อนาวตฺติธมฺมสมฺโพธิปรายณา
๑๕๖. อถ โข
ภควา โกฏิคาเม ยถาภิรนฺตํ วิหริตฺวา อายสฺมนฺตํ อานนฺทํ อามนฺเตสิ – ‘‘อายามานนฺท, เยน นาติกา [นาทิกา (สฺยา. ปี.)] เตนุปงฺกมิสฺสามา’’ติฯ ‘‘เอวํ,
ภนฺเต’’ติ โข อายสฺมา อานนฺโท ภควโต ปจฺจสฺโสสิฯ อถ โข ภควา มหตา ภิกฺขุสงฺเฆน สทฺธิํ เยน นาติกา
ตทวสริฯ ตตฺรปิ สุทํ ภควา นาติเก วิหรติ คิญฺชกาวสเถฯ อถ โข อายสฺมา อานนฺโท เยน
ภควา เตนุปสงฺกมิ; อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺตํ อภิวาเทตฺวา
เอกมนฺตํ นิสีทิฯ เอกมนฺตํ นิสินฺโน โข อายสฺมา อานนฺโท ภควนฺตํ เอตทโวจ –
๑๕๗. ‘‘สาฬฺโห, อานนฺท, ภิกฺขุ อาสวานํ ขยา อนาสวํ เจโตวิมุตฺติํ
ปญฺญาวิมุตฺติํ ทิฏฺเฐว ธมฺเม สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวา อุปสมฺปชฺช วิหาสิฯ นนฺทา,
อานนฺท, ภิกฺขุนี ปญฺจนฺนํ โอรมฺภาคิยานํ
สํโยชนานํ ปริกฺขยา โอปปาติกา ตตฺถ ปรินิพฺพายินี อนาวตฺติธมฺมา ตสฺมา โลกาฯ
สุทตฺโต, อานนฺท, อุปาสโก ติณฺณํ
สํโยชนานํ ปริกฺขยา ราคโทสโมหานํ ตนุตฺตา สกทาคามี สกิเทว อิมํ โลกํ อาคนฺตฺวา
ทุกฺขสฺสนฺตํ กริสฺสติฯ สุชาตา, อานนฺท, อุปาสิกา ติณฺณํ สํโยชนานํ ปริกฺขยา โสตาปนฺนา อวินิปาตธมฺมา นิยตา
สมฺโพธิปรายณา [ปรายนา (สี. สฺยา. ปี. ก.)]ฯ กุกฺกุโฏ, อานนฺท, อุปาสโก ปญฺจนฺนํ โอรมฺภาคิยานํ สํโยชนานํ
ปริกฺขยา โอปปาติโก ตตฺถ ปรินิพฺพายี อนาวตฺติธมฺโม ตสฺมา โลกาฯ กาฬิมฺโพ, อานนฺท, อุปาสโก…เป.… นิกโฏ, อานนฺท, อุปาสโก…
กฏิสฺสโห, อานนฺท,
อุปาสโก… ตุฏฺโฐ, อานนฺท,
อุปาสโก … สนฺตุฏฺโฐ,
อานนฺท, อุปาสโก… ภทฺโท,
อานนฺท, อุปาสโก… สุภทฺโท,
อานนฺท, อุปาสโก ปญฺจนฺนํ โอรมฺภาคิยานํ
สํโยชนานํ ปริกฺขยา โอปปาติโก ตตฺถ ปรินิพฺพายี อนาวตฺติธมฺโม ตสฺมา โลกาฯ ปโรปญฺญาสํ, อานนฺท, นาติเก อุปาสกา กาลงฺกตา, ปญฺจนฺนํ
โอรมฺภาคิยานํ สํโยชนานํ ปริกฺขยา โอปปาติกา ตตฺถ ปรินิพฺพายิโน อนาวตฺติธมฺมา
ตสฺมา โลกาฯ สาธิกา นวุติ [ฉาธิกา
นวุติ (สฺยา.)], อานนฺท, นาติเก
อุปาสกา กาลงฺกตา ติณฺณํ สํโยชนานํ ปริกฺขยา ราคโทสโมหานํ ตนุตฺตา สกทาคามิโน
สกิเทว อิมํ โลกํ อาคนฺตฺวา ทุกฺขสฺสนฺตํ กริสฺสนฺติฯ สาติเรกานิ [ทสาติเรกานิ (สฺยา.)],
อานนฺท, ปญฺจสตานิ นาติเก อุปาสกา กาลงฺกตา,
ติณฺณํ สํโยชนานํ ปริกฺขยา โสตาปนฺนา อวินิปาตธมฺมา นิยตา
สมฺโพธิปรายณาฯ
******************
๑๕๖. อถ โข ครั้งนั้น ภควา
พระผู้มีพระภาค วิหริตฺวา ประทับอยู่ ยถาภิรนฺตํ ตามความพอพระทัย โกฏิคาเม
ในหมู่บ้านโกฏิคามแล้ว อามนฺเตสิ จึงตรัสเรียก อายสฺมนฺตํ อานนฺทํ
ท่านพระอานนท์ วจเนน ด้วยพระดำรัสว่า อานนฺท อานนท์ นาติกา หมู่บ้านนาติกคามท.[๑]
สนฺติ มีอยู่ เยน = ยตฺถ ทิสาภาเค
ในส่วนแห่งทิศใด, มยํ พวกเรา อุปสงฺกมิสฺสาม จักเข้าไป เตน = ตตฺถ ในส่วนแห่งทิศนั้น อิติ ดังนี้. อายสฺมา
อานนฺโท โข ท่านพระอานนท์ ปจฺจสฺโสสิ
ทูลรับ ภควโต พระผู้มีพระภาค ว่า ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เอวํ
พระเจ้าข้า อิติ ดังนี้. อถ โข
ครั้งนั้น ภควา พระผู้มีพระภาค สทฺธิํ พร้อม ภิกฺขุสงฺเฆน ด้วยหมู่แห่งภิกษุ
มหตา หมู่ใหญ่, นาติกา หมู่บ้านนาติกคามท. สนฺติ มีอยู่ เยน
=
ยตฺถ ทิสาภาเค ในส่วนแห่งทิศใด, อวสริ
เสด็จเข้าไปแล้ว ตํ ทิสาภาคํ ในส่วนแห่งทิศนั้น.
สุทํ กล่าวกันว่า ตตฺรปิ = เทฺว นาติกคาเมสุ ณ
หมู่บ้านนาติกาท้้งสองแห่งนั้น ภควา พระผู้มีพระภาค วิหรติ
ประทับอยู่ คิญฺชกาวสเถ ในเรือนพำนักที่สร้างด้วยอิฐ (ตึก)[๒]
นาติเก ที่หมู่บ้านนาติกคามแห่งหนึ่งในสองแห่งนั้น.
