วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2559

มหาปรินิพพานสูตรแปล ครั้งที่ ๓ ราชอปริหานิยธรรม ๗ ประการ

ราชอปริหานิยธมฺมา
๑๓๔. เตน โข ปน สมเยน อายสฺมา อานนฺโท ภควโต ปิฏฺฐิโต ฐิโต โหติ ภควนฺตํ พีชยมาโน ฯ อถ โข ภควา อายสฺมนฺตํ อานนฺทํ อามนฺเตสิ – ‘‘กินฺติ เต, อานนฺท, สุตํ, ‘วชฺชี อภิณฺหํ สนฺนิปาตา  สนฺนิปาตพหุลาติ? ‘‘สุตํ เมตํ, ภนฺเต – ‘วชฺชี อภิณฺหํ สนฺนิปาตา สนฺนิปาตพหุลา’’ติฯ ‘‘ยาวกีวญฺจ, อานนฺท, วชฺชี อภิณฺหํ สนฺนิปาตา สนฺนิปาตพหุลา ภวิสฺสนฺติ, วุทฺธิเยว, อานนฺท, วชฺชีนํ ปาฏิกงฺขา, โน  ปริหานิฯ

ธรรมเป็นเหตุไม่เสื่อมฝ่ายเจ้าลิจฉวี

๑๓๔ เตน โข ปน สมเยน = ตสฺมึ สมเย ในสมัยนั้น อายสฺมา อานนฺโท ท่านพระอานนท์ ฐิโต  พีชยมาโน  ยืนถวายงานพัด  ภควนฺตํ  พระผู้มีพระภาค ปิฏฐิโต เบื้องพระปฤษฏางค์ (อยู่ข้างหลัง)  ภควโต  พระผู้มีพระภาค.[๑] อถ โข ครั้งนั้น ภควา พระผู้มีพระภาค อามนฺเตสิ ตรัสแล้ว อายสฺมนฺตํ อานนฺทํ กะท่านพระอานนท์ อิติ ว่า อานนฺท อานนท์ เต=ตยา เธอ สุตํ ได้ฟัง (วจนํ คำนี้) อิติ ว่า  วชฺชี พวกเจ้าวัชชี (อเหสุ)  ได้เป็น สนฺนิปาตา ผู้ประชุมกัน อภิณฺหํ เสมอ สนฺนิปาตพหุลา ผู้ประชุมกันมากครั้ง ดังนี้ กินฺติ บ้างหรือไม่?[๒] (อายสฺมา อานนฺโท) ท่านพระอานนท์ อโวจ  ทูลแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เม = มยา ข้าพระองค์ สุตํ ได้ยินมาแล้ว อิติ ว่า วชฺชี พวกเจ้าวัชชี อเหสุ ได้เป็น   สนฺนิปาตา ผู้ประชุมกัน อภิณฺหํ เสมอ สนฺนิปาตพหุลา เป็นผู้ประชุมกันมากครั้ง”
ภควา พระผู้มีพระภาคเจ้า อโวจ ได้ตรัสแล้ว อิติ ว่า อานนฺท อานนท์ วชฺชี พวกเจ้าวัชชี ภวิสฺสนฺติ จักเป็น อภิณฺหสนฺนิปาตา ผู้ประชุมกันเสมอ สนฺนิปาตพหุลา  ผู้ประชุมกันมากครั้ง[๓],   อานนฺท อานนท์ วุฑฺฒิ เอว ความเจริญเท่านั้น วชฺชีนํ อันพวกเจ้าวัชชี ปาฏิกงฺขา = อิจฺฉิตพฺพา พึงหวังได้ ยาวกีวํ ตลอดกาลเพียงใด, ปริหานิ ความเสื่อม วชฺชีนํ อันเจ้าวัชชีท. โน ปาฏิกงฺขา = โน  อิจฺฉิตพฺพา มิพึงหวังได้[๔] ตาวกีวํ ตลอดกาลเพียงนั้น” [๕]

‘‘กินฺติ เต, อานนฺท, สุตํ, ‘วชฺชี สมคฺคา สนฺนิปตนฺติ, สมคฺคา วุฏฺฐหนฺติ, สมคฺคา วชฺชิกรณียานิ กโรนฺตีติ? ‘‘สุตํ เมตํ, ภนฺเต, ‘วชฺชี สมคฺคา สนฺนิปตนฺติ, สมคฺคา วุฏฺฐหนฺติ, สมคฺคา วชฺชิกรณียานิ  กโรนฺตี’’ติฯ ‘‘ยาวกีวญฺจ, อานนฺท, วชฺชี สมคฺคา สนฺนิปติสฺสนฺติ, สมคฺคา วุฏฺฐหิสฺสนฺติ, สมคฺคา วชฺชิกรณียานิ กริสฺสนฺติ, วุทฺธิเยว, อานนฺท, วชฺชีนํ ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานิฯ

(อปริหานิยธรรมข้อที่ ๒)
ภควา พระผู้มีพระภาค อโวจ ได้ตรัสแล้ว อิติ ว่า อานนฺท อานนท์ วจนํ คำกล่าวว่า วชฺชี  เจ้าวัชชีท. สมคฺคา[๖] หุตฺวา เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน สนฺนิปตนฺติ ย่อมประชุม, สมคฺคา หุตฺวา เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน วุฏฺฐหนฺติ เลิกประชุม[๗].  สมคฺคา หุตฺวา เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน  วชฺชิกรณียานิ กโรนฺติ กระทำกิจอันเจ้าวัชชีพึงกระทำ[๘] อิติ ดังนี้ เต อันเธอ สุตํ ได้ยินแล้ว กินฺติ หรือไม่? [๙]  
อายสฺมา อานนฺโท  ท่านพระอานนท์ อาห กราบทูล ว่า ภนฺเต  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เอตํ วจนํ คำนี้  อิติ ว่า วชฺชี เจ้าวัชชีท. สมคฺคา หุตฺวา เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน สนฺนิปตนฺติ ย่อมประชุม, สมคฺคา หุตฺวา เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน วุฏฺฐหนฺติ เลิกประชุม. สมคฺคา หุตฺวา เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน  วชฺชิกรณียานิ กโรนฺติ กระทำกิจอันเจ้าวัชชีพึงกระทำ อิติ ดังนี้ เม สุตํ อันข้าพระองค์ ได้ยินแล้ว.
ภควา อโวจ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสแล้ว อิติ ว่า อานนฺท อานนท์ อนึ่ง ยาวกีวํ ตราบเท่าที่ วชฺชี เจ้าวัชชีท. สมคฺคา เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน สนฺนิปตนฺติ ย่อมประชุม, สมคฺคา เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน วุฏฺฐหนฺติ เลิกประชุม. สมคฺคา เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน กโรนฺติ กระทำ วชฺชิกรณียานิ กิจอันเจ้าวัชชีพึงกระทำ,  อานนฺท อานนท์ อนึ่ง วุฑฺฒิ เอว ความเจริญเท่านั้น วชฺชีนํ อันเจ้าวัชชี ปาฏิกงฺขา [๑๐]               พึงหวังได้ ยาวกีวํ ตลอดกาลเพียงใด, ปริหานิ ความเสื่อม วชฺชีนํ อันเจ้าวัชชีท. โน ปาฏิกงฺขา มิพึงหวังได้ ตาวกีวํ ตลอดกาลเพียงนั้น.

‘‘กินฺติ เต อานนฺท สุตํ, ‘วชฺชี อปญฺญตฺตํ น ปญฺญเปนฺติปญฺญตฺตํน สมุจฺฉินฺทนฺติ, ยถาปญฺญตฺเต โปราเณ วชฺชิธมฺเม สมาทาย วตฺตนฺตี’’’ติ? ‘‘สุตํ เมตํ, ภนฺเต – ‘วชฺชี อปญฺญตฺตํ น ปญฺญเปนฺติ, ปญฺญตฺตํ น สมุจฺฉินฺทนฺติ, ยถาปญฺญตฺเต โปราเณ วชฺชิธมฺเม สมาทาย วตฺตนฺตี’’’ติฯ ‘‘ยาวกีวญฺจ, อานนฺท, ‘‘วชฺชี อปญฺญตฺตํ น ปญฺญเปสฺสนฺติ, ปญฺญตฺตํ น สมุจฺฉินฺทิสฺสนฺติ, ยถาปญฺญตฺเต โปราเณ วชฺชิธมฺเม สมาทาย วตฺติสฺสนฺติ, วุทฺธิเยว, อานนฺท, วชฺชีนํ ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานิฯ

 (อปริหานิยธรรมข้อที่ ๓)

ภควา พระผู้มีพระภาค อโวจ ได้ตรัสแล้ว อิติ ว่า อานนฺท อานนท์ วจนํ คำกล่าว อิติ ว่า วชฺชีเจ้าวัชชีท. น ปญฺญเปนฺติ ย่อมไม่บัญญัติ อปญฺญตฺตํ ซึ่งข้อกำหนดที่ยังไม่เคยบัญญัติ, น สมุจฺฉินฺทติ ย่อมไม่ยกเลิก ปญฺญตฺตํ ซึ่งข้อกำหนดที่บัญญัติแล้ว สมาทาย[๑๑] วตฺตนฺติ ย่อมประพฤติโดยสมาทาน วชฺชิธมฺเม ซึ่งแบบแผนของเจ้าวัชชีท. ยถาปญฺญตฺเต ตามสมควรแก่ข้อกำหนดที่บัญญัติไว้ โปราเณ อันเป็นของเดิม ดังนี้ เต = ตยา อันเธอ สุตํ ได้ยินแล้ว กินฺติ บ้างหรือไม่ ? ดังนี้
อายสฺมา อานนฺโท  ท่านพระอานนท์ อาห กราบทูล อิติ ว่า ภนฺเต  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เอตํ วจนํ คำนี้  อิติ ว่า วชฺชี เจ้าวัชชีท. น ปญฺญเปนฺติ ย่อมไม่บัญญัติ อปญฺญตฺตํ ซึ่งข้อกำหนดที่ยังไม่เคยบัญญัติ, น สมุจฺฉินฺทติ ย่อมไม่ยกเลิก ปญฺญตฺตํ ซึ่งข้อกำหนดที่บัญญัติแล้ว สมาทาย วตฺตนฺติ ย่อมสมาทาน ประพฤติ วชฺชิธมฺเม ซึ่งแบบแผนของเจ้าวัชชีท. ยถาปญฺญตฺเต ตามสมควรแก่ข้อกำหนดที่บัญญัติไว้ โปราเณ อันเป็นของเดิม ดังนี้ เม สุตํ อันข้าพระองค์ ได้ยินแล้ว.
ภควา อโวจ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสแล้ว อิติ ว่า อานนฺท อานนท์ อนึ่ง ยาวกีวํ ตราบเท่าที่ วชฺชี   เจ้าวัชชีท. น ปญฺญเปนฺติ ย่อมไม่บัญญัติ อปญฺญตฺตํ ซึ่งข้อกำหนดที่ยังไม่เคยบัญญัติ,น  สมุจฺฉินฺทิสฺสนฺติ ย่อมไม่ยกเลิก ปญฺญตฺตํ ซึ่งข้อกำหนดที่บัญญัติแล้ว[๑๒] สมาทาย วตฺติสฺสนฺติ ย่อมสมาทาน ประพฤติ วชฺชิธมฺเม ซึ่งแบบแผนของเจ้าวัชชีท. ยถาปญฺญตฺเต ตามสมควรแก่ข้อกำหนดที่บัญญัติไว้ โปราเณ อันเป็นของเดิม[๑๓]. อานนฺท อานนท์ วุฑฺฒิ เอว ความเจริญเท่านั้น วชฺชีนํ  อันเจ้าวัชชี ปาฏิกงฺขา   พึงหวังได้ ยาวกีวํ ตลอดกาลเพียงใด, ปริหานิ ความเสื่อม วชฺชีนํ อันเจ้าวัชชีท. โน ปาฏิกงฺขา มิพึงหวังได้ ตาวกีวํ ตลอดกาลเพียงนั้น.

