วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2559

มหาปรินิพพานสูตร ครั้ง ที่ ๘ ภิกขุอปริหานิยธรรม (ชุดที่ ๒)

ภิกขุอปริหานิยธรรม  (ชุดที่ ๒)

๑๓๗. ‘‘อปเรปิ โว, ภิกฺขเว, สตฺต อปริหานิเย ธมฺเม เทเสสฺสามิ, ตํ สุณาถ, สาธุกํ มนสิกโรถภาสิสฺสามี’’ติฯ ‘‘เอวํ, ภนฺเต’’ติ โข เต ภิกฺขู ภควโต ปจฺจสฺโสสุํฯ ภควา เอตทโวจ
๑๓๗ ภควา พระผู้มีพระภาค อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อหํ เราตถาคต เทเสสฺสามิ จักแสดง ธมฺเม ซึ่งธรรมทั้งหลาย อปริหานิเย อันสร้างความไม่เสื่อม  สตฺตอปเรปิ แม้อื่น โว แก่พวกเธอ,  ตุมฺเห พวกเธอ สุณาถ จงฟัง ตํ ธมฺมํ ซึ่งธรรมนั้น,  มนสิกโรถ จงใส่ใจ ตํ ธมฺมํ ซึ่งธรรมนั้น สาธุกํ อย่างดี,  อหํ เรา ภาสิสฺสามิ  จักกล่าว  ดังนี้.  เต ภิกฺขู ภิกษุเหล่านั้น ปจฺจสฺโสสุํ        รับสนองพระดำรัสแล้ว ภควโต ต่อพระผู้มีพระภาค อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เอวํ พระเจ้าข้า” ดังนี้. ภควา พระผู้มีพระภาค อโวจ ตรัสแล้ว เอตํ ซึ่งพระดำรัสนั้น (อิติ) ว่า

‘‘ยาวกีวญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขู น กมฺมารามา ภวิสฺสนฺติ น กมฺมรตา น กมฺมารามตมนุยุตฺตา, วุทฺธิเยวภิกฺขเว ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานิฯ
ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   อนึ่ง ยาวกีวํ  ตราบใด  ภิกฺขู   ภิกษุทั้งหลาย  น ภวิสฺสนฺติ จักไม่เป็น กมฺมารามา ผู้มีการงานเป็นที่ยินดี, น ภวิสฺสนฺติ จักไม่เป็น กมฺมรตา ผู้ยินดีในการงาน  น ภวิสฺสนฺติ จักไม่เป็น อนุยุตฺตา ผู้ขวนขวายแล้ว กมฺมารามตํ ซึ่งความเป็นผู้มีการงานเป็นที่ยินดี, ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตาวกีวํ ตราบนั้น วุทฺธิ เอว ความเจริญ นั่นเทียว ปาฏิกงฺขา อันภิกษุพึงหวังได้, ปริหานิ ความเสื่อม โน ปาฏิกงฺขา อันภิกษุไม่พึงหวัง.[1]

‘‘ยาวกีวญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขู น ภสฺสารามา ภวิสฺสนฺติ น ภสฺสรตา น ภสฺสารามตมนุยุตฺตา, วุทฺธิเยวภิกฺขเว ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานิฯ
ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   อนึ่ง ยาวกีวํ  ตราบใด  ภิกฺขู   ภิกษุทั้งหลาย  น ภวิสฺสนฺติ  จักไม่เป็น ภสฺสารามา ผู้มีการพูดคุยเป็นที่ยินดี, น ภวิสฺสนฺติ จักไม่เป็น ภสฺสรตา ผู้ยินดีในการพูดคุย         น ภวิสฺสนฺติ จักไม่เป็น อนุยุตฺตา ผู้ขวนขวายแล้ว ภสฺสารามตํ ซึ่งความเป็นผู้มีการพูดคุยเป็นที่ยินดี, ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตาวกีวํ ตราบนั้น วุทฺธิ เอว ความเจริญ นั่นเทียว ปาฏิกงฺขา อันภิกษุพึงหวังได้, ปริหานิ ความเสื่อม โน ปาฏิกงฺขา อันภิกษุไม่พึงหวัง.[2]