อถ โข ครั้งนั้น
อายสฺมา อานนฺโท ท่านพระอานนท์, ภควา พระผู้มีพระภาค วสติ
ประทับอยู่ เยน =
ยตฺถ ทิสาภาเค ในส่วนแห่งทิศใด อุปสงฺกมิ
เข้าไปเฝ้าแล้ว เตน = ตตฺถ ทิสาภาเค
ในส่วนแห่งทิศนั้นอุปสงฺกมิตฺวา ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว อภิวาเทตฺวา
ถวายบังคมแล้ว ภควนฺตํ ซึ่งพระผู้มีพระภาค นิสีทิ นั่งแล้ว เอกมนฺตํ
อยู่ที่สมควรแห่งหนึ่ง. อายสฺมา อานนฺโท ท่านพระอานนท์ นิสินฺโน โข
ผู้นั่งแล้ว เอกมนฺตํ ที่สมควรแห่งหนึ่งแล้ว อโวจ ได้กราบทูล เอตํ
วจนํ ซึ่งคำนั้น ภควนฺตํ กะพระผู้มีพระภาคว่า
ภนฺเต
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกฺขุ ภิกษุ นาม ชื่อว่า สาฬฺโห สาฬหะ
กาลงฺกโต มรณภาพแล้ว[๓]
นาติเก ในหมู่บ้านนาติกะ, คติ คติ[๔]
ตสฺส ของท่าน กา = ยาทิสี เป็นอย่างไร,
อภิสมฺปราโย ปรโลก[๕]
ตสฺส ของเขา โก = ยาทิโส เป็นอย่างไร.
ภนฺเต
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกฺขุนี ภิกษุนี นนฺทา นาม ชื่อว่า นันทา กาลงฺกตา
มรณภาพแล้ว นาติเก ในหมู่บ้านนาติกะ คติ คติ ตสฺสา ของท่าน กา
= ยาทิสี เป็นอย่างไร, อภิสมฺปราโย ปรโลก
ตสฺส ของเขา โก =
ยาทิโส เป็นอย่างไร.
ภนฺเต
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาสิกา อุบาสิกา สุชาตา นาม ชื่อว่า สุชาดา
กาลงฺกตา สิ้นชีวิตแล้ว นาติเก ในหมู่บ้านนาติกะ คติ คติ ตสฺสา
ของเธอ กา = ยาทิสี เป็นอย่างไร, อภิสมฺปราโย ปรโลก
ตสฺส ของเขา โก =
ยาทิโส เป็นอย่างไร,
ภนฺเต
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาสโก อุบาสก กุกฺกุโฏ ชื่อว่า กุกกุฏะ
(ฉบับสยามรัฐเป็น กุกฺกุโธ นาม ชื่อกุกกุธะ) กาลงฺกตา สิ้นชีวิตแล้ว นาติเก
ในหมู่บ้านนาติกะ คติ คติ ตสฺส ของเขา กา =
ยาทิสี เป็นอย่างไร, อภิสมฺปราโย ปรโลก ตสฺส ของเขา โก =
ยาทิโส เป็นอย่างไร,
ภนฺเต
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาสโก อุบาสก กาพิมฺโพ ชื่อว่า กาพิมพะ
(ฉบับสยามรัฐเป็น การฬิมฺโภ นาม ชื่อการฬิมภะ) กาลงฺกตา สิ้นชีวิตแล้ว นาติเก
ในหมู่บ้านนาติกะ คติ คติ ตสฺส ของเขา กา =
ยาทิสี เป็นอย่างไร, อภิสมฺปราโย ปรโลก ตสฺส ของเขา โก =
ยาทิโส เป็นอย่างไร,
ภนฺเต
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาสโก อุบาสก นิกโฏ ชื่อว่า นิกฏะ กาลงฺกตา
สิ้นชีวิตแล้ว นาติเก ในหมู่บ้านนาติกะ คติ คติ ตสฺส ของเขา กา
= ยาทิสี เป็นอย่างไร, อภิสมฺปราโย ปรโลก
ตสฺส ของเขา โก =
ยาทิโส เป็นอย่างไร,
ภนฺเต
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาสโก อุบาสก กฏิสฺสโห ชื่อว่า กฏิสสหะ
(ฉบับสยามรัฐเป็น กฏิสฺสโภ นาม ชื่อกฏิสสภะ) กาลงฺกตา สิ้นชีวิตแล้ว นาติเก
ในหมู่บ้านนาติกะ คติ คติ ตสฺส ของเขา กา =
ยาทิสี เป็นอย่างไร, อภิสมฺปราโย ปรโลก ตสฺส ของเขา โก =
ยาทิโส เป็นอย่างไร,
ภนฺเต
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาสโก อุบาสก ตุฏฺโฐ ชื่อว่า ตุฏฐะ กาลงฺกตา
สิ้นชีวิตแล้ว นาติเก ในหมู่บ้านนาติกะ คติ คติ ตสฺส ของเขา กา
= ยาทิสี เป็นอย่างไร, อภิสมฺปราโย ปรโลก
ตสฺส ของเขา โก =
ยาทิโส เป็นอย่างไร,
ภนฺเต
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาสโก อุบาสก สนฺตุฏฺโฐ ชื่อว่า สันตุษฐะ กาลงฺกตา
สิ้นชีวิตแล้ว นาติเก ในหมู่บ้านนาติกะ คติ คติ ตสฺส ของเขา กา
= ยาทิสี เป็นอย่างไร, อภิสมฺปราโย ปรโลก
ตสฺส ของเขา โก =
ยาทิโส เป็นอย่างไร,
ภนฺเต
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาสโก อุบาสก ภทฺโท นาม ชื่อว่า ภัททะ
(ฉบับสยามรัฐเป็น ภโฏ นาม ชื่อภฎะ) กาลงฺกตา สิ้นชีวิตแล้ว นาติเก
ในหมู่บ้านนาติกะ คติ คติ ตสฺส ของเขา กา =
ยาทิสี เป็นอย่างไร, อภิสมฺปราโย ปรโลก ตสฺส ของเขา โก =
ยาทิโส เป็นอย่างไร,
ภนฺเต
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาสโก อุบาสก สุภทฺโท นาม ชื่อว่า สุภัททะ
(ฉบับสยามรัฐเป็น สุภโฏ นาม ชื่อสุภฎะ) กาลงฺกตา สิ้นชีวิตแล้ว นาติเก
ในหมู่บ้านนาติกะ คติ คติ ตสฺส ของเขา กา =
ยาทิสี เป็นอย่างไร, อภิสมฺปราโย ปรโลก ตสฺส ของเขา โก =
ยาทิโส เป็นอย่างไร อิติ ดังนี้.
๑๕๗. ภควา พระผู้มีพระภาค อาห
ตรัส (ตอบ) อิติ ว่า
อานนฺท อานนท์
สาฬฺโห ภิกฺขุ ภิกษุสาฬหะ อภิญฺญา =
อภิชานิตฺวา ตรัสรู้แล้ว สจฺฉิกตฺวา กระทำให้แจ้งแล้ว[๖]
อุปสมฺปชฺช เข้าถึงแล้ว[๗]
เจโตวิมุตฺติํ ซึ่งเจโตวิมุตติ[๘]
ปญฺญาวิมุตฺติํ ซึ่งปัญญาวิมุตติ[๙]
อนาสวํ อันปราศจากอาสวกิเลส ขยา เพราะความสิ้นไป อาสวานํ
แห่งอาสวกิเลสท.[๑๐]
สยํ ด้วยตนเอง ทิฏฺเฐ เอว ธมฺเม
ในอัตตภาพที่เห็นนี้นั่นเทียว วิหรติ ย่อมดำรงอยู่.
