วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2559

มหาปรินิพพานสูตร ครั้งที่ ๗ ภิกขุอปริหานิยธรรม ๕, ๖, ๗/๗

ภิกขุอปริหานิยธรรม ๕, ๖, ๗/๗

‘‘ยาวกีวญฺจ, ภิกฺขเว, ภิกฺขู อุปฺปนฺนาย ตณฺหาย โปโนพฺภวิกาย น วสํ คจฺฉิสฺสนฺติ, วุทฺธิเยว, ภิกฺขเว, ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานิฯ
ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ยาวกีวํ ตราบใด ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลาย น คจฺฉิสฺสนฺติ จักไม่ไป วสํ สู่อำนาจ ตณฺหาย แห่งตัณหา โปโนพฺภวิกาย[1] อันเป็นไปเพื่อการเกิดอีก อุปฺปนฺนาย อันเกิดขึ้นแล้ว ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตาวกีวํ ตราบนั้น วุทฺธิ เอว ความเจริญ นั่นเทียว ปาฏิกงฺขา อันภิกษุพึงหวังได้, ปริหานิ ความเสื่อม โน ปาฏิกงฺขา อันภิกษุไม่พึงหวัง.[2]

‘‘ยาวกีวญฺจ, ภิกฺขเว, ภิกฺขู อารญฺญเกสุ เสนาสเนสุ สาเปกฺขา ภวิสฺสนฺติ, วุทฺธิเยว, ภิกฺขเว, ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานิฯ
ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ยาวกีวํ ตราบใด ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลาย สาเปกฺขา เป็นผู้มีความพอใจ[3] เสนาสเนสุ ในเสนาสนะทั้งหลาย อารญฺญเกสุ อันมีในป่า ภวิสฺสนฺติ จักเป็น,   ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตาวกีวํ ตราบนั้น วุทฺธิ เอว ความเจริญ นั่นเทียว ปาฏิกงฺขา อันภิกษุพึงหวังได้, ปริหานิ ความเสื่อม โน ปาฏิกงฺขา อันภิกษุไม่พึงหวัง.

‘‘ยาวกีวญฺจ, ภิกฺขเว, ภิกฺขู ปจฺจตฺตญฺเญว สติํ อุปฏฺฐเปสฺสนฺติ – ‘กินฺติ อนาคตา จ เปสลา สพฺรหฺมจารี อาคจฺเฉยฺยุํ, อาคตา จ เปสลา สพฺรหฺมจารี ผาสุ วิหเรยฺยุนฺติฯ วุทฺธิเยว, ภิกฺขเว, ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานิฯ
ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  อนึ่ง ยาวกีวํ  ตราบใด ภิกฺขู  ภิกษุทั้งหลาย  สติํ จักยังสติ อุปฏฺฐเปสฺสนฺติ   ให้ตั้งขึ้น   ปจฺจตฺตํ เอว[4]  ภายใน  (อาสิํสเนน)  ด้วยหวัง อิติ ว่า  กินฺติ  ไฉนหนอ สพฺรหฺมจารี[5] เพื่อนพรหมจารี  เปสลา  มีศีลเป็นที่รัก  อนาคตา จ ผู้ยังไม่มา อาคจฺเฉยฺยุํ พึงมา,          สพฺรหฺมจารี เพื่อนพรหมจารี เปสลา มีศีลเป็นที่รัก อาคตา ผู้มาถึงแล้ว วิหเรยฺยุํ พึงอยู่ ผาสุ สบาย ดังนี้. ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตาวกีวํ ตราบนั้น วุทฺธิ เอว ความเจริญ นั่นเทียว ปาฏิกงฺขา อันภิกษุพึงหวังได้, ปริหานิ ความเสื่อม โน ปาฏิกงฺขา อันภิกษุไม่พึงหวัง[6].