‘‘กินฺติ เต, อานนฺท, สุตํ, ‘วชฺชี เย เต วชฺชีนํ วชฺชิมหลฺลกา, เต สกฺกโรนฺติ ครุํ กโรนฺติ  มาเนนฺติ ปูเชนฺติ, เตสญฺจ โสตพฺพํ มญฺญนฺตี’’’ติ? ‘‘สุตํ เมตํภนฺเต – ‘วชฺชี เย เต วชฺชีนํ  วชฺชิมหลฺลกา,  เต  สกฺกโรนฺติ ครุํ กโรนฺติมาเนนฺติ ปูเชนฺติ, เตสญฺจ โสตพฺพํ มญฺญนฺตี’’’ติฯ 
‘‘ยาวกีวญฺจ, อานนฺ, วชฺชี เย เต วชฺชีนํ วชฺชิมหลฺลกา, เต สกฺกริสฺสนฺติ ครุํ กริสฺสนฺติ มาเนสฺสนฺติ ปูเชสฺสนฺติ, เตสญฺจ โสตพฺพํ มญฺญิสฺสนฺติ, วุทฺธิเยว, อานนฺทวชฺชีนํ ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานิฯ

(อปริหานิยธรรมข้อที่ ๔)
ภควา พระผู้มีพระภาค อโวจ ได้ตรัสแล้วว่า อานนฺท อานนท์ วจนํ คำกล่าวว่า  เย เต   วชฺชิมหลฺลกา เจ้าวัชชีผู้มีพระชนมายุมากท. เหล่าใด โหนฺติ มีอยู่, วชฺชี เจ้าวัชชีท. สกฺกโรนฺติ  ย่อมสักการะ กโรนฺติ ย่อมกระทำ[๑๔] ครุํ ซึ่งความเคารพ[๑๕] มาเนนฺติ ย่อมนับถือ[๑๖]  ปูเชนฺติ  ย่อมบูชา[๑๗] เต เจ้าวัชชีผู้มีพระชนมายุมากเหล่านั้น, และ มญฺญนฺติ ย่อมให้ความสำคัญ โสตพฺพํ  คำพร่ำสอนที่ควรเชื่อฟัง[๑๘] เตสํ ของเจ้าวัชชีผู้มีพระชนมายุมากเหล่านั้น ดังนี้ เต = ตยา อันเธอ สุตํ  ได้สดับมาแล้ว กินฺติ บ้างหรือไม่ ? อิติ ดังนี้
อายสฺมา อานนฺโท ท่านพระอานนท์ อาห กราบทูลว่า ภนฺเต  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เอตํ วจนํ คำนี้ว่า  เย เต  วชฺชิมหลฺลกา เจ้าวัชชีผู้มีพระชนมายุมากเหล่าใด โหนฺติ มีอยู่, วชฺชี เจ้าวัชชีท. สกฺกโรนฺติ ย่อมสักการะ กโรนฺติ ย่อมกระทำ ครุํ ซึ่งความเคารพ มาเนนฺติ ย่อมนับถือ ปูเชนฺติ ย่อมบูชา เต เจ้าวัชชีผู้มีพระชนมายุมากเหล่านั้น, และ มญฺญนฺติ ย่อมให้ความสำคัญ  โสตพฺพํ  คำพร่ำสอนที่ควรเชื่อฟัง เตสํ ของเจ้าวัชชีผู้มีพระชนมายุมาก เหล่านั้น อิติ ดังนี้ เม = มยา สุตํ  อันข้าพระองค์ได้ยินแล้ว อิติ ดังนี้.
ภควา อโวจ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสแล้วว่า อานนฺท อานนท์ อนึ่ง  เย เต  วชฺชิมหลฺลกา เจ้าวัชชีผู้มีพระชนมายุมากเหล่าใด โหนฺติ มีอยู่, ยาวกีวํ ตราบเท่าที่ วชฺชี   เจ้าวัชชีท.  สกฺกริสฺสนฺติ ย่อมสักการะ กริสฺสนฺติ ย่อมกระทำ ครุํ ซึ่งความเคารพ มาเนสฺสนฺติ ย่อมนับถือ  ปูเชสฺสนฺติ ย่อมบูชา   เต   เจ้าวัชชีผู้มีพระชนมายุมากเหล่านั้น, และ มญฺญิสฺสนฺติ ย่อมให้ความสำคัญ โสตพฺพํ คำพร่ำสอนที่ควรเชื่อฟัง เตสํ ของเจ้าวัชชีผู้เฒ่าเหล่านั้น,  อานนฺท อานนท์ วุฑฺฒิ เอว ความเจริญเท่านั้น วชฺชีนํ อันเจ้าวัชชี ปาฏิกงฺขา พึงหวังได้ ยาวกีวํ ตลอดกาลเพียงใด, ปริหานิ ความเสื่อม วชฺชีนํ อันเจ้าวัชชีท. โน ปาฏิกงฺขา มิพึงหวังได้ ตาวกีวํ ตลอดกาลเพียงนั้น อิติ ดังนี้.

‘‘กินฺติ เต, อานนฺท, สุตํ, ‘วชฺชี ยา ตา กุลิตฺถิโย กุลกุมาริโย, ตา น โอกฺกสฺส ปสยฺห วาเสนฺตี’’’ติ? ‘‘สุตํ เมตํ, ภนฺเต – ‘วชฺชี ยา ตา กุลิตฺถิโย กุลกุมาริโย ตา น โอกฺกสฺส ปสยฺห วาเสนฺตี’’’ติฯ ‘‘ยาวกีวญฺจ, อานนฺท, วชฺชี ยา ตา กุลิตฺถิโย กุลกุมาริโย, ตา น โอกฺกสฺส ปสยฺห วาเสสฺสนฺติ, วุทฺธิเยว, อานนฺท, วชฺชีนํ ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานิฯ

(อปริหานิยธรรมข้อที่ ๕)
ภควา พระผู้มีพระภาค อโวจ ได้ตรัสแล้วว่า อานนฺท อานนท์ วจนํ คำกล่าวว่า ยา ตา                  กุลิตฺถิโย หญิงมารดาแห่งตระกูลท. เหล่าใด โหนฺติ มีอยู่, ยา ตา กุลกุมาริโย บุตรหญิงของตระกูล              โหนฺติ มีอยู่[๑๙]วชฺชี เจ้าวัชชีท. น โอกฺกสฺส ไม่ฉุดคร่าแล้ว (น) ปสยฺห ไม่ขืนใจแล้ว[๒๐]  ตา ยังเธอ             วาเสนฺติ ย่อมให้อยู่ (ฆเร ในวัง อตฺตโน ของตน) อิติ ดังนี้ เต = ตยา อันเธอ สุตํ ได้สดับมาแล้ว กินฺติ บ้างหรือไม่ ? อิติ ดังนี้
อายสฺมา อานนฺโท ท่านพระอานนท์ อาห กราบทูลว่า ภนฺเต  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เอตํ วจนํ คำนี้ว่า วจนํ คำกล่าวว่า ยา ตา กุลิตฺถิโย หญิงมารดาแห่งตระกูลท. เหล่าใด โหนฺติ มีอยู่, ยา ตา              กุลกุมาริโย บุตรหญิงของตระกูล โหนฺติ มีอยู่,  วชฺชี เจ้าวัชชีท. น โอกฺกสฺส ไม่ฉุดคร่าแล้ว (น) ปสยฺห ไม่ขืนใจแล้ว  ตา ยังเธอ วาเสนฺติ ย่อมให้อยู่ (ฆเร ในวัง อตฺตโน ของตน)[๒๑] อิติ ดังนี้ เม = มยา อันข้าพระองค์ สุตํ ได้สดับมาแล้ว อิติ ดังนี้
ภควา อโวจ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสแล้วว่า อานนฺท อานนท์ อนึ่ง ยาวกีวํ ตราบเท่าที่ ยา ตา กุลิตฺถิโย หญิงมารดาแห่งตระกูลท. เหล่าใด โหนฺติ มีอยู่, ยา ตา กุลกุมาริโย บุตรหญิงของตระกูล               โหนฺติ มีอยู่,  วชฺชี เจ้าวัชชีท. น โอกฺกสฺส ไม่ฉุดคร่าแล้ว (น) ปสยฺห ไม่ขืนใจแล้ว  ตา ยังพวกนาง            วาเสสฺสนฺติ ย่อมให้อยู่ (ฆเร ในวัง อตฺตโน ของตน) อานนฺท อานนท์ วุฑฺฒิ เอว ความเจริญเท่านั้น             วชฺชีนํ อันเจ้าวัชชี ปาฏิกงฺขา   พึงหวังได้ ยาวกีวํ ตลอดกาลเพียงใด, ปริหานิ ความเสื่อม วชฺชีนํ              อันเจ้าวัชชีท. โน ปาฏิกงฺขา มิพึงหวังได้ ตาวกีวํ ตลอดกาลเพียงนั้น[๒๒] อิติ ดังนี้.