อานนฺท อานนท์
นนฺทา ภิกฺขุนี ภิกษุนีนันทา โอปปาติกา เป็นผู้ถือกำเนิดเป็นโอปปาติกะ
(พรหม)[๑๑]
ปรินิพฺพายี ผู้ปรินิพพาน[๑๒]
ตตฺถ ในพรหมโลกนั้น อนาวตฺติธมฺมา เป็นผู้ไม่กลับมาเป็นธรรมดา[๑๓]
ตสฺมา โลกา จากพรหมโลกนั้น ปริกฺขยา เพราะความหมดสิ้นไป สํโยชนานํ
แห่งสังโยชน์ท. โอรมฺภาคิยานํ
อันเป็นปัจจัยให้ไปเกิดในภพภูมิอันเป็นส่วนเบื้องต่ำ[๑๔]
ปญฺจนฺนํ ๕ อย่าง.
อานนฺท อานนท์
สุทตฺโต อุปาสโก อุบาสกสุทัตตะ สกทาคามี เป็นพระสกทาคามี[๑๕]
อาคนฺตฺวา กลับมา อิมํ โลกํ สู่โลกนี้[๑๖]
สกิํเทว อีกครั้งเดียวเท่านั้น กริสฺสติ จักกระทำ ทุกฺขสฺส อนฺตํ
ซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ ปริกฺขยา เพราะความสิ้นไป ติณฺณํ สํโยชนานํ
แห่งสังโยชน์ท. ๓ อย่าง ตนุตฺตา เพราะความเบาบางลง[๑๗]
ราคโทสโมหานํ แห่งราคะ โทสะ และโมหะ.
อานนฺท อานนท์
สุชาตา อุปาสิกา อุบาสิกาสุชาดา โสตาปนฺนา เป็นพระโสดาบัน[๑๘]อวินิปาตธมฺมา
มีการไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา[๑๙]
นิยตา เป็นผู้เที่ยงแท้[๒๐]
สมฺโพธิปรายณา จะเป็นผู้มีสัมโพธิธรรมคือมรรคเบื้องบน ๓
เป็นที่ไปถึงในกาลเบื้องหน้าอย่างแน่แท้ ปริกฺขยา เพราะการสิ้นไป ติณฺณํ
สํโยชนานํ แห่งสังโยชน์ท. ๓ อย่าง. [๒๑]
อานนฺท อานนท์
กุกฺกุโฏ อุปาสโก อุบาสกกุกกุฏะ โอปปาติกา
เป็นผู้ถือกำเนิดเป็นโอปปาติกะ (พรหม) ปรินิพฺพายี ผู้ปรินิพพาน ตตฺถ
ในพรหมโลกนั้น อนาวตฺติธมฺมา เป็นผู้ไม่กลับมาเป็นธรรมดา ตสฺมา โลกา จากพรหมโลกนั้น
ปริกฺขยา เพราะความหมดสิ้นไป สํโยชนานํ แห่งสังโยชน์ท. โอรมฺภาคิยานํ
อันเป็นปัจจัยให้ไปเกิดในภพภูมิอันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ปญฺจนฺนํ ๕ อย่าง.
อานนฺท อานนท์
กาฬิมฺโภ อุปาสโก อุบาสกกาฬิมภะ
ฯลฯ
นิกโฏ อุปาสโก
อุบาสกนิกฏะ ฯลฯ
กฏิสฺสโห
อุปาสโก
อุบาสกกฏิสสหะ ฯลฯ
ตุฏฺโฐ อุปาสโก
อุบาสกตุฏฐะ ฯลฯ
สนฺตุฏฺโฐ
อุปาสโก อุบาสกสันตุฏฐะ
ฯลฯ
ภทฺโท อุปาสโก อุบาสกภัททะ
ฯลฯ
อานนฺท อานนท์ สุภทฺโท
อุปาสโก อุบาสกสุภัททะ โอปปาติกา เป็นผู้ถือกำเนิดเป็นโอปปาติกะ (พรหม)
ปรินิพฺพายี ผู้ปรินิพพาน ตตฺถ ในพรหมโลกนั้น อนาวตฺติธมฺมา
เป็นผู้ไม่กลับมาเป็นธรรมดา ตสฺมา โลกา จากพรหมโลกนั้น ปริกฺขยา
เพราะความหมดสิ้นไป สํโยชนานํ แห่งสังโยชน์ท. โอรมฺภาคิยานํ
อันเป็นปัจจัยให้ไปเกิดในภพภูมิอันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ปญฺจนฺนํ ๕ อย่าง.
อานนฺท อานนท์
อุปาสกา อุบาสกท. ปโรปญฺญาสํ เกินกว่า ๕๐ คน กาลงฺกตา สิ้นชีวิตแล้ว
นาติเก ในหมู่บ้านนาติกะ โอปปาติกา เป็นผู้ถือกำเนิดเป็นโอปปาติกะ
(พรหม) ปรินิพฺพายี ผู้ปรินิพพาน ตตฺถ ในพรหมโลกนั้น อนาวตฺติธมฺมา
เป็นผู้ไม่กลับมาเป็นธรรมดา ตสฺมา โลกา จากพรหมโลกนั้น ปริกฺขยา
เพราะความหมดสิ้นไป สํโยชนานํ แห่งสังโยชน์ท. โอรมฺภาคิยานํ
อันเป็นปัจจัยให้ไปเกิดในภพภูมิอันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ปญฺจนฺนํ ๕ อย่าง.
อานนฺท อานนท์
อุปาสกา อุบาสกท. สาธิกา นวุติ ๙๐ กว่าคน (ฉบับสยามรัฐเป็น ฉาธิกา
นวุติ แปลว่า ๙๖ คน) กาลงฺกตา สิ้นชีวิตแล้ว นาติเก
ในหมู่บ้านนาติกะ สกทาคามี เป็นพระสกทาคามี อาคนฺตฺวา กลับมา อิมํ
โลกํ สู่โลกนี้ สกิํเทว อีกครั้งเดียวเท่านั้น กริสฺสติ
จักกระทำ ทุกฺขสฺส อนฺตํ ซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ ปริกฺขยา
เพราะความสิ้นไป ติณฺณํ สํโยชนานํ แห่งสังโยชน์ท. ๓ อย่าง ตนุตฺตา
เพราะความเบาบางลง ราคโทสโมหานํ แห่งราคะโทสะ และโมหะ.
อานนฺท อานนท์
อุปาสกา อุบาสกท. ทสาติเรกานิ ปญฺจสตานิ ๕๐๐ กว่าคน
(ฉบับสยามรัฐเป็น ทสาติเรกานิ ปญฺจสตานิ แปลว่า ๕๑๐ คน) กาลงฺกตา สิ้นชีวิตแล้ว
นาติเก ในหมู่บ้านนาติกคาม โสตาปนฺนา เป็นพระโสดาบัน อวินิปาตธมฺมา
มีการไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา นิยตา เป็นผู้เที่ยงแท้ สมฺโพธิปรายณา
จะเป็นผู้มีสัมโพธิธรรมคือมรรคเบื้องบน ๓ เป็นที่ไปถึงในกาลเบื้องหน้าอย่างแน่แท้ ปริกฺขยา
เพราะการสิ้นไป ติณฺณํ สํโยชนานํ แห่งสังโยชน์ท. ๓ อย่าง.
