วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2559

มหาปรินิพพานสูตรแปล ครั้งที่ ๔ ภิกขุอปริหานิยธรรม ๑/๗

ภิกฺขุอปริหานิยธมฺมา
ภิกขุอปริหานิยธรรม (๑)
๑๓๖. อถ โข ภควา อจิรปกฺกนฺเต วสฺสกาเร พฺราหฺมเณ มคธมหามตฺเต อายสฺมนฺตํ อานนฺทํ อามนฺเตสิ – ‘‘คจฺฉ ตฺวํ, อานนฺท, ยาวติกา ภิกฺขู ราชคหํ อุปนิสฺสาย วิหรนฺติ, เต สพฺเพ อุปฏฺฐานสาลายํ สนฺนิปาเตหี’’ติฯ ‘‘เอวํ, ภนฺเต’’ติ  โข อายสฺมา อานนฺโท ภควโต ปฏิสฺสุตฺวา ยาวติกา ภิกฺขู ราชคหํ  อุปนิสฺสาย วิหรนฺติ, เต สพฺเพ อุปฏฺฐานสาลายํ สนฺนิปาเตตฺวา เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ; อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺตํ อภิวาเทตฺวา เอกมนฺตํ อฏฺฐาสิฯ เอกมนฺตํ ฐิโต โข อายสฺมา อานนฺโท ภควนฺตํ เอตทโวจ –  ‘‘สนฺนิปติโต, ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, ยสฺสทานิ, ภนฺเต, ภควา กาลํ มญฺญตี’’ติ.

อถ โข ต่อจากนั้น วสฺสกาเร พฺราหฺมเณ เมื่อวัสสการพราหมณ์ มคธมหามตฺเต มหาอำมาตย์แคว้นมคธ อจิรปกฺกนฺเต จากไปไม่นาน ภควา พระผู้มีพระภาค อามนฺเตสิ รับสั่งแล้ว อายสฺมนฺตํ อานนฺทํ กะท่านพระอานนท์ว่า อานนฺท อานนท์ ตฺวํ  เธอ คจฺฉ จงไป,  ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลาย  อุปนิสฺสาย  อาศัย  ราชคหํ เมืองราชคฤห์[1] วิหรนฺติ อยู่ ยาวติกา มีประมาณเพียงไร, ตฺวํ เธอ สพฺเพ เต ภิกฺขู ยังภิกษุท.เหล่านั้น สนฺนิปาเตหิ จงให้ประชุมกัน[2] อุปฏฺฐานสาลายํ ในหอฉัน[3]. อายสฺมา อานนฺโท ท่านพระอานนท์ ปฏิสฺสุตฺวา ทูลรับแล้ว ภควโต ต่อพระผู้มีพระภาค อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เอวํ พระเจ้าข้า ดังนี้ สพฺเพ เต ภิกฺขู ยังภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด สนฺนิปาเตตฺวา ให้ประชุมแล้ว   อุปฏฺฐานสาลายํ   ในหอฉัน,  ภควา พระผู้มีพระภาคเจ้า  วิหรติ ย่อมประทับอยู่ เยน = ยตฺถ ทิสาภาเค ในส่วนแห่งทิศใด, อุปสงฺกมิ เข้าไปเฝ้าแล้ว ตตฺถ ในส่วนแห่งทิศนั้น.  อายสฺมา อานนฺโท ท่านพระอานนท์ อุปสงฺกมิตฺวา ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว  อภิวาเทตฺวา   ถวายบังคมแล้ว ภควนฺตํ ซึ่งพระผู้มีพระภาค  อฏฺฐาสิ ได้ยืนแล้ว เอกมนฺตํ อย่างสมควร.  อายสฺมา อานนฺโท ท่านพระอานนท์ ฐิโต โข ยืนแล้ว เอกมนฺตํ อย่างสมควร อโวจ ได้กราบทูลแล้ว เอตํ วจนํ ซึ่งคำนี้ ภควนฺตํ กะพระผู้มีพระภาคเจ้า อิติ ว่า  ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกฺขุสงฺโฆ ภิกษุสงฆ์  สนฺนิปติโต ประชุมกันแล้ว, ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  อิทานิ บัดนี้ ภควา ขอพระผู้มีพระภาค  มญฺญสิ = ชานาสิ ย่อมทรงทราบ กาลํ ซึ่งกาล ยสฺส (คมนสฺส) แห่งการเสด็จไป ใด, ภควา ขอพระผู้มีพระภาค กโรตุ จงกระทำ ตํ (คมนํ) ซึ่งกาเสด็จไปนั้นเถิด อิติ ดังนี้.