‘‘ยาวกีวญฺจ, ภิกฺขเว, อิเม สตฺต อปริหานิยา ธมฺมา ภิกฺขูสุ ฐสฺสนฺติ, อิเมสุ จ สตฺตสุ อปริหานิเยสุ ธมฺเมสุ ภิกฺขู สนฺทิสฺสิสฺสนฺติ, วุทฺธิเยว, ภิกฺขเว, ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานิฯ
ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ยาวกีวํ ตราบใด ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลาย ธมฺมา ธรรมทั้งหลาย อปริหานิยา อันเป็นเหตุแห่งความไม่เสื่อม สตฺต เจ็ด อิเม เหล่านี้ ฐสฺสนฺติ จักยังดำรงอยู่  ภิกฺขูสุ ในภิกษุทั้งหลาย,  ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลาย สนฺทิสฺสนฺติ จักเห็นดีร่วมกัน[7] ธมฺเมสุ ในธรรมทั้งหลาย อปริหานิเยสุ อันกระทำความไม่เสื่อม สตฺเตสุอิเมสุ เหล่านี้,  ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตาวกีวํ ตราบนั้น วุทฺธิ เอว ความเจริญ นั่นเทียว ปาฏิกงฺขา อันภิกษุพึงหวังได้, ปริหานิ ความเสื่อม โน               ปาฏิกงฺขา อันภิกษุไม่พึงหวัง.