‘‘กินฺติ เต, อานนฺท, สุตํ, ‘วชฺชี ยานิ ตานิ วชฺชีนํ วชฺชิเจติยานิ อพฺภนฺตรานิ เจว พาหิรานิ จตานิ สกฺกโรนฺติ ครุํ กโรนฺติ มาเนนฺติ ปูเชนฺติ, เตสญฺจ ทินฺนปุพฺพํ กตปุพฺพํ ธมฺมิกํ พลิํ โน ปริหาเปนฺตี’’’ติ? ‘‘สุตํ เมตํ, ภนฺเต – ‘วชฺชี ยานิ ตานิ วชฺชีนํ วชฺชิเจติยานิ อพฺภนฺตรานิ เจว พาหิรานิ จ, ตานิ สกฺกโรนฺติ ครุํ กโรนฺติ มาเนนฺติ ปูเชนฺติ เตสญฺจ ทินฺนปุพฺพํ กตปุพฺพํ ธมฺมิกํ พลิํ โน ปริหาเปนฺตี’’’ติฯ ‘‘ยาวกีวญฺจ, อานนฺท, วชฺชี ยานิ ตานิ วชฺชีนํ วชฺชิเจติยานิ อพฺภนฺตรานิ เจว พาหิรานิ จ, ตานิ สกฺกริสฺสนฺติ ครุํ กริสฺสนฺติ มาเนสฺสนฺติ ปูเชสฺสนฺติ, เตสญฺจ ทินฺนปุพฺพํ กตปุพฺพํ ธมฺมิกํ พลิํ โน ปริหาเปสฺสนฺติ, วุทฺธิเยว, อานนฺท, วชฺชีนํ ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานิฯ


(อปริหานิยธรรมข้อที่ ๖)
ภควา พระผู้มีพระภาค อโวจ ได้ตรัสแล้วว่า อานนฺท อานนท์ วจนํ คำกล่าวว่า ยานิ ตานิ           วชฺชิเจติยานิ[๒๓] เจดีย์วัชชีท. เหล่าใด อพฺภนฺตรานิ = อนฺโตนคเร ฐิตานิ เจว ที่ตั้งอยู่ภายในแห่งพระนคร ก็ดี, พาหิรานิ = พหินคเร ฐิตานิ จ และที่ตั้งอยู่ภายนอกพระนคร ก็ดี โหนฺติ มีอยู่, วชฺชี เจ้าวัชชีท. สกฺกโรนฺติ ย่อมสักการะ ครุํ กโรนฺติ ย่อมเคารพ มาเนนฺติ ย่อมยกย่อง ปูเชนฺติ ย่อมบูชา ตานิ ซึ่งเจดีย์วัชชีท. เหล่านั้น, โน ไม่ทำ – พลึ ของบูชา ธมฺมิกํ อันเกิดขึ้นโดยชอบธรรม ทินฺนปุพฺพํ ที่พวกเจ้าวัชชีท. เคยถวาย, กตปุพฺพํ เคยกระทำ ปริหาเปนฺติ ให้เสื่อมไป เต = ตยา อันเธอ สุตํ ได้สดับมาแล้ว กินฺติ บ้างหรือไม่ ? อิติ ดังนี้
อายสฺมา อานนฺโท ท่านพระอานนท์ อาห กราบทูลว่า ภนฺเต  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เอตํ วจนํ คำนี้ว่า วจนํ คำกล่าวว่า ยานิ ตานิ วชฺชิเจติยานิ เจดีย์วัชชีท. เหล่าใด อพฺภนฺตรานิ = อนฺโตนคเร             ฐิตานิ เจว ที่ตั้งอยู่ภายในแห่งพระนคร ก็ดี, พาหิรานิ = พหินคเร ฐิตานิ จ และที่ตั้งอยู่ภายนอกพระนคร ก็ดี โหนฺติ มีอยู่, วชฺชี เจ้าวัชชีท. สกฺกโรนฺติ ย่อมสักการะ ครุํ กโรนฺติ ย่อมเคารพ มาเนนฺติ               ย่อมยกย่อง ปูเชนฺติ ย่อมบูชา ตานิ ซึ่งเจดีย์วัชชีท. เหล่านั้น, โน ไม่ทำ – พลึ ของบูชา ธมฺมิกํ อันเกิดขึ้นโดยชอบธรรม ทินฺนปุพฺพํ ที่พวกเจ้าวัชชีท. เคยถวาย, กตปุพฺพํ เคยกระทำ ปริหาเปนฺติ ให้เสื่อมไป             อิติ ดังนี้ เม = มยา อันข้าพระองค์ สุตํ ได้สดับมาแล้ว อิติ ดังนี้
ภควา อโวจ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสแล้วว่า อานนฺท อานนท์ อนึ่ง ยาวกีวํ ตราบเท่าที่ ยานิ ตานิ วชฺชิเจติยานิ เจดีย์วัชชีท. เหล่าใด อพฺภนฺตรานิ = อนฺโตนคเร ฐิตานิ เจว ที่ตั้งอยู่ภายในแห่งพระนคร ก็ดี, พาหิรานิ = พหินคเร ฐิตานิ จ และที่ตั้งอยู่ภายนอกพระนคร ก็ดี โหนฺติ มีอยู่, วชฺชี เจ้าวัชชีท. สกฺกริสฺสนฺติ จักสักการะ ครุํ กริสฺสนฺติ จักเคารพ มาเนสฺสนฺติ จักยกย่อง ปูเชสฺสนฺติ จักบูชา ตานิ ซึ่งเจดีย์วัชชีท. เหล่านั้น, โน ไม่ทำ – พลึ ของบูชา ธมฺมิกํ อันเกิดขึ้นโดยชอบธรรม ทินฺนปุพฺพํ ที่พวกเจ้าวัชชีท. เคยถวาย, กตปุพฺพํ เคยกระทำ ปริหาเปสฺสนฺติ จักให้เสื่อมไป อานนฺท อานนท์ วุฑฺฒิ เอว ความเจริญเท่านั้น วชฺชีนํ อันเจ้าวัชชี ปาฏิกงฺขา   พึงหวังได้ ยาวกีวํ ตลอดกาลเพียงใด, ปริหานิ ความเสื่อม วชฺชีนํ อันเจ้าวัชชีท. โน ปาฏิกงฺขา มิพึงหวังได้ ตาวกีวํ ตลอดกาลเพียงนั้น[๒๔]

‘‘กินฺติ เต, อานนฺท, สุตํ, ‘วชฺชีนํ อรหนฺเตสุ ธมฺมิกา รกฺขาวรณคุตฺติ สุสํวิหิตา กินฺติ อนาคตา จ อรหนฺโต วิชิตํ อาคจฺเฉยฺยุํ, อาคตา จ อรหนฺโต วิชิเต ผาสุ วิหเรยฺยุ’ ’’นฺติ? ‘‘สุตํ เมตํ, ภนฺเต วชฺชีนํ  อรหนฺเตสุ ธมฺมิกา รกฺขาวรณคุตฺติ สุสํวิหิตา กินฺติ อนาคตา จ อรหนฺโต วิชิตํ อาคจฺเฉยฺยุํ, อาคตา  จ อรหนฺโต วิชิเต ผาสุ วิหเรยฺยุ’’’นฺติฯ ‘‘ยาวกีวญฺจ, อานนฺท, วชฺชีนํ อรหนฺเตสุ ธมฺมิกา รกฺขาวรณคุตฺติ สุสํวิหิตา ภวิสฺสติ, กินฺติ อนาคตา จ อรหนฺโต วิชิตํ อาคจฺเฉยฺยุํ อาคตา จ อรหนฺโต วิชิเต ผาสุ วิหเรยฺยุนฺติ วุทฺธิเยว, อานนฺท, วชฺชีนํ ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานี’’ติฯ

(อปริหานิยธรรมข้อที่ ๗)
ภควา พระผู้มีพระภาค อโวจ ได้ตรัสแล้วว่า อานนฺท อานนท์ วจนํ คำกล่าวว่า รกฺขาวรณคุตฺติ การรักษาป้องกันและคุ้มครอง[๒๕] ธมฺมิกา อย่างถูกต้อง อรหนฺเตสุ = อรหนฺโต  ซึ่งพระอรหันต์ท. วชฺชีนํ อันเจ้าวัชชีท. สุสํวิหิตา จัดการดีแล้ว, (จินฺตเนน) ด้วยความคิดว่า  อรหนฺโต พระอรหันต์ท. อนาคตา ผู้ยังไม่มาแล้ว อาคจฺเฉยฺยุํ พึงมา วิชิตํ สู่แคว้นวัชชี ด้วย, อรหนฺโต  พระอรหันต์ท.  อาคตา ผุ้มาแล้ว วิหเรยฺยุํ พึงอาศัยอยู่ ผาสุ สำราญ วิชิเต ในแคว้นวัชชี ด้วย กินฺติ ได้อย่างไร[๒๖]  อิติ ดังนี้ อิติ ดังนี้ เต = ตยา อันเธอ สุตํ ได้สดับมาแล้ว กินฺติ บ้างหรือไม่? อิติ ดังนี้
อายสฺมา อานนฺโท ท่านพระอานนท์ อาห กราบทูลว่า ภนฺเต  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เอตํ วจนํ คำนี้ว่า วจนํ คำกล่าวว่า วจนํ คำกล่าวว่า รกฺขาวรณคุตฺติ การรักษาป้องกันและคุ้มครอง ธมฺมิกา อย่างถูกต้อง อรหนฺเตสุ = อรหนฺโต ซึ่งพระอรหันต์ท. วชฺชีนํ อันเจ้าวัชชีท. สุสํวิหิตา จัดการดีแล้ว,  (จินฺตเนน) ด้วยความคิดว่า  อรหนฺโต พระอรหันต์ท. อนาคตา ผู้ยังไม่มาแล้ว อาคจฺเฉยฺยุํ พึงมา  วิชิตํ สู่แคว้นวัชชี ด้วย, อรหนฺโต พระอรหันต์ท. อาคตา ผู้มาแล้ว วิหเรยฺยุํ พึงอาศัยอยู่ ผาสุ สำราญ วิชิเต ในแคว้นวัชชี ด้วย กินฺติ ได้อย่างไร อิติ ดังนี้ อิติ ดังนี้ เม = มยา อันข้าพระองค์ สุตํ ได้สดับแล้ว อิติ ดังนี้
ภควา อโวจ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสแล้วว่า อานนฺท อานนท์ อนึ่ง ยาวกีวํ ตราบเท่าที่ รกฺขาวรณคุตฺติ การรักษาป้องกันและคุ้มครอง ธมฺมิกา อย่างถูกต้อง[๒๗] อรหนฺเตสุ = อรหนฺโต  ซึ่งพระอรหันต์ท. วชฺชีนํ อันเจ้าวัชชีท. สุสํวิหิตา เป็นอันจัดการดีแล้ว ภวิสฺสติ จักมี, (จินฺตเนน) ด้วยความคิดว่า  อรหนฺโต พระอรหันต์ท. อนาคตา ผู้ยังไม่มาแล้ว อาคจฺเฉยฺยุํ พึงมา วิชิตํ สู่แคว้นวัชชี ด้วย, อรหนฺโต พระอรหันต์ท. อาคตา ผู้มาแล้ว วิหเรยฺยุํ พึงอาศัยอยู่  ผาสุ  สำราญ  วิชิเต ในแคว้นวัชชี ด้วย กินฺติ ได้อย่างไร อิติ ดังนี้ อานนฺท อานนท์ วุฑฺฒิ เอว ความเจริญเท่านั้น วชฺชีนํ อันเจ้าวัชชีท. ปาฏิกงฺขา พึงหวังได้ ยาวกีวํ ตลอดกาลเพียงใด,     ปริหานิ ความเสื่อม[๒๘]   วชฺชีนํ อันเจ้าวัชชีท. โน ปาฏิกงฺขา มิพึงหวังได้ ตาวกีวํ ตลอดกาลเพียงนั้น.[๒๙]

