อริยสจฺจกถา
๑๕๕. อถ โข ภควา อายสฺมนฺตํ อานนฺทํ อามนฺเตสิ – ‘‘อายามานนฺท,
เยน โกฏิคาโม เตนุปสงฺกมิสฺสามา’’ติฯ
‘‘เอวํ, ภนฺเต’’ติ โข
อายสฺมา อานนฺโท ภควโต ปจฺจสฺโสสิฯ อถ โข ภควา มหตา ภิกฺขุสงฺเฆน สทฺธิํ เยน
โกฏิคาโม ตทวสริฯ ตตฺร สุทํ ภควา โกฏิคาเม วิหรติฯ ตตฺร โข
ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ –
จตุนฺนํ, ภิกฺขเว, อริยสจฺจานํ อนนุโพธา อปฺปฏิเวธา เอวมิทํ
ทีฆมทฺธานํ สนฺธาวิตํ สํสริตํ มมญฺเจว ตุมฺหากญฺจฯกตเมสํ จตุนฺนํ? ทุกฺขสฺส, ภิกฺขเว, อริยสจฺจสฺส
อนนุโพธา อปฺปฏิเวธา เอวมิทํ ทีฆมทฺธานํ สนฺธาวิตํ สํสริตํ มมญฺเจว ตุมฺหากญฺจฯ
ทุกฺขสมุทยสฺส, ภิกฺขเว, อริยสจฺจสฺส อนนุโพธา
อปฺปฏิเวธา เอวมิทํ ทีฆมทฺธานํ สนฺธาวิตํ สํสริตํ มมญฺเจว ตุมฺหากญฺจฯ ทุกฺขนิโรธสฺส,
ภิกฺขเว, อริยสจฺจสฺส อนนุโพธา อปฺปฏิเวธา
เอวมิทํ ทีฆมทฺธานํ สนฺธาวิตํ สํสริตํ มมญฺเจว ตุมฺหากญฺจฯ ทุกฺขนิโรธคามินิยา
ปฏิปทาย, ภิกฺขเว, อริยสจฺจสฺส
อนนุโพธา อปฺปฏิเวธา เอวมิทํ ทีฆมทฺธานํ สนฺธาวิตํ สํสริตํ มมญฺเจว ตุมฺหากญฺจฯ
ตยิทํ, ภิกฺขเว, ทุกฺขํ อริยสจฺจํ
อนุพุทฺธํ ปฏิวิทฺธํ, ทุกฺขสมุทยํ [ทุกฺขสมุทโย
(สฺยา.)] อริยสจฺจํ อนุพุทฺธํ ปฏิวิทฺธํ, ทุกฺขนิโรธํ
[ทุกฺขนิโรโธ (สฺยา.)] อริยสจฺจํ อนุพุทฺธํ ปฏิวิทฺธํ, ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทา อริยสจฺจํ อนุพุทฺธํ ปฏิวิทฺธํ, อุจฺฉินฺนา ภวตณฺหา, ขีณา ภวเนตฺติ, นตฺถิทานิ ปุนพฺภโว’’ติฯ อิทมโวจ ภควาฯ อิทํ วตฺวาน
สุคโต อถาปรํ เอตทโวจ สตฺถา –
‘‘จตุนฺนํ อริยสจฺจานํ, ยถาภูตํ อทสฺสนา;
สํสิตํ
ทีฆมทฺธานํ,
ตาสุ
ตาสฺเวว ชาติสุฯ
ตานิ
เอตานิ ทิฏฺฐานิ,
ภวเนตฺติ
สมูหตา;
อุจฺฉินฺนํ
มูลํ ทุกฺขสฺส,
นตฺถิ ทานิ
ปุนพฺภโว’’ติฯ
ตตฺรปิ สุทํ ภควา โกฏิคาเม
