วันพุธที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2559

มหาปรินิพพานสูตร ครั้งที่ ๑๑ ภิกขุอปริหานิยธรรม ชุดที่ ๕

๑๔๐. ‘‘อปเรปิ โว, ภิกฺขเว, สตฺต อปริหานิเย ธมฺเม เทเสสฺสามิ, ตํ สุณาถ, สาธุกํ มนสิกโรถ,        ภาสิสฺสามี’’ติฯ ‘‘เอวํ, ภนฺเต’’ติ โข เต ภิกฺขู ภควโต ปจฺจสฺโสสุํฯ ภควา เอตทโวจ
๑๔๐. ภควา พระผู้มีพระภาค อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อหํ เรา ตถาคต เทเสสฺสามิ จักแสดง ธมฺเม ซึ่งธรรมทั้งหลาย อปริหานิเย อันสร้างความไม่เสื่อม  สตฺต ๗ ประการ อปเรปิ แม้อื่น โว แก่พวกเธอ,  ตุมฺเห พวกเธอ สุณาถ จงฟัง ตํ ธมฺมํ ซึ่งธรรมนั้น,  มนสิกโรถ จงใส่ใจ ตํ ธมฺมํ ซึ่งธรรมนั้น สาธุกํ อย่างดี,  อหํ เรา ภาสิสฺสามิ  จักกล่าว  ดังนี้.  เต ภิกฺขู ภิกษุเหล่านั้น ปจฺจสฺโสสุํ รับสนองพระดำรัสแล้ว ภควโต ต่อพระผู้มีพระภาค อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เอวํ พระเจ้าข้า ดังนี้. ภควา พระผู้มีพระภาค อโวจ ตรัสแล้ว เอตํ ซึ่งพระดำรัสนั้นว่า

‘‘ยาวกีวญฺจ, ภิกฺขเว, ภิกฺขู อนิจฺจสญฺญํ ภาเวสฺสนฺติเป.อนตฺตสญฺญํ ภาเวสฺสนฺติอสุภสญฺญํ ภาเวสฺสนฺติอาทีนวสญฺญํ ภาเวสฺสนฺติปหานสญฺญํ ภาเวสฺสนฺติวิราคสญฺญํ ภาเวสฺสนฺตินิโรธสญฺญํ ภาเวสฺสนฺติ, วุทฺธิเยว, ภิกฺขเว, ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานิฯ
ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   อนึ่ง ยาวกีวํ  ตราบใด  ภิกฺขู  ภิกษุทั้งหลาย อนิจฺจสญฺญํ ภาเวสฺสนฺติ จักยังอนิจจสัญญา ให้เจริญอยู่[1] ... อนตฺตสญฺญํ ภาเวสฺสนฺติ จักยังอนัตตสัญญา ให้เจริญอยู่ ... อสุภสญฺญํ ภาเวสฺสนฺติ จักยังอสุภสัญญา ให้เจริญอยู่ ... อาทีนวสญฺญํ ภาเวสฺสนฺติ จักยังอาทีนวสัญญา ให้เจริญอยู่ ... ปหานสญฺญํ ภาเวสฺสนฺติ จักยังปหานสัญญา ให้เจริญอยู่ ... วิราคสญฺญํ ภาเวสฺสนฺติ จักยังวิราคสัญญา ให้เจริญอยู่ ... นิโรธสญฺญํ ภาเวสฺสนฺติ จักยังนิโรธสัญญา ให้เจริญอยู่, ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตาวกีวํ ตราบนั้น วุทฺธิ เอว ความเจริญ นั่นเทียว ปาฏิกงฺขา อันภิกษุพึงหวังได้, ปริหานิ ความเสื่อม โน ปาฏิกงฺขา อันภิกษุไม่พึงหวัง.

‘‘ยาวกีวญฺจ, ภิกฺขเว, อิเม สตฺต อปริหานิยา ธมฺมา ภิกฺขูสุ ฐสฺสนฺติ, อิเมสุ จ สตฺตสุ อปริหานิเยสุ ธมฺเมสุ ภิกฺขู สนฺทิสฺสิสฺสนฺติ, วุทฺธิเยว, ภิกฺขเว, ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานิฯ
ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ยาวกีวํ ตราบใด ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลาย ธมฺมา ธรรมทั้งหลาย อปริหานิยา อันเป็นเหตุแห่งความไม่เสื่อม สตฺต เจ็ด อิเม เหล่านี้ ฐสฺสนฺติ จักยังดำรงอยู่  ภิกฺขูสุ ในภิกษุทั้งหลาย,  ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลาย สนฺทิสฺสนฺติ จักเห็นดีร่วมกัน ธมฺเมสุ ในธรรมทั้งหลาย อปริหานิเยสุ อันกระทำความไม่เสื่อม สตฺเตสุอิเมสุ เหล่านี้,  ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตาวกีวํ ตราบนั้น วุทฺธิ เอว ความเจริญ นั่นเทียว ปาฏิกงฺขา อันภิกษุพึงหวังได้, ปริหานิ ความเสื่อม โน ปาฏิกงฺขา อันภิกษุไม่พึงหวัง (อิติ ดังนี้)





[1] อนิจจสัญญา คือ สัญญาที่เกิดขึ้นร่วมกับอนิจจานุปัสสนา คือ การพิจารณาเห็นว่า ว่า ไม่เที่ยง ไม่งาม ไม่ใช่ตน มีโทษ พึงละ พึงคลายความยินดี เป็นสภาพดับไป ในสังขารธรรมในภูมิ๓.  เพราะวิปัสสนานั้น เมื่อสัญญาคือความหมายรู้ที่เกิดขึ้นกับตน (วิปัสสนา) ได้รับการอบรมให้มีเกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นอันพระโยคีบุคคลย่อมเจริญ ด้วยเหตุนี้ อนิจจานุปัสสนา จึงถูกแสดงร่วมกับคำว่า สัญญา เป็นอนิจจสัญญา. อีกกรณีหนึ่ง สัญญาศัพท์ หมายถึง วิปัสสนาญาณ ตามที่พระฎีกาจารย์อธิบายว่า เป็นคำแสดงวิปัสสนานั่นเอง ด้วยยกความกำหนดหมายเป็นประธาน. (ที.ม.ฎี.๑๔๐).
อปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ในหมวดนี้เป็นธรรมระดับวิปัสสนาเป็นโลกียวิปัสสนา เพราะถือว่า มีสังขารธรรมเป็นอารมณ์ แต่เมื่อว่าโดยพระบาฬีอันเป็นอาคตสถาน วิราคสัญญาและนิโรธสัญญา ที่เป็นโลกุตระก็มี ดังนี้  เอตํ สนฺตํ, เอตํ ปณีตํ, ยทิทํ สพฺพสงฺขารสมโถ วิราโค นิโรโธ นิพพานนี้สงบ ประณีต คือ ธรรมที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดออกซึ่งอุปธิทั้งปวง สิ้นตัณหา ปราศจากราคะ. (อํ. นวก. ๙.๓๖) กรณีนี้ ถือว่าเป็นโลกุตระ เพราะสัญญา ๒ ประการตามที่มาในพระบาฬีเหล่านั้นมีนิพพานอารมณ์. คัมภีร์ฎีกาอธิบายว่า การที่ทราบได้ว่าเป็นได้ทั้งโลกียวิปัสสนาและทั้งที่เป็นโลกุตระ โดยอัตถาปัตตินัย (วิธีการเข้าถึงเนื้อความโดยไม่ต้องกล่าว) เพราะในคัมภีร์อรรถกถาได้อธิบายไว้ด้วยคำว่า อิมา สตฺต โลกิยวิปสฺสนาปิ โหนฺติ, เทฺว โลกุตฺตราปิ โหนฺติ. สัญญา ๗ ทั้งที่เป็นโลกิยวิปัสสนาก็มี สัญญา ๒ แม้ที่เป็นโลกุตรก็มี. ด้วยปิศัพท์ (แม้-ท้้งที่) สามารถสื่อได้ว่า สัญญาทั้ง ๗ นี้ เป็นการแสดงโดยคละกันระหว่างโลกิยะและโลกุตระ โดยวิราคสัญญาและนิโรธสัญญา ที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ก็มี (ที.ม.ฎี.๑๔๐)