๑๓๕. อถ โข ภควา วสฺสการํ พฺราหฺมณํ มคธมหามตฺตํ อามนฺเตสิ – ‘‘เอกมิทาหํ, พฺราหฺมณ, สมยํ เวสาลิยํ วิหรามิ สารนฺทเท เจติเยฯ ตตฺราหํ วชฺชีนํ อิเม สตฺต อปริหานิเย ธมฺเม เทเสสิํฯ ยาวกีวญฺจพฺราหฺมณ, อิเม สตฺต อปริหานิยา ธมฺมา วชฺชีสุ ฐสฺสนฺติ, อิเมสุ จ สตฺตสุ อปริหานิเยสุ ธมฺเมสุ วชฺชี  สนฺทิสฺสิสฺสนฺติ, วุทฺธิเยว, พฺราหฺมณ, วชฺชีนํ ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานี’’ติฯ
อถ โข ต่อมา ภควา พระผู้มีพระภาค อามนฺเตสิ ตรัสแล้ว พราหฺมณํ กะพราหมณ์  วสฺสการํ มีนามว่าวัสสการ มคธมหามตฺตํ ผู้เป็นอำมาตย์ใหญ่แห่งแคว้นมคธว่า พฺราหฺมณ ดูก่อนพราหมณ์ เอกํ สมยํ ในสมัยหนึ่ง อิท อหํ[๓๐] ตถาคต วิหรามิ อยู่ เจติเย ที่เจดีย์ สารนฺทเท ชื่อสารันททะ[๓๑]  เวสาลิยํ  เขตเมืองไพสาลี. ตตฺร ที่เจดีย์สารันททะ อหํ ตถาคต เทเสสิํ แสดงแล้ว ธมฺเม ซึ่งธรรมท. อปริหานิเย อันเกื้อกูลแก่ความไม่เสื่อม[๓๒] สตฺต เจ็ด อิเม เหล่านี้ วชฺชีนํ แก่เจ้าวัชชีท..  พฺราหฺมณ ดูก่อนพราหมณ์ ธมฺมา ธรรม อปริหานิยา อันเป็นไปในฝ่ายไม่เสื่อม สตฺต  เจ็ด อิเม เหล่านี้ ฐสฺสนฺติ จักตั้งอยู่ วชฺชีสุ ในเจ้าวัชชีท., และ วชฺชี เจ้าวัชชีท. สนฺทิสฺสนฺติ จักเห็นดีร่วมกัน ธมฺเมสุ ในธรรมท. อปริหานิเยสุ อันเป็นไปในฝ่ายไม่เสื่อม สตฺตสุ เจ็ด อิเมสุ เหล่านี้, ยาวกีวํ ตราบใด, พฺราหฺมณ ดูก่อนพราหมณ์ วุทฺธิ เอว ความเจริญเท่านั้น วชฺชีนํ อันเจ้าวัชชีท. ปาฏิกงฺขา พึงหวังได้, ปริหานิ ความเสื่อม วชฺชีนํ อันเจ้าวัชชีท. โน ปาฏิกงฺขา ไม่พึงหวังได้ ตาวกีวํ ตราบนั้น อิติ ดังนี้.

เอวํ วุตฺเต, วสฺสกาโร พฺราหฺมโณ มคธมหามตฺโต ภควนฺตํ เอตทโวจ – ‘‘เอกเมเกนปิ, โภ โคตม, อปริหานิเยน ธมฺเมน สมนฺนาคตานํ วชฺชีนํ วุทฺธิเยว ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานิฯ โก ปน วาโท สตฺตหิ อปริหานิเยหิ ธมฺเมหิฯ อกรณียาว, โภ โคตม, วชฺชี รญฺญา มาคเธน อชาตสตฺตุนา เวเทหิปุตฺเตน ยทิทํ ยุทฺธสฺส, อญฺญตฺร อุปลาปนาย อญฺญตฺร มิถุเภทาฯ หนฺท จ ทานิ มยํ, โภ โคตม, คจฺฉาม, พหุกิจฺจา มยํ พหุกรณียา’’ติฯ ‘‘ยสฺสทานิ ตฺวํ, พฺราหฺมณ, กาลํ มญฺญสี’’ติฯ อถ โข วสฺสกาโร พฺราหฺมโณ มคธมหามตฺโต ภควโต ภาสิตํ อภินนฺทิตฺวา อนุโมทิตฺวา อุฏฺฐายาสนา ปกฺกามิฯ
วจเน ครั้นเมื่อพระดำรัส ภควตา อันพระผู้มีพระภาค วุตฺเต ตรัสแล้ว เอวํ อย่างนี้ พฺราหฺมโณ พราหมณ์ วสฺสกาโร ผู้มีนามว่าวัสสการ มคธมหามตฺโต อำมาตย์ใหญ่แห่งแคว้นมคธ อโวจ ได้กราบทูลแล้ว เอตํ ซึ่งคำนั้น ภควนฺตํ กะพระผู้มีพระภาคเจ้า ว่า โภ โคตม ข้าแต่ท่านพระโคดม วุทฺธิ เอว ความเจริญเท่านั้น ปาฏิกงฺขา[๓๓] เป็นที่หวังได้, ปริหานิ ความเสื่อม ไม่เป็นที่หวัง วชฺชีนํ แก่เจ้าวัชชีท. สมนฺนาคตานํ ผู้ประกอบด้วย ธมฺเมน ด้วยธรรม อปริหานิเยน อันเกื้อกูลต่อความไม่เสื่อม เอกเมกเนปิ แม้ข้อหนึ่งๆ, โก ปน วาโท = กถา เอว คำพูดนั่นเทียว[๓๔] นตฺถิ ย่อมไม่มี,  (วุทฺธิ เอว ความเจริญนั่นเทียว ปาฏิกงฺขา เป็นที่หวัง ปริหานิ ความเสื่อม โน ปาฏิกงฺขา ไม่เป็นที่หวัง)  วชฺชีนํ แก่เจ้าวัชชีท. สมนฺนาคตานํ ผู้ประกอบแล้ว ธมฺเมหิ ด้วยธรรมท. อปริหานิเยหิ อันเกื้อกูลต่อความไม่เสื่อม สตฺตหิ ถึงเจ็ดประการ. โภ โคตม ข้าแต่ท่านพระโคดม วชฺชี เจ้าวัชชีท. ราชา พระราชา อชาตสตฺตุ พระนามว่าอชาต-ศัตรู มาคโธ ผู้เป็นใหญ่ในแคว้นมคธ เวเทหิปุตฺโต พระโอรสของพระนางเวเทหี อกรณียา ว ไม่พึงกระทำ[๓๕] ยทิทํ[๓๖] ยุทฺธสฺส = ยุทฺเธน[๓๗] ด้วยการรบ อญฺญตร เว้น[๓๘] อุปลาปนาย จากการเจรจาปรองดอง[๓๙] อญฺญตร เว้น มิถุเภทา[๔๐] จากการทำลายความกลมเกลียว.[๔๑]  โภ โคตม ข้าแต่ท่านพระโคดม อนึ่ง ทานิ บัดนี้ หนฺท ถึงเวลาแล้ว มยํ ข้าพระองค์ท. คจฺฉาม จะต้องไป, มยํ ข้าพระองค์ท.    พหุกิจฺจา เป็นผู้มีกิจมาก พหุกรณียา เป็นผู้มีการงานมาก[๔๒] อิติ ดังนี้.[๔๓]
ภควา พระผู้มีพระภาค อโวจ ได้ตรัสแล้วว่า พฺราหฺมณ ดูก่อนพราหมณ์ อิทานิ บัดนี้ ตฺวํ ท่าน มญฺญสิ = ชานาสิ ย่อมทราบ กาลํ ซึ่งกาล ยสฺส (คมนสฺส) แห่งการกลับไป ใด, ตฺวํ ของท่าน กโรหิ จงกระทำ ตํ (คมนํ) ซึ่งการกลับไปนั้นเถิด อิติ ดังนี้.[๔๔]
อถ โข ต่อจากนั้น วสฺสกาโร พฺราหฺมโณ วัสสการพราหมณ์ มคธมหามตฺโต อำมาตย์ใหญ่แห่งแคว้นมคธ อภินนฺทิตฺวา ชื่นชมแล้ว อนุโมทิตฺวา ยินดีแล้ว [๔๕]ภาสิตํ ซึ่งพระภาสิต ภควโต ของพระผู้มีพระภาค อุฏฺฐาย ลุกขึ้นแล้ว อาสนา จากอาสนะ ปกฺกามิ หลีกไปแล้ว.[๔๖]

