชื่อว่า ญายปฏิปันนะ (ปฏิบัติเพื่อญายะคือนิพพาน)[๓๓]. สาวกสงฺโฆ สงฆ์ผู้เป็นสาวก ภควโต ของพระผู้มีพระภาค สามีจิปฺปฏิปนฺโน ชื่อว่า สามีจิปฏิปันนะ (ปฏิบัติควรซึ่งสามีจิกรรม)[๓๔] ยทิทํ=ยํ อิทํ=ยานิ อิมานิ=เย อิเม เหล่านี้ใด[๓๕] จตฺตาริ ปุริสยุคานิ เป็นคู่บุรุษ ๔[๓๖]  สนฺติ มีอยู่, เย อิเม อฏฺฐปุริสปุคฺคลา บุรุษบุคคล ๘[๓๗] เหล่านี้ใด (ปจฺเจกํ) เป็นบุคคลหนึ่งๆ สนฺติ มีอยู่,[๓๘] เอส=เอโส จตุยุคปุริโส คู่บุรุษ ๔             อฏฺฐปุริสปุคฺคลา บุรุษบุคคล ๘ นั่น สาวกสงฺโฆ เป็นสาวกสงฆ์ ภควโต ของพระผู้มีพระภาค อาหุเนยฺโย ควรรับอาหุนะ (จตุปัจจัยที่เขานำมาบูชา) ปาหุเนยฺโย ควรรับปาหุนะ (ของที่เขานำมาให้ผู้มาจากที่ไกล[๓๙]) ทกฺขิเณยฺโย ควรรับทักขิณาทาน (ทานที่เขาเชื่อกรรมและผลของกรรมแล้วให้) อญฺชลิกรณีโย ควรที่เทวดาและมนุษย์พึงทำอัญชลีกรรม (การนบไหว้)[๔๐] ปุญฺญกฺเขตฺตํ เป็นที่งอกขึ้นแห่งบุญ โลกสฺส แห่งชาวโลก อนุตฺตรํ อันยอดเยี่ยม[๔๑].
อริยสาวโก พระอริยสาวก อิธ ในพระศาสนานี้ สมนฺนาคโต โหติ เป็นผู้ประกอบแล้ว สีเลหิ ด้วยศีลท. อริยกนฺเตหิ อันพระอริยะชื่นชม อขณฺเฑหิ อันไม่ขาดเป็นท่อน อจฺฉิทฺเทหิ อันไม่ทะลุ อสพเลหิ อันไม่ด่าง อกมฺมาเสหิ อันไม่พร้อย ภุชิสฺเสหิ อันเป็นไท วิญฺญูปสตฺเถหิ อันวิญญูชนสรรเสริญ อปรามฏฺเฐหิ อันไม่ถือเอาผิดด้วยตัณหาและทิฏฐิ สมาธิสํวตฺตนิเกหิ เป็นไปเพื่อสมาธิ.[๔๒]
อานนฺท อานนท์ อริยสาวโก พระอริยสาวก สมนฺนาคโต ผู้ประกอบแล้ว เยน (ธมฺมาเสน) ด้วยธัมมาทาสะ ใด อากงฺขมาโน เมื่อปรารถนา พฺยากเรยฺย พึงพยากรณ์ อตฺตานํ ซึ่งตน อตฺตนา ว ด้วยตนเอง ได้แน่นอนว่า อหํ เรา อมฺหิ เป็น ขีณนิรโย ผู้มีนรกสิ้นแล้ว ขีณติรจฺฉานโยนิ มีกำเนิดแห่งดิรัจฉานสิ้นแล้ว ขีณเปตฺติวิสโย มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว ขีณาปายทุคฺคติวินิปาโต มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว, อหํ เรา อสฺมิ เป็น โสตาปนฺโน พระโสดาบัน อวินิปาตธมฺโม มีการไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา นิยโต เป็นผู้เที่ยงแท้ สมฺโพธิปรายโณ มีสัมโพธิธรรมคือมรรคเบื้องบน ๓ เป็นที่ไปถึงในกาลเบื้องหน้าอย่างแน่แท้ อิติ ดังนี้, อยํ โข ธมฺมปริยาโย ธรรมเทศนานี้  ธมฺมาทาโส คือ ธรรมเทศนาอันแสดงถึงธัมมาทาสะ โส นั้น? อิติ ดังนี้.
สุทํ ได้ยินว่า ภควา พระผู้มีพระภาค วิหรนฺโต เมื่อประทับอยู่  คิญฺชกาวสเถ กุฏีอิฐที่ประทับ นาติเก คาเม  ในหมู่บ้าน ชื่อว่า นาติกะ กโรติ ย่อมทรงกระทำ กถํ ซึ่งพระดำรัส ธมฺมิํ อันประกอบด้วยธรรม เอตํ นี้ เอว นั่นเทียว ภิกฺขูนํ แก่ภิกษุทั้งหลาย พหุลํ = ปุนปฺปุนํ บ่อยๆ อิติ ว่า สีลํ ศีล อิติ เป็นอย่างนี้และมีเท่านี้, สมาธิ สมาธิ อิติ เป็นอย่างนี้และมีเท่านี้, ปญฺญา อิติ   เป็นอย่างนี้และมีเท่านี้. สมาธิ สมาธิ สีลปริภาวิโต อันศีลให้เกิดโดยประการทั้งปวงแล้ว มหปฺผโล เป็นคุณชาตมีผลมาก มหานิสํโส เป็นคุณชาตมีอานิสงส์มาก โหติ ย่อมเป็น. ปญฺญา ปัญญา สมาธิปริภาวิตา อันสมาธิทำให้มีโดยประการทั้งปวงแล้ว มหปฺผลา เป็นคุณชาตมีผลมาก มหานิสํสา เป็นคุณชาตมีอานิสงส์มาก โหติ ย่อมเป็น. จิตฺตํ จิต ปญฺญาปริภาวิตํ อันปัญญาให้เกิดโดยประการทั้งปวงแล้ว วิมุจฺจติ ย่อมหลุดพ้น สมฺมา เอว โดยชอบนั่นเทียว อาสเวหิ จากอาสวะท. เสยฺยถิทํ คือ กามาสวา กามาสวะ ภวาสวา ภวาสวะ อวิชฺชาสวา อวิชชาสวะ.