มหาปรินิพพานสูตร ครั้งที่ ๑๐ ภิกขุอปริหานิยธรรม ชุดที่ ๔

๑๓๙. ‘‘อปเรปิ โว, ภิกฺขเว, สตฺต อปริหานิเย ธมฺเม เทเสสฺสามิ, ตํ สุณาถ, สาธุกํ มนสิกโรถ,         ภาสิสฺสามี’’ติฯ ‘‘เอวํ, ภนฺเต’’ติ โข เต ภิกฺขู ภควโต ปจฺจสฺโสสุํฯ ภควา เอตทโวจ
๑๓๙. ภควา พระผู้มีพระภาค อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อหํ เราตถาคต เทเสสฺสามิ จักแสดง ธมฺเม ซึ่งธรรมทั้งหลาย อปริหานิเย อันสร้างความไม่เสื่อม  สตฺตอปเรปิ       แม้อื่น โว แก่พวกเธอ,  ตุมฺเห พวกเธอ สุณาถ จงฟัง ตํ ธมฺมํ ซึ่งธรรมนั้น,  มนสิกโรถ จงใส่ใจ ตํ ธมฺมํ ซึ่งธรรมนั้น สาธุกํ อย่างดี,  อหํ เรา ภาสิสฺสามิ  จักกล่าว  ดังนี้.  เต ภิกฺขู ภิกษุเหล่านั้น ปจฺจสฺโสสุํ          รับสนองพระดำรัสแล้ว ภควโต ต่อพระผู้มีพระภาค อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เอวํ พระเจ้าข้า ดังนี้.

ยาวกีวญฺจ, ภิกฺขเว, ภิกฺขุ สติสมฺโพชฺฌงฺคํ ภาเวสฺสนฺติ เป.ธมฺมวิจยสมฺโพชฺฌงฺคํ ภาเวสฺสนฺติวีริยสมฺโพชฺฌงฺคํ ภาเวสฺสนฺติปีติสมฺโพชฺฌงฺคํ ภาเวสฺสนฺติปสฺสทฺธิสมฺโพชฺฌงฺคํ ภาเวสฺสนฺติสมาธิสมฺโพชฺฌงฺคํ ภาเวสฺสนฺติอุเปกฺขาสมฺโพชฺฌงฺคํ ภาเวสฺสนฺติ, วุทฺธิเยว, ภิกฺขเว, ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานิฯ
ภควา พระผู้มีพระภาค อโวจ ตรัสแล้ว เอตํ ซึ่งพระดำรัสนั้นว่า ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   อนึ่ง ยาวกีวํ ตราบใด ภิกฺขู  ภิกษุทั้งหลาย สติสมฺโพชฺฌงฺคํ ยังสติสัมโพชฌงค์[1]  ภาเวสฺสนฺติ จักให้เจริญอยู่[2]ธมฺมวิจยสมฺโพชฺฌงฺคํ ยังธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ภาเวสฺสนฺติ จักให้เจริญอยู่ …  วีริยสมฺโพชฺฌงฺคํ ยังวิริยสัมโพชฌงค์ ภาเวสฺสนฺติ จักให้เจริญอยู่ …  ปีติสมฺโพชฺฌงฺคํ ยังปีติสัมโพชฌงค์ ภาเวสฺสนฺติ  จักให้เจริญอยู่ ปสฺสทฺธิสมฺโพชฺฌงฺคํ ยังปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ภาเวสฺสนฺติ จักให้เจริญอยู่ สมาธิสมฺโพชฺฌงฺคํ ยังสมาธิสัมโพชฌงค์ ภาเวสฺสนฺติ จักให้เจริญอยู่ อุเปกฺขาสมฺโพชฺฌงฺคํ ยังอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ภาเวสฺสนฺติ จักให้เจริญอยู่,   ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตาวกีวํ ตราบนั้น วุทฺธิ เอว ความเจริญ นั่นเทียว ปาฏิกงฺขา อันภิกษุพึงหวังได้, ปริหานิ ความเสื่อม โน ปาฏิกงฺขา อันภิกษุไม่พึงหวัง.

‘‘ยาวกีวญฺจ, ภิกฺขเว, อิเม สตฺต อปริหานิยา ธมฺมา ภิกฺขูสุ ฐสฺสนฺติ, อิเมสุ จ สตฺตสุ อปริหานิเยสุ ธมฺเมสุ ภิกฺขู สนฺทิสฺสิสฺสนฺติ, วุทฺธิเยว, ภิกฺขเว, ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา โน ปริหานิฯ
ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ยาวกีวํ ตราบใด ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลาย ธมฺมา ธรรมทั้งหลาย อปริหานิยา อันเป็นเหตุแห่งความไม่เสื่อม สตฺต เจ็ด อิเม เหล่านี้ ฐสฺสนฺติ จักยังดำรงอยู่ ภิกฺขูสุ ในภิกษุทั้งหลาย,  ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลาย สนฺทิสฺสนฺติ จักเห็นดีร่วมกัน ธมฺเมสุ ในธรรมทั้งหลาย อปริหานิเยสุ อันกระทำความไม่เสื่อม สตฺเตสุอิเมสุ เหล่านี้,  ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตาวกีวํ ตราบนั้น วุทฺธิ เอว ความเจริญ นั่นเทียว ปาฏิกงฺขา อันภิกษุพึงหวังได้, ปริหานิ ความเสื่อม โน ปาฏิกงฺขา อันภิกษุไม่พึงหวัง (อิติ ดังนี้).





