วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2559

มหาปรินิพพานสูตร ครั้งที่ ๑ พระเจ้าอชาตศัตรู

๓. มหาปรินิพฺพานสุตฺตํ
. พระสูตรอันประกอบด้วยมหาปรินิพพาน.[1]
๓. มหาปรินิพฺพานสุตฺตํ
๑๓๑. เอวํ เม สุตํ เอกํ สมยํ ภควา ราชคเห วิหรติ คิชฺฌกูเฏ ปพฺพเตฯ เตน โข ปน สมเยน ราชา มาคโธ อชาตสตฺตุ เวเทหิปุตฺโต วชฺชี อภิยาตุกาโม โหติฯ โส เอวมาห – ‘‘อหํ หิเม วชฺชี เอวํมหิทฺธิเก เอวํมหานุภาเว อุจฺเฉจฺฉามิ  วชฺชี, วินาเสสฺสามิ วชฺชี, อนยพฺยสนํ อาปาเทสฺสามิ วชฺชี’’ติฯ

๑๓๑อิทํ สุตฺตํ พระสูตรนี้ เม อันข้าพเจ้า สุตํ สดับมาแล้ว เอวํ อย่างนี้. เอกํ สมยํ ในสมัยหนึ่ง  ภควา.พระผู้มีพระภาค วิหรติ ประทับอยู่ ปพฺพเต ที่ภูเขา คิชฺฌกูเฏ ชื่อคิชฌกูฏ[2]  ราชคเห ใกล้กรุงราชคฤห์. ปน ก็ เตน สมเยน ในสมัยนั้น โข แล ราชา อ.พระราชา มาคโธ ผู้เป็นใหญ่ในแคว้นมคธ อชาตสตฺตุ พระนามว่า อชาตศัตรู เวเทหิปุตฺโต พระโอรสของพระนางเวเทหี อภิยาหิตุกาโม มีพระประสงค์จะเสด็จไปปราบ[3] วชฺชี ซึ่งเจ้าวัชชีท.[4] อาห รับสั่งแล้ว เอวํ อย่างนี้ อิติ ว่า  หิ อนึ่ง  อหํ เรา อุจฺเฉจฺฉามิ จะโค่นล้ม  วชฺชี ซึ่งเจ้าวัชชีท. อิเม เหล่านี้  มหิทฺธิเก ผู้มีฤทธิ์มาก[5] เอวํ อย่างนี้  มหานุภาเว มีอานุภาพมาก[6] เอวํ อย่างนี้ (อิเม) วชฺชี ยังเจ้าวัชชีท.เหล่านี้ วินาเสสฺสมิ ให้พินาศ (อิเม) วชฺชี  ยังเจ้าวัชชีท. เหล่านี้ อาปาเทสฺสามิ จักให้ถึง อนยพฺยสนํ ซึ่งความสูญเสีย
๑๓๒. อถ โข ราชา มาคโธ อชาตสตฺตุ เวเทหิปุตฺโต วสฺสการํ พฺราหฺมณํ มคธมหามตฺตํ  อามนฺเตสิ – ‘‘เอหิ ตฺวํ, พฺราหฺมณ, เยน ภควา เตนุปสงฺกม; อุปสงฺกมิตฺวา มม วจเนน ภควโต ปาเท สิรสา วนฺทาหิ, อปฺปาพาธํ อปฺปาตงฺกํ ลหุฏฺฐานํ พลํ ผาสุวิหารํ ปุจฺฉ – ‘ราชา, ภนฺเต, มาคโธ อชาตสตฺตุ เวเทหิปุตฺโต ภควโต ปาเท สิรสา วนฺทติ, อปฺปาพาธํ อปฺปาตงฺกํ ลหุฏฺฐานํ พลํ ผาสุวิหารํ ปุจฺฉตีติฯ เอวญฺจ วเทหิ – ‘ราชา, ภนฺเต, มาคโธ อชาตสตฺตุ เวเทหิปุตฺโต วชฺชี อภิยาตุกาโมฯ โส เอวมาห – ‘‘อหํ หิเม วชฺชี เอวํมหิทฺธิเก เอวํมหานุภาเว อุจฺเฉจฺฉามิ วชฺชี, วินาเสสฺสามิ วชฺชี, อนยพฺยสนํ อาปาเทสฺสามี’’’ติฯ ยถา เต ภควา พฺยากโรติ, ตํ สาธุกํ อุคฺคเหตฺวา มม อาโรเจยฺยาสิฯ น หิ ตถาคตา วิตถํ ภณนฺตี’’ติ.