***************************
[๑]
นาติกา
เป็นพหุวจนะ โดยคัมภีร์อรรถกถาจูฬโคสิงคสูตร อธิบายคำว่า นาติกา คือ
หมู่บ้านสองแห่งบุตรของอาและลุงสองคน ที่ตั้งอยู่อาศัยสระน้ำแห่งหนึ่ง. พระฎีกาจารย์อธิบายที่มาของคำนี้ว่า
หมู่บ้านที่อยู่ของพวกญาติ ชื่อว่า ญาติกะ, และต่อมาก็แผลงเป็น นาติกะ. เล่ากันว่า
หมู่บ้านนั้น เดิมเป็นที่อยู่อาศัยของบรรพบุรุษของสองอาและหลาน โดยเป็นบ้านสาธารณะ
ซึ่งญาติทุกคนของพวกตนมีสิทธิใช้สอยร่วมกัน, เพราะฉะนั้น หมู่บ้านนั้น จึงเรียกชื่อว่า
นาติกะ, ภายหลังทายาททั้งสองฝ่ายแบ่งกันครอบครองฝ่ายละส่วน แต่ก็ยังคงมีชื่อว่า นาติกะ ดังที่เคยเรียกกัน.
[๒]
คิญฺชกาวสถ ได้แก่
ที่ประทับสร้างด้วยอิฐล้วนๆ ในหมู่บ้านนาติกแห่งหนึ่งในบรรดาสองแห่งนั้น. ว่ากันว่า
ดินในหมู่บ้านนั้นไม่ปนกรวด หิน ทรายเป็นต้น เนื้อดินไม่กระด้าง อ่อน ละเอียด, เครื่องใช้ที่ทำจากดินนั้น
แข็งแรงเหมือนทำด้วยหิน. ประชาชนในเมืองนั้นนำดินนั้นมาทำเป็นอิฐเพื่อสร้างปราสาททั้งหลัง
เว้นเครื่องประกอบเรือน ประกอบเครื่องเรือนทั้งสิ้น นอกจากประตู หน้าต่าง
กลอนเป็นต้น. ต่อมาพระผู้มีพระภาค เสด็จจาริก
ในแคว้นวัชชีแล้วได้เสด็จมาที่หมู่บ้านนาติกคามนี้. ประชาชนได้สร้างที่ประทับถวายพระผู้มีพระภาค
โดยตัววิหารสร้างขึ้นอิฐชนิดนั้น ภายนอกฉาบปูนสีขาว ภายในตกแต่งด้วยเครื่องเรือนที่ทำด้วยอิฐเช่นกัน
และสร้างที่พักพร้อมด้วยที่จงกรมเป็นต้นถวายภิกษุสงฆ์.
[๓]
กาลงฺกต
มรณภาพ, สิ้นชีวิต เป็นคำแปลโดยโวหารัตถนัย. มีคำแปลโดยสัททัตถนัยตามนัยของอรรถกถาต่างๆ
ดังนี้
(๑). ผู้ถึงกาละ
(กาล ความตาย + คต ถึง) แปลง ค เป็น ก. วิเคราะห์เป็นทุติยาตัปปุริสสมาส
ชนิดไม่ลบวิภัตติ ว่า
กาเลติ สตฺเต
เขเปตีติ กาโล,
มรณํ. ตํ กโต ปตฺโตติ กาลงฺกโต,
ความตาย
เรียกว่า กาล เพราะเป็นธรรมชาติทำให้สัตว์หมดสิ้นไป. ผู้ถึงกาละคือความตายนั้น
ชื่อว่า กาลงฺกต.
(๒).
ผู้ถูกความตายให้เสื่อมสูญไป (กาล ความตาย + กต สิ้นไป)
วิเคราะห์เป็นตติยาตัปปุริสสมาส
กาเลน วา
มจฺจุนา กโต นฏฺโฐ อทสฺสนํ คโตติ กาลงฺกโต, มโตติ อตฺโถ
อีกนัยหนึ่ง บุคคลผู้ถูกความตายที่เรียกว่า
กาละ ให้สิ้นไป คือ ให้ฉิบหาย ได้แก่ ถึงความไม่ปรากฏ ชื่อว่า กาลงฺกต ความหมายคือ
คนตายแล้ว. (ทั้งสองนัยนี้มาในอุุทานอฏฺฐกถา
๑๐๕)
(๓).
ผู้มีเวลาที่มีชีวิตอันทำแล้ว (กต ทำแล้ว+ กาล ระยะเวลาที่มีชีวิต) ลง นิคคหิตอาคม
วิเคราะห์เป็นพหุุพพีหิสมาสว่า
กาลงฺคตนฺติ
กตกาลํ,
ยตฺตกํ เตน กาลํ ชีวิตพฺพํ, ตํ สพฺพํ กตฺวา,
นิฏฺฐเปตฺวา มตนฺติ อตฺโถ. (ที.อ.๒/๔๗) กตกาลนฺติ ปริยาปิตชีวนกาลํ.
(ที.ฎี.๒/๔๖)
ผู้มีกาลอันทำแล้ว
ชื่อว่า กาลงฺคต. หมายความว่า กาลที่เขาพึงเป็นอยู่มีเพียงใด, กระทำกาลนั้นจนครบแล้ว, หมายถึง ยังกาลนั้นให้ถึงที่สุดแล้วก็ตาย
หมายถึง กาลที่มีชีวิตได้ถึงที่สุดแล้ว.
อนึ่ง กาล ศัพท์
หมายถึง ความตาย ดังอภิธานนัปปทีปิกา คาถาที่ ๔๐๔ กล่าวถึงศัพท์
ที่หมายถึงความตายไว้ ๑๐ บท คือ มรณ, กาลกิริยา, ปลย, มจฺจุ, อจฺจย, นิธน, นาส, กาล, อนฺต, จวน.
อตฺตภาวสฺส
อนฺตํ กโรตีติ วา กาโล (กร ทำ + ณ ปัจจัย). ชื่อว่า กาละ เพราะกระทำซึ่งที่สุดแห่งอัตตภาพ
(ธาน.ฎี). อีกนัยหนึ่ง กลยติ วา เตสํ
เตสํ สตฺตานํ ชีวิตํ เขเปติ สมุจฺเฉทวเสน นาเสตีติ กาโล (กล สิ้นไป + ณ ปัจจัย
ภาวสาธนะ). ชื่อว่า กาละ เพราะยังชีวิตของสัตว์นั้น ๆ ให้หมดไป หรือ
เพราะให้พินาศไป เกี่ยวกับการเข้าไปตัดขาดด้วยดี (สูจิ).
[๔]
คติ
แปลทับศัพท์ว่า คติ ถือเป็นคำแปลโดยโวหารัตถนัย ที่หมายถึง ปรโลก.