[1] คำว่า สติสมฺโพชฺฌงฺค แยกเป็น สติ + สมฺโพชฺฌงฺค เป็นอวธารณกัมมธารยสมาส. วิ.สติเยว สมฺโพชฺฌงฺโค สติสมฺโพชฺฌงฺโค โพชฌงค์คือสติ เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์. แม้ในสัมโพชฌงค์ที่เหลือก็มีนัยนี้.
คำว่า สมฺโพชฺฌงฺค มาจาก สํ = ปสตฺถ = ปสํสา อันบัณฑิตสรรเสริญ, หรือสุนฺทร ดีงาม + โพธิ + องฺค ส่วน, องค์ประกอบ, เหตุ
คำว่า โพชฌงค์ มีความหมาย ๓ นัย คือ
๑) องค์คือส่วนของธรรมสามัคคีมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น ที่ชื่อว่า โพธิ ตามคำนิยามว่า
ตสฺสา ธมฺมสามคฺคีสงฺขาตาย โพธิยา องฺคาติ โพชฺฌงฺคา ฌานงฺคมคฺคงฺคาทโย วิยฯ
โพชฌงค์ คือ องค์อันเป็นส่วนหนึ่งของธรรมสามัคคี (ความพร้อมเพรียงของธรรม) มีสติและธัมมวิจัยเป็นต้นอันเป็นเหตุตรัสรู้ อันได้ชื่อว่า  โพธิ. เหมือนคำว่า มคฺคงฺค องค์หนึ่งแห่งมรรค, ฌานงฺค องค์อย่างหนึ่งแห่งฌาน. กรณีนี้ องค์มีอรรถว่าเป็นส่วนประกอบของหมู่  (อํ.เอก.อ.และ ฎี. ๔๑๘)
๒) องค์ที่ประกอบเป็นตัวพระอริยสาวก ที่ชื่อว่า โพธิ เพราะเป็นผู้ตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคีมีสติและธรรมวิจัยเป็นต้น ตามคำนิยามว่า
โยเปส ยถาวุตฺตปฺปการาย เอตาย ธมฺมสามคฺคิยา พุชฺฌตีติ กตฺวา อริยสาวโก โพธีติ วุจฺจติ, ตสฺส โพธิสฺส องฺคาติปิ โพชฺฌงฺคา เสนงฺครถงฺคาทโย วิยฯ
โพชฌงค์ คือ องค์ต่างๆที่ประกอบขึ้นเป็นตัวพระอริยสาวก ที่ชื่อว่า โพธิ เพราะเป็นผู้ตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคีมีประกการดังกล่าวมานั้น เหมือนคำว่า รถงฺค ส่วนต่างๆที่ประกอบขึ้นเป็นตัวรถ, เสนงฺค องค์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นกองทัพ. ในกรณีนี้ แสดงความเป็นอวิชชมานบัญญัติ ชนิดปุคคลบัญญัติ (อํ.เอก.อ.และ ฎี. ๔๑๘) คือไม่มีพระอริยสาวกจริง มีแต่องค์ต่างๆ เหล่านี้ที่ประกอบขึ้นเป็นบุคคล.
๓)  เหตุ คือ ธรรมอันเป็นไปเพื่อการตรัสรู้โดยชอบและมุ่งตรงต่อโพธิ คือ นิพพานอันเป็นสัจจะที่พึงตรัสรู้และเหตุมีวิปัสสนาเป็นต้น (อํ.เอก.ฎี.๑๔๘) ดังสาธกว่า
โพธาย สํวตฺตนฺตีติ โพชฺฌงฺคา (ปฏิ.สมฺ.อ.๑๗)
ธรรมอันเป็นไปเพื่อการตรัสรู้ ชื่อว่า โพชฌงค์
โพธ ในที่นี้มีอรรถว่า การรู้ซึ่งโพธิคือนิพพานอันควรตรัสรู้
พุชฺฌิยติ สจฺฉิกรียตีติ นิพฺพานํ โพธิ
สภาวะอันพระอริยะย่อมรู้คือทำให้แจ้ง ชื่อว่า โพธิ ได้แก่ นิพพาน (สํ.ฎี. ๒/๑๔๗)
ส่วนมรรค ผล และวิปัสสนามีกำลัง ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นเหตุแห่งการตรัสรู้โพธิ คือ นิพพาน ดังสาธกว่า
มคฺคผเลหิ นิพฺพานสฺส ปจฺจเวกฺขณาย กตกิจฺจสฺส พุชฺฌนตฺถาย, มคฺเคน วา กิเลสนิทฺทาโต ปพุชฺฌนตฺถาย ผเลน ปพุทฺธภาวตฺถายาปีติ วุตฺตํ โหติฯ พลววิปสฺสนายปิ โพชฺฌงฺคา โพธาย สํวตฺตนฺติฯ ตสฺมา อยํ วิปสฺสนามคฺคผลโพชฺฌงฺคานํ สาธารณตฺโถฯ ตีสุปิ หิ ฐาเนสุ โพธาย นิพฺพานปฏิเวธาย สํวตฺตนฺติฯ เอเตน โพธิยา องฺคาติ โพชฺฌงฺคาติ วุตฺตํ โหติฯ (ปฏิ.สมฺ.อ.๑๗)
โพชฌงค์ทั้งหลาย ย่อมเป็นไป เพื่อการตรัสรู้นิพพาน ด้วยมรรคและผลของบุคคลผู้มีกิจอันทำแล้ว             ด้วยปัจจเวกขณญาณ, หมายความว่า เพื่อประโยชน์แก่การตื่นจากความหลับคือกิเลสด้วยมรรค, เพื่อการเป็นผู้ตื่นแล้วด้วยผล. ย่อมเป็นไปเพื่อการตรัสรู้ แม้ด้วยวิปัสสนามีกำลัง, เพราะฉะนั้น ความหมายนี้ คือ “เป็นไปเพื่อนิพพาน”  ย่อมเป็นความหมายที่ทั่วไปแก่วิปัสสนาโพชฌงค์ มรรคโพชฌงค์ และผลโพชฌงค์. เพราะว่า โพชฌงค์ย่อมเป็นไปเพื่อการแทงตลอดนิพพาน อันชื่อว่า โพธะ ในฐาะทั้งหลายสามแม้เหล่านี้. หมายความว่า ที่ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะเหตุว่า เป็นเหตุแห่งโพธิก็ด้วยความหมายนี้.
ตามนัยของปฏิสัมภิทามรรคอรรถกถานี้ วิปัสสนา มรรคและผล ท่านเรียกว่า โพชฌงค์ คือ วิปัสสนาโพชฌงค์ มรรคโพชฌงค์ และผลโพชฌงค์ เพราะเป็นไปเพื่อการตรัสรู้นิพพาน อันชื่อว่า โพธิ.  แม้ธรรมสามัคคีมีสติเป็นต้นอันเป็นเหตุของการตรัสรู้มรรคนั้น ก็ชื่อว่า โพชฌงค์ เหมือนกัน. ดังคัมภีร์ปรมัตถทีปนี มหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา อธิบายว่า องค์คือปัจจัยมีกำลังที่ทำสัมโพธิคือมรรคญาณให้ตั้งขึ้น.
โพชฌงค์อันบัณฑิตสรรเสริญ (ปสตฺถ = ปสํสา) หรือ ดีงาม (สุนฺทร) เรียกว่า สัมโพชฌงค์. ดังวิเคราะห์ว่า ปสตฺโถ, สุนฺทโร วา โพชฺฌงฺโค สมฺโพชฺฌงฺโคฯ (ที.ม.อ/ฎี.๑๓๙).
คัมภีร์ปรมัตถทีปนี มหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา แยกศัพท์เป็น สมฺโพธิ มรรคญาณ ๔ + องฺค ปัจจัยมีกำลัง.  สํ ใน สมฺโพธิศัพท์ มีอรรถ สมนฺตโต.  ญาณในมรรค ๔ ได้ชื่อว่า สมฺโพธิ เพราะญาณนั้นเมื่อตรัสรู้สัจจธรรม ๔ ย่อมตรัสรู้พร้อมด้วยกิจ ๑๖ ทั้งหมดในขณะเดียวกัน มิใช่ทีละส่วน.  ส่วนปัจจัยมีกำลังที่เกิดขึ้นร่วมกัน ชื่อว่า องค์.  องค์คือปัจจัยของสัมโพธินั้น ชื่อว่า สัมโพชฌงค์ เพราะทำสัมโพธิให้ตั้งชึ้น. สติเป็นต้น เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์ เพราะเป็นเหตุแห่งสัมโพธิ. (ปรมัตถ.สังคหฎีกา)
[2] ภาเวสฺสนฺติ ควรเพิ่ม สมุฏฺฐาเปนฺโต เป็นอัพภันตรกิริยา หมายถึง จักตั้งสัมโพชฌงค์นั้นๆให้เจริญต่อไป ตามเหตุอันควรต่อสัมโพชฌงค์นั้นๆ. เหตุแห่งสัมโพชฌงค์แต่ละประเภท ควรศึกษาในอรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร.

วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2559

มหาปรินิพพานสูตร ครั้งที่ ๙ ภิกขุอปริหานิยธรรม (ชุดที่ ๓)