๑๖๐. อถ โข ลำดับต่อจากนั้น แล ภควา พระผู้มีพระภาค วิหริตฺวา ทรงประทับอยู่ ยถาภิรนฺตํ ตามความพอพระทัย นาติเก ในหมู่บ้านนาติกคามแล้ว อามนฺเตสิ ตรัสแล้ว (เอตํ วจนํ) ซึ่งพระดำรัสนั้น อายสฺมนฺตํ อานนฺทํ กะท่านพระอานนท์ อิติ ว่า อานนฺท ดูก่อนอานนท์ มยํ เรา อายาม จะไป, เวสาลี เมืองเวสาลี อตฺถิ มีอยู่ เยน = ยตฺถทิสาภาเค ในส่วนแห่งทิศใด, มยํ เรา อุปสงฺกมิสฺสาม จะเข้าไป เตน ทิสาภาเคน โดยส่วนแห่งทิศนั้น ดังนี้. อถ โข ครั้งนั้นแล อายสฺมา อานนฺโท ท่านพระอานนท์ ปจฺจสฺโสสิ ทูลรับพระดำรัสแล้ว ภควโต ต่อพระผู้มีพระภาค. อถ โข ครั้งนั้นแล ภควา พระผู้มีพระภาค เวสาลี เมืองเวสาลี อตฺถิ มีอยู่ เยน = ยตฺถ ทิสาภาเค ในส่วนแห่งทิศใด, อวสริ  เสด็จไปแล้ว ตํ ทิสาภาคํ สู่ส่วนแห่งทิศนั้น สทฺธิํ พร้อม ภิกฺขุสงฺเฆน กับภิกษุสงฆ์ มหตา หมู่ใหญ่. สุทํ ได้ยินว่า ภควา พระผู้มีพระภาค วิหรนฺโต ประทับอยู่ อมฺพปาลิวเน ในสวนอัมพปาลิวัน เวสาลิยํ ในเมืองเวสาลี.  ตตฺร อปิ (อมฺพปาลิวเน) ในสวนอัมพปาลิวัน แม้นั้น ภควา พระผู้มีพระภาค อามนฺเตสิ ตรัสแล้ว เอตํ วจนํ ซึ่งพระดำรัสนั้น ภิกฺขู กะภิกษุท. ว่า
ภิกฺขเว ภิกษุท. ภิกฺขุ ภิกษุ วิหเรยฺย พึงอยู่ หุตฺวา โดยเป็น สโต ผู้มีสติ สมฺปชาโน ผู้มีสัมปชัญญะ. อยํ กถา คำพูดนี้ อมฺหากํ ของเรา โหติ เป็น อนุสาสนี คำพร่ำสอน โว เพื่อเธอท..
ภิกฺขเว ภิกษุท.  ภิกฺขุ ภิกษุ วิหเรยฺย พึงอยู่ หุตฺวา โดยเป็น สโต ผู้มีสติ กถํ อย่างไร?. [๔๓]
ภิกฺขเว ภิกษุท. ภิกฺขุ ภิกษุ อิธ = อิมสฺมิํ สาสเน ในพระศาสนานี้ อาตาปี เป็นผู้มีความเพียร สติมา เป็นผู้มีสติ สมฺปชาโน เป็นผู้มีสัมปชัญญะ กายานุปสฺสี เป็นผู้มีปกติตามเห็นว่าเป็นกาย กาเย = อิมสฺมิํ รูปกาเย ในกายนี้ วิเนยฺย = วินยิตฺวา กำจัดแล้ว[๔๔] อภิชฺฌาโทมนสฺสํ ซึ่งอภิชฌาและโทมนัส โลเก ในโลก กล่าวคือ กายนั้น[๔๕] วิหรติ ย่อมอยู่[๔๖].
ภิกฺขเว ภิกษุท. ภิกฺขุ ภิกษุ อิธ = อิมสฺมิํ สาสเน ในพระศาสนานี้ อาตาปี เป็นผู้มีความเพียร สติมา เป็นผู้มีสติ สมฺปชาโน เป็นผู้มีสัมปชัญญะ เวทนานุปสฺสี เป็นผู้มีปกติตามเห็นว่าเป็นเพียงเวทนา (ความเสวยหรือรู้สึกต่ออารมณ์) เวทนาสุ ในเวทนาท. วิเนยฺย = วินยิตฺวา กำจัดแล้ว อภิชฺฌาโทมนสฺสํ ซึ่งอภิชฌาและโทมนัส โลเก ในโลก กล่าวคือ เวทนานั้น วิหรติ ย่อมอยู่.
ภิกฺขเว ภิกษุท. ภิกฺขุ ภิกษุ อิธ = อิมสฺมิํ สาสเน ในพระศาสนานี้ อาตาปี เป็นผู้มีความเพียร สติมา เป็นผู้มีสติ สมฺปชาโน เป็นผู้มีสัมปชัญญะ จิตฺตานุปสฺสี เป็นผู้มีปกติตามเห็นว่าเป็นเพียงจิต  (ความคิดนึกคือรู้อารมณ์) จิตฺเตสุ ในจิตท. วิเนยฺย = วินยิตฺวา กำจัดแล้ว อภิชฺฌาโทมนสฺสํ ซึ่งอภิชฌาและโทมนัส โลเก ในโลก กล่าวคือ จิตนั้น วิหรติ ย่อมอยู่.
ภิกฺขเว ภิกษุท. ภิกฺขุ ภิกษุ อิธ = อิมสฺมิํ สาสเน ในพระศาสนานี้ อาตาปี เป็นผู้มีความเพียร สติมา เป็นผู้มีสติ สมฺปชาโน เป็นผู้มีสัมปชัญญะ ธมฺมานุปสฺสี เป็นผู้มีปกติตามเห็นว่าเป็นเพียงสภาวธรรม ธมฺเมเสุ ในสภาวธรรมท. วิเนยฺย = วินยิตฺวา กำจัดแล้ว อภิชฺฌาโทมนสฺสํ ซึ่งอภิชฌาและโทมนัส โลเก ในโลก กล่าวคือ สภาวธรรมนั้น วิหรติ ย่อมอยู่.
ภิกฺขเว ภิกษุท. ภิกฺขุ ภิกษุ วิหเรยฺย พึงอยู่ หุตฺวา โดยเป็น สโต ผู้มีสติ เอวํ โข ด้วยการตามพิจารณาเห็นว่าเป็นเพียงกายในรูปกายเป็นต้นดังกล่าวมานี้.
ภิกฺขเว ภิกษุท. ภิกฺขุ ภิกษุ วิหเรยฺย พึงอยู่ หุตฺวา โดยเป็น สมฺปชาโน ผู้มีสัมปชัญญะ กถํ อย่างไร?.