อีกนัยหนึ่ง
แปลว่า ที่สิ้นสุด (นิฏฺฐาน) หรือ ผลสำเร็จ (นิปฺผตฺติ). กรณีที่แปลว่า ที่สุด,
จุดจบหรือจุดสุดท้าย หมายถึง ที่สุดของผู้นี้จะเป็นอย่างไร ดังคัมภีร์ฎีกาสีลขันธวรรค
อธิบายว่า คติ หมายถึงการจบลง เช่นพระบาฬีว่า เยหิ สมนฺนาคตสฺส มหาปุริสสฺส เทฺวว
คติโย ภวนฺติ คติ คือ ที่สุดของพระมหาบุรุษที่ประกอบด้วยธรรมเหล่าใด
ย่อมมีสองเท่านั้น.(สี.ฎี.๓๖). กรณีที่แปลว่า ผลสำเร็จ หมายถึง ผลของเขาเป็นเช่นไร
ดังคัมภีร์อรรถกถามัชฌิมปัณณาสก์อธิบายบทว่า กา คติ เป็น กา นิปฺผตฺติ (ม.ม.อ.๗๘).
และคัมภีร์ฎีกาอธิบายว่า คมนํ นิปฺผชฺชนํ คตีติ อาห ‘‘กา คตีติ กา นิปฺผตฺตี’’ติ.
นิปฺผตฺติปริโยสานา หิ วิปากธมฺมปฺปวตฺติฯ (ม.ม.ฎี.๗๘) การถึง ก็คือ ความสำเร็จ.
เพราะว่า ธรรมอันเป็นวิบาก
ย่อมเป็นผลและเป็นจุดจบ.
[๕]
โก
อภิสมฺปราโย ความเท่ากับ อภิสมฺปรายมฺหิ กตฺถ นิพฺพตฺติ การเกิด ย่อมมีในปรโลกใด. ข้อความนี้เป็นการถามถึงผลสำเร็จของเขาในปรโลกนั้น
(ม.ม.อ.-ฏี.๗๘). คติ และอภิสมฺปราย นี้เป็นคำไวพจน์กัน หมายถึง ปรโลก (ที.สี.อ.
๓๖). สำหรับ อภิสมฺปราโย (สํ + ปร ไป เณ จุราทิ + ณย) มีวิเคราะห์เป็นอธิกรณสาธนะว่า
กมฺมวเสน อภิมุโข สมฺปเรติ คจฺฉติ ปวตฺตติ เอตฺถาติ อภิสมฺปราโย
บุคคลย่อมมุ่งหน้าไปในภพนี้ ด้วยอำนาจกรรม (ที่ทำและที่สะสมไว้) ฉะนั้น ภพนี้ ได้แก่
อภิสัมปรายะ คือ ปรโลก. คัมภีร์ฎีกาสีลขันธวรรค อธิบายว่า อภิสัมปรายศัพท์ มีความหมายตามศัพท์ดังกล่าวมานั้น
เพราะนักไวยากรณ์ประสงค์ให้
ปรธาตุเป็นไปในความหมายว่า คติ = ไป. แต่ในที่นี้มีความหมายเป็นอีกนัยหนึ่งตามมติของพระอรรถกถาจารย์
ที่ให้แปลว่า ปรโลก. (สี.ฎี. ๑/๓๖).
[๖]
สจฺฉิกริตฺวา
ความเท่ากับ ปกฺจกฺขํ กตฺวา ทำให้ประจักษ์. สจฺฉิ เป็นนิบาตมีความหมายว่า ปจฺจกฺข
กล่าวคือ ทำสิ่งที่รับรู้ให้เป็นอารมณ์ตามสภาวะ (เป็นธรรมที่มีจริง)
โดยพ้นจากการฟังตามมาและตรึกตรองเป็นต้น.(สี.ฎี.๓๗๓)
[๗]
อุปสมฺปชฺช ความเท่ากับ
ปตฺวา = ปฏิลภิตฺวา บรรลุ. หมายความว่า เจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ
ไม่อาจเข้าถึงได้โดยบินไปเหมือนอย่างนกหรือคลานไปเหมือนอย่างสัตว์เลื้อยคลาน.
สำหรับผู้จะเข้าถึงธรรมนี้ จะต้องทำให้เกิดขึ้นด้วยปฏิปทาในส่วนเบื้องต้นเท่านั้น.
(เรียบเรียงโดยนัย ที.สี.อ. ๓๗๓)
[๘]
เจโตวิมุตฺติ (เจต =
จิต คือ สมาธิ + วิมุตฺติ ความหลุดพ้นจากปฏิปักขธรรม) แปลโดยสัททัตถนัยได้หลายนัย ดังต่อไปนี้
๑)
สมาธิคือความหลุดพ้นแห่งจิต
เจโตวิมุตฺตินฺติ
จิตฺตวิสุทฺธิํ,
สพฺพกิเลสพนฺธนวิมุตฺตสฺส อรหตฺตผลจิตฺตสฺเสตํ อธิวจนํฯ
(ที.สี.อ.๓๗๓)
เจโตวิมุตติ
คือ ความหมดจดแห่งจิต ได้แก่ อรหัตผลจิตที่พ้นจากเครื่องผูกคือกิเลสทั้งปวง.
เจโตวิมุตฺติยาติ
กิเลเสหิ เจตโส วิมุตฺติยาฯ (ขุ.อุ.อ. ๓๑ เมฆิยสุตตวัณณนา)
เจโตวิมุตติ
คือ ความหลุดพ้นจากกิเลสท. แห่งจิต
ราคาทีหิ
เจตโส วิมุตฺติภูโต สมาธิ เจโตวิมุตฺติ.
สมาธิ
ชื่อว่า เจโตวิมุตติ เพราะเป็นความหลุดพ้นแห่งจิตจากกิเลสมีราคะเป็นต้น
(วิภังคอนุฎีกา ๘๓๑)
๒)
จิตคือสมาธิที่หลุดพ้น
เจโต จ
ตํ วิมุตฺติ จาติ เจโตวิมุตฺติฯ (เนตติอรรถกถา ๖ เทสนาหารวรรณนา)
จิตด้วย
จิตนั้น เป็นความหลุดพ้นด้วย เหตุนั้น ชื่อว่า เจโตวิมุตติ.
นอกจากนี้ คัมภีร์เนตติอรรถกถานั้นยังให้ความหมายอีก
๓ นัย ดังนี้
๓) ความหลุดพ้นในผลจิต
เจตสิ วา ผลวิญฺญาเณ
วุตฺตปฺปการาว วิมุตฺตีติ เจโตวิมุตฺติ,
ความหลุดพ้นดังกล่าวมานั้น
ในจิตคือผลวิญญาณ
๔) สมาธิที่มีความหลุดพ้นจากปฏิปักขธรรมของจิต
เจตโส
วา ผลวิญฺญาณสฺส ปฏิปกฺขโต วิมุตฺติ วิโมกฺโข เอตสฺมินฺติ เจโตวิมุตฺติ, สมาธิเยวฯ
ความหลุดพ้นจากปฏิปักขธรรมของจิตคือผลวิญญาณ
มีอยู่ ในธรรมนี้ เหตุนั้น ธรรมนั้น ชื่อว่า เจโตวิมุตติ ได้แก่ สมาธิเท่านั้น.
๕)
สมาธิที่เป็นความหลุดพ้นจากปฏิปักขธรรม.