๑๓๒.  อถ โข ในลำดับนั้นแล[7] ราชา อ.พระราชา มาคโธ ผู้เป็นใหญ่ในแคว้นมคธ  อชาตสตฺตุ พระนามว่าอชาตศัตรู เวเทหิปุตฺโต พระโอรสของพระนางเวเทหี อามนฺเตสิ ตรัสแล้ว พฺราหฺมณํ  กะพราหมณ์ วสฺสการํ ผู้มีนามว่า วัสสการ มคธมหามตฺตํ อำมาตย์ใหญ่แห่งแคว้นมคธว่า พฺราหฺมณ พราหมณ์ ตฺวํ อ.ท่าน เอหิ จงมา, ภควา อ.พระผู้มีพระภาค วิหรติ ประทับอยู่ เยน ทิสาภาเคน ในส่วนแห่งทิศใด, ตฺวํ อ.ท่าน อุปสงฺกม จงเข้าไป เตน ทิสาภาเคน ในส่วนแห่งทิศนั้น[8], อุปสงฺกมิตฺวา ครั้นเข้าไปแล้ว ตฺวํ อ.ท่าน วนฺทาหิ จงถวายบังคม ปาเท พระยุคลบาทท.  ภควโต ของพระผู้มีพระภาค สิรสา ด้วยเศียรเกล้า, ปุจฺฉ จงทูลถาม อปฺปาพาธํ ความมีอาพาธน้อย, อปฺปาตงฺกํ ความมีโรคน้อย ลหุฏฺฐานํ ความกระปี้กระเปร่า พลํ พระกำลัง ผาสุวิหารํ การอยู่สำราญ[9] วจเนน ตามคำบอก มม ของเรา อิติ ว่า  ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราชา พระราชา มาคโธ ผู้เป็นใหญ่ในแคว้นมคธ   อชาตสตฺตุ พระนามว่า อชาตศัตรู เวเทหิปุตฺโต พระโอรสของพระนางเวเทหี  วนฺทติ ขอถวายบังคม ปาเท พระยุคลบาทท. ภควโต ของพระผู้มีพระภาค สิรสา ด้วยเศียรเกล้า, ปุจฺฉติ ขอทูลถาม   อปฺปาพาธํ ความมีอาพาธน้อย อปฺปาตงฺกํ ความมีโรคน้อย ลหุฏฺฐานํ ความกระปี้กระเปร่า พลํ พระกำลัง ผาสุวิหารํ การอยู่สำราญ ดังนี้. อนึ่ง ตฺวํ ท่าน วเทหิ จงกล่าว เอวํ อย่างนี้ว่า  ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ราชา พระราชา มาคโธ ผู้เป็นใหญ่ในแคว้นมคธ  อชาตสตฺตุ พระนามว่า อชาตศัตรู เวเทหิปุตฺโต พระโอรสของพระนางเวเทหี อภิยาหิตุกาโม มีพระประสงค์จะเสด็จไปปราบ วชฺชี ซึ่งเจ้าวัชชีท. โส พระราชา อาห รับสั่งแล้ว เอวํ อย่างนี้ว่า หิ อนึ่ง อหํ เรา  อุจฺเฉจฺฉามิ จะโค่นล้ม[10]  วชฺชี ซึ่งเจ้าวัชชีท. อิเม เหล่านี้  มหิทฺธิเก ผู้มีฤทธิ์มาก เอวํ อย่างนี้   มหานุภาเว มีอานุภาพมาก เอวํ อย่างนี้ (อิเม) วชฺชี ยังเจ้าวัชชีท.เหล่านี้ วินาเสสฺสมิ ให้พินาศ (อิเม) วชฺชี ยังเจ้าวัชชีท. เหล่านี้ อาปาเทสฺสามิ จักให้ถึง อนยพฺยสนํ  ซึ่งความย่อยยับ[11]อิติ ดังนี้. ภควา พระผู้มีพระภาค พฺยากโรติ ทรงตอบ เต แก่ท่าน ยถา โดยประการใด ตฺวํ ท่าน อุคฺคเหตฺวา จดจำแล้ว ตํ พฺยากรณํ ซึ่งคำตอบนั้น สาธุกํ กตฺวา ไว้ให้ดี อาโรเจยฺยาสิ จงบอก มม แก่เรา. หิ เพราะ ตถาคตา พระตถาคตท. ภณนฺติ ย่อมตรัส วิตถํ ผิดพลาด หามิได้[12] อิติ ดังนี้[13]






[1] มหาปรินิพพานสูตร คือ พระสูตรที่ประกอบด้วยการเสด็จปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า. คัมภีร์ฎีกาอธิบายเหตุที่เรียกว่า มหาปรินิพพานว่า  ก็เพราะเป็นปรินิพพานที่ถูกบูชา และ ละความเป็นพระพุทธเจ้า , เป็นปรินิพพานที่อาศัยความสิ้นกิเลสครั้งยิ่งใหญ่, ดังนี้เป็นต้น ดูรายละเอียดในฎีกา.