xxxxxxxxxxxxxxx





[๑]ถึงในเวลานั้นพระพุทธองค์จะทรงสบายพระวรกายเนื่องจากอากาศจะเหมาะสมคือทั้งเย็นทั้งร้อนเสมอกันตลอดเวลาด้วยอานุภาพของบุญก็จริง แต่กระนั้น พระอานนท์ก็ดำรงอยู่ในวัตรปฏิบัติข้อนี้เสมอ.
[๒] พระผู้มีพระภาคแม้จะทรงสดับถ้อยคำที่วัสสการกราบทูลตามคำสั่งของพระเจ้าอชาตศัตรูดังนั้น แต่ก็มิได้ตรัสตอบกับพราหมณ์เลย กลับมีพุทธประสงค์จะรับสั่งกับพระอานนท์ จึงได้ตรัสอปริหานิยธรรมของเจ้าวัชชีแก่พระอานนท์.
[๓] คำว่า ประชุมเนืองๆ นี้ ไม่จำกัดจำนวนครั้ง แม้จะวันละ ๓ ครั้ง หรือ ระยะๆ ตามกำหนด ก็ได้ชื่อว่า ประชุมกันเนืองๆ. ส่วนคำว่า สนฺนิปาตพหุลา คือ ประชุมกันมากๆ  อย่างไม่เกียจคร้าน ทำนองว่า เมื่อวานประชุม วันก่อนๆก็ประชุม แล้ววันนี้พวกเราจะประชุมกันทำไมกันอีก.
[๔] พระอรรถกถาจารย์อธิบายเหตุผลในข้อนี้ว่า หากไม่หมั่นประชุมกัน ก็จะไม่มีโอกาสทราบข่าวสารที่ถูกส่งมาจากทั่วทุกสารทิศ, เมื่อไม่ทราบข่าวก็จะไม่รู้ว่า พื้นที่นี้เกิดความไม่สงบ หรือ มีโจรผู้ร้ายซ่องสุมขึ้น, แม้พวกโจร พอรู้ว่าพระราชากำลังเผลอ ก็จะเที่ยวปล้นสดมภ์ก่อการร้ายในท้องที่ต่างๆ.  ในทางกลับกัน หากประชุมให้รับทราบข่าวสารกันเนืองๆ ก็จะส่งกำลังทหารทำลายข้าศึกศัตรูและพวกโจรก็จะไม่กล้ารวมกลุ่มกันเป็นก๊กเที่ยวปล้นสะดมภ์ เพราะคิดว่า พระราชาเข้มแข้ง ก็สลายกลุ่มหนีไป.
[๕] อีกนัยหนึ่ง แปลตามนัยของฎีกาโดยไม่ต้อง เพิ่ม ตาวกีวํ เป็นปาฐเสสะ เพื่อเป็นประโยค ต เพราะไม่มีการกล่าวกำหนดปริมาณหรือกาลที่แน่นอนว่า วชฺชี เจ้าวัชชีท. อภิณฺหํ สนฺนิปาตา เป็นผู้ประชุมกันแล้ว เสมอ สนฺนิปาตพหุลา เป็นผู้ประชุมกันมากครั้ง ยาวกีวํ ตลอดกาล ภวิสฺสนฺติ จักเป็น.
[๖] สมคฺคา ผู้พร้อมเพรียงกัน มาจาก สํ = สมฺมา + อา + คมุ + กฺวิ. อรรถกถามัชฌิมปัณณาสก์ (ม.ม.อ. ๑๔๙) อธิบายศัพท์นี้ว่า เอกโต และพจนานุกรมฉบับภูมิพโล แยกศัพท์เป็น สํ อคฺค.  อรรถกถาพระวินัยอธิบายพระบาฬีว่า สมคฺคาตฺถ คือ  สพฺพา อาคตาตฺถ ชนทั้งหมดมาแล้ว. คัมภีร์ปาจิตตียโยชนา อธิบายศัพท์นี้ว่า มาจาก สํ อา คมุ ต  มีรูปวิเคราะห์ว่า สมฺมา อาคตา สมคฺคา ผู้มาพร้อมกันแล้ว ถือเอาความว่า มาพร้อมกัน. ในคัมภีร์โดยมากใช้ในความหมายว่า “การทำกิจนั้นด้วยกันทั้งหมดทุกคน”
[๗] วุฏฺฐหนฺติ ย่อมออกไป ในที่นี้แปลโดยโวหารัตถะเพื่อให้เข้าใจง่ายและสอดคล้องกับคำว่า มาประชุม.
[๘] พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า  เมื่อการงานของอีกคนหนึ่งคั่งค้างหรือเสียหายอยู่ เจ้าวัชชีที่เหลือ ก็จะส่งกำลังพลไปซ่อมแซมช่วยเหลือ, นอกจากนี้ เมื่อมีพระราชาผู้เป็นพระราชอาคันตุกะ เจ้าวัชชีท. ทั้งหมด จะพร้อมใจกันสงเคราะห์พระราชอาคันตุกะ โดยไม่เกี่ยงกันว่า พระองค์จงเสด็จไปยังวังเจ้าวัชชีพระองค์นั้นๆเถิด ดังนี้,  และ เมื่อเจ้าวัชชีองค์หนึ่งมีงานมงคลก็ดี เกิดโรคก็ดี หรือมีสุขทุกข์ในลักษณะนี้อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นก็ดี พวกเจ้าวัชชีทั้งหมดก็จะถึงความเป็นสหายในกิจนัั้น.  กิจกรรมเหล่านี้ ก็ชื่อว่า ช่วยกันทำกิจของเจ้าวัชชี อย่างพร้อมเพรียงกัน.
[๙]พระอรรถกถาจารย์อธิบายความพร้อมเพรียงกันประชุมไว้ว่า เมื่อมีเสียงกลองเรียกประชุมดังขึ้น หากต่างก็ทอดทิ้งการประชุมด้วยอ้างว่า เรามีกิจ, เรามีงานมงคลในวันนี้ ก็ชื่อว่า ไม่พร้อมเพรียงประชุม. แต่แม้เมื่อกำลังเสวย แม้ประดับกาย นุ่งผ้าอยู่ หากได้ยินเสียงกลอง ก็จะเสวยพออิ่ม (อฑฺฒภุตฺตา = สามิภุตฺตา ฎี.)  ประดับกายพอควร ห่มผ้าไปประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน. เมื่อประชุมกัน หากไม่เลิกประชุมพร้อมกัน โดยคิดถึงแต่จะทำกิจของตน อย่างนี้ก็ชื่อประชุมไม่พร้อมเพรียงกัน. จริงอย่างนั้น บรรดาผู้ออกไปแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้ ผู้ใดไปก่อน ผู้นั้นก็จะคิดว่า “เราฟังเรื่องอื่นแล้ว, วันนี้จักมีวินิจฉัยกถา”. ก็แต่ว่าเมื่อเลิกประชุมพร้อมกัน ชื่อว่า พร้อมเพรียงเลิกประชุม. ในกรณ๊นี้ หากได้ยินข่าวว่า ในท้องที่โน้นมีความไม่สงบ หรือ มีโจรซ่องสุม เมื่อมีผู้รับอาสาว่า เราจะไปก่อน เพื่อกำราบอริ แล้วไป ก็ยังได้ชื่อว่า เลิกประชุมพร้อมกัน.
(วินิฉัยกถา ต่างจาก พาหิรกถา คือ พาหิรกถา คือ คำพูดที่ไม่ใช่เนื้อหาหลักของการประชุม แต่เป็นเรื่องที่สนทนากันทั่วไป.   ส่วนวินิจฉัยกถา คือ คำพูดที่เป็นสาระหลักของการประชุม. คัมภีร์มัชฌิมฎีกา (๒/๔๔๐) อธิบายคำนี้ว่า เมื่อได้แสดงพระสูตรหรือชาดกใดแล้ว,ข้อความที่เป็นเรื่องภายนอกพระสูตรหรือชาดกนั้นถูกกล่าวไว้โดยไม่ระบุถึงเนื้อหาหลักของพระสูตรหรือชาดกนั้น. พาหิรกถา จึงได้แก่ เรื่องราวที่นำมาประกอบไว้เพื่อแสดงที่มาที่ไปของพระสูตรนั้นๆ แต่ไม่ใช่คำอธิบายเนื้อหาโดยตรงของพระสูตร. แม้ในที่ประชุมของเจ้าวัชชีนี้ก็เช่นกัน เมื่อมีความคิดว่า ได้ยินแต่คำพูดนอกเรื่อง คำพูดที่เป็นเนื้อหาหลัก ก็จักต้องมีต่อไป.
ในการใช้คำพูด สามารถนำฐานี คือ สิ่งที่มีอยู่ในฐานะคือที่ตั้งมาใช้แทนฐานะก็ได้ เรียกว่า ฐานยูปจาระ กล่าวถึงฐานี แต่หมายถึงฐานะ คือ ที่ัตั้ง. ดังนั้น คำว่า เมื่อกลองออกไปแล้ว ก็เป็นคำพูดในลักษณะนั้น. ในที่นี้  คนเป็นฐานะ คือ ที่ตั้งของกลอง กลองเป็นฐานี คือ สิ่งที่อาศัยฐานะ คือ คน. ธรรมดากลองออกไปเองไม่ได้ เมื่อกลองออกไปแสดงว่า มีคนถือกลองออกไป ดังนั้น กลองออกไปจึงหมายถึง คนผู้ถือกลองออกไปนั่นเอง.)
[๑๐] ปาฏิกงฺขา มาจาก ปติ > ปฏิ + กขิ ธาตุ ในอรรถ อิจฺฉา ปรารถนา โดยลง ณฺย ปัจจัย หรือ ณ ปัจจัยในอรรถกรรม เป็นได้ ๓ ลิงค์ ตามควรแก่อภิเธยยะ (วิเสสยะ).  ในที่นี้เป็นอิตถีลิงค์ตาม วุทฺธิ ความเจริญ.   กขิธาตุ มีอรรถ ๒ คือ กงฺข สงสัย และ อิจฺฉา ปรารถนา.  ปติ อุปสัคในที่นี้ส่องอรรถอิจฺฉา จึงห้ามอรรถกงฺขา.   คัมภีร์อรรถกถาอธิบายศัพท์นี้ว่า อิจฺฉิตพฺพา แสดงว่า เป็นกิตกบทกรรมวาจก. ในกรณีนี้ ปาฏิกงฺขา ลง ณฺย ปัจจัย แล้วลบ ย จึงเป็น  ปาฏิกงฺขา  โดยลงปัจจัยให้เป็นอิตถีลิงค์. อีกนัยหนึ่ง เป็นกรรมสาธนะ โดยลง ณ ปัจจัย มีรูปวิเคราะห์ว่า วุทฺธิํ ปฏิกงฺขติ อิติ ปาฏิกงฺขา ย่อมปรารถนา ซึ่งความเจริญ เพราะเหตุนั้น ความเจริญ ชื่อว่า ปาฏิกงฺขา เป็นที่หวัง.  นัยหลังนี้ ควรแปลประโยคนี้ว่า วุทฺธิ อ.ความเจริญ ปาฏิกงฺขา เป็นที่หวัง (โหติ) ย่อมมี วชฺชีนํ แก่เจ้าวัชชีท. นัยแรก วชฺชีนํ เป็นบทฉัฏฐีลงในอรรถกัตตา ส่วนนัยหลังมีอรรถสามี. นอกจากนี้ คัมภีร์อรรถกถาขยายความโดยกำกับคำว่า อวสฺสํ ภวิสฺสติ พึงหวังได้ อย่างแน่นอน ไว้ด้วย. เมื่อเป็นเช่นนี้ อาจเพิ่มคำว่า อวสฺสํ เข้ามาตามนัยอรรถกถา แล้วแปลว่า วุทฺธิ ความเจริญ ปาฏิกงฺขํ เป็นที่หวังได้ วชฺชีนํ แก่เจ้าวัชชีท. (โหติ) ย่อมมี (อวสฺสํ)  อย่างแน่นอน. ตำรานิสสยะบางเล่ม กล่าวว่า เป็นด้วยอำนาจของ ณ หรือ ณฺย ปัจจัย ที่มีอรรถพิเศษนี้เพิ่มมา.