ภิกขุอปริหานิยธรรม (ชุดที่ ๓)
๑๓๘. ‘‘อปเรปิ โว, ภิกฺขเว, สตฺต อปริหานิเย ธมฺเม เทเสสฺสามิ เป.… ‘‘ยาวกีวญฺจ, ภิกฺขเว, ภิกฺขู สทฺธา ภวิสฺสนฺติเป.หิริมนา ภวิสฺสนฺติโอตฺตปฺปี ภวิสฺสนฺติพหุสฺสุตา ภวิสฺสนฺติ       อารทฺธวีริยา ภวิสฺสนฺติอุปฏฺฐิตสฺสตี ภวิสฺสนฺติปญฺญวนฺโต ภวิสฺสนฺติ, วุทฺธิเยว, ภิกฺขเว, ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานิฯ
๑๓๘. ภควา พระผู้มีพระภาค อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อหํ เราตถาคต         เทเสสฺสามิ จักแสดง ธมฺเม ซึ่งธรรมทั้งหลาย อปริหานิเย อันสร้างความไม่เสื่อม  สตฺตอปเรปิ แม้อื่น โว แก่พวกเธอ,  ตุมฺเห พวกเธอ สุณาถ จงฟัง ตํ ธมฺมํ ซึ่งธรรมนั้น,  มนสิกโรถ จงใส่ใจ ตํ ธมฺมํ        ซึ่งธรรมนั้น สาธุกํ อย่างดี,  อหํ เรา ภาสิสฺสามิ  จักกล่าว  ดังนี้.  เต ภิกฺขู ภิกษุเหล่านั้น ปจฺจสฺโสสุํ       รับสนองพระดำรัสแล้ว ภควโต ต่อพระผู้มีพระภาค อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เอวํ พระเจ้าข้า” ดังนี้. ภควา พระผู้มีพระภาค อโวจ ตรัสแล้ว เอตํ ซึ่งพระดำรัสนั้น อิติ ว่า ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   อนึ่ง ยาวกีวํ  ตราบใด  ภิกฺขู   ภิกษุทั้งหลาย ภวิสฺสนฺติ จักเป็น สทฺธา ผู้มีศรัทธา[1].... ภวิสฺสนฺติ    จักเป็น หิริมนา มีใจประกอบด้วยความละอาย[2] ..... ภวิสฺสนฺติ จักเป็น โอตฺตปฺปี มีความสะดุ้งกลัว .... ภวิสฺสนฺติ จักเป็น พหุสฺสุตา ผู้มีสุตะมาก[3] ....  ภวิสฺสนฺติ จักเป็น อารทฺธวีริยา ผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว[4]... ภวิสฺสนฺติ จักเป็น อุปฏฺฐิสฺสติ ผู้มีสติปรากฏ[5] .... ภวิสฺสนฺติ จักเป็น ปญฺญวนฺโต ผู้มีปัญญา[6] ...  ภิกฺขเว  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตาวกีวํ ตราบนั้น วุทฺธิ เอว  ความเจริญ นั่นเทียว  ปาฏิกงฺขา  อันภิกษุพึงหวังได้, ปริหานิ ความเสื่อม โน ปาฏิกงฺขา อันภิกษุไม่พึงหวัง

ยาวกีวญฺจ, ภิกฺขเว, อิเม สตฺต อปริหานิยา ธมฺมา ภิกฺขูสุ ฐสฺสนฺติ, อิเมสุ จ  สตฺตสุ อปริหานิเยสุ ธมฺเมสุ ภิกฺขู สนฺทิสฺสิสฺสนฺติ, วุทฺธิเยว, ภิกฺขเว, ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานิฯ
 ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ยาวกีวํ ตราบใด ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลาย ธมฺมา ธรรมทั้งหลาย อปริหานิยา อันเป็นเหตุแห่งความไม่เสื่อม สตฺต เจ็ด อิเม เหล่านี้ ฐสฺสนฺติ จักยังดำรงอยู่  ภิกฺขูสุ ในภิกษุทั้งหลาย,  ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลาย สนฺทิสฺสนฺติ จักเห็นดีร่วมกัน ธมฺเมสุ ในธรรมทั้งหลาย อปริหานิเยสุ อันกระทำความไม่เสื่อม สตฺเตสุอิเมสุ เหล่านี้,  ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ตาวกีวํ ตราบนั้น วุทฺธิ เอว ความเจริญ นั่นเทียว ปาฏิกงฺขา อันภิกษุพึงหวังได้, ปริหานิ ความเสื่อม     โน ปาฏิกงฺขา อันภิกษุไม่พึงหวัง.