‘‘ยาวกีวญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขู น นิทฺทารามา ภวิสฺสนฺติ,  น นิทฺทารตา  น  นิทฺทารามตมนุยุตฺตา, วุทฺธิเยว ภิกฺขเว ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานิฯ
ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   อนึ่ง ยาวกีวํ  ตราบใด  ภิกฺขู   ภิกษุทั้งหลาย  น ภวิสฺสนฺติ  จักไม่เป็น นิทฺทารามา ผู้มีการนอนหลับเป็นที่ยินดี, น ภวิสฺสนฺติ จักไม่เป็น นิทฺทารตา ผู้ยินดีในการนอนหลับ  น ภวิสฺสนฺติ จักไม่เป็น อนุยุตฺตา ผู้ขวนขวายแล้ว นิทฺทารามตํ ซึ่งความเป็นผู้มีการนอนหลับเป็นที่ยินดี, ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตาวกีวํ ตราบนั้น วุทฺธิ เอว ความเจริญ นั่นเทียว ปาฏิกงฺขา อันภิกษุพึงหวังได้, ปริหานิ ความเสื่อม โน ปาฏิกงฺขา อันภิกษุไม่พึงหวัง.[3]

‘‘ยาวกีวญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขู น สงฺคณิการามา ภวิสฺสนฺติ น สงฺคณิกรตา น สงฺคณิการามตมนุยุตฺตา, วุทฺธิเยว ภิกฺขเว ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานิฯ
ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   อนึ่ง ยาวกีวํ  ตราบใด  ภิกฺขู   ภิกษุทั้งหลาย  น ภวิสฺสนฺติ       จักไม่เป็น สงฺคณิการามา ผู้มีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะเป็นที่ยินดี, น ภวิสฺสนฺติ จักไม่เป็น สงฺคณิกรตา ผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ น ภวิสฺสนฺติ จักไม่เป็น อนุยุตฺตา ผู้ขวนขวายแล้ว สงฺคณิการามตํ ซึ่งความเป็นผู้มีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะเป็นที่ยินดี, ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตาวกีวํ ตราบนั้น วุทฺธิ เอว ความเจริญ นั่นเทียว ปาฏิกงฺขา อันภิกษุพึงหวังได้, ปริหานิ ความเสื่อม โน ปาฏิกงฺขา อันภิกษุไม่พึงหวัง.[4]

‘‘ยาวกีวญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขู น ปาปิจฺฉา ภวิสฺสนฺติ น ปาปิกานํ อิจฺฉานํ วสํ คตา, วุทฺธิเยว ภิกฺขเว ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานิฯ
ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   อนึ่ง ยาวกีวํ  ตราบใด  ภิกฺขู   ภิกษุทั้งหลาย  น ภวิสฺสนฺติ จักไม่เป็น ปาปิจฺฉา ผู้มีความปรารถนาต่ำทราม, น ภวิสฺสนฺติ จักไม่เป็น คตา  ผู้ไปแล้ว วสํ สู่อำนาจ อิจฺฉานํ ของความปรารถนา ปาปิกานํ อันต่ำทราม,   ภิกฺขเว  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตาวกีวํ ตราบนั้น วุทฺธิ เอว ความเจริญ นั่นเทียว ปาฏิกงฺขา อันภิกษุพึงหวังได้, ปริหานิ ความเสื่อม โน ปาฏิกงฺขา อันภิกษุไม่พึงหวัง.[5]

‘‘ยาวกีวญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขู น ปาปมิตฺตา ภวิสฺสนฺติ น ปาปสหายา น ปาปสมฺปวงฺกา, วุทฺธิเยว ภิกฺขเว ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานิฯ
ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   อนึ่ง ยาวกีวํ  ตราบใด  ภิกฺขู   ภิกษุทั้งหลาย  น ภวิสฺสนฺติ  จักไม่เป็น ปาปมิตฺตา ผู้มีมิตรเลว, น ภวิสฺสนฺติ จักไม่เป็น ปาปสหายา  ผู้มีสหายเลว  น ภวิสฺสนฺติ จักไม่เป็น ปาปสมฺปวงฺกา ผู้โอนอ่อนตามมิตรเลว,ภิกฺขเว  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตาวกีวํ ตราบนั้น วุทฺธิ เอว  ความเจริญ นั่นเทียว  ปาฏิกงฺขา  อันภิกษุพึงหวังได้,     ปริหานิ ความเสื่อม โน ปาฏิกงฺขา อันภิกษุไม่พึงหวัง[6].