ภิกฺขเว ภิกษุท. ภิกฺขุ ภิกษุ อิธ = อิมสฺมิํ สาสเน ในพระศาสนานี้ โหติ เป็น สมฺปชานการี ผู้ถึงพร้อมด้วยสัมปชัญญะ อภิกฺกนฺเต ในการก้าวไปข้างหน้า ปฏิกฺกนฺเต ในการก้าวกลับหลัง.  ภิกฺขุ ภิกษุ โหติ เป็น สมฺปชานการี ผู้ถึงพร้อมด้วยสัมปชัญญะ อาโลกิเต ในการแลดู วิโลกิเต ในการเหลียวดู.  ภิกฺขุ ภิกษุ โหติ เป็น สมฺปชานการี ผู้ถึงพร้อมด้วยสัมปชัญญะ สมิญฺชิเต ในการคู้มือหรือเท้า ปสาริเต ในการเหยียดมือหรือเท้า.  ภิกฺขุ ภิกษุ โหติ ย่อมเป็น สมฺปชานการี ผู้ถึงพร้อมด้วยสัมปชัญญะ สํฆาติปตฺตจีวรธารเณ ในการใช้สอยสังฆาฏิบาตรและจีวร. ภิกฺขุ ภิกษุ โหติ ย่อมเป็น สมฺปชานการี ผู้ถึงพร้อมด้วยสัมปชัญญะ อุจฺจารปสฺสาวกมฺเม ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ. ภิกฺขุ ภิกษุ โหติ ย่อมเป็น สมฺปชานการี ผู้ถึงพร้อมด้วยสัมปชัญญะ คเต ในการเดิน ฐิเต ในการยืน นิสินฺเน ในการนั่ง สุตฺเต ในการนอน ชาคริเต ในการตื่น ภาสิเต ในการพูด ตุณฺหีภาเว ในการนิ่งกล่าวคือการไม่พูดจา.
ภิกฺขเว ภิกษุท. ภิกฺขุ ภิกษุ วิหเรยฺย พึงอยู่ หุตฺวา โดยเป็น สมฺปชาโน ผู้มีสัมปชัญญะ เอวํ โข ด้วยการเจริญสัมปชัญญะดังกล่าวมานี้.
ภิกฺขเว ภิกษุท. ภิกฺขุ ภิกษุ วิหเรยฺย พึงอยู่ หุตฺวา โดยเป็น สโต ผู้มีสติ สมฺปชาโน ผู้มีสัมปชัญญะ. อยํ กถา คำพูดนี้ อมฺหากํ ของเรา โหติ เป็น อนุสาสนี คำพร่ำสอน โว เพื่อเธอท. อิติ ดังนี้.

***********


[๑] ยํ เป็นกิริยาปรามาส. “อนจฺฉริยํ เปตํ” เป็นนิยมประโยค. อนึ่ง กาลงฺกตํ ที่เพิ่มมาเป็นภาวสาธนะ ไม่ใช่กัมมสาธนะ.
[๒] หมายถึง คติ ของพระอริยสาวกผู้สิ้นชีวิตเป็นอย่างไร ดังที่พระอานันทเถระเคยทูลถาม. ความลำบาก ในที่นี้ หมายถึงความลำบากพระวรกายกับการที่จะต้องทรงใช้ญาณจักษุตรวจดูการบรรลุมรรคญาณขั้นใด และจะบรรลุมรรคญาณเบื้องสูงต่อไปอย่างไรของพระอริยสาวกเหล่านั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์อะไรสำหรับเวเนยสัตว์เลย.
[๓] ตสฺมาติห ตัดบทเป็น ตสฺมา + ติ + ห โดย ติ และ ห เป็นนิปาตมัตต์ ไม่มีความหมาย. อีกนัยหนึ่ง ตัดเป็น ตสฺมา + ต + อิห. อิห หมายถึง  สาสเน ในพระศาสนานี้. ส่วน ต เป็นอาคมเพื่อการเชื่อมบทให้มีได้เสียงที่กลมกลืน.
[๔] ธมฺมาทาส ในที่นี้ ได้แก่อริยมรรคญาณเท่านั้น ที่ใช้ส่องสำรวจตนเองของพระอริยสาวก เหมือนกระจกเงาทั่วไปที่ใช้สำรวจรูปร่าง มาจาก ธมฺม + อา + ทิส + ณ ปัจจัย (ธาน.ฎี.๓๑๖ วิ.ว่า อาทิสฺสเต อเนนาติ อาทาสํ) วิเคราะห์ว่า อาทียติ อาโลกียติ อตฺตา เอเตนาติ อาทาสํ, ธมฺมภูตํ อาทาสํ ธมฺมาทาสํ. อาทาสะ คือ สิ่งที่ใช้แสดง คือ สำรวจตนเอง ได้แก่ แว่นส่องหน้า (กระจกเงา).  ธัมมาทาสะ แปลว่า แว่นส่องหน้าคือธรรม. พระฎีกาจารย์อรรถาธิบายความข้อนี้ไว้ว่า คำว่า ธัมมาทาสะ เป็นเชื่อของอริยมรรคญาณ.  พระอริยสาวกท. ครั้นรู้ตนเองตามความเป็นจริงแล้ว  ก็จะพึงพยากรณ์ตนเองได้ตามเป็นจริง ด้วยอริยมรรคนั้น เพราะทำลายความไม่รู้ในอริยสัจธรรม ๔ ได้แล้ว. อนึ่ง พระธรรมเทศนา คือ สุตตันตะที่พระผู้มีพระภาคจะทรงแสดงต่อไปนี้จึงชื่อว่า ธัมมาทาสะ เพราะเป็นธรรมเทศนาที่ประกาศถึงความเป็นธรรมที่ใช้ส่องสำรวจตนเองของพระอริยสาวกเหล่านั้น.
[๕] พยากรณ์ หมายถึง บอกความเป็นพระอริยบุคคลแก่ผู้อื่นได้ตามความเป็นจริง โดยต้องอยู่ในกรอบของการแสดงมิให้ขัดต่อสิกขาบทบัญญัติ คัมภีร์อรรถกถาทีฆนิกายมหาวรรค อธิบายว่า กรณีนี้พระศาสดาทรงอนุญาตให้แสดงในฐานะอันควรจะแสดง โดยไม่มีความผิดตามภูตาโรจนสิกขาบท (วิ.ปาจิตติยกัณฑ์ ๖๓) กล่าวคือ แสดงอุตตริมนุสสธรรมแก่อุปสัมบัน ในสมัยใกล้ปรินิพพาน.
[๖] คำว่า อบาย ทุคติ และวินิบาต นี้เป็นไวพจน์ของ นรก ดิรัจฉานกำเนิดและเปตติวิสัย. เพราะนรกเป็นต้นเหล่านั้น เป็นสถานที่ปราศจากความเจริญ, เป็นที่ไปในเบื้องหน้าของความทุกข์ และเป็นที่ตกไปอย่างไม่มีความสามารถ. อีกนัยหนึ่ง เป็นชื่ออสุรกายกำเนิดที่เป็น ๑ ในอบาย ๔ เพราะ นรก เป็นต้น ถูกกล่าวแล้ว. ความโดยพิสดารเดยกล่าวไว้แล้ว.
[๗] คำว่า โสตาปนฺโน นี้เป็นคำกล่าวโดยเป็นเทสนาสีสะ คือ  เทศนาที่แสดงไว้เป็นประธาน และทรงประสงค์เอาสกทาคามีเป็นต้นไว้ด้วย เพราะพระอริยบุคคลท. สามารถพยากรณ์ตนได้เช่นเดียวกับพระโสดาบันเหมือนกัน.