วิหรนฺโต เอตเทว พหุลํ ภิกฺขูนํ ธมฺมิํ กถํ กโรติ – ‘‘อิติ สีลํ,
อิติ สมาธิ, อิติ ปญฺญาฯ สีลปริภาวิโต สมาธิ
มหปฺผโล โหติ มหานิสํโสฯ สมาธิปริภาวิตา ปญฺญา มหปฺผลา โหติ มหานิสํสาฯ
ปญฺญาปริภาวิตํ จิตฺตํ สมฺมเทว อาสเวหิ วิมุจฺจติ, เสยฺยถิทํ
กามาสวา, ภวาสวา,
อวิชฺชาสวา’’ติฯ
***********
จตุราริยสัจจกถา
๑๕๕. อถ โข ครั้งนั้น ภควา
พระผู้มีพระภาค อามนฺเตสิ ตรัสเรียกแล้ว[๑]
อายสฺมนฺตํ อานนฺทํ ซึ่งท่านพระอานนท์ วจเนน ด้วยพระดำรัสว่า อานนฺท
อานนท์ โกฏิคาโม บ้านโกฏิคาม[๒]
อตฺถิ มีอยู่ เยน =
ยตฺถ
ทิสาภาเค ในส่วนแห่งทิศใด, มยํ พวกเรา อุปสงฺกมิสฺสาม
จักเข้าไป เตน =
ตตฺถ ในส่วนแห่งทิศนั้น อิติ ดังนี้. อายสฺมา
อานนฺโท โข ท่านพระอานนท์ ปจฺจสฺโสสิ ทูลรับแล้ว ภควโต
ต่อพระผู้มีพระภาคว่า ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เอวํ พระเจ้าข้า อิติ
ดังนี้. อถ โข ครั้งนั้น ภควา
พระผู้มีพระภาค สทฺธิํ กับ ภิกฺขุสงฺเฆน หมู่แห่งภิกษุ มหตา
หมู่ใหญ่, โกฏิคาโม บ้านโกฏิคาม อตฺถิ มีอยู่ เยน = ยตฺถ ทิสาภาเค ในส่วนแห่งทิศใด, อวสริ
เสด็จเข้าไปแล้ว ตํ ทิสาภาคํ[๓]
ในส่วนแห่งทิศนั้น. สุทํ กล่าวกันว่า ภควา พระผู้มีพระภาค วิหรติ
ประทับอยู่ ตตฺร ในหมู่บ้านโกฏิคามนั้น. ตตฺร โข ณ หมู่บ้านโกฏิคามนั้นแล
ภควา พระผู้มีพระภาค อามนฺเตสิ ตรัสแล้ว ภิกฺขู กะภิกษุท.
ว่า
ภิกฺขเว ภิกษุท.
อนนุโพธา เพราะไม่รู้ อปฺปฏิเวธา เพราะการไม่แทงตลอด (หรือเพราะไม่กระทำให้ประจักษ์
หรือเพราะการไม่ตรัสรู้ด้วยอริยมรรค) อริยสจฺจานํ ซึ่งอริยสัจจ์ (ความจริงอันสร้างความเป็นพระอริยะเจ้า)
ท.[๔]
จตุนฺนํ สี่ประการ อทฺธานํ หนทางไกล ทีฆํ ยาวนาน อิทํ นี้
มมํ เจว เรา ตุมฺหากํ จ และเธอท. สนฺธาวิตํ โลดแล่นไปแล้ว สํสริตํ
เที่ยวไปแล้ว เอวํ อย่างนี้[๕].