[1] สทฺธา นี้เป็นอัสสัตถิตัทธิต หมายถึง ผู้มีศรัทธาสมบูรณ์. มีวิ.ว่า สทฺธา เอเตสํ อตฺถีติ สทฺธา ภิกษุชื่อว่า สทฺธา เพราะมีศรัทธา (ที.ม.ฎี.๑๓๘).  ถ้าคัมภีร์อรรถกถาฎีกา อธิบายบทใดด้วยคำว่า สมฺปนฺน ยุตฺต เป็นต้น ที่บ่งถึงเพียบพร้อม แสดงว่าบทนั้นเป็นอัสสัตถิตัทธิต ดังในอรรถกถาอธิบายบทนี้ว่า สทฺธาสมฺปนฺนา สมบูรณ์ด้วยศรัทธา.
ศรัทธา แบ่งออกเป็น ๔ คือ อาคมนียศรัทธา, อธิคมศรัทธา, ปสาทศรัทธา และ โอกัปปนศรัทธา. อาคมนียศรัทธา คือ ศรัทธาที่เป็นของพระสัพพัญญูโพธิสัตว์ (ผู้เกี่ยวข้องในความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า) (ที.ม.อ.๑๓๘)  เพราะมีศรัทธาที่มาจากปฏิปทาที่บรรลุ. ก็ศรัทธาชนิดนี้นั้น มีความพิเศษอย่างยิ่งยวด เพราะเป็นการหยั่งใจเชื่อต่อวัตถุควรเชื่ออย่างไม่ผิดพลาด โดยเว้นการแนะนำจากบุคคลอื่น. อธิคมศรัทธา คือ ศรัทธาที่เป็นของพระอริยบุคคลทั้งหลาย เพราะเป็นศรัทธาที่ได้ด้วยการแทงตลอดอริยสัจจ์ (บรรลุมรรคผล) มีศรัทธาของท่านสูรัมพัฏฐอุบาสกและท่านสุปปพุทธิกุฏฐิเป็นตัวอย่าง (ที.ปา.อ.๑๑๘; ธ.ป.อ.สุปฺปพุทฺธกุฏฺฐิวตฺถุ; ขุ.อุ.อ.๔๓). ปสาทศรัทธา คือ การเลื่อมใสที่เกิดขึ้นในพระรัตนตรัย เพราะทันทีที่ได้ยินคำกล่าวว่า พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ก็เกิดศรัทธาในพระพุทธเจ้าเป็นต้นโดยนัยว่า พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้เองโดยชอบ เป็นต้น  ศรัทธาชนิดนี้มีศรัทธาของพระเจ้ามหากัปปินะเป็นตัวอย่าง (อํ.เอก.อ.๒๓๑; ธ.ป.อ. มหากปฺปินตฺเถรวตฺถุ; ขุ.เถร.อ. ๒.มหากปฺปินตฺเถรคาถาวณฺณนา). โอกัปปนศรัทธา คือ การฝังใจเชื่อลงไปอย่างเด็ดขาดว่า “ข้อนี้เป็นอย่างนี้”. ศรัทธาชนิดนี้ มีศรัทธาของพระวักกลิเป็นตัวอย่าง. ภิกษุผู้มีศรัทธานี้ หมายถึงศรัทธา ๒ ชนิดหลังคือ ปสาทศรัทธาและโอกัปปนศรัทธา. เพราะปสาทศรัทธามีการไม่ถูกผู้อื่นชักจูงเป็นธรรมดา จึงเลื่อมใสได้แม้ด้วยเหตุเพียงการได้ฟังมา, ส่วนโอกัปปนศรัทธา ครั้นหยั่งเข้าไปสู่สิ่งที่ควรศรัทธาแล้วย่อมเป็นไปเหมือนกับได้ทำให้ประจักษ์ว่า “สิ่งนี้เป็นอย่างนี้”. บุคคลผู้มีโอกัปปนศรัทธาย่อมทำเจติยวัตรหรือโพธิยังคณวัตร, ย่อมบำเพ็ญวัตรทั้งปวงมีอุปัชฌายวัตรและอาจริยวัตรเป็นต้น. (เรียบเรียงจากคัมภีร์อรรถกถาและฎีกาที.ม.อ.และที.ม.ฎี.๑๓๘)
[2] หิริมนา หมายถึง ผู้มีจิตประกอบด้วยหิริ คือ ความละอาย ซึ่งมีลักษระที่รังเกียจบาป. ต่างจาก โอตตัปปี คือ ผู้ประกอบด้วยโอตตัปปะ ซึ่งมีลักษณะที่หวาดเกรงต่อบาป.
[3] พหุสฺสุตา  เป็นพหุพพีหิสมาส หมายถึง ภิกษุผู้ได้ฟังมากซึ่งปริยัติธรรมคือพระไตรปิฎกมีสุตตะและเคยยะเป็นต้น วิ.ว่า (สา ปริยตฺติ) เยน พหุ สุตา, โส พหุสฺสุโต  พระปริยัตินั้น อันภิกษุใดฟังแล้ว เหตุนั้น ภิกษุนั้น ชื่อว่า พหุสุตะ มีปริยัติคือพระไตรปิฎกอันฟังแล้วมาก (ที.ม.อ.๑๓๘) หรือ  พหุ สุตํ สุตฺตเคยฺยาทิ เอเตนาติ พหุสฺสุโต พระปริยัติมีสุตตะและเคยยะเป็นต้น อันภิกษุนี้ฟังแล้วมาก เหตุนั้น ภิกษุนี้ ชื่อว่า พหุสุตะ (ที.ม.ฎี.๑๓๘). คำว่า สุตะ (ฟังแล้ว) ในคำว่า พหุสุตะนี้ เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น เพราะยังหมายถึงกิจที่พึงทำต่อปริยัตินั้นอีกหลายประการคือ การทรงจำ การสะสม การหมั่นสอบถาม การเอาใจใส่ไม่ขาด และการพิจารณาด้วยปัญญา. อีกนัยหนึ่ง เพราะการทรงจำเป็นต้นเหล่านั้น ล้วนแต่มีการฟังเป็นพื้นฐาน ดังนั้น การทรงจำเป็นต้นก็ควรจะสงเคราะห์เข้าในคำว่า พหุสุตะ นี้ได้.  (ที.ม.ฎี.๑๓๘)
คัมภีร์อรรถกถา กล่าวถึงพหุสุตะไว้ ๒ พวก คือ ปริยัตติพหุสุตะ (ผู้ได้ฟังมากซึ่งพระปริยัติกล่าวคือพระไตรปิฎก) และ ปฏิเวธพหุสุตะ (ผู้มีการแทงตลอดสัจจะ) (ที.ม.อ.๑๓๘). สำหรับผู้มีปฏิเวธก็เป็นพหุสุตะได้เช่นกัน เพราะปฏิเวธก็เป็นความสำเร็จกิจแห่งพหุสุตะนอกนี้ดังจะกล่าวต่อไปได้เช่นกัน. แต่ก็เพราะทรงประสงค์เอาพาหุสัจจะที่นำการแทงตลอดสัจจะมาให้เท่านั้น เหตุนั้น ปริยัตติพหุสสุตะจึงเป็นที่ประสงค์เอาในที่นี้.
แม้ปริยัตติพหุสุตะ มี ๔ ประเภท คือ
๑) นิสสยมุจจนกพหุสุตะ ผู้พ้นจากนิสัย. ภิกษุผู้นิสัยมุจจนกะมีพรรษา ๕ โดยอุปสมบท เล่าเรียนพระไตรปิฎกเพียงส่วนหนึ่ง สำหรับการเที่ยวไปในสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งอย่างเป็นอิสระมิจำเป็นต้องอยุ่ในสำนักของพระอุปัชฌาย์และอาจารย์  เพื่อเป็นเครื่องรักษาตนและอนุเคราะห์แก่บริษัทเท่านี้ก็พอ คือ
- มาติกา ๒ (ภิกขุและภิกขุนีปาฏิโมกข์)
- พระสูตร ๔ ภาณวาร (ที่มาในคัมภีร์ภาณวาร)
- กถามรรค คำอธิบายที่มาของพระสูตร มิได้กล่าวบทพระสูตร เพื่อกล่าวธรรมเบ็ดเตล็ดแก่เหล่าชนผู้มาหา
- คาถาอนุโมทนา เพื่ออนุโมทนาในสังฆภัตงานมงคลและอวมงคล.
- เรียนวินิจฉัยกรรมและไม่ใช่กรรม เพื่ออุโบสถและปวารณา
- เรียนกัมมัฏฐานทั้งสองอย่างใดอย่างหนึ่งให้ถึงพระอรหัต เพื่อเจริญสมณธรรม.
๒) ปริสุปัฏฐากพหุสุตะ ผู้สามารถให้บริษัท (ภิกษุบริษัท) อุปัฏฐาก. ภิกษุผู้ปริสูปัฏฐาปกะ มีพรรษา ๑๐ โดยอุปสมบท ย่อมเรียนพระไตรปิฎกส่วนหนึ่งเช่นกัน แต่มากกว่านิสสยมุจจนกะ เพื่อเป็นทิสาปาโมกข์ คือ เป็นประธานแก่ภิกษุในทิศ คือ
- เรียนวิภังค์ทั้ง ๒,  วินิจฉัยกรรม-มิใช่กรรมและขันธกวัตร เพื่อแนะนำบริษัทในอภิวินัย
- ถ้าเป็นผู้สวดมัชฌิมนิกาย เรียนมูลปัณณาสก์, ผู้สวดทีฆนิกายเรียนมหาวรรค, ผู้สวดสังยุตตนิกายเรียน ๓ คัมภีร์คือ สคาถวรรค นิทานวรรค สฬายตนวรรค, ผู้สวดอังคุตรนิกาย เรียนติกนิบาตเป็นต้นไป, ผู้สวดชาตก เรียนชาดก พร้อมอรรถกถา, ผู้กล่าวธรรมบท เรียนธรรมบทพร้อมทั้งนิทาน เหล่านี้เพื่อแนะนำบริษัทในอภิธรรม [อภิธรรมในที่นี้ไม่ใช่อภิธรรมปิฎก แต่เป็นพระสุตตันตปิฎกนั่นแหละที่แยกจากกันและกัน (ปาจิตติยโยชนา).
๓) ภิกขุโนวาทกพหุสุตะ พหุสุตะผู้สั่งสอนภิกษุนี.  ในกรณีที่จะเป็นภิกษุผู้สอนนางภิกษุนี ต้องมีความช่ำชอง
ในปิฎกทั้ง ๓ พร้อมทั้งอรรถกถา แต่ถ้าไม่สามารถดังนั้น สามารถเรียนดังนี้
- เรียนอรรถกถาแห่งนิกายหนึ่งในบรรดานิกาย ๔ ให้ชำนาญก็ได้.
- เรียนอรรถกถาแห่งพระอภิธรรมปิฎกใน ๔ คัมภีร์ต้นให้ชำนาญก็ได้
- แต่พระวินัยปิฎก ต้องเรียนให้ชำนาญทั้งบาฬีและอรรถกถา.
 (วิ.ปาจิตฺ.อ.๑๔๗ โอวาทสิกขาปทวัณณนา)
๔) สัพพัตถกพหุสุตะ สามารถแสดงอรรถในปริยัติธรรมได้ทั้งหมด. พหุสุตะเช่นนี้ มิได้ทรงปริยัติไว้เป็นส่วนๆเหมือนกับ ๓ พวกแรก เพราะมีความเป็นพหุสะตะที่กล่าวอรรถทั้งปวงในพระไตรปิฎกได้. กรณีนี้มีพระอานนทเถระเป็นตัวอย่าง. (ที.ม.ฎี.๑๓๘)
คำว่า ภิกษุจักเป็นพหุสุตะ  นี้หมายถึง พหุสุตะ๔ ทั้ง ๔ ประเภทเหล่านั้น เพราะเป็นผู้ตั้งมั่นดีแล้วในปริยัติสัทธรรม ที่เป็นรากฐานของปฏิบัติสัทธรรมและปฏิเวธสัทธรรม.
อนึ่ง คำว่า สุตะ ในคำว่า พหุสุตะ ในที่นี้ (อรรถกถามหาวรรค ทีฆนิกาย) หมายถึง กิริยาการฟัง แต่ในอรรถกถาวินัยปิฎกหมายถึง พระปริยัติ เพราะอรรถว่า อันบุคคลผู้ใคร่ความหลุดพันพึงเล่าเรียน (สารัตถ.วินย.ฎี. ๑๔๗) อย่างไรก็ตาม ทั้งสองบทหมายถึง ภิกษุผู้มีการฟังปริยัติมาก หรือ มีพระปริยัติมากโดยการเรียน และทรงจำได้เป็นต้น.
[4] คำว่า ปรารภความเพียร หมายถึง ถือไว้มิให้ตกไป, ภิกษุผู้มีการปรารภเพียรทั้งทางกายและใจชื่อว่า อารทฺธวีริยา. ปรารภความเพียรทางกาย หมายถึง ลดการคลุกคลีทางกายแล้วเป็นผู้อยู่เพียงผู้เดียว เนื่องด้วยเหตุแห่งการปรารภความเพียร ๘ (อารัมภวัตถุ) ในอิริยายถทั้ง ๔. ปรารภความเพียรทางใจ หมายถึง ลดการคลุกคลีทางใจ แล้วเป็นผู้อยู่คนเดียวเนื่องด้วยการเข้าสมาบัติ, ข่มกิเลสในฐานะที่เกิดขึ้นแล้วและยังไม่เกิด คือ ไม่ยอมให้กิเลสที่เกิดในขณะเดินมาถึงขณะยืน, ที่เกิดขึ้นในขณะยืน ก็ไม่ยอมให้ถึงขณะนั่ง, ที่เกิดขึ้นในขณะนั่ง ก็ไม่ยอมให้ถึงขณะนอน. (ที.ม.อ.๑๓๘)
[5] คำว่า มีสติปรากฏ หมายถึง มีสติระลึกถึงเหตุการณ์ที่ทำนานแล้วเป็นต้น. ข้อนี้เป็นเหตุแห่งความเจริญเนื่องจากว่า ผู้มีสติอันสามารถระลึกเหตุการณ์ย้อนหลังเป็นต้นได้อย่างไม่หลงลืมนี้ จะถึงความบริบูรณ์แห่งสติสัมโพชฌงค์ภาวนา โดยไม่ยาก (ที.ม.อ,/ฎี ๑๓๘). คัมภีร์อังคุตรฎีกากล่าวว่า สติในที่นี้ คือ การระลึกถึงการทำทางกายกล่าวคือการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติ อาทิ เจติยังคณวัตรเป็นต้นที่ตนก็ดี ผู้อื่นก็ดี ทำไว้นานแล้ว, การระลึกวาจาที่เป็นไปเนื่องด้วยการแสดงธรรม การอนุโมทนา เป็นต้น. ก็การที่ระลึกถึงกายกรรมและวจีกรรมอย่างนี้  ชื่อว่า ทำสติสัมโพชฌงค์ให้เกิดขึ้น เพราะเป็นการระลึกอย่างนี้ว่า นามรูปเหล่านี้ เกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ดับไปแล้วอย่างนี้. สติที่ทำสัมโพชฌงค์ให้ตั้งขึ้นนี้แหละที่ประสงค์เอาในที่นี้.(อํ.ฎี.สตฺตก.วิตถตสูตร๑๔) และเป็นธรรมประกอบของวิปัสสนา ดังจะกล่าวถัดไป.
[6] ผู้มีปัญญา คือมีปัญญาสามารถกำหนดความเกิดขึ้นและดับไปของขันธ์ ๕. พระผู้มีพระภาคตรัสสัมมาสติที่เป็นธรรมประกอบของวิปัสสนาและวิปัสสนาปัญญาของภิกษุผู้เจริญวิปัสสนาด้วยบทว่ามีสติปรากฏและมีปัญญา. (ที.ม.อ.๑๓๘)