[๘] ปริยายศัพท์ ในที่นี้อรรถธรรมเทศนา เหมือนคำว่า มูลปริยายสูตร ดังคัมภีร์ฎีกาให้วิเคราะห์ว่า ตปฺปกาสนโต ปน ธมฺมปริยายสฺส สุตฺตสฺส ธมฺมาทาสตา เวทิตพฺพา. ควรทราบความที่ธรรมเทศนา คือ พระสูตร ชื่อว่า ธัมมาทาสะ คือธรรมที่ใช้สำรวจตน เพราะเป็นเครื่องประกาศความเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้วเป็นต้นนั้น.
[๙] อเวจฺจปสาท ในที่นี้แปลตามสัททัตถนัย ดังที่พระฎีกาจารย์ท่านอธิบายว่า อเวจฺจ = ยถาวโต ชานิตฺวา ตนฺนิมิตฺตอุปฺปนฺนปาสาโท. ความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นที่มีพระพุทธคุณเป็นนิมิตเหตุเพราะได้รู้ตามที่เป็นจริง. (ที.ม.ฎี.๑๕๘). อเวจฺจ เป็นบทลง ตฺวา ปัจจัยท้าย อิ ธาตุ ที่มี อว เป็นบทหน้ามีความหมายว่า รู้. แปลง ตฺวา ท้าย อิ ธาตุเป็น จฺจ ด้วยสูตรโมคคัลลานไวยากรณ์ว่า อิโต จฺโจ (โมค.ขาทิ ๑๖๘) ท้าย อิ ธาตุแปลง ตฺวา เป็น จฺจ. ปกติบทที่ลง ตฺวา ปัจจัยไม่นำมาเข้าสมาส แต่มีข้อยกเว้นในกรณีที่ตฺวาปัจจยันตบทนั้นเป็นบทหน้า ดังคัมภีร์สัททนีติสูตรที่ ๖๘๓ แสดงไว้ว่า ตฺวาปจฺจยนฺตาทีหิ จ ปุพฺเพหิ. ในกรณีที่บทหน้าลง ตฺวา ปัจจัยเป็นต้น ให้เข้าสมาสกับบทหลังได้อย่างแน่นอน. เช่น มหาภูตานิ อุปาทาย ปวตฺตํ รูปํ อุปาทายรูปํ รูปที่อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น ชื่อ อุทายรูป. อญฺญมญฺญํ ปฏิจฺจ สหิเต ธมฺเม อุปฺปาเทตีติ ปฏิจฺจสมุปฺปาโท ธรรมใด อาศัยกันและกัน และทให้ สหชาตธรรมทั้งหลายเกิดขึ้น เพราะเหตุนั้น ธรรมนั้น ชื่อว่า ปฏิจจสมุปบาท.
มีอรรถาธิบายว่า ผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสชนิดนี้ ไม่ว่าจะประสบกับเหตุอะไรก็ตามจะไม่หวั่นไหว ไม่เคลื่อนย้าย ประหนึ่งภูเขาล้วนด้วยแท่งศิลา. เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะเกิดขึ้นจากการที่รู้จักพระพุทธคุณทั้งปวงตามความเป็นจริง กล่าวคือ เข้าถึงด้วยการบรรลุอริยมรรค. (เรียบเรียงตามนัยที่พระอรรถกถาจาย์และพระฎีกาจารย์อธิบายไว้)
[๑๐] ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคแก้อรรถบทว่า อิติปิ ว่า อิมินา จ อิมินา จ การเณน โดยให้ความหมายของ อิติ ว่า อิมินา การเณน ด้วยเหตุนี้ และให้ ปิ ศัพท์มีอรรถสัมปิณฑนะ (มีความหมายว่า รวบรวมเนื้อความที่มีอยู่หลายอย่างเข้าหากัน) โดยแก้เป็น อิมินา จ อิมินา จ. ในจูฬฏีกาอธิบายว่า การที่พระพุทธโฆษาจารย์ใขความเป็น วิจฉา กล่าวซ้ำกันสองครั้งว่า "อิมินา จ อิมินา จ การเณน" นี้ เนื่องจากคำว่า อรหํ เป็นต้นอาศัยพระคุณที่อเนกประการ อย่างหนึ่งๆ".  (อธิบายเพิ่มว่า บทว่า อรหํ เป็นคุณประเภทหนึ่งของพระองค์ ดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า "อย่างหนึ่งๆ".  ทั้ง ๙ บทก็เป็นพระคุณของพระองค์ ดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า "อาศัยคุณอเนก". คุณดังกล่าวแต่ละประเภทประกอบอยู่ในตัวพระผู้มีพระภาคทั้งสิ้น จึงสามารถขนานนามพระองค์ว่า อรหํ เป็นต้นโดยอาศัย อรหคุณ เป็นต้นได้ ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงใช้บทวิจฉาแสดงให้เห็นว่า พระผู้มีพระภาคย่อมแผ่ไปคือมีในพระคุณเหล่านั้นทุกบท.)  และการที่ในพระบาฬีประกอบปิศัพท์อันมีอรรถสัมปิณฑนะนั้น ก็เพื่อรวบรวมพระคุณที่มีหลายนัยเหล่านั้นไว้ในบทว่า อิติ เพียงบทเดียว เพื่อแสดงว่า พระผู้มีพระภาคนั่นเทียวทรงมีพระคุณมากเป็นอเนกประการดังกล่าว  และด้วยอิติ ศัพท์ที่มีอรรถว่า เหตุ ท่านแสดงเหตุที่ทำให้ได้พระนามว่า อรหํ เป็นต้น. ดังจะได้กล่าวในเชิงอรรถข้อต่อไป.
[๑๑] บทว่า โส ภควา นี้เป็นคำสาธารณะ หมายถึง เป็นบทที่ระบุถึงตัวพระองค์เอง เรียกว่า นามกิตติ ส่วนอรหํ เป็นต้น เป็นคำที่ระบุถึงพระคุณขององค์เรียกว่า คุณกิตติ ดังนั้น จึงสามารถประกอบความโดยบททั้ง ๙ ได้ดังนี้ว่า "อิติปิ โส ภควา อรหํ, อิติปิ โส ภควา สมฺมาสมฺพุทฺโธ, ฯปฯ อิติปิ โส ภควา ภควา ดังนี้. โดยการประกอบความทั้งสองนัยนี้ พระผู้มีพระภาคจึงทรงพระคุณอันนับไม่ได้.