‘‘ยาวกีวญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขู น โอรมตฺตเกน วิเสสาธิคเมน อนฺตราโวสานํ อาปชฺชิสฺสนฺติ, วุทฺธิเยว ภิกฺขเว ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานิฯ
ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   อนึ่ง ยาวกีวํ  ตราบใด  ภิกฺขู  ภิกษุทั้งหลาย  น อาปชฺชิสฺสนฺติ  จักไม่ถึง   อนฺตราโวสานํ  ซึ่งการล้มเลิกในระหว่าง  วิเสนาธิคเมน  เพราะการบรรลุคุณวิเศษ โอรมฺมตฺตเกน เพียงชั้นต่ำ,   ภิกฺขเว  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตาวกีวํ ตราบนั้น วุทฺธิ เอว  ความเจริญ นั่นเทียว  ปาฏิกงฺขา  อันภิกษุพึงหวังได้,ปริหานิ ความเสื่อม โน ปาฏิกงฺขา อันภิกษุไม่พึงหวัง[7].

‘‘ยาวกีวญฺจ ภิกฺขเว อิเม สตฺต อปริหานิยา ธมฺมา ภิกฺขูสุ ฐสฺสนฺติ, อิเมสุ จ สตฺตสุ อปริหานิเยสุ ธมฺเมสุ ภิกฺขู สนฺทิสฺสิสฺสนฺติ, วุทฺธิเยว ภิกฺขเว ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานิฯ
 ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ยาวกีวํ ตราบใด ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลาย ธมฺมา ธรรมทั้งหลาย อปริหานิยา อันเป็นเหตุแห่งความไม่เสื่อม สตฺต เจ็ด อิเม เหล่านี้ ฐสฺสนฺติ จักยังดำรงอยู่ ภิกฺขูสุ ในภิกษุทั้งหลาย,  ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลาย สนฺทิสฺสนฺติ จักเห็นดีร่วมกัน ธมฺเมสุ ในธรรมทั้งหลาย อปริหานิเยสุ อันกระทำความไม่เสื่อม สตฺเตสุอิเมสุ เหล่านี้,  ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตาวกีวํ ตราบนั้น วุทฺธิ เอว ความเจริญ นั่นเทียว ปาฏิกงฺขา อันภิกษุพึงหวังได้, ปริหานิ ความเสื่อม โน ปาฏิกงฺขา อันภิกษุไม่พึงหวัง.