[2] คิชกูฏ หมายถึง ภูเขาที่มียอดเขาอันเป็นที่อยู่ของนกแร้ง, มีลักษณะเหมือนนกแร้ง. ศัพท์นี้หมายถึง ภูเขา ไม่ได้หมายถึง ยอดเขา.
[3] อรรถกถาให้ความหมายว่า อภิภวน อยู่เหนือ ถือเอาความว่า ปราบ, ย่ำยี, มีชัยชนะเหนือ นั่นเอง จะเห็นว่า ในประโยคถัดไปมีข้อความว่า โค่นล้ม ให้ถึงความพินาศ สูญเสีย อันแสดงถึงการมีชัยเหนืออริราชและพระฎีกาจารย์อธิบายว่า  อภิ ที่ อภิยาหิตุกาโม มีอรรถ อภิภวน ครอบครอง, ควบคุม, ชัยชนะ, กำจัด มีตัวอย่างการใช้คำในลักษณะนี้ คือ อภิวิชานาตุ แปลว่า จงควบคุมจักรรัตนะ
[4] คำว่า เจ้าวัชชี (วชฺชีราชาโน) หมายถึง พระราชาวัชชี ซึ่งได้พระนามนี้ตามคำกล่าวว่า ควรเว้นพระราชาพระองค์นี้ ดังนั้น คำว่า วัชชี จึงแผลงมาจาก วชฺชิตพฺพ ควรเว้น นอกจากนี้ ยังหมายถึงพระราชา ผู้ครอบครองแคว้นวัชชี โดยนัยนี้ คำว่าวัชชี หมายถึง แคว้นที่มีชื่อ ตามพระนามของราชกุมารของเจัาวัชชีผู้ครอบครองแว่นแคว้น
[5] มีฤทธิ์มาก ได้แก่ สภาพที่มีอยู่เองตามปกติของเจ้าวัชชีเหล่านี้ซึ่งได้มาภายหลังจากที่ได้อภิเษกเป็นพระราชาแล้ว.  ฤทธิ์ คือ ความรักใคร่กลมเกลียวของเจ้าวัชชีผู้เป็นพระราชาร่วมกัน (แคว้นวัชชีปกครองโดยพระราชาหลายองค์ร่วมกัน แต่มีความใคร่กลมเกลียวกัน) ดังกล่าวนี้  เป็นที่รูัจักแพร่หลายในโลกโดยความพร้อมเพรียงและได้ตั้งอยู่สิ้นกาลช้านาน. พระเจ้าอชาตศัตรูทรงหมายถึงฤทธิ์อย่างนี้.
[6] มีอานุภาพมาก หมายถึง มีเดชานุภาพที่ช่วยให้ผู้มีสภาพอย่างนี้เจริญในทุกกิจที่ประสงค์. อานุภาพของเจ้าวัชชีคือ การมีพาหนะคือช้างและม้าเป็นต้นชั้นดี, นอกจากนี้ยังมีการฝึกฝนวิชาการต่างๆ จนช่ำชองในวิชาการเกี่ยวกับพาหนะเหล่านี้อีกด้วย. อานุภาพเหล่านี้เป็นที่รู้จักและยอมรับของเหล่ากษัตริย์อื่นๆว่า เป็นผู้เชี่ยวชาญในวิชาการเหล่านี้ และที่โดดเด่นคือ การสามารถยิงลูกธนูผ่านช่องกุญแจชนิดที่ลูกแรกไล่ตามลูกหลังไปติดๆกันโดยถูกเป้าหมายอย่างแม่นยำ. พระเจ้าอชาตศัตรูหมายถึงอานุภาพที่เป็นความสามารถของเจ้าวัชชีในข้อนี้.