[๑๑] บทว่า สมาทาย กิริยาวิเสสนะใน วตฺตนฺติ. สมาทาย มาจาก สํ อา + ทา ให้ > รับมา + ตฺวา. อา อุปสัค เป็นธาตุวัตถพาธกะ กลับอรรถของธาตุ ทำให้ ทาธาตุ กลายจาก ให้ เป็นการรับมา. ส่วน สํ อุปสัค ในที่นี้มีอรรถสมฺมา อย่างดี กล่าวคือ สกฺกจฺจํ อย่างเคารพ สมาทาน คือ การรับเอาข้อปฏิบัติมาประพฤติโดยเคารพทุกประการ  (อัง.จตุ.ฏี ๑๒ ) หรือ รับมาประพฤติโดยตั้งใจว่าจะมิให้ขาดทำลาย. (ปรมัตถโชตกา อรรถกถาขุททกปาฐะ ทสสิกขาปท) ดังนั้น การรับโบราณราชประเพณีมาประพฤติของเจ้าวัชชี ก็คือ การรับเอาข้อกำหนดมาปฏิบัติมิให้ขาดทำลายไป.
[๑๒] คัมภีร์อรรถกถากล่าวถึงข้อกำหนดในข้อนี้ว่า ได้แก่ การจัดเก็บภาษี ส่วนแบ่งรายได้ และค่าปรับของประชาชนที่ควรจะจ่ายให้แก่พระราชา ที่ถูกตราขึ้นเป็นข้อกำหนด. ดังนั้น ในพระบาฬีนี้จึงแบ่งกฏเกณฑ์ข้อประพฤตินี้ออกเป็น ๒ ส่วน คือ ข้อที่ว่า บัญญัติข้อกำหนดที่ไม่เคยบัญญัติ ก็คือ จัดเก็บรายได้ที่ไม่เคยเก็บ และ ที่ว่า ยกเลิกข้อกำหนดที่เคยบัญญัติ คือ  ไม่จัดเก็บรายได้ที่เคยเก็บ. ในกรณีนี้มีผลเสียที่จะเกิดขึ้นแก่เจ้าวัชชีทั้งสอง กล่าวคือ เมื่อประชาชนถูกเบียดเบียนด้วยการจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นดังกล่าว ก็จะโกรธแค้นและกลายเป็นโจรหรือเข้ากับพวกโจรแล้วก่อความไม่สงบในท้องที่. ส่วนในกรณีที่ ๒ เมื่อไม่เก็บรายได้ที่เคยเก็บเข้าคลังหลวง รัฐก็จะไม่มีรายได้บำรุงกำลังพล เมื่อกำลังพลไม่ได้รับการบำรุงก็จะไม่ควรจะการรบและการดูแลประชาชน. กรณีนี้จะกลายเป็นความเสื่อมเสียแก่พวกเจ้าวัชชี. แต่ในทำนองกลับกัน ถ้าบัญญัติข้อกำหนดที่เคยบัญญัติไว้ และไม่ยกเลิกข้อกำหนดที่เคยบัญญัติไว้ คือ มีการจัดเก็บรายได้ตามปกติที่เคยปฏิบัติมา ประชาชนมีความสุขต่างดำรงชีพไปตามปกติไม่อดหยาก และกำลังพลก็บริบูรณ์เหมาะแก่การรบและการดูแลประชาชน. ข้อนี้ก็จะสร้างความเจริญให้แก่เจ้าวัชชีได้อย่างแน่นอน.
[๑๓] คัมภีร์อรรถกถาให้คำจำกัดความของคำว่า โปราณวชฺชีธมฺม ได้แก่ วัชชีธรรมที่วางไว้เดิม หมายถึงประเพณีที่สืบต่อกันมานาน เช่น จับผู้ต้องสงสัยว่าเป็นโจร ผู้จับจะไม่ สอบสวนเอง  แต่จะส่งให้ฝ่ายสอบสวน  ฝ่ายสอบสวนสืบสวนแล้วรู้ว่าไม่ใช่ก็ปล่อย ถ้ายังสงสัยก็ส่งต่อขึ้นไปตามลำดับชั้น บางกรณีอาจส่งถึงเสนาบดี บางกรณีอาจส่งถึงพระราชาเพื่อทรงวินิจฉัย ในกรณีที่สอบสวนจนทราบชัดว่าเป็นโจรแล้ว ก็จะแจ้งข้อกล่าวหาและระวางโทษตามประมวลกฏหมายประเพณีที่ได้ตราไว้ว่า ผู้ทำความผิดอย่างนี้ ต้องได้รับโทษทัณฑ์เท่านี้”.   พระราชาครั้นทำกิริยาของผู้ต้องหาให้สงบลงได้ด้วยกฏหมายนั้นแล้วจึงลงทัณฑ์ตามที่สมควรต่อความผิดนั้น. เมื่อพวกมนุษย์เห็นว่า พระราชาตัดสินและลงโทษต้องตามโบราณราชประเพณีของเจ้าวัชชีแล้วก็จะไม่ติดใจว่า นี้เป็นความผิดของเราเองไม่ใช่ความผิดของเจ้าหน้าที่. เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ไม่ประมาทประกอบอาชีพไปตามปกติ ความเจริญก็มีแก่เจ้าวัชชีได้อย่างแน่นอน. แต่ถ้าเป็นไปในทางตรงกันข้ามเมื่อเจ้าวัชชีพากันละเลยวัชชีธรรมข้อนี้ก็จะทำให้ประชาชนโกรธแค้นว่า เจ้าหน้าที่รัฐแกล้งกล่าวหาญาติของเราที่ไม่ใช่โจรว่าเป็นโจรแล้วเอาไปลงโทษ ดังนี้แล้วก็หนีไปเป็นโจรปล้นสะดม ก็จะก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่เจ้าวัชชี.
[๑๔] ในที่นี้แปลโดยโวหารัตถะว่า ย่อมสักการะ โดยบทว่า เต เป็นบทกรรม ของ กร ธาตุที่มีสํเป็นบทหน้า แม้ในคำว่า ครุํ กโรติ ก็มีนัยนี้. คัมภีร์อรรถกถาอธิบายคำว่า สกฺกโรนฺติ ว่า ยํกิญฺจิ เตสํ สกฺการํ กโรนฺตา สุนฺทรเมว กโรนฺติ เมื่อทำซึ่งสักการะอย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่เจ้าวัชชีผู้เฒ่าเหล่านั้น ชื่อว่า ทำดีนั่นเทียว. ดังนั้น บทว่า สกฺกโรติ  แปลโดยสัททัตถนัยว่า ย่อมทำดีโดยทำสักการะ โดยแยกบทเป็น สํ = สุนฺทรํ + กโรนฺติ ทำความดี. คำว่า สกฺการ  เป็นคำนาม คัมภีร์ฎีกาอธิบายว่า หมายถึง อุปการะ. ในอรรถกถาให้ เตสํ เป็นสัมปทานะของ กร ธาตุที่มีสํเป็นบทหน้า. เมื่อเป็นเช่นนี้ เต จึงเป็น ทุติยาลงในอรรถจตุตถี.
[๑๕] ในที่นี้แปลโดยโวหารัตถะว่า ย่อมเคารพ. อีกนัยหนึ่ง คัมภีร์อรรถกถา แก้บทว่า ครุํ กโรนฺติ ว่า ได้แก่ ครุภาวํ ปจฺจุปฏฐเปตฺวาว กโรนฺติ ย่อมเข้าไปตั้งความเป็นผู้ควรเคารพ. คัมภีร์ฎีกาอธิบายเพิ่มเติมว่า เข้าไปตั้งไว้ความเป็นผู้ควรเคารพในเจ้าวัชชีผู้เฒ่าว่า “ท่านเหล่านี้เป็นผู้ควรเคารพของพวกเรา” เมื่อถือเอาตามนัยของอรรถกถาและฎีกาจึงแปลว่า ย่อมเข้าไปตั้งความเป็นครู หรือ ย่อมนับถือเจ้าวัชชีผู้เฒ่าเหล่านั้นว่าเป็นผู้ควรเคารพ. โดยนัยนี้ เต เป็นทุติยาวิภัตติลงในอรรถสัตตมี แปลว่า ใน. อีกนัยหนึ่ง แปลบทว่า เต เป็น บทอวุตตกรรม และ บทว่า ครุํ เป็น วิกติกรรมว่า ย่อมกระทำซึ่งเจ้าวัชชีผู้เฒ่าให้เป็นผู้ควรเคารพ
[๑๖]  ในที่นี้แปลโดยโวหารัตถะว่า ย่อมนับถือ. คัมภีร์อรรถกถาอธิบายคำว่า มาเนนฺติ ว่า คือ ย่อมรักใคร่ด้วยใจ หมายถึง ย่อมรักใคร่ด้วยใจของตน (ด้วยใจชื่นชมยินดี) มเนน ปิยายนฺติ และ ฎีกาว่า การรักใคร่ด้วยใจ ก็คือการที่เจ้าวัชชีนั้นมีใจชื่นชมยินดีในเจ้าวัชชีผู้เฒ่าเหล่านั้น. แม้ บทว่า เต ก็มีอรรถสัตตมีวิภัตติ.
[๑๗] การบูชาในที่นี้ ได้แก่ การบูชาโดยการหมอบลงหรือก้มกราบ.
[๑๘] มญฺญนฺติ มีความหมายหลายนัย เช่น ดูหมิ่น รู้ เข้าใจ คิด เป็นต้น ในที่นี้หมายถึง การเล็งเห็นถึงความสำคัญในคำกล่าวอันเป็นคำพร่ำสอน ซึ่งตนควรเชื่อถือ. คัมภีร์อรรถกถากล่าวถึงคำพร่ำสอนของเจ้าวัชชีผู้เฒ่าเหล่านี้ว่า โบราณราชประเพณีอย่างนี้ควรทำ, อย่างนี้ไม่ควรทำ และยุทโธบายว่า ควรรุกอย่างนี้ควรรับอย่างนี้, เมื่อเจ้าวัชชีเคารพสักการะ ไปยังที่บำรุงของเจ้าวัชชีผู้เฒ่าเหล่านั้น ก็จะได้รับคำพร่ำสอนอย่างนี้ ย่อมสามารถรักษาโบราณราชประเพณีไว้ได้ และเข้าใจยุทโธบาย เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะมีความเจริญแน่นอน ไม่เสื่อมจากรัชสมบัติ. แต่ถ้าเอาแต่เพลิดเพลินอยู่ ละเลยข้อวัตรที่ควรทำต่อเจ้าวัชชีผู้เฒ่าเหล่านี้ ก็จะไม่ทราบโบราณราชประเพณของเจ้าวัชชี จักไม่อาจธำรงสันตติวงศ์ และในที่สุด ย่อมเสื่อมจากรัชชสมบัติไปโดยแน่นอน.
[๑๙] คำว่า กุลิตฺถี หมายถึง หญิงผู้เป็นแม่เรือน หมายถึง หญิงที่อยู่ในฐานะแห่งมารดา ส่วน กุลกุมาริโย หมายถึง เด็กหญิงที่เป็นบุตรี คัมภีร์อรรถกถาให้คำจำกัดความว่า เป็นเด็กหญิงที่ยังอ่อนเยาว์ไม่สามารถดูแลตนเองได้ (อนิวิทฺธา ตาสํ ธีตโร).
[๒๐] โอกฺกสฺส มาจาก อว + กสฺส ธาตุ ในอรรถว่า ไป  + ตฺวา. แปลง  ตฺวา เป็น ย และลบ ย  (นิรุตติทีปนี แสดงวิธีนี้ไว้ด้วยมหาสูตรคือ ตทมินาทีนิ). โอ เป็นวิปริตของ อว อุปสัค ด้วย อว อุปสัค คำนี้จึงหมายถึง การทำให้ไปต่ำ ได้แก่ การฉุดให้ล้มลง. คำว่า ปสยฺห คือ ครอบงำข่มเหงด้วยกำลัง มาจาก ป + สห ครอบงำ + ตฺวา ปัจจัย ๆ เป็น ย. ทั้งสองคำนี้ ในอรรถกถาและฎีกาหมายถึง การข่มเหงน้ำใจด้วยกำลัง กล่าวคือ การใช้กำลังฉุดคร่าและขืนใจหญิงอื่นมาเป็นภรรยาของตนเองโดยที่เจ้าตัวมิได้ยินยอม (ข่มขืน, ขืนใจ,ปลุกปล้ำ) แม้สองคำนี้จะเป็นไวพจน์กัน แต่ถ้าแปลโดยสัททัตถนัย ก็จะเห็นถึงความพยายามในกิริยาอาการดังกล่าวว่าแตกต่างกัน.
