วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2559

มหาปรินิพพานสูตร ครั้งที่ ๒ วัสสการพราหมณ์

วสฺสการพฺราหฺมโณ
๑๓๓. ‘‘เอวํ, โภ’’ติ โข วสฺสกาโร พฺราหฺมโณ มคธมหามตฺโต รญฺโญ มาคธสฺส อชาตสตฺตุสฺส เวเทหิปุตฺตสฺส ปฏิสฺสุตฺวา ภทฺทานิ ภทฺทานิ ยานานิ โยเชตฺวา ภทฺทํ ภทฺทํ ยานํ อภิรุหิตฺวา ภทฺเทหิ  ภทฺเทหิ ยาเนหิ ราชคหมฺหา นิยฺยาสิ, เยน คิชฺฌกูโฏ ปพฺพโต เตน ปายาสิฯ ยาวติกา ยานสฺส ภูมิ, ยาเนน คนฺตฺวา, ยานา ปจฺโจโรหิตฺวา ปตฺติโกว เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ; อุปสงฺกมิตฺวา ภควตา สทฺธิํ   สมฺโมทิฯ สมฺโมทนียํ กถํ สารณียํ วีติสาเรตฺวา เอกมนฺตํ นิสีทิฯ เอกมนฺตํ นิสินฺโน โข วสฺสกาโร  พฺราหฺมโณ  มคธมหามตฺโต ภควนฺตํ เอตทโวจ – ‘‘ราชา, โภ โคตม, มาคโธ อชาตสตฺตุ เวเทหิปุตฺโต โภโต โคตมสฺส ปาเท สิรสา วนฺทติ, อปฺปาพาธํ อปฺปาตงฺกํ ลหุฏฺฐานํ พลํ ผาสุวิหารํ ปุจฺฉติฯ ราชา, โภ โคตม, มาคโธ อชาตสตฺตุ เวเทหิปุตฺโต วชฺชี อภิยาตุกาโมฯ โส เอวมาห – ‘อหํ หิเม วชฺชี เอวํมหิทฺธิเก  เอวํมหานุภาเว อุจฺเฉจฺฉามิ วชฺชี, วินาเสสฺสามิ วชฺชี, อนยพฺยสนํ อาปาเทสฺสามี’’’ติฯ