[๑๒] คำว่า "อิติปิ " มีความหมายว่า ด้วยเหตุนี้ๆ กล่าวคือ เป็นเหตุให้ได้รับพระนามว่า "อรหัง" เป็นต้นตามพระคุณ เช่น อรหํ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงพระนาม อรหัง ด้วยเหตุนี้ๆ. ในบทข้างหน้ามี สมฺมาสมฺพุทฺโธ ก็ประกอบความเช่นนี้. สำหรับเหตุแห่งการระบุพระคุณว่า "อรหํ" ได้แก่  ด้วยฐานะที่เป็นผู้ไกลจากกิเลส ทำลายซี่ล้อ เหมาะแก่การเป็นผู้รับจตุปัจจัย และไม่มีที่ลับในการทำชั่ว เป็นต้น ความพิสดารโปรดดูในคัมภีร์วิสุทธิมรรคและมหาฏีกา.
[๑๓] คือ ด้วยฐานะที่เป็นผู้ตรัสรู้ธรรมทั้งปวงด้วยพระสัพพัญญุตญาณถูกต้องตามสภาวธรรมด้วยพระองค์เอง.
[๑๔] คือ ด้วยฐานะที่ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชา ๓ และวิชชา๘  และถึงพร้อมด้วยจรณะ. วิชชา ๓ ได้แก่ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ และอาสวักขยญาณ, วิชชา ๘ ได้แก่ อภิญญา ๖ วิปัสสนาญาณและมโนมยิทธิ.
จรณะ  ได้แก่ ธรรมเป็นเครื่องช่วยให้ดำเนินไปสู่นิพพาน เปรียบดังเท้าที่ใช้ในการเดินทาง มี ๑๕ ประการ คือ ศีลสังวรอินทรียสังวร โภชเนมัตตัญญุตา, ชาคริยานุโยค, สัทธรรม ๗ (ศรัทธา, หิริ, โอตตัปปะ, พหูสุตตะ, สติ, วิริยะและปัญญา) และรูปาวจรฌาน.
[๑๕] คือ ด้วยฐานะที่ทรงเป็นผู้เสด็จไปสู่พระนิพพาน ด้วยเครื่องไปคืออริยมรรคอันงามและในฐานะที่ทรงเป็นผู้ตรัสดีแล้ว
[๑๖] โลก ในที่นี้ได้แก่ โลกทั้ง ๓ ประเภท คือ โอกาสโลก ขันธโลกและสัตวโลก. พระผู้มีพระภาคทรงรู้แจ้งโลก ๓ เหล่านั้นโดยประการทั้งปวง คือ ทั้งโดยสภาวะ โดยสมุทัย โดยนิโรธ และโดยเหตุแห่งนิโรธ.
[๑๗] นัยนี้ แปล อนุตฺตโร เป็นวิเสสนะของภควา อีกนัยหนึ่ง แปล อนุตฺตโร เป็นวิเสสนะของ ปุริสทมฺมสารถิ แปลดังนี้" อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ ทรงได้พระนามว่า "อนุตตรปุริสทัมมสารถ สารีผู้ฝึกบุรุษผู้ที่ควรฝึกผู้ไม่มีใครเหนือกว่า อิติปิ=อิมินา จ อิมินา จ การเณน  ด้วยเหตุนี้ๆ คือ ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นศาสดาผู้มีความเชี่ยวชาญในการอบรมสั่งสอนเหล่าเวไนยสัตว์ผู้ไม่มีผู้ใดเหนือกว่า. ในปริตตฏีกากล่าวว่า มติแรก มาในคัมภีร์สมันตปสาทิกา ส่วนมติหลังเป็นมติของท่านพระพุทธโฆษาจารย์นั่นแหละ. โดยมติแรก พระพุทธคุณ จะมี ๑๐ บท เพราะแยก อนุตฺตโร เป็นอีกบทหนึ่ง และ ปุริสทัมมสารถิ เป็นอีกบทหนึ่ง. ซึ่งพระพุทธโฆษาจารย์เอง ไม่ค่อยชอบใจมตินี้ จึงเสนออีกแบบหนึ่งว่า อนุตฺตดโรปุริสทัมมสารถิ โดยให้เป็นอลุตตสมาส ดังนั้น จึงเป็น ๙ บท ซึ่งเป็นที่ยอมรับของนักปราชญ์ในปัจจุบันมากกว่า.
[๑๘] คือ ด้วยฐานะที่พระองค์ทรงเป็นผู้ประเสริฐกว่าใครๆ โดยคุณธรรมคือศีล สมาธิและปัญญา
[๑๙] คือ ด้วยฐานะที่พระองค์ทรงเป็นพระศาสดาผู้มีความเชี่ยวชาญในการอบรมสั่งสอนเหล่าเวไนยสัตว์
[๒๐] คือ ด้วยฐานะที่พระองค์ทรงเป็นผู้สั่งสอนเวไนยสัตว์ให้ได้ประโยชน์ทั้ง ๓ คือ ทิฏฐธัมมิกัตถะ ประโยชน์ในโลกนี้, สัมปรายิกัตถะ ประโยชน์ในโลกหน้า, ปรมัตถะ ประโยชน์อย่างสูงสุดคือนิพพาน. พระองค์เป็นอาจารย์เอกของโลกทั้งปวง ดังนั้น คำว่า เทวมนุสฺสานํ จึงเป็นการกล่าวโดยอุกกัฏฐนัย นัยที่ระบุถึงสิ่งสูงสุดแต่หมายเอาสิ่งที่ต่ำกว่าด้วย ดังนั้น จึงหมายถึง เทวดา พรหม มนุษย์ ยักษ์ เดียรัจฉานเป็นต้น. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นอาจารย์ผู้อนุสาสน์ประโยชน์ดังกล่าว. อีกนัยหนึ่ง สัตถา ยังหมายถึง ผู้ประหารอีกด้วย ได้แก่ ประหารภัยซึ่งเกิดขึ้นอาศัยชาติชรามรณะเป็นต้น ให้พินาศไปด้วยการแสดงสัจจธรรม.
[๒๑] ในฐานะที่ทรงเป็นผู้ตรัสรู้เญยธรรมทั้งปวง ฯลฯ บัณฑิตควรคว้ารายละเอียดในคัมภีร์มหานิทเทส. อนึ่ง คำว่า พุทฺโธ และ สมฺมาสมฺพุทฺโธ มีความต่างกันดังนี้. พุทฺโธ เป็นคำแสดงอาสวักขยญาณที่เป็นญาณทำลายกิเลสทั้งสิ้นและมอบพระพุทธคุณทั้งปวง. ส่วน สมฺมาสมฺพุทฺโธ แสดงพระสัพพัญญุตญาณที่เป็นไปในอารมณ์ทั้งปวง.
[๒๒] คือ ในฐานะที่ทรงเป็นผู้มีบุญญาธิการ ๖ ประการ (คือ อิสสริยะ ความเป็นใหญ่, ธมฺม โลกุตรธรรม, ยส ชื่อเสียง, สิริ ความมีสิริงดงามแห่งพระรูป, ปยัตตะ ความเพียรยิ่งใหญ่, กาม ความปรารถนายิ่งใหญ่).  ผู้จำแนกธรรม, ผุ้บำเพ็ญคุณธรรมสุงส่ง ผู้สำรอกตัณหาออกจากภพ ๓ ฯลฯ. อนึ่ง คำว่า ภควา ในบทนี้ ต่างกับภควา ในบทแรก คือ บทแรกเป็นคำระบุถึงพระนามของพระองค์. ส่วนคำหลังนี้เป็นคำระบุถึงพระคุณ.  