ปฏิปฺปสฺสทฺธิวเสน
ปฏิปกฺขโต วิมุจฺจตีติ วิมุตฺติ, เตน วา วิมุตฺโต, ตโต วิมุจฺจนนฺติ วา วิมุตฺติ, สมาธิเยวฯ
วิมุตติ
คือ ธรรมที่หลุดพ้นจากปฏิปักขธรรมเนื่องด้วยการสงบระงับ, อีกอย่างหนึ่ง วิมุตติ
คือ ธรรมที่หลุดพ้น หรือ เป็นความหลุดพ้นจากปฏิปักขธรรม. ได้แก่ สมาธินั่นเอง.
คำว่า เจโต
ในที่นี้ มิได้หมายถึงจิตที่เป็นสภาพรู้อารมณ์เท่านั้น แต่หมายถึงสมาธิมีในจิตนั้น
เช่น พระบาฬีว่า จิตฺตํ ปญฺญญฺจ ภาวยํ (สํ.
ส.๑.๒๓) เจริญจิตและปัญญา. เกี่ยวกับเรื่องนี้ คัมภีร์เนตติอรรถกถาอธิบายว่า
เปรียบเหมือนคำว่า
สัญญา และจิต เป็นคำประธานของเทศนา ในโลกิยกถา (ถ้อยคำเกี่ยวกับชาวโลกดังคำว่า นานตฺตกายา
นานตฺตสญฺญิโน ผู้ที่มีรูปร่างต่างกัน และมีปฏิสนธิวิญญาณต่างกัน
(ที.ปา.๑๑/๓๓๒),
กึจิตฺโต ตฺวํ ภิกฺขุ. ดูกรภิกษุ
เธอมีจิตอย่างไร (วิ.มหาวิ.๑.๑๓๕.๗๘) ฉันใด ในโลกุตรกถา (ถ้อยคำเกี่ยวกับโลกุตตระ)
ปัญญาและสมาธิก็เป็นประธาน ฉันนั้น ดังคำว่า ปญฺจญาณิโก สมฺมาสมาธิ
(อภิ.วิ.๓๕.๘๐๔.๔๐๗) สัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยญาณ ๕ และสมถวิปสฺสนํ ยุคนทฺธํ ภาเวติ
(องฺ.จตุกฺก.๒๑.๑๗๐.๑๗๙,) ย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กัน.
อนึ่ง เจโตวิมุตติคือการหลุดพ้นด้วยอำนาจสมาธิ
มีทั้งโลกียะและโลกุตระ โดยสามารถแบ่งระดับได้ดังนี้ คือ หลุดพ้นจากกิเลสโดยตทังคะ
และวิกขัมภนะ ในเบื้องต้น และด้วยสมุจเฉทะ และปฏิปัสสัทธิ ในภายหลัง.
แต่ในที่นี้หมายเอาอรหัตตผลจิตที่เกิดจากการเจริญวิปัสสนาโดยมีสมถะนำหน้า กล่าวคือ
สมาธิที่สัมปยุตกับอรหัตตผล.
[๙]
ปญฺญาวิมุตฺติ
แปลโดยสัททัตถนัยว่า ความหลุดพ้นแห่งปัญญา หรือปัญญาที่หลุดพ้น ในที่นี้ได้แก่
อรหัตตผลปัญญา ซึ่งเป็นธรรมที่หลุดพ้นจากเครื่องผูกคือกิเลสทั้งปวงแล้ว
และมีการประกอบเนื้อความโดยสัททัตถนัยเหมือนเจโตวิมุตติ.
[๑๐]
อภิญฺญา พระอรรถกถาจารย์ให้คำแปลไว้สองนัยคือ
นัยที่แปลไว้นี้ โดยให้ อภิญฺญา เป็นบทกิริยาลง ตฺวา ปัจจัย แปลง ตฺวา เป็น ย
และลบ ย ความเท่ากับ อภิชานิตฺวา รู้ยิ่ง กล่าวคือ ตรัสรู้.
อีกนัยหนึ่งให้ อภิญฺญา มาจาก อภิญฺญาย ด้วยปัญญาอันยอดยิ่ง เป็นกิตกบทกรณสาธนะ
และลงนาตติยาวิภัตติ แปลง นา เป็น ย และลบ ย. กรณีนี้ อภิญญา ความเท่ากับ ญาณ และสัมพันธ์เป็นกรณะใน
สจฺฉิกริตฺวา ความว่า อภิญฺญาย อภิวิสิฏฺเฐน ญาเณน สจฺฉิกริตฺวา. สจฺฉิกริตฺวา
ทำให้ประจักษ์แล้ว เจโตวิมุตฺติํ ซึ่งเจโต ฯลฯ อภิญฺญาย =
อภิวิสิฏฺเฐน ญาเณน ด้วยปัญญาพิเศษยิ่ง. (ที.สี.อ./ฎี.๓๗๓)
[๑๑]
โอปปาติกา
(โอปปาติก กำเนิดโอปปาติกา + ณ ตัทธิต กำเนิด) โอปปาติกะ คือเทวดาผู้ถือกำเนิดในโอปปาติกโยนิ
ซึ่งในที่นี้ได้แก่ พรหม.
[๑๒]
ปรินิพฺพายี
เป็นผู้ปรินิพพานเป็นธรรมดา ในพรหมโลกนั้น หมายถึง พรหมผู้เป็นพระอนาคามี
ย่อมเป็นผู้ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในพรหมโลกนั้น กล่าวคือ
จะต้องปรินิพพานในสุทธาวาสภูมิที่สูงขึ้นไปโดยไม่ตกลงมาสู่ภูมิที่ต่ำๆกว่าอีกเป็นธรรมดา
(ที.สี.อ.-ฎี ๒๗๓). อนึ่ง ปรินิพฺพายี มาจาก ปริ + นิ + วา >
ปรินิพฺพา + ย อาคม + ณี ในอรรถตัทธัมมะ คัมภีร์นิรุตติทีปนีอธิบายว่า รูปนี้ลง
ยอาคม ท้ายธาตุที่มีอาเป็นที่สุด เช่น ปรินิพฺพายี
มีการปรินิพพานในภพที่สูงกว่าเป็นธรรมดา อทินฺทานาทายี
มีปกติถือเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นไม่ให้.
[๑๓]
อนาวตฺติธมฺมา (น +
อาคมน +ธมฺม >
สภาว) ไม่กลับมาเป็นธรรมดา หมายถึง ไม่กลับมาจากพรหมโลกนั้นเป็นสภาพ
โดยการถือปฏิสนธิ คือ ไม่มาจากพรหมโลกกลับมาปฏิสนธิเป็นมนุษย์อีก อย่างไรก็ตาม
มิได้ปฏิเสธการมาจากพรหมโลกนั้นเพื่อมาเฝ้าพระพุทธเจ้า พบพระเถระและฟังธรรม. (ที.ม.อ.-ฎี
๑๕๗)
[๑๔]
โอรมฺภาคิยสํโยชน
ได้แก่ สังโยชน์ ๕ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามฉันทะ และพยาบาท
ซึ่งมรรค๓ ข้างต้นสามารถละได้ และเป็นเหตุให้บุคคลไปถือกำเนิดในกามภพอันเป็นภพเบื้องต่ำเท่านั้น.