วสฺสการพฺราหฺมโณ
กถาปรารถพราหมณ์ชื่อว่า วัสสการ
๑๓๓. พฺราหฺมโณ อ.พราหมณ์ วสฺสกาโร ผู้มีนามว่าวัสสการ มคธมหามตฺโต อำมาตย์ใหญ่แห่งแคว้นมคธ ปฏิสฺสุตฺวา ทูลรับแล้ว[1] รญฺโญ ต่อพระราชา อชาตสตฺตุสฺส พระนามว่าอชาตศัตรู มาคธสฺส ผู้เป็นใหญ่ในแคว้นมคธ เวเทหิปุตฺตสฺส พระโอรสของพระนางเวเทหี อิติ ว่า โภ ท่านผู้เจริญ เอวํ = สาธุ  พระเจ้าข้า[2] ดังนี้ โยเชตฺวา ให้ประกอบแล้ว ภทฺทานิ ภทฺทานิ ยานานิ ขบวนรถชั้นดี[3]  อภิรุหิตฺวา ขึ้นแล้ว ภทฺทํ ภทฺทํ ยานํ รถชั้นดีหนึ่งคัน นิยฺยาสิ ออกไป ราชคหมฺหา จากกรุงราชคฤห์ ภทฺเทหิ ภทฺเทหิ ยาเนหิ กับด้วยขบวนรถชั้นดี, คิชฺฌกูโฏ อ.เขาคิชฌกูฏ อตฺถิ มีอยู่ เยน = เต ทิสาภาเค ในทิศใด, ปาวิสิ เข้าไปแล้ว เตน ทิสาภาเคน สู่ทิศนั้น., ภูมิ อ.พื้นที่อันควรไป ยานสฺส สำหรับรถ อตฺถิ มีอยู่  ยาวติกา เพียงใด, คนฺตฺวา ไปแล้ว ยาเนน ยาเนน ด้วยรถชั้นดี ตาวติกา เพียงนั้น[4] ปจฺโจโรหิตฺวา   ลงแล้ว ยานา จากรถ ปตฺติโกว เป็นผู้เดินไปนั่นเทียว, ภควา พระผู้มีพระภาค วิหรติ ประทับอยู่ เยน = ยตฺถ ทิสาภาเค ในทิศใด, อุปสงฺกมิ เข้าไปเฝ้าแล้ว เตน = ตตฺถ = ตํ ทิสาภาคํ สู่ทิศนั้น, อุปสงฺกมิตฺวา ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว สมฺโมทิ ยินดีเหมือนกันแล้ว (สมฺโมทนียกถาย) ด้วยสัมโมทนียกถา สทฺธึ กับ  ภควตา พระผู้มีพระภาค[5]. โส พราหมณ์นั้น กถํ คำสนทนา สมฺโมทนียํ อันควรให้เกิดความบันเทิง  สาราณียํ อันสร้างความระลึกถึง[6] วีติสาเรตฺวา[7] ให้ล่วงผ่านแล้ว นิสีทิ จึงนั่ง เอกมนฺตํ อย่างสมควร[8].พฺราหฺมโณ พราหมณ์ วสฺสกาโร ผู้มีนามว่าวัสสการ มคธมหามตฺโต อำมาตย์ใหญ่แห่งแคว้นมคธ นิสินฺโน โข ครั้นนั่ง เอกมนฺตํ อย่างสมควรแล้ว อโวจ ได้กราบทูลแล้ว เอตํ วจนํ ซึ่งคำนั้น ภควนฺตํ กะพระผู้มีพระภาคเจ้า ว่า  โคตม ข้าแต่พระโคดม โภ ผู้เจริญ ราชา พระราชา มาคโธ ผู้เป็นใหญ่ในแคว้นมคธ   อชาตสตฺตุ พระนามว่า อชาตศัตรู เวเทหิปุตฺโต พระโอรสของพระนางเวเทหี วนฺทติ ขอถวายบังคมปาเท พระยุคลบาทท. ภควโต ของพระผู้มีพระภาค สิรสา ด้วยเศียรเกล้า,  ปุจฺฉติ ขอทูลถาม   อปฺปาพาธํ ความมีอาพาธน้อย อปฺปาตงฺกํ ความมีโรคน้อย ลหุฏฺฐานํ ความกระปี้กระเปร่า พลํ  พระกำลัง ผาสุวิหารํ การอยู่สำราญ อิติ ดังนี้.  โคตม ข้าแต่พระโคดม โภ ผู้เจริญ ราชา พระราชา มาคโธ ผู้เป็นใหญ่ในแคว้นมคธ  อชาตสตฺตุ พระนามว่า อชาตศัตรู เวเทหิปุตฺโต พระโอรสของพระนางเวเทหี อภิยาหิตุกาโม มีพระประสงค์จะเสด็จไปปราบ วชฺชี ซึ่งเจ้าวัชชีท.  โส อ.พระราชา อาห รับสั่งแล้ว เอวํ อย่างนี้ว่า หิ อนึ่ง อหํ เรา อุจฺเฉจฺฉามิ จะโค่นล้ม  วชฺชี ซึ่งเจ้าวัชชีท. อิเม เหล่านี้  มหิทฺธิเก ผู้มีฤทธิ์มาก เอวํ อย่างนี้ มหานุภาเว มีอานุภาพมาก เอวํ อย่างนี้ (อิเม) วชฺชี ยังเจ้าวัชชีท.เหล่านี้ วินาเสสฺสมิ ให้พินาศ (อิเม) วชฺชี ยังเจ้าวัชชีท. เหล่านี้ อาปาเทสฺสามิ จักให้ถึง อนยพฺยสนํ  ซึ่งความย่อยยับ อิติ ดังนี้.