[๒๓] ด้วยเหตุที่ปริยัตติธรรมนั้นเป็นธรรมงามในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด, ประกาศพรหมจรรย์ทั้งอรรถและพยัญชนะไว้อย่างสมบูรณ์สิ้นเชิงและบริสุทธิ์, ตรัสไว้ด้วยดี โดยไม่มีความคลาดเคลื่อนแห่งอรรถ. ส่วนโลกุตรธรรม ด้วยเหตุที่ตรัสถึงข้อปฏิบัติอันสมควรแก่พระนิพพานและตรัสถึงพระนิพพานอันควรแก่ข้อปฏิบัติ.
[๒๔] ด้วยเหตุที่โลกุตรธรรมนั้นอันพระอริยบุคคลผู้กระทำความไม่แห่งกิเลสมีราคะเป็นต้นพึงเห็นเอง, เป็นธรรมที่บุคคลผู้บรรลุแล้วจะละทิ้งการถึงโดยการเชื่อผู้อื่นแล้วพึงเห็นเอง, เป็นธรรมที่ชนะกิเลสด้วยสันทิฏฐิ คือ ทิฏฐิที่พระอริยเจ้าสรรเสริญ, เป็นธรรมที่ควรแก่การเห็นกล่าวคือเมื่อเห็นธรรมนี้แล้วย่อมหยุดยั้งภัยในวัฏฏะได้. (มาจาก สํ+ทิฏฐิ+อิก,  สํ มีอรรถ สามํ เอง, ปสตฺถ สรรเสริญ, และธาตวัตถานุวัตตกะ ไม่มีความหมาย. ทิฏฐิ เห็นคือรู้. อิก มีอรรถ ๓ คือ ชย ชนะ, อรห ควร และตัพพภาวัตถะ ไม่มีความหมาย.)
[๒๕] ด้วยเหตุที่มรรค ๔ ประการนี้ ไม่มีกาลที่ให้ผลของตน หมายความว่า ไม่ทำกาลเป็นต้นว่า ๑ วัน ๕ วัน ๗ วัน ให้หมดไปแล้วจึงให้ผล แต่ให้ผลในลำดับแห่งความเป็นไปของตนนั่นเอง, ไม่ใช่กาลิกธรรม คือ  ธรรมที่มีกาลนานไกลในการให้ผลของตน.
[๒๖] เอหิปสฺสิก นี้เป็นบทตัทธิต โดยลง ณิก ปัจจัยในอรรถอรห แปลว่า ควรซึ่งเอหิปัสสวิธิ ท้ายบทว่า เอหิปสฺส. ส่วนบทว่า เอหิปสฺส นี้เป็นสมาสพิเศษ. โดยทั่วไปกิริยาอาขยาตไม่สามารถนำเข้าสมาสได้ เพราะไม่ใช่เป็นบทนามที่มีอรรถเชื่อมกัน แต่มีข้อยกเว้นอยู่บ้าง คือ ในกรณีที่บทหน้าลบอิติศัพท์ แม้บทอาขยาตก็สามารถทำสมาสได้ ซึ่งในที่นี้ท่านนำเอาบทว่า เอหิ และ ปสฺส เข้าสมาสกัน วิเคราะห์ว่า เอหิ ปสฺส อิติ วิธานํ เอหิปสฺสวิธิ การจัดแจงว่า "จงมาดู" โดยลบ อิติ ศัพท์ไป บทนี้เป็นสมาส ต่อมาจึงลง ณิก ปัจจัยแทนอรรถว่า ควรซึ่งวิธี ท้ายบทสมาสว่า เอหิปสฺส เป็น เอหิปสฺสิโก.
ดังในสัททนีติ สุตตมาลา สูตรที่ ๖๘๕ ว่า ลุตฺตีตินาขฺยาเตน ย่อบททั้งหลายกับบทอาขยาตที่ลบอิติเป็นบทหน้าได้".
[๒๗] ด้วยเหตุที่โลกุตรธรรม ๙ ควรต่อวิธีที่ควรทำคือการเรียกให้มาดู เพราะมีอยู่จริงและบริสุทธิ์.
[๒๘] ด้วยเหตุที่โลกุตรธรรม ๙ ควรนำเข้าไปในจิตของตนด้วยการเจริญ(มรรคและผลอันเป็นสังขตะ), และควรนำเข้าไปด้วยอำนาจการทำให้แนบชิดหรือทำให้แจ้ง (นิพพานอันเป็นอสังขตะ) (อุป + นี นำเข้าไป+ ณวุ ธรรมอันเป็นผู้..)
[๒๙] ปจฺจตฺตํ ศัพท์เป็นอัพยยีภาวสมาส ใช้ในอรรถสัตตมีวิภัตติ โดยแปลง สฺมึ เป็น อํ ตามคัมภีร์ปทรูปสิทธิสูตรที่ ๓๓๖ อํวิภตฺตีนมการนฺตา อพฺยยีภาวา. ที่แปลไว้โดยนัยนี้เอา ปติ ศัพท์มีอรรถวิจฉา ระบุให้ครอบคลุมทุกส่วน (ทุกๆ) และอตฺต ศัพท์ มีอรรถอาธาระ (ในตน).  อีกนัยหนึ่ง ปติ มีอรรถว่า เฉพาะ และอตฺต ศัพท์ หมายถึง จิต แปลดังนี้ วิฃฺฃูหิ อันบัณฑิตทั้งหลาย เวทิตพฺโพ พึงรู้ ปจฺจตฺตํ (ปติ+อตฺต=สกจิตฺเต) (เฉพาะ)ในจิตของตน. อีกนัยหนึ่ง ปติ มีอรรถว่า สมฺมุขํ ประจักษ์ แปลดังนี้ (หรือ) วิฃฺฃูหิ อันบัณฑิตทั้งหลาย เวทิตพฺโพ พึงรู้ ปจฺจตฺตํ ปติ=สมฺมุขํ  อตฺตนิ ประจักษ์ในตน. อีกนัยหนึ่ง บทว่า ปจฺจตฺตํ เป็นวิเสสนะของบทว่า ธมฺโม แปลดังนี้ ธมฺโม=นวโลกุตฺตรธมฺโม พระโลกุตรธรรม ๙ วิชฺชมาโน เมื่อปรากฏ อตฺตนิ ในตน เวทิตพฺโพ ก็พึงรู้แจ้ง. โดยนัยนี้ แสดงว่า บทอื่นมีสฺวากฺขาโต เป็นต้น อีก ๕ บทเป็นคุณบท คือ ระบุถึงพระคุณ ไม่ใช่วิเสสนะ.