มหาปรินิพพานสูตร ครั้ง ที่ ๘ ภิกขุอปริหานิยธรรม (ชุดที่ ๒)

ภิกขุอปริหานิยธรรม  (ชุดที่ ๒)

๑๓๗. ‘‘อปเรปิ โว, ภิกฺขเว, สตฺต อปริหานิเย ธมฺเม เทเสสฺสามิ, ตํ สุณาถ, สาธุกํ มนสิกโรถภาสิสฺสามี’’ติฯ ‘‘เอวํ, ภนฺเต’’ติ โข เต ภิกฺขู ภควโต ปจฺจสฺโสสุํฯ ภควา เอตทโวจ
๑๓๗ ภควา พระผู้มีพระภาค อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อหํ เราตถาคต เทเสสฺสามิ จักแสดง ธมฺเม ซึ่งธรรมทั้งหลาย อปริหานิเย อันสร้างความไม่เสื่อม  สตฺตอปเรปิ แม้อื่น โว แก่พวกเธอ,  ตุมฺเห พวกเธอ สุณาถ จงฟัง ตํ ธมฺมํ ซึ่งธรรมนั้น,  มนสิกโรถ จงใส่ใจ ตํ ธมฺมํ ซึ่งธรรมนั้น สาธุกํ อย่างดี,  อหํ เรา ภาสิสฺสามิ  จักกล่าว  ดังนี้.  เต ภิกฺขู ภิกษุเหล่านั้น ปจฺจสฺโสสุํ        รับสนองพระดำรัสแล้ว ภควโต ต่อพระผู้มีพระภาค อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เอวํ พระเจ้าข้า” ดังนี้. ภควา พระผู้มีพระภาค อโวจ ตรัสแล้ว เอตํ ซึ่งพระดำรัสนั้น (อิติ) ว่า

‘‘ยาวกีวญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขู น กมฺมารามา ภวิสฺสนฺติ น กมฺมรตา น กมฺมารามตมนุยุตฺตา, วุทฺธิเยวภิกฺขเว ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานิฯ
ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   อนึ่ง ยาวกีวํ  ตราบใด  ภิกฺขู   ภิกษุทั้งหลาย  น ภวิสฺสนฺติ จักไม่เป็น กมฺมารามา ผู้มีการงานเป็นที่ยินดี, น ภวิสฺสนฺติ จักไม่เป็น กมฺมรตา ผู้ยินดีในการงาน  น ภวิสฺสนฺติ จักไม่เป็น อนุยุตฺตา ผู้ขวนขวายแล้ว กมฺมารามตํ ซึ่งความเป็นผู้มีการงานเป็นที่ยินดี, ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตาวกีวํ ตราบนั้น วุทฺธิ เอว ความเจริญ นั่นเทียว ปาฏิกงฺขา อันภิกษุพึงหวังได้, ปริหานิ ความเสื่อม โน ปาฏิกงฺขา อันภิกษุไม่พึงหวัง.[1]

‘‘ยาวกีวญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขู น ภสฺสารามา ภวิสฺสนฺติ น ภสฺสรตา น ภสฺสารามตมนุยุตฺตา, วุทฺธิเยวภิกฺขเว ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานิฯ
ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   อนึ่ง ยาวกีวํ  ตราบใด  ภิกฺขู   ภิกษุทั้งหลาย  น ภวิสฺสนฺติ  จักไม่เป็น ภสฺสารามา ผู้มีการพูดคุยเป็นที่ยินดี, น ภวิสฺสนฺติ จักไม่เป็น ภสฺสรตา ผู้ยินดีในการพูดคุย         น ภวิสฺสนฺติ จักไม่เป็น อนุยุตฺตา ผู้ขวนขวายแล้ว ภสฺสารามตํ ซึ่งความเป็นผู้มีการพูดคุยเป็นที่ยินดี, ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตาวกีวํ ตราบนั้น วุทฺธิ เอว ความเจริญ นั่นเทียว ปาฏิกงฺขา อันภิกษุพึงหวังได้, ปริหานิ ความเสื่อม โน ปาฏิกงฺขา อันภิกษุไม่พึงหวัง.[2]