อนนุโพธา เพราะไม่ตรัสรู้ (ด้วยญาณเป็นส่วนเบื้องต้น) อปฺปฏิเวธา
เพราะไม่แทงตลอด (ไม่ตรัสรู้ด้วยมรรคญาณ)[๖]
อริยสจฺจานํ ซึ่งอริยสัจจ์ท. จตุนฺนํ สี่ประการ กตเมสํ
เหล่าใด อทฺธานํ หนทางไกล ทีฆํ ยาวนาน อิทํ นี้ มมํ เจว
เรา ตุมฺหากํ จ และเธอท. สนฺธาวิตํ โลดแล่นไปแล้ว สํสริตํ
เที่ยวไปแล้ว. ภิกฺขเว ภิกษุท. อนนุโพธา เพราะไม่รู้ อปฺปฏิเวธา
เพราะไม่แทงตลอด ทุกฺขสฺส อริยสจฺจสฺส ซึ่งอริยสัจจ์ คือ ทุกข์ อทฺธานํ
หนทางไกล ทีฆํ ยาวนาน อิทํ นี้ มมํ เจว เรา ตุมฺหากํ จ
และเธอท. สนฺธาวิตํ โลดแล่นไปแล้ว สํสริตํ เที่ยวไปแล้ว. ภิกฺขเว
ภิกษุท. อนนุโพธา เพราะไม่รู้ อปฺปฏิเวธา เพราะไม่แทงตลอด ทุกฺขสมุทยสฺส
อริยสจฺจสฺส ซึ่งอริยสัจจ์ คือ เหตุให้เกิดทุกข์ อทฺธานํ หนทางไกล ทีฆํ
ยาวนาน อิทํ นี้ มมํ เจว เรา ตุมฺหากํ จ และเธอท. สนฺธาวิตํ
โลดแล่นไปแล้ว สํสริตํ เที่ยวไปแล้ว. ภิกฺขเว ภิกษุท. อนนุโพธา
เพราะไม่รู้ อปฺปฏิเวธา เพราะไม่แทงตลอด ทุกฺขนิโรธสฺส อริยสจฺจสฺส ซึ่งอริยสัจจ์ คือ
ความดับทุกข์ อทฺธานํ หนทางไกล ทีฆํ ยาวนาน อิทํ นี้ มมํ
เจว เรา ตุมฺหากํ จ และเธอท. สนฺธาวิตํ โลดแล่นไปแล้ว สํสริตํ
เที่ยวไปแล้ว. ภิกฺขเว ภิกษุท. อนนุโพธา
เพราะไม่รู้ อปฺปฏิเวธา เพราะไม่แทงตลอด ทุกฺขนิโรธคามินิยา
ปฏิปทาย อริยสจฺจสฺส ซึ่งอริยสัจจ์
คือ ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ อทฺธานํ หนทางไกล ทีฆํ ยาวนาน อิทํ
นี้ มมํ เจว เรา ตุมฺหากํ จ และเธอท. สนฺธาวิตํ
โลดแล่นไปแล้ว สํสริตํ เที่ยวไปแล้ว. ภิกฺขเว ภิกษุท. ทุกฺขํ
อริยสจฺจํ อริยสัจจ์คือทุกข์ ตํ อิทํ นี้ มยา เรา อนุพุทฺธํ ตรัสรู้แล้ว
ปฏิวิทฺธํ แทงตลอดแล้ว ทุกฺขสมุทยํ อริยสจฺจํ
อริยสัจจ์คือเหตุเป็นแดนเกิดของทุกข์ มยา เรา อนุพุทฺธํ ตรัสรู้แล้ว
ปฏิวิทฺธํ แทงตลอดแล้ว ทุกฺขนิโรธํ อริยสจฺจํ
อริยสัจจ์คือความดับทุกข์ มยา เรา อนุพุทฺธํ ตรัสรู้แล้ว ปฏิวิทฺธํ
แทงตลอดแล้ว ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทา
อริยสจฺจํ อริยสัจจ์คือทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ มยา เรา อนุพุทฺธํ
ตรัสรู้แล้ว ปฏิวิทฺธํ แทงตลอดแล้ว, ภวตณฺหา ตัณหาในภพ มยา
เรา อุจฺฉินฺนา ถอนขึ้นแล้ว, ภวเนตฺติ ตัณหาเป็นเหตุนำไปสู่ภพ ขีณา
สิ้นแล้ว, อิทานิ บัดนี้ ปุนพฺภโว = ปุน อญฺโญ ภโว ภพอื่นอีก[๗]
นตฺถิ ย่อมไม่มี อิติ ดังนี้. ภควา พระผู้มีพระภาค อโวจ
ได้ตรัส อิทํ เวยฺยากรณํ ซึ่งไวยากรณ์นี้แล้ว[๘].
สุคโต พระสุคตเจ้า สตฺถา
ผู้พระศาสดา วตฺวาน ครั้นตรัส อิทํ เวยฺยากรณํ ซึ่งไวยากรณ์นี้แล้ว อโวจ
ได้ตรัส คาถาพนฺธวจนํ ซึ่งคำอันพระองค์ผูกไว้เป็นคาถา อปรํ= อญฺญํ อื่นๆ อถ ต่อไป[๙]
ว่า
‘‘อทสฺสนา เพราะไม่เห็น ยถาภูตํ ตามเป็นจริง อริยสจฺจานํ ซึ่งอริยสัจจ์ท.