****************





[1] กมฺมารามา, กมฺมารตาและกมฺมารามตมนยุตฺตา สามศัพท์นี้เป็นไวพจน์กัน. กมฺมาราม มีวิ. กมฺมํ อาราโม เอเตสนฺติ กมฺมารามา การงาน เป็นที่ยินดี (หรือ เป็นกิจที่น่ายินดี) ของภิกษุเหล่านั้น เหตุนั้น ภิกษุเหล่านั้น จึงชื่อว่า กมฺมารามา มีการงานเป็นที่ยินดี. อาราม ศัพท์เป็นกัมมสาธนะ แปลว่า เป็นที่ยินดี วิ.อารมิตพฺพฏฺเฐน กมฺมํ อาราโม (ที.ม.ฎี. ๑๓๗) หรือภาวสาธนะ วิ.อารมณํ อาราโม,อภิรตีติ อตฺโถ(ที.สี.อ๑๙๙)ในกรณีนี้ แปลว่า มีการงานเป็นความยินดี.
คำว่า กมฺมรต เป็นตัปปุริสสมาส วิ.กมฺเม รตาติ กมฺมรตา ยินดีในการงาน ที่ไม่ใช่คันถธุระและวิปัสนาธุระ ชื่อ กมฺมรตา.
กมฺมารามตํ อนุยุตฺต เป็นวากยะ กมฺมารามตํ หมายถึง กิจที่ทำให้ภิกษุได้ชื่อว่า กมฺมาราม ได้แก่ การกำหนดขนาด (กะ) จีวรเป็นต้น. อนุยุตฺต = ตปฺปรภาเวน ปุนปฺปุนํ ปสุตา ความขวนขวายเนืองๆ โดยมุ่งหน้าทำแต่สิ่งนี้ (ที.ม.ฎี.๑๓๗)
คัมภีร์อรรถกถาวินิจฉัยคำว่า การงาน (กมฺม) ว่าได้แก่ กิจใหญ่น้อยที่ควรทำของภิกษุ (อิติกาตพฺพกมฺม การงานอันควรทำนั้นๆ) เช่น กิจเกี่ยวกับจีวร อาทิ เย็บ ย้อมเป็นต้น ประคด เครื่องกรองน้ำ รองเท้า ไม้กวาด เป็นต้น. เหตุที่ทรงห้ามไว้เพราะมีภิกษุบางรูปจะมุ่งแต่ทำกิจเหล่านี้ตลอดวัน. แต่ถ้าทำกิจนั้นในเวลาที่สมควรทำ เรียนอุทเทส ในเวลาที่ควรเรียน สาธยาย ในเวลาที่ควรสาธยาย เป็นต้น. อย่างนี้ ไม่เรียกว่า กมฺมารามนุยุตฺต. (ที.อ.๑๓๗)
[2] ภสฺสํ การกล่าว ในคำว่า ภสฺสารามา (ภาส ธาตุ พูดคุย + ณฺยปัจจัย ภาวสาธนะ). ลักษณะของผู้ยินดีในการพูดคุย ได้แก่ การสนทนากันด้วยติรัจฉานกถามีเรื่องเพศชายหญิงเป็นต้น เพราะเป็นเรื่องที่สามารถคุยกันได้ไม่รู้จักจบสิ้น, ถ้าสนทนาธรรมเป็นต้น ก็จะไม่เรียกว่า ภสฺสาราม เพราะการสนทนาธรรมชื่อว่า กถามีที่สิ้นสุด. ควรปฏิบัติตามพุทธพจน์ว่า สนฺนิปติตานํ โว ภิกฺขเว ทฺวยํ กรณียํ, ธมฺมี วา กถา, อริโย วา ตุณฺหีภาโว (ม.มู. ๒๗๓) ภิกษุทั้งหลาย เมื่อประชุมกัน พวกเธอมีกรณียะ ๒ อย่าง คือ สนทนาธรรมหรือนิ่งอย่างอริยะ. คำว่า นิ่งอย่างอริยะ ได้แก่ การเข้าสมาบัติมีปฐมฌานเป็นต้น หรือ การมนสิการกัมมัฏฐาน (สํ.นิทาน.อ. ภิกขุสังยุตต์ โกลิตสูตรและที.ม.ฎี. ๑๓๗)
[3] ผู้ถูกความง่วงครอบงำ ไม่ว่าจะเดินหรือนั่งก็ตาม คือ ผู้มีความยินดีในการนอนหลับ. การนอนหลับแบบนี้ เกิดขึ้น แก่ผู้ปกติมิได้เล็งเห็นโทษในการหลับ และมิได้บรรเทาความง่วงนั้นโดยวิธีอื่นอาทิการเปลี่ยนอิริยาบถเป็นต้น (ที.ม.ฎี. ๑๓๗) แต่ในกรณีที่หลับสนิทในเวลาที่ร่างกายเหน็ดเหนื่อย ไม่ชื่อว่า ยินดีในการนอนหลับ. (ที.ม.อ.๑๓๗)