อถ โข ภควา อุฏฺฐายาสนา เยน อุปฏฺฐานสาลา เตนุปสงฺกมิ; อุปสงฺกมิตฺวา ปญฺญตฺเต อาสเน  นิสีทิฯ นิสชฺช โข ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ – ‘‘สตฺต โว, ภิกฺขเว, อปริหานิเย ธมฺเม เทเสสฺสามิ, ตํ สุณาถ, สาธุกํ มนสิกโรถ, ภาสิสฺสามี’’ติฯ ‘‘เอวํ, ภนฺเต’’ติ โข เต ภิกฺขู ภควโต ปจฺจสฺโสสุํฯ ภควา เอตทโวจ
อถ โข ต่อจากนั้น ภควา พระผู้มีพระภาคเจ้า อุฏฺฐาย ทรงลุกขึ้นแล้ว อาสนา จากที่ประทับนั่ง, อุปฏฺฐานสาลา หอฉัน อตฺถิ มีอยู่ เยน = ยตฺถ ทิสาภาเค ในส่วนแห่งทิศใด, อุปสงฺกมิ เสด็จไปแล้ว  เตน ทิสาภาเคน โดยส่วนแห่งทิศนั้น. อุปสงฺมิตฺวา ครั้นทรงเข้าไปแล้ว นิสีทิ ประทับนั่งแล้ว   อาสเน บนอาสะ ปญฺญตฺเต อันภิกษุปูลาดแล้ว. ภควา พระผู้มีพระภาค นิสชฺช โข ประทับนั่งแล้ว อามนฺเตสิ ทรงตรัสแล้ว ภิกฺขู กะภิกษุทั้งหลาย อิติ ว่า ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อหํ เรา เทเสสฺสามิ[4] จักแสดง ธมฺเม ซึ่งธรรมทั้งหลาย  อปริหานิเย[5]  อันสร้างความไม่เสื่อม  สตฺต ๗ ประการ[6], ตุมฺเห พวกเธอ สุณาถ จงฟัง ตํ ธมฺมํ ซึ่งธรรมนั้น, มนสิกโรถ จงใส่ใจ ตํ ธมฺมํ ซึ่งธรรมนั้น สาธุกํ อย่างดี,  อหํ เรา  ภาสิสฺสามิ จักกล่าว ดังนี้.  เต ภิกฺขู ภิกษุเหล่านั้น ปจฺจสฺโสสุํ รับสนองพระดำรัสแล้ว ภควโต ต่อพระผู้มีพระภาค อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เอวํ พระเจ้าข้า” ดังนี้. ภควา พระผู้มีพระภาค อโวจ     ตรัสแล้ว เอตํ ซึ่งพระดำรัสนั้น (อิติ) ว่า

‘‘ยาวกีวญฺจ, ภิกฺขเว, ภิกฺขู อภิณฺหํ สนฺนิปาตา สนฺนิปาตพหุลา ภวิสฺสนฺติ, วุทฺธิเยว, ภิกฺขเว, ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานิฯ
ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ยาวกีวํ ตราบใด ภิกฺขู ภิกษุท้้งหลาย สนฺนิปาตา เป็นผู้ประชุมกัน สนฺนิปาตพหุลา ประชุมร่วมกัน อภิณฺหํ เนืองๆ โหนฺติ ย่อมเป็น, ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วุทฺธิ เอว ความเจริญ นั่นเทียว ปาฏิกงฺขา อันภิกษุพึงหวังได้ [7], ปริหานิ ความเสื่อม โน ปาฏิกงฺขา อันภิกษุไม่พึงหวัง.[8]