จตุนฺนํ สี่ ทีฆํ อทฺธานํ ระยะทางยาวไกล มยา จ ตุมฺเหหิ จ
เราและเธอท. สํสริตํ จึงเที่ยวไป ตาสุ ตาสุ เอว ชาติสุ ในทุกชาติ, ตานิ
เอตานิ อริยสจฺจานิ อริยสัจจ์ท.เหล่านี้ มยา เรา ทิฏฺฐานิ เห็นแล้ว,
ภวเนตฺติ ตัณหาเป็นเหตุนำไปสู่ภพ[๑๐]
มยา ถูกเรา สมูหตา ถอนดีแล้ว, มูลํ รากฐาน ทุกฺขสฺส
แห่งทุกข์ อุจฺฉินฺนํ อันเราตัดขาดแล้ว, ทานิ บัดนี้ ปุนพฺภโว การเกิดอีก
นตฺถิ ย่อมไม่มี” อิติ ดังนี้.
สุทํ
ได้ยินว่า ภควา พระผู้มีพระภาค วิหรนฺโต เมื่อประทับอยู่ โกฏิคาเม ในหมู่บ้านโกฏิคาม ตตฺร ปิ แม้นั้น
กโรติ ย่อมทรงกระทำ กถํ ซึ่งพระดำรัส ธมฺมิํ อันประกอบด้วยธรรม เอตํ นี้ เอว
นั่นเทียว ภิกฺขูนํ แก่ภิกษุท. พหุลํ = ปุนปฺปุนํ บ่อยๆ อิติ ว่า สีลํ ศีล อิติ
เป็นอย่างนี้และมีเท่านี้, สมาธิ สมาธิ อิติ
เป็นอย่างนี้และมีเท่านี้, ปญฺญา อิติ เป็นอย่างนี้และมีเท่านี้. สมาธิ สมาธิ สีลปริภาวิโต
อันศีลให้เกิดโดยประการทั้งปวงแล้ว มหปฺผโล เป็นคุณชาตมีผลมาก มหานิสํโส เป็นคุณชาตมีอานิสงส์มาก
โหติ ย่อมเป็น. ปญฺญา ปัญญา
สมาธิปริภาวิตา อันสมาธิทำให้มีโดยประการทั้งปวงแล้ว มหปฺผลา
เป็นคุณชาตมีผลมาก มหานิสํสา เป็นคุณชาตมีอานิสงส์มาก โหติ
ย่อมเป็น. จิตฺตํ จิต ปญฺญาปริภาวิตํ อันปัญญาให้เกิดโดยประการทั้งปวงแล้ว
วิมุจฺจติ ย่อมหลุดพ้น สมฺมา เอว โดยชอบนั่นเทียว อาสเวหิ
จากอาสวะท. เสยฺยถิทํ คือ กามาสวา กามาสวะ ภวาสวา ภวาสวะ อวิชฺชาสวา
อวิชชาสวะ.
****************
[๑] นัยนี้แปล
อามนฺเตสิ ด้วยอรรถของมนฺตธาตุในอรรถว่า ชานน ให้รู้ แต่ความหมายคือ เรียกท่านพระอานนท์ให้รู้ตัว.
[๒] โกฏิคาม
ได้แก่ บ้านที่สร้างขึ้นบนยอดปราสาทของพระเจ้ามหาปนาทะ (ที.ม.อ. ๑๕๕) คือ เป็นหมู่บ้านที่ตั้งขึ้นในสถานที่ตั้งอยู่บนยอดปราสาทที่ล้มแล้ว.
(ที.ม.ฎี. ๑๕๕)
[๓] ตํ
ทิสาภาคํ เป็นทุติยาวิภัตติลงในอรรถสัตตมีวิภัตติ.