‘‘ยาวกีวญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขู น นิทฺทารามา ภวิสฺสนฺติ,  น นิทฺทารตา  น  นิทฺทารามตมนุยุตฺตา, วุทฺธิเยว ภิกฺขเว ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานิฯ
ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   อนึ่ง ยาวกีวํ  ตราบใด  ภิกฺขู   ภิกษุทั้งหลาย  น ภวิสฺสนฺติ  จักไม่เป็น นิทฺทารามา ผู้มีการนอนหลับเป็นที่ยินดี, น ภวิสฺสนฺติ จักไม่เป็น นิทฺทารตา ผู้ยินดีในการนอนหลับ  น ภวิสฺสนฺติ จักไม่เป็น อนุยุตฺตา ผู้ขวนขวายแล้ว นิทฺทารามตํ ซึ่งความเป็นผู้มีการนอนหลับเป็นที่ยินดี, ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตาวกีวํ ตราบนั้น วุทฺธิ เอว ความเจริญ นั่นเทียว ปาฏิกงฺขา อันภิกษุพึงหวังได้, ปริหานิ ความเสื่อม โน ปาฏิกงฺขา อันภิกษุไม่พึงหวัง.[3]

‘‘ยาวกีวญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขู น สงฺคณิการามา ภวิสฺสนฺติ น สงฺคณิกรตา น สงฺคณิการามตมนุยุตฺตา, วุทฺธิเยว ภิกฺขเว ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานิฯ
ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   อนึ่ง ยาวกีวํ  ตราบใด  ภิกฺขู   ภิกษุทั้งหลาย  น ภวิสฺสนฺติ       จักไม่เป็น สงฺคณิการามา ผู้มีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะเป็นที่ยินดี, น ภวิสฺสนฺติ จักไม่เป็น สงฺคณิกรตา ผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ น ภวิสฺสนฺติ จักไม่เป็น อนุยุตฺตา ผู้ขวนขวายแล้ว สงฺคณิการามตํ ซึ่งความเป็นผู้มีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะเป็นที่ยินดี, ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตาวกีวํ ตราบนั้น วุทฺธิ เอว ความเจริญ นั่นเทียว ปาฏิกงฺขา อันภิกษุพึงหวังได้, ปริหานิ ความเสื่อม โน ปาฏิกงฺขา อันภิกษุไม่พึงหวัง.[4]

‘‘ยาวกีวญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขู น ปาปิจฺฉา ภวิสฺสนฺติ น ปาปิกานํ อิจฺฉานํ วสํ คตา, วุทฺธิเยว ภิกฺขเว ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานิฯ
ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   อนึ่ง ยาวกีวํ  ตราบใด  ภิกฺขู   ภิกษุทั้งหลาย  น ภวิสฺสนฺติ จักไม่เป็น ปาปิจฺฉา ผู้มีความปรารถนาต่ำทราม, น ภวิสฺสนฺติ จักไม่เป็น คตา  ผู้ไปแล้ว วสํ สู่อำนาจ อิจฺฉานํ ของความปรารถนา ปาปิกานํ อันต่ำทราม,   ภิกฺขเว  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตาวกีวํ ตราบนั้น วุทฺธิ เอว ความเจริญ นั่นเทียว ปาฏิกงฺขา อันภิกษุพึงหวังได้, ปริหานิ ความเสื่อม โน ปาฏิกงฺขา อันภิกษุไม่พึงหวัง.[5]

‘‘ยาวกีวญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขู น ปาปมิตฺตา ภวิสฺสนฺติ น ปาปสหายา น ปาปสมฺปวงฺกา, วุทฺธิเยว ภิกฺขเว ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานิฯ
ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   อนึ่ง ยาวกีวํ  ตราบใด  ภิกฺขู   ภิกษุทั้งหลาย  น ภวิสฺสนฺติ  จักไม่เป็น ปาปมิตฺตา ผู้มีมิตรเลว, น ภวิสฺสนฺติ จักไม่เป็น ปาปสหายา  ผู้มีสหายเลว  น ภวิสฺสนฺติ จักไม่เป็น ปาปสมฺปวงฺกา ผู้โอนอ่อนตามมิตรเลว,ภิกฺขเว  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตาวกีวํ ตราบนั้น วุทฺธิ เอว  ความเจริญ นั่นเทียว  ปาฏิกงฺขา  อันภิกษุพึงหวังได้,     ปริหานิ ความเสื่อม โน ปาฏิกงฺขา อันภิกษุไม่พึงหวัง[6].

‘‘ยาวกีวญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขู น โอรมตฺตเกน วิเสสาธิคเมน อนฺตราโวสานํ อาปชฺชิสฺสนฺติ, วุทฺธิเยว ภิกฺขเว ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานิฯ
ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   อนึ่ง ยาวกีวํ  ตราบใด  ภิกฺขู  ภิกษุทั้งหลาย  น อาปชฺชิสฺสนฺติ  จักไม่ถึง   อนฺตราโวสานํ  ซึ่งการล้มเลิกในระหว่าง  วิเสนาธิคเมน  เพราะการบรรลุคุณวิเศษ โอรมฺมตฺตเกน เพียงชั้นต่ำ,   ภิกฺขเว  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตาวกีวํ ตราบนั้น วุทฺธิ เอว  ความเจริญ นั่นเทียว  ปาฏิกงฺขา  อันภิกษุพึงหวังได้,ปริหานิ ความเสื่อม โน ปาฏิกงฺขา อันภิกษุไม่พึงหวัง[7].

‘‘ยาวกีวญฺจ ภิกฺขเว อิเม สตฺต อปริหานิยา ธมฺมา ภิกฺขูสุ ฐสฺสนฺติ, อิเมสุ จ สตฺตสุ อปริหานิเยสุ ธมฺเมสุ ภิกฺขู สนฺทิสฺสิสฺสนฺติ, วุทฺธิเยว ภิกฺขเว ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานิฯ
 ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ยาวกีวํ ตราบใด ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลาย ธมฺมา ธรรมทั้งหลาย อปริหานิยา อันเป็นเหตุแห่งความไม่เสื่อม สตฺต เจ็ด อิเม เหล่านี้ ฐสฺสนฺติ จักยังดำรงอยู่ ภิกฺขูสุ ในภิกษุทั้งหลาย,  ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลาย สนฺทิสฺสนฺติ จักเห็นดีร่วมกัน ธมฺเมสุ ในธรรมทั้งหลาย อปริหานิเยสุ อันกระทำความไม่เสื่อม สตฺเตสุอิเมสุ เหล่านี้,  ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตาวกีวํ ตราบนั้น วุทฺธิ เอว ความเจริญ นั่นเทียว ปาฏิกงฺขา อันภิกษุพึงหวังได้, ปริหานิ ความเสื่อม โน ปาฏิกงฺขา อันภิกษุไม่พึงหวัง.

