ภิกขุอปริหานิยธรรม ๓ - ๔ /๗
‘‘ยาวกีวญฺจ, ภิกฺขเว, ภิกฺขู
อปญฺญตฺตํ น ปญฺญเปสฺสนฺติ, ปญฺญตฺตํ น สมุจฺฉินฺทิสฺสนฺติ,
ยถาปญฺญตฺเตสุ สิกฺขาปเทสุ สมาทาย วตฺติสฺสนฺติ, วุทฺธิเยว, ภิกฺขเว, ภิกฺขูนํ
ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานิฯ
ภิกฺขเว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จ อนึ่ง ยาวกีวํ
ตราบใด ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลาย น ปญฺญเปสฺสนฺติ จักไม่บัญญัติ อปญฺญตฺตํ
ซึ่งสิกขาบทอันเราไม่บัญญัติแล้ว, น สมุจฺฉินฺทิสฺสนฺติ จักไม่ยกเลิก ปญฺญตฺตํ
ซึ่งสิกขาบทอันเราบัญญัติแล้ว, วตฺติสฺสนฺติ จักประพฤติ สมาทาย โดยถือมั่น
สิกฺขาปเทสุ ในสิกขาบททั้งหลาย ยถาปญฺญตฺเตสุ
ตามควรแก่สิกขาบททั้งหลายอันเราบัญญัติแล้ว, ตาวกีวํ ตราบนั้น ภิกฺขเว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วุทฺธิ เอว ความเจริญ นั่นเทียว ปาฏิกงฺขา
อันภิกษุพึงหวังได้, ปริหานิ ความเสื่อม โน ปาฏิกงฺขา
อันภิกษุไม่พึงหวัง.[1]
‘‘ยาวกีวญฺจ, ภิกฺขเว, ภิกฺขู เย
เต ภิกฺขู เถรา รตฺตญฺญู จิรปพฺพชิตา สงฺฆปิตโร สงฺฆปริณายกา, เต สกฺกริสฺสนฺติ ครุํ กริสฺสนฺติ มาเนสฺสนฺติ ปูเชสฺสนฺติ, เตสญฺจ โสตพฺพํ มญฺญิสฺสนฺติ, วุทฺธิเยว, ภิกฺขเว, ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา, โน
ปริหานิฯ
ภิกฺขเว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จ อนึ่ง เย เต ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลายเหล่าใด
เถรา เป็นพระเถระ รตฺตญฺญู รู้ราตรีนาน จิรปพฺพชิตา บวชมานาน สงฺฆปิตโร
ดำรงอยู่ในฐานะบิดาแห่งสงฆ์ สงฺฆปริณายกา
เป็นผู้นำของสงฆ์ โหนฺติ มีอยู่[2], ยาวกีวํ
ตราบใด ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลาย สกฺกริสฺสนฺติ จักสักการะ กริสฺสนฺติ
จักกระทำ ครุํ ซึ่งความเคารพ, มาเนสฺสนฺติ จักยกย่อง, ปูเชสฺสนฺติ
จักบูชา เต ซึ่งภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเถระทั้งหลายเหล่านั้น, มญฺญิสฺสนฺติ
จักคำนึง โสตพฺพํ ซึ่งคำพร่ำสอน เตสํ จ
ของภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ด้วย, ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตาวกีวํ
ตราบนั้น วุทฺธิ เอว ความเจริญ นั่นเทียว ปาฏิกงฺขา
อันภิกษุพึงหวังได้, ปริหานิ ความเสื่อม โน ปาฏิกงฺขา
อันภิกษุไม่พึงหวัง.[3]
[1] ในกรณีนี้
คือ ความเจริญด้วยศีลเป็นต้น. การตั้งกติกาวัตรหรือสิกขาบทขึ้นใหม่ ชื่อว่า
บัญญัติข้อที่ไม่ได้ทรงบัญญัติ. ส่วนการแสดงคำสอนไปตามธรรมวินัย
ไม่เพิกถอนสิกขาบทน้อยใหญ่ ชื่อว่า ประพฤติสมาทานในสิกขาบทตามที่ทรงบัญญัติ.