[1] การอยู่ในเมืองราชคฤห์ของภิกษุเหล่านั้นมี ๒ นัย คือ อยู่ในที่ใกล้เมืองราชคฤห์แล้วทำเมืองราชคฤห์ให้เป็นโคจรคาม และ โดยเป็นที่พำนัก. ในที่นี้บทว่า ราชคหํ เป็นทุติยาวิภัตติมีความหมายว่าเป็นโคจรคาม.  ถ้าเป็นสัตตมีวิภัตติ ว่า   ราชคเห วิหรนฺติ ก็จะหมายถึงเป็นที่อยู่อาศัย. แต่ในกรณีที่มีสองบทและเป็นสัตตมีวิภัตติทั้งคู่ ถ้าคัมภีร์อรรถกถาพรรณาบทใดเป็นทุติยาวิภัตติและเพิ่มบทว่า อุปนิสฺสาย เป็นปาฐเสสะ เหมือนพระบาฬีนี้ แสดงว่า สัตตมีวิภัตติบทนั้นมีอรรถเป็นสมีปะ คือ อาศัยอยู่ในที่ใกล้เมืองราชคฤห์ แล้วอาศัยเมืองราชคฤห์ทำกิจอื่นที่ไม่ใช่การอยู่อาศัย เช่น เป็นโคจรคามเป็นต้น และอีกบทหนึ่งมิได้พรรณนาเป็นวิภัตติอื่น แสดงว่า บทสัตตมีวิภัตตินั้นมีอรรถนิวาสนะ คือ เป็นที่อยู่. (ดูตัวอย่างเช่นนี้ใน พระบาฬีอัมพัฏฐสูตรและอรรถกถาฎีกา (ที.สี. ๘/๒๕๔).
[2] หมายถึง การไปบอกให้ภิกษุเหล่านั้นมาประชุม โดยพระอานนท์เถระจะไปบอกด้วยตนเองถ้าอยู่ในที่ใกล้ๆ ส่วนที่อยู่ไกลออกไป ก็จะวานให้รูปอื่นที่มีฤทธิ์ให้ไปบอก. (ที.มหา.อ.๑๓๖)
[3] อุปฏฺฐานสาลา หอฉัน นี้แปลโดยโวหารัตถะ แต่โดยทั่วไป หมายถึง หอที่สร้างขึ้นเพียงสำหรับเข้าไปประกอบกิจบางอย่างชั่วคราวเท่านั้น เช่น ฉันอาหาร ประชุม หรือทำวัตรและวัตรตอบอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ใช่เป็นที่นั่งอยู่ข้ามวันคืน ดังนั้น โดยอธิปเปตัตถะ  จึงหมายถึงหอฉันก็ได้ หอประชุม หอบำรุงพระเถระ ก็ได้  (สี.ฎี.๑/๓,สี.ฎี. ๑/๒๕๐)
[4] การแสดงธรรมของพระผู้มีพระภาค หมายถึง การตรัสให้ธรรมปรากฏชัด อุปมาเหมือนกับทรงทำให้มีพระจันทร์และพระอาทิตย์ขึ้นมาอย่างละพันดวง เหมือนกับจุดประทีปขึ้นพร้อมกันหนึ่งพันดวง. (ที.มหา.อ. ๑๓๖) เมื่อถอดความจากอุปมาดังกล่าวก็จะได้ว่า ธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาค เมื่อทำแสงสว่างคือปัญญาให้ผ่องใสมากยิ่งขึ้น ก็จะสามารถทำลายความมืดในหทัยของเหล่าสัตว์, และพระผู้มีพระภาคก็ทรงแสดงอรรถที่ควรแสดง ให้แจ่มแจ้งเป็นอย่างดี ประหนึ่งผลมะขามป้อมบนฝ่ามือ. (ที.มหา.ฎี.๑๓๖)
[5] คัมภีร์อรรถกถาเรียกธรรม ๗ ประเหล่านี้ว่า อปริหานิกรธรรม ธรรมที่สร้างความไม่เสื่อม เหตุที่เป็นตัวสร้างความไม่เสื่อม หมายความว่า เป็นเหตุของความเจริญ เนื่องจากว่า ตนเป็นปฏิปักษ์ตรงต่อความเสื่อมนั่นเอง. ส่วนความหมายโดยสัททนัย หมายถึง ธรรมอันเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ความไม่เสื่อม โดยมาจาก อปริหาน + อิย = หิตตัทธิต.  อีกนัยหนึ่ง น + ปริ + หา เสื่อม + อนียะ พึง) นามกิตก์กรณสาธนะ วิ. น ปริหายนฺติ เอเตหีติ อปริหานิยา บุคคลย่อมไม่เสื่อมด้วยธรรมเหล่านี้ เหตุนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อ อปริหานิย ธรรมเป็นเหตุไม่เสื่อม. (ที.มหา.ฎี.๑๒๕) รูปวิเคราะห์นี้ อนีย ปัจจัยใช้ในกรณสาธนะ.