[๓๐] นัยนี้แปลเป็นกัมมธายสมาส โดย สงฺฆ แปลว่า ผู้ฆ่ากิเลสทั้งหลายได้เป็นอย่างดี วิ.สาวโก จ โส สงโฆ จาติ สาวกสงฺโฆ สงฆ์ผู้เป็นสาวก ชื่อว่า สาวกสงฆ์ หรืออีกนัยหนึ่งแปลเป็นฉัฏฐีตัปปุริสสมาสว่า สาวกานํ สงฺโฆ สาวกสงฺโฆ หมู่แห่งพระสาวก ชื่อว่า สาวกสงฆ์. ในกรณีนี้ สงฺฆ แปลว่า หมู่ เพราะเป็นกลุ่มบุคคลผู้รวมตัวกันด้วยศีลและทิฏฐิ
[๓๑]ในฐานะที่สาวกสงฆ์นั้นเป็นผู้ปฏิบัติด้วยดีซึ่งข้อปฏิบัติอันพระผู้มีพระภาคทรงพร่ำสอนและข้อปฏิบัติอันถูกต้อง คือ อริยมรรคปฏิปทา (ปฏิปทาคืออริยมรรค)
[๓๒] ในฐานะที่สาวกสงฆ์นั้นเป็นผู้ปฏิบัติสัมมาปฏิบัติ คือ มัชฌิมาปฏิปทาอันไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองคืออัตตากิลมถานุโยคและกามสุขัลลิกานุโยค  และปฏิบัติเพื่อเว้นจากโทษมีความคดโกงเป็นต้น.
[๓๓] ฃาย ศัพท์ในที่นี้ได้แก่พระนิพพาน เพราะมีอรรถว่า พระโยคีต้องปฏิบัติให้เข้าถึง และมีอรรถว่า เป็นธรรมที่พระอริยบุคคลย่อมรู้ กระทำให้แจ้งด้วยมรรคญาณ. ด้วยเหตุนี้ พระอริยสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค จึงได้ชื่อว่า ญายปฏิปันนะ เพราะได้ปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึง และเพื่อการรู้นิพพานอันชื่อว่า ญายะนั้น.
[๓๔] สามีจิกรรม ได้แก่ การกระทำอันสมควรคือการต้อนรับที่คนอื่นทำให้เพราะความชื่นชมในคุณธรรม. พระอริยสงฆ์ ชื่อว่า สามีจิปฏิปันนะ เพราะได้ปฏิบัติโดยการที่ควรต่อสามีจิกรรมนั้น.
[๓๕] คำนี้ เป็นวิเสสนสัพพนามของบทว่า จตฺตาริ ปุริสยุคานิ และ อฏฺฅ ปุริสปุคฺคลาโดยแสดงเป็นลิงคะและวจนวิปัลลาสนัย โดยเป็นประโยค ย , มีประโยคว่า เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ ถัดไปเป็นประโยค ต มารับ.  อีกนัยหนึ่ง  ยทิทํ นี้ แปลว่า คือ เป็นนิบาตใช้ในอรรถนิยมัตถะ  คือ กำหนด โดยมีลิงค์และวจนะในตัวไม่จำเป็นต้องตัดบทหรือมองหาลิงค์และวจนะของบทอื่น แต่การที่แยกออกมาเป็น ยานิ อิมานิ ก็แสดงให้เห็นวจนะเท่านั้น.. โดยนัยนี้ ประโยคนี้แปลว่า  สาวกสงฺโฆ .. สุปฏิปนฺโน ปฏิบัติดีแล้ว .. ยทิทํ คือ ปุริสยุคานิ คู่บุรุษ ๔ .. บุรุษบุคคล ๘. หรือเป็นนิบาตในอรรถปุจฉนัตถะ ถาม แปลดังนี้ สาวกสงฺโฆ .. สุปฏิปนฺโน ปฏิบัติดีแล้ว .. ยทิทํ นี้ใคร ? ได้แก่ ปุริสยุคานิ คู่บุรุษ ๔ .. บุรุษบุคคล ๘.
[๓๖] คู่บุรุษ ๔ นี้คือ พระอริยบุคคลผู้ดำรงอยู่ในโสตาปัตติมรรคและพระโสตาปัตติผล นับเป็น ๑ คู่ ดังนี้เป็นต้น.
[๓๗]ปุริสปุคฺคล ทั้งสองศัพท์นี้หมายถึงบุคคลเดียวกันคือพระอริยสงฆ์นั่นเอง. การที่ตรัสเป็นสองบทนี้เนื่องด้วยอัธยาศัยเวไนสัตว์ โดยที่ ปุริส กล่าวถึง บุรุษโดยปกติ ส่วน ปุคฺคล แสดงไว้ตามความเป็นสัตว์เสมอเหมือนกัน. (มหาฏีกา)
[๓๘] อีกนัยหนึ่ง แปลว่า ยานิ อิมานิ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ คู่บุคคล ๔ เหล่านี้ใด สนฺติ มีอยู่, ตานิ คู่บุคคล ๔ เหล่านั้น  อฏฺฅปุริสปุคฺคลา เป็นบุรุษบุคคล ๘.
[๓๙] คำว่า มาจากที่ไกล ได้แก่ พวกญาติมิตรและแขกเหรื่อที่มาเยี่ยมเยือน. ปัจจัยที่เขาจัดไว้สำหรับบุคคลเหล่านี้ เรียกว่า ปาหุนะ. ยกเว้นบุคคลเหล่านี้ แม้พระสงฆ์สาวกพระผู้มีพระภาค ย่อมควรแก่ปัจจัยเหล่านี้เหมือนกัน เพราะพระสงฆ์จัดเป็นผู้ยอดเยี่ยมแห่งบุคคลผู้มาเยี่ยมเยือนเหล่าอื่น.
[๔๐] คัมภีร์วิสุทธิมรรคอธิบายว่า กรรมคือการนบไหว้ที่ชาวโลกทั้งปวงใช้มือทั้งสองนบไว้เหนือเศียรกระทำ.  ปริตฏีกาอธิบายว่า ได้แก่การที่นิ้วทั้งสิบถึงความเชื่อมกันเป็นอันเดียวกัน (ประนมมือ) แล้วให้อรรถาธิบายอีกนัยหนึ่งว่า        เทวมนุสฺสานํ กรปุฏกรณํ โดยนัยนี้แปลว่า ควรแก่การกระพุ่มมือ.