[4] ความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ หมายถึง การอยู่ร่วมกลุ่มคลุกคลีกันไม่ว่าจะอยู่ ๒, ๓ คนก็ตาม และการอยู่ผู้เดียวไม่ได้รับความพอใจ.   ผู้ใดถึงจะอยู่ลำพังผู้เดียว แต่ก็พอใจในอริยาบถ๔ ไม่ชื่อว่า คลุกคลีด้วยหมู่คณะ. (ที.ม.อ.๑๓๗).
[5] ความปรารถนาต่ำทราม (ปาปิจฺฉา)  คือ ความต้องการที่จะยกย่องคุณอันไม่มีในตน เพราะเหตุที่ตนเองเป็นผู้ทุศีล. ส่วนคำว่า ปาปิจฺฉา ผู้มีความปรารถนาต่ำทราม นี้เป็นพหุพพีหิสมาส ดังอรรถกถาอธิบายว่า อสนฺตสมฺภาวนาย อิจฺฉาย สมนฺนาคตา ทุสฺสีลา ปาปิจฺฉา นาม. ภิกษุผู้ทุศีล ประกอบด้วยความปรารถนาจะยกคุณอันไม่มีในตน ชื่อว่า ปาปิจฉา. (ที.ม.อ. ๑๓๗). คัมภีร์ฎีกาอธิบายว่า สยํ นิสฺสีลา อสนฺตคุณสมฺภาวนิจฺฉาย สมนฺนาคตตฺตา ปาปา ลามกา อิจฺฉา                    เอเตสนฺติ ปาปิจฺฉา ภิกษุผู้ทุศีลด้วยตนเอง ชื่อว่า มีความปรารถนาต่ำทราม เพราะมีความปรารถนาต่ำทราม เนื่องจากประกอบด้วยความปรารถนาจะยกย่องคุณไม่มีในตน. (ที.ม.ฎี. ๑๓๗) ควรทราบว่า ในกรณีที่คัมภีร์สังวัณณนา อธิบายบทพระบาฬีด้วย สมนฺนาคต ศัพท์ แสดงว่า บทนั้นเป็นพหุพพีหิสมาส.
[6] ปาปมิตฺตา ปาปสหายา สองศัพท์นี้เป็นพหุพพีหิสมาส วิ.ปาปา มิตฺตา เอเตสนฺติ ปาปมิตฺตา ผู้มีคนเลวเป็นมิตร ชื่อว่า ปาปมิตฺต. จตูสุ อิริยาปเถสุ สห อยนโต ปาปา สหายา เอเตสนฺติ ปาปสหายา ผู้มีคนเลวเป็นสหาย เพราะดำเนินไปร่วมกันในอิริยาบถ ๔ กับคนชั่วนั้น ชื่อว่า ปาปสหาย. คำว่า ปาปสมฺปวงฺกา เป็นตัปปุริสสมาส วิ. ตนฺนินฺนตปฺปโปณตปฺปพฺภาวตาย ปาเปสุ สมฺปวงฺกาติ ปาปสมฺปวงฺกา ผู้เอนเอียงไปในคนชั่ว เพราะการน้อม โอน เงื้อมตนไปในคนชั่วนั้น ชื่อว่า ปาปสมฺปวงฺก. (ที.ม.อ. ๑๓๗). คัมภีร์ฎีกาอธิบายเพิ่มว่า การมีมิตรเป็นคนชั่ว เพราะทำความรักใคร่กับคนเลวทราม, มีคนชั่วเป็นสหาย เพราะดำเนินไปกับคนชั่วอยู่เสมอ ไม่ว่าจะในอิริยาบถใด, การเอนเอียงไปในคนชั่ว คือ เชื่อฟังโดยการน้อมตนไปเป็นต้นไปในคนชั่วนั้น. (ที.ม.ฎี.๑๓๗)
[7] อนฺตราโวสานํ แยกบทเป็น อนฺตรา = ในระหว่างการเจริญภาวนาโดยยังไม่บรรลุอรหัตผล + โวสานํ การเสร็จสิ้นลง คือ ความชะงักลง ความหยุดพักกิจ ด้วยคิดว่า “เท่านี้ก็พอแล้ว”. ความหมายคือ การหยุดชะงักในระหว่างการปฏิบัติ เพราะเหตุเพียงการมีศีลบริสุทธิ การได้วิปัสสนาญาณ การได้ฌาน บรรลุเพียงโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล เท่านั้นไม่บำเพ็ญภาวนาต่อเพื่อให้บรรลุถึงอรหัตตผล.
คำว่า เพียงชั้นต่ำ โอรมตฺตเกน หมายถึง คุณวิเศษอันเล็กน้อย. การไม่หยุดชะงักเพราะคุณนั้น แล้วภาวนาต่อจนถึงพระอรหัตต์ จึงเป็นความเจริญขั้นสูงสุด ไม่มีทางเสื่อมเลย.(ที.ม.อ. ๑๓๗)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น