บรรดาสังโยชน์ ๕ นั้น กามฉันทะ และพยาบาท เมื่อไม่ถูกข่มไว้ด้วยกำลังฌาน หรือไม่ถูกละได้เด็ดขาดด้วยมรรค
ก็จะไม่ให้บุคคลนั้นไปถือกำเนิดในภพสูงคือรูปภพและอรูปภพ
เนื่องจากเป็นธรรมที่ขัดขวางการให้วิบากของกรรมที่นำไปสู่ความเป็นมหัคคตะ.
สังโยชน์ ๓ คือทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ถึงจะไม่ขัดขวางความเกิดขึ้นในมหัคคตภพ
แต่เหตุที่เป็นปัจจัยพิเศษแก่ความเกิดในกามภพ ดังนั้น
เมื่อกรรมเป็นเหตุเกิดขึ้นในมหัคคตภพสิ้นไป
ก็จะนำบุคคลผู้เกิดในมหัคคตภพนั้นให้มาเกิดในกามภพนี้อีกนั่นเทียว. บรรดาสังโยชน์
๕ เหล่านั้น ทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ถูกละด้วยโสตาปัตติมรรค ดังนั้น
ในที่นี้จึงประสงค์เอากามฉันทะและพยาบาทที่อนาคามิมรรคพึงละเท่านั้น
เพราะผู้ถูกสังโยชน์ ๒ นี้ผูกไว้ ไม่สามารถไปบังเกิดในภพเบื้องบนคือสุทธาวาสภูมิได้.
อนึ่ง
คำว่า เป็นปัจจัยให้ไปเกิดในภพภูมิอันเป็นส่วนเบื้องต่ำ นี้แปลโดยโวหารัตถนัย แปลโดยสัททัตถนัยว่า
สังโยชน์ที่มรรคเบื้องต่ำพึงตัดขาด (โอรํ มรรค ๓ ข้างต้น+ ภช ตัดขาด + อนีย) วิเคราะห์เป็นตติยาตัปปุริสสมาสว่า
โอรนฺติ ลทฺธนาเมหิ ตีหิ มคฺเคหิ ปหาตพฺพานีติ โอรมฺภาคิยานิ. โอรัมภาคิยะ คือสังโยชน์อันมรรค
๓ ที่ได้ชื่อว่า โอรํ พึงละ.
อีกนัยหนึ่ง
สภาวะที่เป็นฝักฝ่ายของกามธาตุ (โอรํ ภพเบื้องต่ำคือกามธาตุ + ภช วิเคราะห์ว่า
โอรํ ภชนฺตีติ โอรมฺภาคิยานิ สังโยชน์ที่สมคบกะกามธาตุอันชื่อว่า โอรํ.
อีกนัยหนึ่ง
สังโยชน์ที่เป็นปัจจัยแก่ภพเบื้องต่ำ ได้แก่ กามภพ (โอรมฺภาค
ส่วนล่างคือภพเบื้องต่ำ + ณิย) วิเคราะห์เป็นหิตตัทธิตว่า โอรมฺภาคสฺส หิตานิ
โอรมฺภาคิยานิ. โอรัมภาคิยะ คือ สังโยชน์ที่เกื้อกูลแก่ส่วนล่างคือภพเบื้องต่ำ.
(เรียบเรียงจากอรรถกถาและฎีกามหาปรินิพพานสูตร)
[๑๕]
สกทาคามี แปลทับศัพท์โดยโวหารัตถนัยว่า
พระสกทาคามี แปลโดยสัททัตถนัยตามวิเคราะห์นี้ว่า ปฏิสนฺธิวเสน สกิํ อาคจฺฉตีติ สกทาคามีฯ
สกิเทวาติ เอกวารํเยว. ผู้มาสู่โลกนี้คราวเดียวคืออีกวาระเดียวเนื่องด้วยปฏิสนธิ.(อภิ.ปุ.อ.๓๘).
[๑๖]
อิมํ โลกํ คนฺตฺวา มาสู่โลกนี้
หมายถึง มาสู่กามภพคือเทวโลกและโลกมนุษย์ ตามนัยของอรรถกถาทีฆนิกายนี้. ส่วนอรรถกถาปุคคลบัญญัติหมายถึงมนุษยโลกเท่านั้น.
กรณีที่ถือเอามติของอรรถกถานี้ พระสกทาคามีที่กล่าวถึงในที่นี้จะมี ๔ ประเภท คือ
๑) พระสกทาคามิบุคคลที่บรรลุสกทาคามิผลในโลกมนุษย์ และไปบังเกิดในเทวโลกท.แล้ว
ย่อมกระทำให้แจ้งอรหัตผล ๒) พระสกทาคามิบุคคลในข้อที่ ๒
ที่ไม่สามารถบรรลุอรหัตตผลในเทวโลก ก็จะกลับมายังโลกมนุษย์นี้แล้วกระทำให้แจ้งอย่างแน่นอน.
๓) พระสกทาคามิบุคคลผู้บรรลุสกทาคามิผลในเทวโลกท. จะกลับมาเกิดในมนุษยโลกท.แล้วย่อมกระทำให้แจ้งอรหัตผล.
๔) พระสกทาคามิบุคคลในข้อที่ ๓ ที่ไม่สามารถบรรลุอรหัตผลในโลกมนุษย์ จะกลับไปยังเทวโลกแล้วกระทำให้แจ้งอย่างแน่นอน.
ดังนั้น คำว่า โลกนี้ จึงหมายถึงกามภพเท่านั้นที่คละกันระหว่างเทวโลกและมนุษยโลก.
กรณีที่ถือเอามติของอรรถกถาปุคลลบัญญัติ ควรทราบพระสกทาคามี ๕ บุคคล ก่อน คือ ๑) ผู้ที่บรรลุสกทาคามิผลในมนุษยโลกนี้แล้วปรินิพพานในมนุษยโลกนี้ ๒) บรรลุในมนุษยโลกนี้แล้วปรินิพพานในเทวโลก ๓)
บรรลุในเทวโลกแล้วปรินิพพานในเทวโลกนั้น ๔)
บรรลุในเทวโลกแล้วมาบังเกิดในมนุษยโลกนี้แล้วจึงปรินิพพาน. ๕)
บรรลุในมนุษยโลกนี้แล้วไปบังเกิดในเทวโลกดำรงอยู่จนครบอายุแล้วจึงกลับมาในโลกนี้อีกจึงปรินิพพาน.
ในที่นี้ถือเอาที่ ๕ นี้.
[๑๗]
ตนุตฺตา เพราะความเบาบางแห่งสังโยชน์
คือ กิเลสที่กลุ้มรุมมีกำลังอ่อนและเกิดขึ้นเป็นบางครั้งบางคราว คือ เกิดขึ้นไม่บ่อยนักเหมือนอย่างของปุุถุชน.
หมายความว่า ราคะ โทสะ และโมหะ เมื่อเกิด
ย่อมไม่เกิดอย่างแรงกล้ามากเหมือนอย่างของปุถุชน, ถ้าจะเกิด ก็มีอย่างเบาบางเหมือนปีกแมลงวัน.