**************


[1] ปฏิสฺสุตฺวา มาจาก ปติ + สุธาตุ.   สุ ธาตุ ที่มี ปติ อุปสรรคเป็นบทหน้า มีความหมายว่า ตอบ หรือ รับคำกล่าว เป็นบทที่สามารถครองสัมปทานการกะ คือ บทลงจตุตถีวิภัตติมารับ ดังหลักการใช้สัมปทานการกในสูตรกัจจายนไวยากรณ์ว่า สิลาฆ ... ปจฺจาสุณอนุปติคิณฯ  โดยมีข้อมีข้อจำกัดว่า บทกัตตา กล่าวคือ ประธาน ในประโยคแรกที่มีกิริยาเกี่ยวกับการกล่าว  จะเป็นสัมปทานการกะในประโยคหลัง ที่มีกิริยาอันสำเร็จรูปจาก สุธาตุ ที่มีปติ หรือ อาอุปสัคเป็นบทหน้า และคิธาตุ ที่มีอนุ หรือ ปติอุปสัคเป็นบทหน้า. ในที่นี้ ประโยคหน้าคือ ราชา เป็นกัตตาและมาเป็นสัมปทานในประโยคหลังว่า รญฺโญ.
[2]  เอวํ มีอรรถอายจนัตถนิบาต เหมือน สาธุศัพท์
[3] การใช้คำซ้ำเช่นนี้เรียกว่า อาเมฑิตะ ใช้เพื่อย้ำความบางประการ อาทิ น่าอัศจรรย์ ตกใจ แผ่ไปทุกส่วน ในที่นี้ใช้ในความหมาย แผ่ไปทุกส่วน หมายถึง ในทุกคันมีความเป็นรถที่ถูกประกอบเป็นอย่างดี.
[4] อีกนัยหนึ่ง คนฺตวา ครั้นไปแล้ว ยาเนน ยาเนน ด้วยรถชั้นดี ยาวติกา จรดถึงพื้นที่อันสามารถไปด้วยรถ.
[5] สมฺโมทิ แยกเป็น สํ สม คือ เสมอเหมือน และ มุท ยินดี คือว่า พระผู้มีพระภาคทรงยินดีด้วยไมตรีกับวัสสการพราหมณ์ ด้วยคำทักทายปราศรัยว่า “ขมนียํ ท่านพออดทนได้หรือ ยาปนียํ พอเป็นไปได้หรือ” ก่อน. แม้วัสสการพราหมณ์ ก็ยินดีด้วยมีไมตรีเสมอเหมือนพระผู้มีพระภาค. แต่ที่แปลว่า ทักทายปราศรัยแล้ว ถือว่าแปลโดยโวหาร เพราะถือเอาการทักทายปราศรัยเป็นเหตุให้เกิดความยินดีเช่นนั้น.
อีกนัยหนึ่งแปลตามอรรถกถาอัมพัฏฐสูตรว่า สมฺโมทิ = สมฺโมทนกิริยาย เอกีภาวํ อคมิ ถึงความเป็นอันเดียวกันด้วยอาการที่บันเทิงแล้ว.  ฎีกาอัมพัฏฐสูตร ตั้งข้อสังเกตว่า มุท ใน สมฺโมทิ มีอรรถสํสนฺทน รวมกัน  ไม่ได้มีอรรถว่า ปาโมชฺช ปราโมทย์ เพราะในอรรถกถาอธิบายด้วยอุปมาว่า ถึงความเป็นอันเดียวกันเหมือนน้ำเย็นเข้ากันได้กับน้ำร้อน.  อันที่จริง มุท ธาตุ มีอรรถ ๒ คือ หสฺส รื่นเริง และ ที่ใช้ในความหมายว่า สํสคฺค ปะปน. (ที.สี.ฎี. ๒/๒๕๙)
[6] สมฺโมทนียกถา ได้แก่ บทสนทนาที่ควรต่อความเป็นผู้เสมอเหมือนกัน เพราะให้เกิดความเสมอเหมือนกันคือปีติและปราโมทย์ ส่วนสารณ๊ยกถา ได้แก่ คำทักทายที่ควรให้เป็นไปตลอดกาลยาวนานและโดยความเป็นคำพูดที่ควรให้ระลึกถึง เนื่องจากมีความหมายและถ้อยคำไพเราะสะกิดใจ. คำทักทายแม้จะกล่าวเป็นสองชนิด โดยคำศัพท์ แต่ถ้อยคำก็เป็นไปโดยนัยว่า ขมนียํ ยาปนียํ อปฺปาพาธํ อปฺปาตงฺกํ ลหุฏฺฐานํ พลํ และ ผาสุวิหาร เป็นต้น ดังที่นิยมในภาษามคธ. คัมภีร์อรรถกถายังแยกให้เห็นความต่างกันของสัมโมทนียะและสารณียะ เช่น สัมโมทนียะ คือ ฟังอย่างมีความสุข, มีพยัญชนะบริสุทธิ์ คือ ไม่ขาด ไม่เกิน. สารณียะ คือ ระลึกถึงอย่างมีความสุข, มีเนื้อความบริสุทธิ์ คือ ไม่ขาดไม่เกิน.
[7] วีติสาเรตฺวา มาจาก วิ อติ สร + เณ ตฺวา ให้เป็นไปล่วงแล้ว หมายถึง ปริโยสาเปตฺวา ให้จบลง. กล่าวคือ สนทนาจบ.
[8] เอกมนฺตํ เป็นทุติยาวิภัตติลงในอรรถกิริยาวิเสสนะ ใน นิสีทติ หมายความว่า นั่งอย่างเหมาะสมเยี่ยงบัณฑิตผู้รู้มรรยาท. อีกนัยหนึ่ง เป็นทุติยาวิภัตติลงในอรรถสัตมีวิภัตติ แปลว่านิสีทิ จึงนั่ง เอกมนฺตํ = เอกมนฺเต  ในที่อันเหมาะสมอันเว้นจากโทษ ๖ ประการมีการนั่งใกล้เกินไปเป็นต้น. (ปารา.อฏฺ.๑/๒)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น