[7] อถศัพท์ มีอรรถกาลนฺตราวจฺฉเฉทวิสยาธาระ แสดงขอบเขตของกาลเวลา ดังนั้น จึงมีรับสั่งให้วัสสการพราหมณ์ไปทูลถามพระผู้มีพระภาค หลังจากที่ทรงมีพระปรารภเรื่องการรบกับเจ้าวัชชีเช่นนี้กับหมู่เสนาบดีทั้งหลายอย่างนี้อยู่เนืองๆ ไม่ว่าจะประทับนั่ง หรือเสด็จอยู่ในแห่งใดๆ ครั้นแล้วจึงมีพระบัญชาให้ตระเตรียมยาตราทัพไป.  เกี่ยวกับการมีพระประสงค์เพื่อจะรบนี้มีเหตุเกิดขึ้นเพราะตรงตำบลปัฏฏนคามตำบลหนึ่งใกล้แม่น้ำคงคา พระเจ้าอชาตศัตรูทรงมีอำนาจกึ่งโยชน์ พวกเจ้าลิจฉวีมีอำนาจกึ่งโยชน์.    อธิบายว่า ก็ในตำบลนี้เป็นสถานที่ที่ตกอยู่ภายใต้อำนาจปกครอง.  อีกอย่างหนึ่ง ในที่นั้นสิ่งที่มีค่ามากตกจากเชิงเขา. เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูทรงทราบดังนั้นแล้ว   ทรงพระดำริว่า  ไปวันนี้  ไปพรุ่งนี้   จึงตระเตรียมทันที   เหล่าเจ้าลิจฉวีทรงสมัครสมานกันอยู่   จึงพากันไปก่อนยึดของมีค่ามากเอาไว้หมด.   พระเจ้าอชาตศัตรูเสด็จไปทีหลัง   ทรงทราบเรื่องนั้น แล้วทรงกริ้ว  เสด็จไป.   เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นก็กระทำอย่างนั้นแหละแม้ในปีต่อมา.  ดังนั้นพระเจ้าอชาตศัตรูจึงทรงอาฆาต อย่างรุนแรง  ได้ทรงการทำอย่างนั้นในคราวนั้น.    
[8] เยน ก็ดี เตน ก็ดี เป็น ตติยาวิภัตติลงในอรรถสัตตมีวิภัตติ หมายถึง ทิสาภาค คือ สถานที่ประทับอยู่ของพระพุทธองค์.อีกนัยหนึ่ง บทว่า เยน และ เตน ถือเป็นตติยาวิภัตตินั่นเอง แต่ใช้ในอรรถตติยาวิเสสน คือ เป็นวิเสสนะของบทว่า คิชฺฌกูโฏ อุปสงฺกมิตพฺโพ ภูเขาคิชฌกูฏ อันบุคคลพึงเข้าไป เยน ทิสาภาเคน โดยส่วนแห่งทิศ ใด เตน อุปสงฺกม จงเข้าไป เตน ทิสาภาเคน โดยส่วนแห่งทิศนั้น,  คัมภีร์ฎีกาสีลขันธวรรค กล่าวว่า ทิสาภาค มีอรรถว่า ทิส นั่นเอง ดังนั้น คำนี้อาจแปลอีกนัยหนึ่งว่า เข้าไปในทิศนั้น ความก็ว่า มุ่งหน้าไปยังทิศที่พระพุทธองค์ประทับอยู่.
[9] คัมภีร์อรรถกถา และฎีกาทีฆนิกาย สีลขันธวรรค สุภสูตร  (ที.สี.อฏฺ. และ ที.สี.ฎี. ๒/๔๔๕) อธิบายข้อความเหล่านี้ ว่า
อาพาธ คือ เวทนาเป็นวิสภาค กล่าวคือ ทุกขเวทนา ที่เกิดในอวัยวะส่วนเดียว เช่น ที่ศีรษะเป็นต้น แล้วยึดอิริยาบถ ๔ ไม่ให้เป็นไป เหมือนเอาลวดเหล็กรัดไว้. ทุกขเวทนาเรียกว่า วิสภาค เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อสุขเวทนาที่เกิดขึ้นในอัตภาพอันเกิดด้วยกุศลกรรม และเรียกทุกขเวทนานั้นว่า อาพาธ เพราะการเบียดเบียนโดยเป็นสภาพยึดกายไว้ไม่ให้เป็นไป. อาตงฺก ได้แก่ โรคที่ทำให้การดำรงชีพลำบาก. หมายถึง โรคเล็กน้อย ที่ทำให้มีชีวิตอยู่ไม่เป็นสุข.