[๔๑] เขตฺตํ เป็นชื่อของพระอริยสงฆ์ หมายถึง เป็นสถานที่เจริญขึ้นแห่งบุญของชาวโลก ซึ่งเปรียบได้กับนาเป็นที่เจริญขึ้นแห่งพืช. นัยนี้เรียกว่า สทิสูปจารนัย นัยที่กล่าวถึงความเหมือนกันบางส่วน. ความจริง สถานที่เพาะปลูกข้าวเป็นต้นว่า ข้าวสาลี ของพระราชาเป็นต้น จึงเรียกว่า นาของพระราชาเป็นต้น ฉันใด พระสงฆ์ก็ฉันนั้น เป็นที่เพาะปลูกบุญของชาวโลกฉันนั้น. เพราะบุญที่เป็นไปเพื่อความเจริญนานัปประการของชาวโลก ย่อมเจริญงอกงามได้ เพราะอาศัยพระสงฆ์ทั้งสิ้น. เพราะฉะนั้น พระสงฆ์จึงชื่อว่า อนุตฺตรํ ปุฃฺฃกฺเขตฺตํ โลกสฺส เพราะหาสถานที่อื่นเสมอเหมือนไม่ได้.
[๔๒] สิกขาบทของภิกษุใดทำลายแล้วในตอนต้น หรือว่าในตอนท้าย, ศีลของภิกษุนั้น ชื่อว่า ขัณฑะ (ขาด) เหมือนผ้าสาฎกที่ขาดไปที่ชายผ้าฉะนั้น. ศีลที่เป็นอื่นจากศีลนั้น ชื่อว่า อักขัณฑะ (ศีลไม่ขาด).
สิกขาบทของภิกษุใดแตกทำลายไปในท่ามกลาง ในบรรดากองอาบัติทั้ง ๗ กอง, ศีลกล่าวคือสิกขาบทของภิกษุนั้นชื่อว่า ฉิททะ (สีลทะลุ) เหมือนอย่างผ้าสาฎกที่ขาดไป. ศีลที่ตรงข้ามกับศีลนั้น ชื่อว่า อัจฉิททะ.
ก็ด้วยศัพท์ว่า อกัมมาส (ศีลพร้อย) เป็นอันท่านกล่าวถึงแม้ความเป็นผู้มีศีลไม่ด่าง เพราะความแตกต่างกันของศีลด่างและศีลพร้อยมีไม่มากนักแต่ความแปลกกันของศีลทั้งสองอย่างนั้นมีเท่านี้.
สิกขาบท ของภิกษุใด ขาดไป ๒-๓ ข้อ ตามลำดับ, ศีลของภิกษุนั้น ชื่อว่า ด่าง เหมือนอย่างแม่โคมีสีตัวดำหรือแดงเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีสีแตกต่างกัน เกิดขึ้นที่หลังหรือที่ท้อง ฉะนั้น.
สิกขาบทของภิกษุใดแตกทำลายไปในระหว่าง ๆ, ศีลของภิกษุนั้น ชื่อว่า พร้อย เหมือนอย่างแม่โคที่วิจิตรไปด้วยจุดสี ที่ต่างกันในระหว่าง ๆ ฉะนั้น. ส่วนศีลใด หาได้มีประการอย่างนี้ไม่, ศีลนั้น ท่านเรียกว่า ไม่ด่าง ไม่พร้อย”.
            ด้วยบทว่า อนินทิตํ  ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน ดังนี้เป็นต้น เป็นอันสงเคราะห์เอาความเป็นศีลที่กระทำความความเป็นไท, ผู้รู้สรรเสริญ, ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิถือมั่นและทำสมาธิให้เป็นไป.
บรรดาศีลเหล่านั้น ศีลที่ไม่ตัณหาถือมั่นอย่างนี้ว่า ด้วยศีลนี้ เราจักเป็นเทพเจ้า หรือเทวดาตนใดตนหนึ่ง ชื่อว่า ภุชิสสะ เพราะปลดเปลื้องออกจากความเป็นทาสของตัณหา
ศีลที่ชื่อว่า ผู้รู้สรรเสริญ เพราะผู้รู้ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นซึ่งเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยคุณดังกล่าวแล้วทรงสรรเสริญ
ศีลที่ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิถือมั่น อันเป็นฐิติภาคิยศีล (สีลที่มีส่วนแห่งความตั้งอยู่) ชื่อว่า อปรามัฏฐศีล. ส่วนวิเสสภาคิยศีล (สีลที่มีส่วนแห่งคุณวิเศษ) ซึ่งสามารถเป็นปัจจัยแก่คุณวิเศษมีฌานเป็นต้น ชื่อว่า ศีลที่ทำสมาธิให้เป็นไป.
[๔๓] พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคปรารภการเห็นนางอัมพปาลีคณิกา จึงเตือนให้ภิกษุมีสติและสัมปชัญญะเกิดขึ้นเนืองๆ. ส่วนคัมภีรฎีกาอธิบายอีกว่า นวกภิกษุในหมู่ภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูปนั้นเกิดท้อแท้ คลายความเพียร จึงกระตุ้นอุตสาหะโดยย้ำว่า สติปัฏฐานนี้เป็นโอวาทของพระองค์.
[๔๔] วิเนยฺย (วิ + นี ธาตุ + ตฺวา ปัจจัย) แปลว่า กำจัด ละ ประหาน.  พระอรรถกถาจารย์ เพิ่มข้อความว่า ตทงฺควินเยน วา วิกฺขมฺภนวินเยน  วา ดังนั้น ในที่นี้จึงหมายเอาการละ ๒ ประเภท คือ ตทังควินยะ หรือ ตทังคปหาน (การละกิเลสนั้นๆ ด้วยกุศลจิตนั้นๆ) และ วิกขัมภนวินยะ หรือ วิกขัมภนปหาน การละกิเลสด้วยการข่มไว้ ด้วยสมาธิภาวนา เท่านั้น ยังมิได้หมายเอาถึงขั้นสมุจเฉทปหานเพราะเป็นช่วงที่กำลังแสดงอุบายของการปฏิบัติเพื่อการบรรลุ.
[๔๕] โลก ในที่นี้ ได้แก่ อุปาทานักขันธ์ เพราะเป็นสภาพที่เสื่อมสิ้น ทรุดโทรม ได้แก่ กาย ซึ่งหมายเอาทั้งรูปกายและนามกาย. ในที่นี้ ไม่ได้หมายเอารูปกายอย่างเดียว แต่หมายเอาอุปาทานักขันธ์ทั้ง ๕ ซึ่งตามบริบทของพระสูตร ได้แก่ กาย เวทนา จิต และธรรม. ด้วยอธิบายอย่างนี้ เป็นอันพระพุทธองค์ทรงมีพระประสงค์ให้ผู้ปฏิบัติ ละอภิชฌาและโทมนัสออกจากรูปกายเป็นต้นเหล่านี้ จึงตรัสว่า วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ.
[๔๖] คำว่า วิหรติ (อยู่) ได้แก่ อยู่ด้วยอิริยาบถ ๔ คือ ประคองอิริยาบถ ๔ ให้เป็นไป หมายความว่า การเจริญสติปัฏฐานนั้น เป็นการเจริญโดยมุ่งเน้นการใช้สติพิจารณาอารมณ์ผ่านอริยาบถทั้ง ๔.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น