[๒๑] เพิ่มปาฐเสสะนี้เข้ามาตามนัยอรรถกถา.
[๒๒] พระอรรถกถาจารย์ชี้ให้เห็นว่า เมื่อเจ้าวัชชีประพฤติดังกล่าวมานี้ก็จะสร้างความโกรธแค้นให้แก่ประชาชนว่า พวกเจ้าวัชชีใช้กำลังฉุดคร่าขืนใจข่มเหงแม่เด็กในบ้านของเรา, แม้กระทั่งบุตรีที่เราทะนุถนอมเช็ดน้ำลายน้ำมูกจากหน้า ไปขังไว้ในวัง” แล้วจะพากันเป็นโจรเที่ยวปล้นสะดมก่อความไม่สงบแก่บ้านเมือง, แต่ถ้าดำรงอยู่ในธรรม ประชาชนก็มีความสงบสุขประกอบสัมมาชีพของตน ทำให้พระคลังหลวงบริบูรณ์.เมื่อเป็นเช่นนี้ความเจริญจักเกิดไม่มีความเสื่อม.
[๒๓] เจดีย์วัชชี หมายถึง ศาลเทพารักษ์ ซึ่งตั้งอยู่ในแคว้นวัชชี ของเจ้าวัชชี แต่ในที่นี้ตรัสเรียกว่า เจดีย์ เพราะเหตุที่เจ้าวัชชีทรงให้ความเคารพยำเกรง (ที.ม.อ. ๑๓๔)
[๒๔] คัมภีร์อรรถกถากล่าวถึงเหตุผลในข้อนี้ว่า ในกรณีที่เจ้าวัชชีทำการบูชาตามธรรมเนียมที่เคยปฏิบัติมา ก็จะไม่พบความเสื่อม แต่มีแต่ความเจริญแน่นอน. แต่เมื่อละทิ้งการบูชา เทวดาก็จะไม่คุ้มครอง, ถึงไม่อาจทำให้ทุกข์ที่ยังไม่เกิดให้เกิด แต่ก็จะซ้ำเติมทุกข์ที่เกิดขึ้นแล้ว เช่น โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เป็นต้นที่ให้มีเพิ่มมากขึ้นได้, นอกจากนี้ จะไม่เป็นสหายในยามเข้าสู่สงคราม. แต่ถ้ายังคงทำการบูชานั้น ถึงไม่สามารถจะบันดาลให้มีความสุขใหม่เกิดขึ้น แต่ก็สามารถกำจัดทุกข์เดิมที่เกิดขึ้นแล้วได้, และยังเป็นสหายในภาวสงครามอีกด้วย.  คัมภีร์ฎีกาอธิบายว่า อันตรายแต่เทวดาจะไม่เป็นไปในกรณีที่บาปกรรม หรือ วิบากของกรรมยังไม่ได้โอกาสให้ผล แต่ในกรณีที่บาปกรรมนั้นได้โอกาสให้ผลแล้ว อันตรายแต่เทวดา จะพึงมี. ส่วนความเป็นสหายในสงคราม เช่น แสดงกำลังพลให้ข้าศึกเห็นว่ามีมากเป็นสองเท่าสามเท่า หรือ แสดงความเป็นสิ่งต้านภัย เป็นต้น.
[๒๕] ศัพท์ว่า รกฺขาวรณคุตฺติ นี้ คัมภีร์อรรถกถา แยกเป็นทวันทสมาสที่เข้าสมาสระหว่าง รกฺขาวรณ และ คุตฺติ โดยคำว่า รกฺข และ อาวรณเป็นอวธารณกัมมธารยสมาส  ซึ่งมีความหมายเดียวกัน คือ ป้องกัน อันเป็นการห้ามมิให้ไปยังที่เจ้าวัชชีไม่ต้องการให้ไป. ส่วนคัมภีร์ฎีกากล่าวว่า มีอรรถปฏิเสธ. คำว่า คุตฺติ คุ้มครอง มีความหมายต่างกัน คือ คุ้มครองสิ่งที่เจ้าวัชชีปรารถนาไม่ให้เสียหาย รวมความว่า คำว่า รกฺขาวรณคุตฺติ อาจแปลโดยใช้คำเดียวว่า รักษาคุ้มครอง อย่างใดอย่างหนึ่งได้. ในที่นี้แปลออกสำเนียงศัพท์สองประการเพื่อให้เห็นคำศัพท์ในบาฬีที่แปลมา.
[๒๖] กินฺติ อย่างไร  ในที่นี้ เป็นการถามกับจิตหรือถามกับตัวเอง. การถามเช่นนี้ ไม่ได้เป็นการถามระหว่างเจ้าวัชชีด้วยกัน แต่เป็นพระดำริที่ได้ตั้งไว้อย่างนี้ของเจ้าวัชชี. ฎีกาอธิบายว่า อย่างไรก็ตาม พระดำรินั้น เป็นปรากฏในโลก ก็ด้วยการทำและการพูดนั่นเอง.
[๒๗] อย่างถูกต้อง หมายถึง ไม่ปราศจากธรรมหรือ มีความเหมาะสม. พระอรรถกถาจารย์ยกตัวอย่างการปกป้องคุ้มครองอย่างประกอบและไม่ประกอบด้วยธรรมว่า การใช้กำลังพลล้อมป้องกัน ชื่อว่า ป้องกันคุ้มครองบรรพชิตอย่างประกอบด้วยธรรมหามิได้, แต่การป้องกันคุ้มครอง โดยห้ามมิให้ตัดต้นไม้ในป่าใกล้ที่พำนัก, ห้ามมิล่าสัตว์, มิให้จับปลาในสระบัว เป็นต้น ก็ชื่อว่า ปกป้องคุ้มครองอย่างประกอบด้วยธรรม.
[๒๘] พระอรรถกถาจารย์ยกตัวอย่างความไม่ประพฤติกรณียกิจข้อนี้ว่า “พระราชาเหล่าใด ไม่ปรารถนาการมาของพระอรหันต์ผู้ไม่มาแล้ว, พระราชาเหล่านั้น ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ศรัทธา ไม่เลื่อมใส, อนึ่ง เมื่อบรรพชิตมาถึงแล้ว ก็ไม่เสด็จไปต้อนรับ, ถึงเสด็จไปแล้วก็ไม่ทอดพระเนตร, ไม่มีพระราชปฏิสันถาร, ไม่ทรงไต่ถามปัญหา, ไม่ทรงสดับธรรม, ไม่ถวายทาน, ไม่ทรงสดับอนุโมทนา, ไม่มีรับสั่งให้จัดที่พำนัก. เมื่อเป็นเช่นนี้ ข้อเสียของเจ้าครองนครเหล่านั้นเป็นอันขจรไปอย่างนี้ว่า พระราชาพระนามโน้น ไม่เลื่อมใส ไม่มีศรัทธา, เมื่อบรรพชิตมาถึงแล้ว ก็ไม่เสด็จไปต้อนรับ ดังนี้เป็นต้น. ฝ่ายบรรพชิตครั้นได้ยินเข้าก็ไม่ไปที่ประตูพระนครของพระราชานั้น, แม้เมื่อไป ก็ไม่เข้าไปสู่พระนคร. การไม่มาของพระอรหันต์ผู้ไม่มาแล้ว ย่อมมีอย่างนี้. แม้เมื่อความอยู่สบายของพระอรหันต์ที่มาถึงแล้วไม่มี, พระอรหันต์ผู้ไม่รู้แล้วมา ก็จะคิดว่า ในทีแรก เราคิดว่า จักอยู่ ดังนี้จึงมา, แต่ใครเล่าจักอยู่ด้วยการบริหารอย่างนี้ของพระราชาเหล่านั้น ดังนี้แล้วจึงออกไป. ในประเทศที่พระอรหันต์ท. ที่ยังไม่มา ก็ไม่มา, ที่มาแล้วแล้วก็อยู่อย่างเป็นทุกข์ ก็จะไม่เป็นที่พำนักของบรรพชิต.  เพราะเหตุนั้น ก็จะไม่มีเทวดาผู้อารักขา. เมื่อไม่มีเทวดาอารักขา อมนุษย์ก็สบช่อง, อมนุษย์ที่มีมากขึ้น ก็จะทำให้โรคเกิดขึ้น, บุญที่มีการเห็นบรรพชิตผู้มีศีลดี ถามปัญหาเป็นต้น ก็ไม่มี.
[๒๙] พระอรรถกถาจารย์กล่าวถึงการไม่ทำกรณียกิจในข้อนี้ว่าจะเป็นเหตุแห่งความเสื่อมไว้ว่า หากเจ้าวัชชีไม่บำเพ็ญพระกรณียกิจในข้อนี้ ก็จะไม่บรรพชิตผู้มีศีลมายังพระนคร ก็จะทำให้เกิดผลเสียตามมาคือ พระนครก็จะกลายเป็นที่ไม่ควรพำนักของบรรพชิต เมื่อไม่มีบรรพชิตผู้มีศีลอยู่ ก็จะไม่มีเทวดาอารักษ์, เมื่อไม่มีเทวดาอารักษ์ ก็จะมีแต่พวกอมนุษย์ที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น ก็จะสบช่อง สร้างความเดือดร้อนต่างๆอาทิ ก่อให้เกิดโรคมากมาย. นอกจากนี้ ก็จะไม่มีบุญกุศลที่มีเหตุมาจากการได้เห็นบรรพชิต การฟังธรรม ไต่ถามปัญหาธรรมเป็นต้น. ความเสื่อมจึงมี ความเจริญย่อมหายไป.
[๓๐] อิทาหํ ตัดบทเป็น อิท อหํ.  อิทศัพท์ นิปาตมัตต์. แต่ในบางแห่ง อิทาหํ  ตัดบทเป็น อิธ อหํ  โดยแปลง ธ เป็น ท. อย่างไรก็ตาม อิธ ก็เป็นนิปาตมัตต์ ไม่ใช่ อิธ สัพพนาม. ด้วยข้อความว่า เอกมิทาหํ เป็นต้นนี้แสดงว่า พระผู้มีพระภาคตรัสอปริหานิยธรรมนี้แก่พวกเจ้าวัชชีเหล่านี้มาก่อน
[๓๑] คำว่า เจดีย์สารันททะ นี้ อันที่จริงได้แก่ อารามที่ได้นามอย่างนี้. คัมภีร์อรรถกถากล่าวถึงที่มาของชื่อนี้ว่า เดิมเคยเป็นเจดีย์ที่อาศัยของยักษ์สารันททะ ในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังไม่ทรงอุบัติขึ้น. ต่อมาพวกเจ้าวัชชีได้สร้างเป็นวิหารที่ประทับของพระผู้มีพระภาค และตั้งชื่อว่า สารันททเจดีย์ เนื่องจากได้สร้างขึ้นภายในบริเวณของสารันททเจดีย์. อนึ่ง ที่อยู่อาศัยของเทวดา ก็มีชื่อว่า เจดีย์เหมือนกัน เพราะเป็นสถานที่อันวิจิตรเนื่องจากเป็นเทวาลัยและเพราะเป็นเคารพยำเกรงของชาวโลก (ที.ม.ฎี.).