คำว่า อาพาธ และ อาตงฺก ก็คือ ความเจ็บป่วยเหมือนกัน แต่ อาพาธ หมายถึง โรคหนักที่ทำให้ร่างกายเป็นไปไม่ได้ ส่วน อาตงฺก คือ โรคเล็กน้อยที่ขัดขวางการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข.
ลหุฏฺฐานํ คือ การลุกขึ้น จากนั่งหรือนอนเป็นต้น กล่าวคือ การเคลื่อนไหวไปมาของร่างกายโดยอาการนั้นอาการนี้. คำนี้ หมายถึง ภาวะที่ร่างกายปราศจากโรค เพราะ การลุกขึ้นสำหรับผู้ที่ป่วย เป็นของหนัก เป็นไปด้วยความล่าช้า.
พลํ คือ เรี่ยวแรงในกาย หมายถึง ภาวะที่ร่างกายปราศจากโรคเช่นกัน เนื่องจากผู้ป่วยมีกำลังน้อย
สองคำนี้เป็นคำทักทายถึงภาวะที่ร่างกายปราศจากโรคและมีพละกำลังแข็งแรงดี.
ผาสุวิหาร คือ มีความสุขสบายดีในอิริยาบถ ๔ กล่าวคือ มีการดำรงอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างราบรื่น ข้อนี้เป็นการถามการอยู่สำราญไว้เป็นกรณีพิเศษ เพราะได้ถามถึงการอยู่ไม่สำราญแล้ว.
[10] คำว่า อุจฺเฉจฺฉามิ หรือ อุจฺฉินฺทิสฺสามิ ในที่นี้แปลโดยโวหารัตถะ แปลโดยสัททัตถะ คือ จักตัดสะบั้น ได้แก่ การทำให้การสืบต่อวงศ์ตระกูลขาดสูญ ตามที่ฎีกาอธิบายว่า อุจฺฉินฺทิสฺสามีติ อุมฺมูลนวเสน กุลสนฺตติํ ฉินฺทิสฺสามิฯ ตัดการสืบต่อตระกูลอย่างถอนราก.
[11] อนยพฺยสน นี้เป็นทวันทสมาส หมายถึง ความเสื่อมและความสูญเสีย มาจาก อนย ความไม่เจริญ + พฺยสน สภาพที่กำจัดความสุขและประโยชน์ กล่าวคือ การสูญเสียญาติเป็นต้น. ในที่นี้แปลโดยโวหารัตถะว่า ย่อยยับ.
[12] วิตถํ เป็นกิริยาวิเสสนะใน ภณนฺติ แต่อาจแปลเป็นกรรม โดยเพิ่ม วจนํ เป็นปาฐเสสะว่า วจนํ ซึ่งคำ วิตถํ ไม่จริง.      
[13] คัมภีร์อรรถกถากล่าวถึงสาเหตุที่พระเจ้าอชาตศัตรูแม้ทรงทราบดีกว่าการรบกับคณะเจ้าเป็นเรื่องที่ทำได้ยากและไม่อาจผิดพลาดแม้เพียงหนเดียว ควรมีบัณฑิตเป็นที่ปรึกษาและทรงคำนึงถึงพระศาสดาว่าควรเป็นที่ปรึกษาของพระองค์ในเรื่องนี้. แม้ทรงดำริเช่นนี้ก็ไม่เสด็จไปทูลถามพระศาสดาด้วยพระองค์เอง แต่ส่งวัสสการพราหมณนั้นไป ด้วยทรงดำริว่า ถ้าทรงเสด็จไปเองประโยชน์จะเกิดขึ้นแก่พระองค์เพียงเล็กน้อย พระศาสดาก็จักไม่ตรัสอะไรด้วย เมื่อการไปไร้ประโยชน์ พระศาสดาก็จักตรัสว่า พระราชาเสด็จไปในที่นั้น จะมีประโยชน์อะไร. 
*************
ขออนุโมทนา
สมภพ สงวนพานิช
เรียบเรียงคำแปลและคำชี้แจง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น