[๔] อริยสัจจ์
ในที่นี้มีความหมายว่าเป็นเหตุแห่งความเป็นพระอริยะ ซึ่งเป็นหนึ่งในบรรดาความหมายต่างๆของอริยสัจจ์
อาทิ สัจจะที่เป็นอริยะ คือ ไม่ผิดไม่คลาดเคลื่อน, ชื่อว่าอริยสัจ เพราะทำให้สำเร็จความเป็นอริยะ,
ชื่อว่าอริยสัจ เพราะเป็นสัจจะของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นอริยะ, ชื่อว่า
สัจจะอันพระอริยะท. แทงตลอด (ดูรายละเอียดในขุททกปาฐอรรถกถา กุมารปัญหาวัณณนา และมังคล้ตถทีปนี
อริยสัจจานทัสสนกถา). ดังพระอรรถกถาจารย์ระบุว่า อริยสจฺจานนฺติ
อริยภาวกรานํ สจฺจานํ สัจจะอันสร้างความเป็นพระอริยะ ชื่อว่า อริยสัจจ์.
ซึ่งในกรณีนี้พระฎีกาจารย์อธิบายว่า สัจจะที่มีความหมายว่า เป็นความแท้
ไม่คลาดเคลื่อน นั่นเองเป็นเหตุคือธรรมที่สร้างความเป็นพระอริยะ.
[๕]
นัยนี้แปลโดยให้ อทฺธาน ศัพท์มีอรรถว่า หนทาง
และเป็นประธานของประโยค. อีกนัยหนึ่ง ให้อทฺธาน
มีอรรถกาลเวลา และเพิ่มปาฐเสสนะว่า สํสารวฏฺฏํ สังสารวัฏฏ์ เป็นประธาน และให้ อทฺธานํ
เป็นบทลงทุติยาวิภัตติในอรรถอัจจันตสังโยค ดังนี้ว่า อิทํ สํสารวฏฺฏํ สังสารวัฏฏ์นี้
มยา จ ตุมฺเหหิ จ เราและเธอท. สนฺธาวิตํ .... ทีฆํ อทฺธานํ
ตลอดกาลยาวนาน. ส่วนบทว่า สํสริตํ และ สนฺธาวิตํ ในที่นี้เป็นบทลงตปัจจัยในกรรมสาธนะ
และ มมํ กับ ตุมฺหากํ เป็นบทลงฉัฏฐีวิภัตติในอรรถกัตตา ความเท่ากับ มยา จ ตุมฺเหหิ
จ. ประโยคนี้เป็นประโยคกรรมวาจก. อีกนัยหนึ่ง สนฺธาวิตํ กับ สํสาริตํ
เป็นบทลงตปัจจัยในภาวสาธนะ ดังนั้น บทว่า มมํ และ ตุมฺหากํ
จึงมีอรรถสามีตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้. โดยนัยนี้ แปลว่า สนฺธาวิตํ =
สนฺธาวนํ การโลดแล่นไป สํสริตํ =
สํสรณํ
การเที่ยวไป มมญฺเจว ตุมฺหากญฺจ ทั้งของเราและของเธอท. อโหสิ ได้มีแล้ว.
ประโยคนี้เป็นกัตตุวาจก. อนึ่้ง สนฺธาวิตํ ได้แก่
แล่นไปจากภพนี้ไปภพโน้นเนื่องด้วยปฏิสนธิ ส่วน สํสริตํ ได้แก่
ท่องเที่ยวไปเนื่องด้วยจุติและอุบัติขึ้นบ่อยๆ.
[๖]
แทงตลอด เป็นคำแปลของปฏิเวธศัพท์ โดยสัททัตถนัย เพราะมาจาก ปติ + วิธ ธาตุ
ในอรรถวิชฺฌน แทง หรือ ผ่า. มีความหมายว่า ปจฺจกฺขกริยา กระทำให้ประจักษ์ (อํ.จตุกฺก. สัพพปฐมสุตตฎีกา). ส่วนคำแปลโดยอธิปเปตัตถนัย
คือ ตรัสรู้ (อภิสมย) ดังพระฎีกาจารย์อธิบายว่า ปฏิเวธ ความเท่ากับ อภิสมย การตรัสรู้ด้วยมรรคญาณ.