****************





[1] กมฺมารามา, กมฺมารตาและกมฺมารามตมนยุตฺตา สามศัพท์นี้เป็นไวพจน์กัน. กมฺมาราม มีวิ. กมฺมํ อาราโม เอเตสนฺติ กมฺมารามา การงาน เป็นที่ยินดี (หรือ เป็นกิจที่น่ายินดี) ของภิกษุเหล่านั้น เหตุนั้น ภิกษุเหล่านั้น จึงชื่อว่า กมฺมารามา มีการงานเป็นที่ยินดี. อาราม ศัพท์เป็นกัมมสาธนะ แปลว่า เป็นที่ยินดี วิ.อารมิตพฺพฏฺเฐน กมฺมํ อาราโม (ที.ม.ฎี. ๑๓๗) หรือภาวสาธนะ วิ.อารมณํ อาราโม,อภิรตีติ อตฺโถ(ที.สี.อ๑๙๙)ในกรณีนี้ แปลว่า มีการงานเป็นความยินดี.
คำว่า กมฺมรต เป็นตัปปุริสสมาส วิ.กมฺเม รตาติ กมฺมรตา ยินดีในการงาน ที่ไม่ใช่คันถธุระและวิปัสนาธุระ ชื่อ กมฺมรตา.
กมฺมารามตํ อนุยุตฺต เป็นวากยะ กมฺมารามตํ หมายถึง กิจที่ทำให้ภิกษุได้ชื่อว่า กมฺมาราม ได้แก่ การกำหนดขนาด (กะ) จีวรเป็นต้น. อนุยุตฺต = ตปฺปรภาเวน ปุนปฺปุนํ ปสุตา ความขวนขวายเนืองๆ โดยมุ่งหน้าทำแต่สิ่งนี้ (ที.ม.ฎี.๑๓๗)
คัมภีร์อรรถกถาวินิจฉัยคำว่า การงาน (กมฺม) ว่าได้แก่ กิจใหญ่น้อยที่ควรทำของภิกษุ (อิติกาตพฺพกมฺม การงานอันควรทำนั้นๆ) เช่น กิจเกี่ยวกับจีวร อาทิ เย็บ ย้อมเป็นต้น ประคด เครื่องกรองน้ำ รองเท้า ไม้กวาด เป็นต้น. เหตุที่ทรงห้ามไว้เพราะมีภิกษุบางรูปจะมุ่งแต่ทำกิจเหล่านี้ตลอดวัน. แต่ถ้าทำกิจนั้นในเวลาที่สมควรทำ เรียนอุทเทส ในเวลาที่ควรเรียน สาธยาย ในเวลาที่ควรสาธยาย เป็นต้น. อย่างนี้ ไม่เรียกว่า กมฺมารามนุยุตฺต. (ที.อ.๑๓๗)
[2] ภสฺสํ การกล่าว ในคำว่า ภสฺสารามา (ภาส ธาตุ พูดคุย + ณฺยปัจจัย ภาวสาธนะ). ลักษณะของผู้ยินดีในการพูดคุย ได้แก่ การสนทนากันด้วยติรัจฉานกถามีเรื่องเพศชายหญิงเป็นต้น เพราะเป็นเรื่องที่สามารถคุยกันได้ไม่รู้จักจบสิ้น, ถ้าสนทนาธรรมเป็นต้น ก็จะไม่เรียกว่า ภสฺสาราม เพราะการสนทนาธรรมชื่อว่า กถามีที่สิ้นสุด. ควรปฏิบัติตามพุทธพจน์ว่า สนฺนิปติตานํ โว ภิกฺขเว ทฺวยํ กรณียํ, ธมฺมี วา กถา, อริโย วา ตุณฺหีภาโว (ม.มู. ๒๗๓) ภิกษุทั้งหลาย เมื่อประชุมกัน พวกเธอมีกรณียะ ๒ อย่าง คือ สนทนาธรรมหรือนิ่งอย่างอริยะ. คำว่า นิ่งอย่างอริยะ ได้แก่ การเข้าสมาบัติมีปฐมฌานเป็นต้น หรือ การมนสิการกัมมัฏฐาน (สํ.นิทาน.อ. ภิกขุสังยุตต์ โกลิตสูตรและที.ม.ฎี. ๑๓๗)
[3] ผู้ถูกความง่วงครอบงำ ไม่ว่าจะเดินหรือนั่งก็ตาม คือ ผู้มีความยินดีในการนอนหลับ. การนอนหลับแบบนี้ เกิดขึ้น แก่ผู้ปกติมิได้เล็งเห็นโทษในการหลับ และมิได้บรรเทาความง่วงนั้นโดยวิธีอื่นอาทิการเปลี่ยนอิริยาบถเป็นต้น (ที.ม.ฎี. ๑๓๗) แต่ในกรณีที่หลับสนิทในเวลาที่ร่างกายเหน็ดเหนื่อย ไม่ชื่อว่า ยินดีในการนอนหลับ. (ที.ม.อ.๑๓๗)
[4] ความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ หมายถึง การอยู่ร่วมกลุ่มคลุกคลีกันไม่ว่าจะอยู่ ๒, ๓ คนก็ตาม และการอยู่ผู้เดียวไม่ได้รับความพอใจ.   ผู้ใดถึงจะอยู่ลำพังผู้เดียว แต่ก็พอใจในอริยาบถ๔ ไม่ชื่อว่า คลุกคลีด้วยหมู่คณะ. (ที.ม.อ.๑๓๗).
[5] ความปรารถนาต่ำทราม (ปาปิจฺฉา)  คือ ความต้องการที่จะยกย่องคุณอันไม่มีในตน เพราะเหตุที่ตนเองเป็นผู้ทุศีล. ส่วนคำว่า ปาปิจฺฉา ผู้มีความปรารถนาต่ำทราม นี้เป็นพหุพพีหิสมาส ดังอรรถกถาอธิบายว่า อสนฺตสมฺภาวนาย อิจฺฉาย สมนฺนาคตา ทุสฺสีลา ปาปิจฺฉา นาม. ภิกษุผู้ทุศีล ประกอบด้วยความปรารถนาจะยกคุณอันไม่มีในตน ชื่อว่า ปาปิจฉา. (ที.ม.อ. ๑๓๗). คัมภีร์ฎีกาอธิบายว่า สยํ นิสฺสีลา อสนฺตคุณสมฺภาวนิจฺฉาย สมนฺนาคตตฺตา ปาปา ลามกา อิจฺฉา                    เอเตสนฺติ ปาปิจฺฉา ภิกษุผู้ทุศีลด้วยตนเอง ชื่อว่า มีความปรารถนาต่ำทราม เพราะมีความปรารถนาต่ำทราม เนื่องจากประกอบด้วยความปรารถนาจะยกย่องคุณไม่มีในตน. (ที.ม.ฎี. ๑๓๗) ควรทราบว่า ในกรณีที่คัมภีร์สังวัณณนา อธิบายบทพระบาฬีด้วย สมนฺนาคต ศัพท์ แสดงว่า บทนั้นเป็นพหุพพีหิสมาส.
[6] ปาปมิตฺตา ปาปสหายา สองศัพท์นี้เป็นพหุพพีหิสมาส วิ.ปาปา มิตฺตา เอเตสนฺติ ปาปมิตฺตา ผู้มีคนเลวเป็นมิตร ชื่อว่า ปาปมิตฺต. จตูสุ อิริยาปเถสุ สห อยนโต ปาปา สหายา เอเตสนฺติ ปาปสหายา ผู้มีคนเลวเป็นสหาย เพราะดำเนินไปร่วมกันในอิริยาบถ ๔ กับคนชั่วนั้น ชื่อว่า ปาปสหาย. คำว่า ปาปสมฺปวงฺกา เป็นตัปปุริสสมาส วิ. ตนฺนินฺนตปฺปโปณตปฺปพฺภาวตาย ปาเปสุ สมฺปวงฺกาติ ปาปสมฺปวงฺกา ผู้เอนเอียงไปในคนชั่ว เพราะการน้อม โอน เงื้อมตนไปในคนชั่วนั้น ชื่อว่า ปาปสมฺปวงฺก. (ที.ม.อ. ๑๓๗). คัมภีร์ฎีกาอธิบายเพิ่มว่า การมีมิตรเป็นคนชั่ว เพราะทำความรักใคร่กับคนเลวทราม, มีคนชั่วเป็นสหาย เพราะดำเนินไปกับคนชั่วอยู่เสมอ ไม่ว่าจะในอิริยาบถใด, การเอนเอียงไปในคนชั่ว คือ เชื่อฟังโดยการน้อมตนไปเป็นต้นไปในคนชั่วนั้น. (ที.ม.ฎี.๑๓๗)
[7] อนฺตราโวสานํ แยกบทเป็น อนฺตรา = ในระหว่างการเจริญภาวนาโดยยังไม่บรรลุอรหัตผล + โวสานํ การเสร็จสิ้นลง คือ ความชะงักลง ความหยุดพักกิจ ด้วยคิดว่า “เท่านี้ก็พอแล้ว”. ความหมายคือ การหยุดชะงักในระหว่างการปฏิบัติ เพราะเหตุเพียงการมีศีลบริสุทธิ การได้วิปัสสนาญาณ การได้ฌาน บรรลุเพียงโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล เท่านั้นไม่บำเพ็ญภาวนาต่อเพื่อให้บรรลุถึงอรหัตตผล.
คำว่า เพียงชั้นต่ำ โอรมตฺตเกน หมายถึง คุณวิเศษอันเล็กน้อย. การไม่หยุดชะงักเพราะคุณนั้น แล้วภาวนาต่อจนถึงพระอรหัตต์ จึงเป็นความเจริญขั้นสูงสุด ไม่มีทางเสื่อมเลย.(ที.ม.อ. ๑๓๗)