[6] การแสดงภิกขุอปริหานิยธรรมของพระผู้มีพระภาคแนวเดียวกับราชอปริหานิยธรรม มีเหตุผลว่า  อปริหานิยธรรมกถามีการหมั่นประชุมกันเป็นต้นของเจ้าวัชชี เป็นธรรมที่อิงอาศัยวัฏฏะอยู่ ยังไม่เป็นนิยยานิกเทศนา ดังนั้น จึงทรงแสดงธรรมเช่นนั้นไว้ในพระศาสนา โดยเป็นธรรมที่อิงอาศัยวิวัฏฏะ เป็นนิยยานิกเทศนา.  เมื่อภิกษุปฏิบัติในอปริหานิยธรรมเหล่านี้  แม้ความมั่นคงของพระศาสนาก็จะพึงมีในกาลภายหลังจากที่พระองค์ปรินิพพานแล้ว. (ที.มหา.ฎี. ๑๓๖)
[7] ปาฏิกงฺขา ตามมติของพระโบราณาจารย์ไทยกล่าวว่า มาจาก ปฏิ + กงฺข = ปรารถนา + ณ ปัจจัย และ ณปัจจัยในศัพท์นี้แม้เป็นนามกิตก์ ก็สามารถใช้เป็นกิริยาคุมพากย์เหมือนกิริยากิตก์ได้  (อธิบายวากยสัมพันธ์เล่ม ๒ น.๕๙).  ส่วนที่เคยแปลในตอนราชอปริหานิยธรรมนั้น เป็นนามกิตก์กรรมสาธนะ จึงไม่ใช่กิริยาคุมพากย์.  ในที่นี้แปลตามมติของโบราณาจารย์ไทย เพื่อให้เห็นแนวทางการแปลไว้อีกนัยหนึ่ง.
[8] การหมั่นประชุมกันเป็นต้นของภิกษุก็เป็นไปเพื่อสร้างความมั่นคงแห่งสังฆมณฑล เช่นเดียวกับการหมั่นประชุมกันของเจ้าวัชชี กล่าวคือ เพื่อรับรายงานความเคลื่อนไหวของภิกษุทั่วทุกสารทิศทำนองว่า บัดนี้ ในท้องที่นั้นๆ เกิดเหตุการณ์อันเกิดแต่ความประพฤตินอกธรรมนอกวินัย การประพฤติมิชอบของพระภิกษุ  การไม่ทำอุโปสถและปวารณา เป็นต้น อันจะลุกลามไปกระทั่งทำพระศาสนาให้ล่มลงได้ ครั้นทราบดังนี้แล้วก็จะประชุมกันส่งภิกษุสงฆ์ผู้เป็นวินัยธรลงพื้นที่เพื่อระงับเหตุและควบคุมมิให้เกิดขึ้นอีกต่อไป. เมื่อประชุมกันก็จะรับทราบปัญหาและแก้ไขได้ทันท่วงทีสังฆอาณาจักรก็มั่นคง เจริญก้าวหน้า  ข้อนี้เป็นผลมาจากการได้ประชุมกันเป็นเหตุ  หากไม่ประชุมกัน ก็จะไม่ทราบเหตุการณ์นั้น สังฆอาณาจักร ก็จะเต็มไปด้วยอลัชชี พระศาสนาก็ล่มได้ในที่สุด. รายละเอียดเพิ่มเติมดูในอรรถกถา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น