คัมภีร์อรรถกถายกกรณีที่พระมหากัสสปเถระยืนยันการไม่บัญญัติข้อที่มิได้ทรงบัญญัติไว้ท่ามกลางสงฆ์เป็นสาธก.
ขอนำมาให้เป็นกรณีศึกษาดังนี้ ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
สิกขาบทของพวกเราที่ปรากฏแก่คฤหัสถ์มีอยู่ แม้พวกคฤหัสถ์ก็รู้ว่า
สิ่งนี้ควรแก่พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร สิ่งนี้ไม่ควร
ถ้าพวกเราจักถอนสิกขาบทเล็กน้อยเสีย จักมีผู้กล่าวว่า
พระสมณโคดมบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลายเป็นกาลชั่วควันไฟ
(คือไม่เป็นไปหลังจากที่ควันไฟสงบลง ที.ม.ฎี๑๓๖)
พระศาสดาของพระสมณะเหล่านี้ยังดำรงอยู่ตราบใด
สาวกเหล่านี้ยังศึกษาในสิกขาบททั้งหลายตราบนั้น
เพราะเหตุที่พระศาสดาของพระสมณะเหล่านี้ปรินิพพานแล้ว
พระสมณะเหล่านี้จึงไม่ศึกษาในสิกขาบททั้งหลายในบัดนี้
ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้วสงฆ์ไม่พึงบัญญัติสิ่งที่ไม่ทรงบัญญัติไม่พึงถอนพระบัญญัติที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว
พึงประพฤติสมาทานในสิกขาบททั้งหลายตามที่ทรงบัญญัติแล้วนี้เป็นญัตติ.
(วิ.จูฬ.๗/๖๒๑)
[2] ในพระบาฬีมีคำชุดแบบนี้ที่กล่าวถึงคุณลักษณะของภิกษุผู้เป็นพระเถระในสงฆ์ว่า
เถร รตฺตญฺญู จิรปฺปพฺพชิต สงฺฆปิตุ สงฺฆปริณายก (ดูพระบาฬีอื่น
อาทิ มหาโคปาลกสูตร ม.มู ๓๔๖)
เถร
ผู้มั่นคง คือ ถึงความมั่นคงในพระศาสนา ไม่กลับไปสู่คฤหัสถ์
ประกอบด้วยอเสกขธรรมมีศีลขันธ์เป็นต้นอันสร้างความเป็นพระเถระ.
รตฺตญฺญู
รู้ราตรี คือ รู้ราตรี โดยเป็นผู้บวช คือ ผ่านวันคืนแห่งบรรพชิตมาช้านาน
จิรปฺปพฺพชิต
บวชมานาน คือ เป็นบรรพชิตมาช้านาน
สังฆปิตุ สังฆบิดา
คือ ดำรงอยู่ในตำแหน่งบิดาของสงฆ์
สงฺฆปริณายก
ผู้นำสงฆ์ คือ ผู้นำในศาสนกิจของสงฆ์ เป็นหัวหน้านำภิกษุให้ดำเนินไป
ให้ตั้งมั่นในสิกขา ๓ เพราะดำรงในฐานะแห่งบิดา
[3] เมื่อเข้าไปบำรุงพระสังฆเถระ
ก็จะได้ฟังโอวาท รับฟังธรรมสาระมีโพชฌงค์เป็นต้น แนวทางปฏิบัติมีธุดงควัตรเป็นต้น
กระทั่งประเพณีปฏิบัติที่ครูอาจารย์แต่โบราณสั่งสอนกันสืบมา อาทิ
ควรใช้อิริยาบถอย่างนี้ ควรครองบาตรจีวรอย่างนี้. ครั้นดำเนินตามโอวาทนั้นไม่ออกนอกธรรมนอกวินัยกระทั่งบรรลุถึงสามัญผลเป็นลำดับ.
การกระทำสักการะเป็นต้นต่อพระเถระจะเป็นเหตุให้เจริญด้วยอริยทรัพย์และธรรมขันธ์มีศีลเป็นต้น
อย่างนี้.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น