อนึ่ง แม้คำว่า อนุโพธ ในคำว่า อนนุโพธา ก็มีอรรถตรัสรู้เช่นกัน
แต่เป็นการตรัสรู้ด้วยญาณในส่วนเบื้องต้นคือวิปัสสนาญาณ. ในกรณีนี้
เพราะปฏิเวธเว้นจากการตรัสรู้อริยสัจจ์ในส่วนเบื้องต้น ก็จะเกิดขึ้นไม่ได้,
ถึงการตรัสรู้อริยสัจจ์ด้วยปุพพภาคญาณบางอย่างก็ย่อมมีความสัมพันธ์กับปฏิเวธญาณ
และการท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏฏ์ ก็มีเหตุมาจากการไม่รู้อริยสัจจ์ด้วยญาณทั้งสอง ดังนั้น
ในพระบาฬีจึงตรัสสองบทว่า อนนุโพธา และ อปฺปฏิเวธา ไว้คู่กัน.
[๗] คัมภีร์นิทานวรรคสังยุตอรรถกถา
(ปุพเพสัมโพธสุตตวัณณนา) อธิบายว่า นตฺถิ ทานิ ปุนพฺภโวติ อิทานิ ปุน อญฺโญ ภโว
นาม นตฺถีติฯ ดังนั้น ปุนพฺภโว = ปุน อญฺโญ ภโว ภพอื่น. โดยนัยนี้ ภว ได้แก่ อุปปัตติภพ. อีกนัยหนึ่ง แปลว่า อิทานิ ปุนพฺภโว =
ปุนพฺภวกรณํ การกระทำซึ่งการเกิดอีก นตฺถิ ย่อมไม่มี. (โดยนัยแห่งคัมภีร์ขันธสังยุตฎีกา
ภารสุตตวัณณนา) ภโว เป็นภาวสาธนะ.
[๘]
ไวยากรณ์
ได้แก่ พระภาษิตที่เป็นร้อยแก้วล้วนๆ ไม่มีคาถาปะปน. บทนี้นิยมใช้เป็นคำที่ อิทํ สัพพนามสื่อถึง
เหตุที่ว่าสอดคล้องกับคำว่า อปรํ คือ พระภาษิตประเภทอื่นจากไวยากรณ์นั้น
ซึ่งได้แก่ พระภาษิตที่พระองค์ผูกขึ้นเป็นคาถา.
[๙] แปลตามสำนวนแปลนิยมที่มาในหนังสือแปลพระบาฬีโดยทั่วไป.
อีกนัยหนึ่ง ตัดแบ่งเป็น ๒ ประโยค ดังนี้. สุคโต อ.พระสุคต วตฺวาน
ครั้นตรัสแล้ว อิทํ เวยฺยากรณํ ซึ่งไวยากรณ์นี้, สตฺถา อ.พระศาสดา อโวจ
ได้ตรัสแล้ว คาถาพนฺธํ ซึ่งคำอันพระองค์ผูกไว้เป็นคาถา เอตํ นี้ อปรํ
อื่นอีก อถ ในภายหลัง ว่า .... อิติ ดังนี้. (มังคลัตถทีปนียกศัพท์
แปล คาถาที่ ๙ น.๑๕๖ และ เนตติวิภาวินี ๑๑๔).
[๑๐]
ภวเนตฺติ
มีความหมายว่า เชือกคือตัณหา ที่สามารถนำสัตว์ไปสู่ภพหน้าจากภพนี้ (ที.ม.อ.๑๕๕). พระฎีกาจารย์อธิบายว่า อภิสังขารย่อมนำสันดานของสัตว์ที่ถูกล่ามไว้ด้วยเชือกคือตัณหาไปสู่ภพอื่น
ด้วยธรรมชาตินี้ เหตุนั้น ธรรมชาตินี้ จึงชื่อว่า ภวเนตติ
(ธรรมชาติเครื่องนำไปสู่ภพอื่น) เหมือนอย่างบุรุษผู้มีเชือกในมือ นำเอานกที่ล่ามไว้ด้วยเชือกยาวไปสู่ถิ่นอื่น.
(ที.ม.ฎี.๑๕๕). อนึ่ง คำว่า ภวเนตฺติ เป็นไวพจน์ของ โลภะ
ดังคัมภีร์ธัมมสังคณีกล่าวถึงคำนี้ไว้ในธรรมที่มีสภาวะเป็นโลภะว่า ตตฺถ กตโม โลโภ? โย ราโค ... ภวเนตฺติ .. – อยํ วุจฺจติ โลโภฯ (อภิ.สํ.๑๒๓๖).
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น