[๓๒] คำว่า ธรรมเป็นเหตุไม่เสื่อมนี้ หมายถึงธรรมเป็นเหตุแห่งความเจริญ (ที.มหา.อ.๑๑๔).  กรณีนี้เพราะเป็นปฏิปักษ์โดยตรงกับความเสื่อม จึงได้ความหมายนี้ด้วยโดยไม่ต้องกล่าวถึง เรียกว่า อัตถาปัตตินัย.   ส่วนคำว่า อปริหานิยธมฺม หมายถึง ธรรมอันเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ความไม่เสื่อม อปริหาน + อิย = หิตตัทธิต.  อีกนัยหนึ่ง น + ปริ + หา เสื่อม + อนียะ พึง) นามกิตก์กรณสาธนะ วิ. น ปริหายนฺติ เอเตหีติ อปริหานิยา บุคคลย่อมไม่เสื่อมด้วยธรรมเหล่านี้ เหตุนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อ อปริหานิย ธรรมเป็นเหตุไม่เสื่อม. (ที.มหา.ฎี.๑๒๕) รูปวิเคราะห์นี้ อนีย ปัจจัยใช้ในกรณสาธนะ.
[๓๓] ปาฏิกงฺขา ในที่นี้แปลเป็นคำนามกัมมสาธนะว่า เป็นที่หวัง
[๓๔] โก ปน วาโท แปลโดยโวหารัตถะว่า มีคำพูดอะไรเล่า, จะป่วยกล่าวไปใย.  เป็นวลีที่กล่าวถึงความปฏิเสธว่า ไม่มีคำพูดใด ดังสารัตถทีปนีฎีกาพระวินัยว่า โก ปน วาโท, กถา เอว นตฺถีติ อธิปฺปาโยฯ สำหรับข้อความที่เพิ่มเข้ามาจะใช้ตามปาฐะแรก แต่ละไว้โดยคงปาฐะนี้ว่า สตฺตหิ อปริหานิเยหิ ธมฺเมหิ ด้วยอปริหานิยธรรมท. ถึงเจ็ดประการ. เท่านั้น แต่ในบางแห่งจะละบทที่ลงปฐมาวิภัตติเท่านั้น.นอกนั้นเหมือนปาฐะต้นทุกประการ.
อีกนัยหนึ่งแปลแบบสั้นว่า โก ปน วาโท คำพูดอะไรเล่า (ภวิสฺสสติ) จักมี สมนฺนาคตานํ วชฺชีนํ แก่เจ้าวัชชีท. ผู้ประกอบ อิเมหิ สตฺตหิ อปริหานิยธมฺเมหิ ด้วยอปริหานิยธรรมท. ๗ เหล่านี้.
[๓๕] อกรณียา ไม่พึงกระทำ พระอรรถกถาจารย์ให้ความหมายว่า อคฺคเหตพฺา ไม่พึงจับ.  คัมภีร์ฎีกาอธิบายว่า การไม่ทำกิจอย่างใดอย่างหนึ่งกับเจ้าวัชชีตามอำเภอใจ เพราะการจะทำอะไรตามอำเภอใจก็จะต้องจับอีกฝ่ายหนึ่งให้อยู่ในความควบคุมของตนเสียก่อน.  ในที่นี้ไม่พึงกระทำคือจับพวกเจ้าวัชชีด้วยการทำสงครามโดยตรง.
[๓๖] ยทิทํ เป็นนิปาตมัตต์ ไม่มีความหมาย.
[๓๗] ยุทฺธสฺส เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถตติยาวิภัตติ. คัมภีร์ฎีกากล่าวว่า เป็นการทำสงครามโดยตรง.  คือ ไม่สามารถจับพวกเจ้าวัชชีได้ด้วยการยกทัพไปทำสงคราม. 
[๓๘] อญฺญตร เป็นนิบาตใช้ในอรรถวินา เว้น ในที่นี้เป็นวิเสสนะของ อกรณียา กล่าวคือ วิธีการจับตัวเจ้าวัชชีไม่สามารถใช้วิธีการทำสงครามโดยตรงได้ ซึ่งเว้นการเจรจาโดยยอมส่งเครื่องบรรณาการหรือทำลายความสามัคคีเสียก่อน.
[๓๙] อุปลาปนา หมายถึง การเจรจาเพื่อขอยุติศึกสงคราม. คัมภีร์อรรถกถากล่าวว่า เป็นการสร้างความสัมพันธ์โดยส่งเครื่องบรรณาการอาทิ ช้าง ม้า รถ เงิน ทองเป็นต้น ด้วยคำเจรจาว่า “ขอยุติการทะเลาะวิวาท, บัดนี้พวกเราจงมีความปรองดองกันเถิด”. การใช้วิธีนี้ถือเป็นกลศึกอย่างหนึ่ง เพราะครั้นแสร้งส่งเครื่องบรรณาการเพื่อขอสงบศึกฉะนี้แล้วก็จะสามารถจับตัวเจ้าวัชชีได้โดยความคุ้นเคยเพียงอย่างเดียว.
[๔๐] มิถุเภทา คือ   การทำลายความสามัคคีของกันและกัน.  วิธีนี้ก็จัดเป็นอุบายวิธี คือ วิธีการอันแยบยลหรือชาญฉลาด. สำหรับการทำลายความสามัคคีนี้ถือเป็นอุบาย เพราะเมื่อใช้วิธีการนี้แล้วก็จะสามารถจับตัวพวกเจ้าวัชชีได้. ส่วนการรบโดยตรงไม่ใช่อุบาย ดังที่พราหมณ์ได้เปิดเผยออกมาก่อน.
[๔๑] วัสสการพราหมณ์ได้แนวทางการเอาชนะเจ้าวัชชีจากพระพุทธดำรัสของพระผู้มีพระภาคจึงกล่าวถ้อยคำว่า “เว้นจากการเจรจาและเว้นจากการทำลายความสามัคคี” นี้. ส่วนพระพุทธดำรัสอันเป็นเหตุให้พราหมณ์ได้แนวคิดก็คือคำว่า “ตราบใดที่เจ้าวัชชีท.พร้อมเพียงกันประชุม, ฯลฯ ตราบนั้น ก็จะหวังแต่ความเจริญได้ ความเสื่อมมิต้องหวัง” เกี่ยวกับเรื่องนี้ คัมภีร์อรรถกถาทิ้งท้ายชวนคิดว่า พระพุทธองค์จะมิทรงทราบเชียวหรือว่า พราหมณ์จะได้แนวคิดเพื่อการทำลายเจ้าวัชชีด้วยพระพุทธดำรัสนี้. เรื่องนี้ ก็ทรงทราบชัดอยู่ แต่ที่ทรงบอกไปหวังจะอนุเคราะห์พวกเจ้าวัชชี. อันที่จริงทรงมีพุทธดำริว่า ถืงจะไม่ตรัสเรื่องนี้ พระเจ้าอชาตศัตรู ก็จะเสด็จกรีธาทัพไปแล้วจักจับพวกเจ้าวัชชีทั้งหมดได้ในเวลาเพียงไม่กี่วัน, แต่ถ้าตรัสไปพราหมณ์ถึงทำลายความสามัคคีได้ ก็จักจับตัวได้โดยใช้เวลาถึงสามปี, ความเป็นอยู่ชั่วเวลาเท่านี้ก็นับว่าดีแล้ว, เพราะพวกเจ้าวัชชี เมื่อยังเป็นอยู่ชั่วเวลาเท่านี้ จักทำบุญให้เป็นที่พึงของตนได้.
[๔๒] คำว่า พหุกิจฺจา และ พหุกรณียา เป็นไวพจน์กัน แม้เมื่อเป็นไวพจน์กันโดยความหมายว่า มีการงานยังต้องทำอีกมาก แต่มีขอบเขตของเนื้อความที่ต่างกัน. คัมภีร์อรรถกถากล่าวถึงคำว่า พหุกิจฺจา ว่า เป็นกิจที่มีกำลัง (ที.ม.อ.) กล่าวคือ กิจที่ทำได้ยาก. กิจนอกนี้เรียกว่า กรณีย (ที.สี.ฎี).  ส่วนคัมภีร์อรรถกถาอุทานกล่าวว่า การงานที่ต้องทำแน่นอน ชื่อว่า กิจ, นอกนี้ ชื่อว่า กรณีย, อีกนัยหนึ่งที่ต้องทำก่อน ชื่อว่า กิจฺจ, ที่ต้องทำภายหลัง ชื่อว่า กรณีย, หรือ ที่เล็กน้อย ชื่อว่า กิจ, ที่ใหญ่ เรียกว่า กรณีย (อุทา.อ. ๑๕).
[๔๓] ข้อความนี้เป็นสำนวนนิยมในภาษามคธ เพื่อจะกล่าวอำลา. คำว่า หนฺท แปลว่า พอสมควรแก่เวลา, หมดเวลาพูดแล้ว เป็นนิบาตใช้ในอรรถว่า วจสายตฺถ  สิ้่นสุดการสนทนา ใช้เมื่อจะมีจบการสนทนาเพื่อจะอำลาจากไป., (ที.สี.อ. ๒๕๒). คัมภีร์สีลขันธวรรคฎีกากล่าวเพิ่มเติมว่า อันที่จริงคำว่า หนฺท มีใช้ใน ๒ ความหมายคือ โจทนัตถ ความเตือน เช่น หนฺท ทานิ ภิกฺขเว อามนฺตยามิ ภิกษุท. ตถาคตจะเตือนพวกเธอ, วจสคฺคตฺถ การพูดทิ้งท้าย คือ เป็นตอนท้ายแห่งการสนทนา เช่น หนฺท ทานิ อปายามิ เอาละ เราจะจากไปในบัดนี้. (วจสคฺค กับ วจสายตฺถ มีอรรถเดียวกัน สาย ศัพท์มีความหมายว่าสิ้นสุดลง เช่น สายณฺห สิ้นสุดลงแห่งวัน คือยามเย็น
[๔๔] การแปลโดยนัยนี้นำมาจากนัยที่คัมภีร์อรรถกถาสีลขันธวรรคได้ประกอบความไว้ ยสฺสทานิ ตฺวนฺติ ยสฺส อิทานิ ตฺวํ มหาราช คมนสฺส กาลํ มญฺญสิ ชานาสิ, ตสฺส กาลํ ตฺวเมว ชานาสีติ วุตฺตํ โหติฯ (ที.สี.อ. ๒๕๒) คัมภีร์สีลขันธวรรคฎีกา แสดงความหมายโดยสรุปว่า ครั้นได้รู้เวลากลับไปแล้ว ก็เชิญกลับได้เถิด” (ที.สี.ฎี ๒/๒๕๒)
[๔๕] อภินนฺทิตฺวา และ อนุโมทิตฺวา ในบางแห่งมีอรรถเดียวกัน แต่ในที่นี้มีอรรถต่างกันเล็กน้อยกล่าวคือ อภินนฺทิตฺวา ได้แก่ การมีใจชื่นชมยินดี ส่วน อนุโมทิตฺวา เป็นการเปล่งวาจาแสดงความยินดีว่า “คำนี้ท่านพระโคดมได้กล่าวไว้ดีแล้ว”
[๔๖] พระอรรถกถาจารย์กล่าวเหตุการณ์ต่อจากนี้ไว้ว่า วัสสการพราหมณ์ครั้นออกไปจากสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้กลับไปเข้าเฝ้าพระอชาตศัตรูกราบทูลรายงานเรื่องที่ตนสนทนากับพระผู้มีพระภาค และแนวทางจับพวกเจ้าวัชชีที่ตนได้จากพระพุทธดำรัส. พระเจ้าอชาตศัตรูทรงเลือกวิธีการทำลายสามัคคีของพวกเจ้าวัชชี พราหมณ์จึงออกอุบายวิธีให้พระเจ้าอชาตศัตรูแสร้งเนรเทศตนออกจากแคว้นมคธเพื่อเป็นช่องทางเข้าไปยังแคว้นวัชชี. จากนั้นจึงดำเนินตามแผนการจนกระทั่งทำลายพวกเจ้าวัชชีได้สำเร็จตามที่พระอชาตศัตรูทรงประสงค์. ความโดยพิสดารในเรื่องนี้ ผู้สนใจควรติดตามอ่านในคัมภีร์อรรถกถามหาปรินิพพานสูตรนี้เถิด.

**********

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น