[๑๘]
โสตาปนฺโน
พระโสดาบัน แปลโดยโวหารัตถนัย มีคำแปลโดยสัททัตถนัยว่า
๑)
ผู้ถึงกระแสกล่าวคืออริยมรรค วิเคราะห์ว่า (มคฺคสงฺขาตํ) โสตํ อาทิโต ปนฺโนติ
โสตาปนฺโน
ผู้ถึงกระแสคืออริยมรรค เป็นครั้งแรก ชื่อว่า โสดาบัน. (ปารา.อ.๒๑). คำว่า
โสตะ หมายถึง กระแสแห่งน้ำ แต่ในที่นี้ประสงค์เอาอริยมรรค เพราะเป็นธรรมชาติที่พัดพาปฏิปักขธรรมให้หมดสิ้นเหมือนอย่างกระแสน้ำที่พัดพาเอาทุกสิ่งทุกอย่างให้จมหายไป.
(สารัตถทีปนีฎีกา ๓/๓๘๕). อีกอย่างหนึ่ง พระอริยบุคคลที่บรรลุอริยมรรคที่เรียกว่า
กระแส เป็นครั้งแรกนี้ เรียกว่า โสตาปนฺโน ผู้ถึงมรรคคือกระแส
เพราะเป็นกระแสที่ไหลบ่าลงสู่มหาสมุทรคือนิพพาน. (โมหวิจเฉทนี
อรรถกถาอภิธรรมมาติกา). อย่างไรก็ตาม ในความหมายนี้
แม้จะกล่าวถึงบุคคลผู้ดำรงอยู่ในอริยมรรค แต่กรณีนี้ถือว่าเป็นคำกล่าวโดยอ้อม
ที่ไม่ได้หมายถึง ผู้ดำรงอยู่ในอริยมรรคเหมือนอย่างคำพูด
แต่หมายเอาผู้ตั้งอยู่ในอริยผล. (นิส.ไทย.๒/๔๓๔)
ดังคัมภีร์อรรถกถาและฎีกาทั้งหลายกล่าวไว้ว่า อิธ ปน มคฺเคน ผลสฺส นามํ ทินฺนํ,
ตสฺมา ผลฏฺโฐ ‘‘โสตาปนฺโน’’ติ เวทิตพฺโพฯ
แต่ในที่นี้เป็นชื่อของผล ที่มรรคนำมาให้ ดังนั้น คำว่า โสตาปนฺโน จึงได้แก่
ผู้ดำรงอยู่ในผล (ม.มู.อ.๖๗), อิธ ปน
ผลฏฺโฐ อธิปฺเปโต (โมหวิจเฉทนี), โสตาปตฺติผลฏฺโฐติ อตฺโถ (สารัตถทีปนีฎีกา ๓/๓๘๕)
ดังนี้เป็นต้น.
๒)
ผู้ถึงผล ด้วยมรรค ที่เรียกว่า โสตะ วิเคราะห์ว่า โสตาปนฺโนติ โสตสงฺขาเตน มคฺเคน
ผลํ อาปนฺโนฯ ผู้บรรลุผลด้วยมรรคกล่าวคือโสตะ. ในความหมายนี้ถือเป็นการกล่าวโดยตรง
เพราะประสงค์เอาผู้ตั้งอยู่ในโสตาปัตติผล ที่ได้มาด้วยการบรรลุมรรคที่เรียกว่า
โสตะ นั่นเอง.
เกี่ยวกับเรื่องนี้
คัมภีร์สารัตถทีปนีฎีกาให้แนวคิดไว้ว่า กรณีแรก อาปนฺน อา ก่อน + ปท ถึง + ต
โดยที่ตปัจจัยเป็นไป ในปัจจุบันกาล โสตาปนฺโน
จึงได้แก่ ผู้กำลังตั้งอยู่ในโสตาปัตติมรรค ซึ่งแม้จะกล่าวไว้อย่างนี้
แต่ก็หมายเอาผู้ตั้งอยู่ในโสตาปัตติผล โดยอธิบายได้ว่า โสต (กระแส)
เป็นชื่อที่มรรคมอบให้แก่ผลที่เหมือนกับตน โดยมีองค์ ๗ หรือ องค์ ๘. กรณีหลัง ต ปัจจัยใช้ในอดีตกาล
ก็จะได้แก่บุคคลผู้ดำรงอยู่ในผลนี้โดยตรง เพราะเป็นผู้บรรลุกระแส คือ มรรค มาแล้ว.
เพราะบุคคลย่อมบรรลุกระแสคือมรรคในขณะแห่งมรรค และถึงกระแสคือมรรคในขณะแห่งผล.
[๑๙]
วินิปาต ตกไป
ในที่นี้เป็นภาวสาธนะ ความเท่ากับ อุปฺปชฺชน ส่วน ธมฺโม ความเท่ากับ สภาว ดังนั้น
คำนี้จึงมีความหมายโดยโวหารัตถะว่า ได้แก่ ผู้มีการไม่ตกไป คือ
การไม่อุบัติขึ้นในอบายภูมิ ๔ เป็นสภาวะ
เหตุที่ละบาปธรรมอันจะทำให้เข้าถึงอบายนั้นได้โดยประกาทั้งปวงแล้ว (ที.ม.อ.-ฎี.๑๕๗).
อีกนัยหนึ่ง วินิปาตสภาโว ได้แก่ สภาวธรรมที่จะทำให้ตกไปในอบาย องค์ธรรมได้แก่
อกุศลธรรมมีทิฏฐิเป็นต้น นัยนี้เป็นกัตตุสาธนะในอรรถเหตุ ความหมายคือ
พระโสดาบันไม่มีอกุศลธรรมเหล่านั้นที่จะให้ตกไปสู่อบาย.
[๒๐]
นิยตะ
หมายถึง เป็นผู้เที่ยงแท้โดยข้อกำหนดแห่งมรรคธรรม โดยการบรรลุมรรคเบื้องสูงจะมีอย่างแน่นอน(ที.ม.อ.-ฎี.๑๕๗).
อีกนัยหนึ่ง เที่ยงแท้โดยไม่มีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดาในภพต่อไปนับจากภพที่ ๗
(สารัตถทีปนี๑/๒๑). อีกนัยหนึ่ง เป็นผู้ดับขันธ์ปรินิพพานอย่างแน่นอนภายในภพที่ ๗
(วิมิต.๒๑). อีกนัยหนึ่ง เป็นผู้เที่ยงแท้ ด้วยสัมมัตตนิยาม
คือมรรคที่บรรลุอันเป็นความแน่นอนแห่งภพอย่างถูกต้อง (ปารา.อ.-ฎีกา ๒๑).
[๒๑]
สมฺโพธิปรายโณ
(สมฺโพธิ
+ ปร กาลภายหน้า + อิ >
อย ไปหรือถึง + ยุ ปัจจัย กรรมสาธนะ เป็นที่ถูกถึง พหุพีหิสมาส) วิเคราะห์ว่า อุปริมคฺคตฺตยสงฺขาตา
สมฺโพธิ ปรํ อยนํ อสฺส คติ ปฏิสรณํ อวสฺสํ ปตฺตพฺพาติ สมฺโพธิปรายโณฯ พระโสดาบัน
ชื่อว่า สัมโพธิปรายณะ ผู้มีสัมโพธิธรรมคือมรรคเบื้องบนสาม เป็นที่ถึง เป็นที่ไป
เป็นที่พึ่ง คือ จะต้องถึงอย่างแน่นอน ในกาลภายหน้า. (ที.ม.อ.-ฎี.๑๕๗).
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น