                                                    ***********




[1] ตัณหา มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า โปโนพฺภวิกา มาจาก ปุน + ภว + ณิก ปัจจัยในอรรถว่า ตสฺส สํวตฺตติ เป็นไปเพื่อสิ่งนั้น. คัมภีร์นิรุตติทีปนี แสดงรูปวิเคราะห์ว่า ปุน ภวาย สํวตฺตตีติ โปโนพฺภวิโก ย่อมเป็นไปเพื่อการเกิดอีก ชื่อว่า โปโนพฺภวิกา โดยมีการแปลง อ ที่ ปุน เป็น โอ แล้วซ้อน พฺ อสทิสเทวภาวะ เป็น โปโนพฺภวิก (นิรุติ.๔๖๔ สูตรว่า ตสฺส สํวตฺตติ).ส่วน อุ ที่ ปุน แปลงเป็น โอ ตามธรรมเนียมของ ณอนุพันธ์.
แต่คัมภีร์อรรถกถาแสดงรูปวิเคราะห์ว่า
ปุนพฺภวทานํ ปุนพฺภโว, ปุนพฺภโว สีลมสฺสาติ โปโนพฺภวิกา, ปุนพฺภวทายิกาติ อตฺโถ, ตสฺสา โปโนพฺภวิกายฯ
การให้การเกิดอีก ชื่อว่า ปุนพฺภว, การให้การเกิด เป็นปกติ ของตัณหานี้ เหตุนั้น ตัณหานี้ จึงชื่อว่า โปโนพฺภวิกา, หมายความว่า เป็นผู้มีการให้การเกิดเป็นปกติ.  (ที.ม.อ.๑๓๖)
โดยอรรถกถานัย ณิก ปัจจัย ลงในอรรถตัสสีลกัตตุสาธนะ ไม่ใช่ตัทธิต. คัมภีร์ฎีกาอธิบายว่า เมื่อควรจะเป็น ปุนพฺภวทานํ แต่ในรูปวิเคราะห์ ลบบทหลัง คือ ทาน แล้วแสดงว่า ปุนพฺภโว. (ที.ม.ฎี.๑๓๖)
แม้จะมีมุมมองที่ต่างกันโดยรูปศัพท์ ไม่ถือว่า เป็นข้อขัดแย้ง เพราะความหมายก็คือตัณหานั่นเอง.
[2] การไปสู่อำนาจของตัณหานั้น คัมภีร์อรรถกถายกตัวอย่างว่า การที่ภิกษุเป็นผู้ติดตามอุปัฏฐาก (ฉบับไทยเป็น “รับบิณฑบาตของอุปัฏฐาก”) เพราะเหตุแห่งปัจจัย ๔ โดยเที่ยวไปจากบ้านหนึ่งสู่บ้านหนึ่ง. (ที.ม.อ.๑๓๖)
[3] สาเปกฺขา มีความเยื่อใย ตัดเป็น สห อเปกฺขา ความหมายคือ สตณฺหา  มีความติดใจ สาลยา มีความยินดี แม้คำว่า อเปกฺขา จะเป็นชื่อหนึ่งของตัณหา (ดูมหานิทเทส ๒๙/๑๔) อันเป็นธรรมที่มีโทษ กล่าวคือ อกุศลธรรม แต่ในที่นี้เป็นความพอใจในเสนาสนะป่า อันเป็นธรรมฝ่ายพึงเสพ เหมือนกับความสิเนหาที่ท่านกล่าวไว้ว่า “ตั้งความปรารถนาในวิโมกข์อันเป็นโลกุตระ” (ที.ม.ฎี๑๓๖). สำหรับความเจริญในข้อนี้ คัมภีร์อรรถกถาพรรณนาว่า ภิกษุผู้เข้าฌานในเสนาสนะบ้านแล้วเพียงแต่ออกจากฌานนั้น ก็จะได้ยินเสียงมนุษย์หญิงชายเด็กเป็นต้นแล้ว คุณวิเศษที่เคยได้ย่อมเสื่อมไป. แต่ถ้านอนหลับในป่าแล้วตื่นขึ้นมา จะได้ยินแต่เสียงของสิงโตเสือและนกยูงเป็นต้น เขาได้ปีติอันมีในเสนาสนะป่าด้วยฌานใด พิจารณาฌานนั้นๆ ย่อมตั้งอยู่ในอรหัตผล. เมื่อภิกษุเป็นผู้นั่งเข้าฌานในเสนาสนะบ้าน พระผู้มีพระภาคทรงสรรเสริญการนอนหลับในป่าเท่านั้น. ความยินดีในเสนาสนะป่าย่อมมีด้วยเหตุเพียงเท่านี้.
คำว่า เสนาสนะป่า หมายถึง เสนาสนะตั้งอยู่ในพื้นที่นับรวมกับป่าห่างจากบ้านไป ๕๐ ชั่วธนูเป็นที่สุด (ที.ม.อ.๓๑๖)
[4] การตั้งสติในกรณีนี้ ได้แก่ ตั้งสติเข้าไว้ในภายในด้วยตนเอง ถือเป็นสามัญสำนึกของตน ที่ต้องการให้สพรหมจารีผู้มีศีลดีได้มาเยี่ยมเยียนและพำนักอยู่ โดยมิได้มีผู้อื่นมากระตุ้นแต่อย่างใด.
[5] สพฺรหฺมจารี มาจาก ส = สมาน เสมอ + จร + ณี ปัจจัย. แปลง สมาน ศัพท์เป็น ส ในเพราะศัพท์ มีปกฺขเป็นต้น (โมค.๓/๘๓ สมาสกัณฑ์,นิรุตฺติ.๓๘๖)  มีวิเคราะห์ว่า สมานํ เอกุทฺเทสตาทิํ พฺรหฺมํ จรตีติ สพฺรหฺมจารี. ย่อมประพฤติธรรมอันประเสริฐ อันมีอุเทส (พระปาฏิโมกข์) เป็นต้นเสมอกัน เหตุนั้น จึงชื่อว่า สพฺรหฺมจารี เพื่อนพรหมจารี. (ม.มู.อ. ๒๕ สัพพาสวสูตร)
อีกนัยหนึ่ง มาจาก สห ร่วมกัน + พฺรหฺมจารี ผู้ประพฤติธรรมอันประเสริฐ = สพฺรหฺมจารี มีรูปวิเคราะห์เป็นสหบุพบทพหุพพีหิสมาส ว่า สีลาทโย ตโย สิกฺขาธมฺเม พฺรหฺมจารีหิ สห จรนฺตีติ สพฺรหฺมจาริโน. ย่อมประพฤติธรรมคือสิกขาสามมีศีลเป็นต้นร่วมกันกับผู้ประพฤติธรรมประเสริฐ ชื่อว่า สพฺรหฺมจารี. (ธาน.และธานฎี.๔๑๐)
คำว่า สพรหมจารี นี้ใช้เฉพาะพระภิกษุเท่านั้น เพราะเป็นผู้มีอุทเทส (ปาฏิโมกข์) และมีสิกขาที่พึงประพฤติเสมอกัน (ม.มู.อ. ๒๕ และ อํ.ทุก.อ.๓๘)
[6] การตั้งความระลึกด้วยหวังการมาของสพรหมจารีผู้มีศีลเป็นที่รัก ก็จะเป็นเหตุประการหนึ่งที่นำความเจริญมาให้แก่ภิกษุผู้เป็นเจ้าอาวาส. เมื่อเจ้าอาวาสนั้นได้ต้อนรับอาคันตุกะด้วยการปฏิบัติอย่างเป็นมิตร อาทิ การจัดเสนาสนะที่พัก พาไปที่ภิกขาจาร. การปฏิสันถารของเจ้าอาวาสเป็นข้อแสดงถึงความมีศรัทธาและมีความเลื่อมใส ซึ่งจะส่งผลดีหลายประการ เช่น ในเบื้องต้นย่อมมีชื่อเสียงขจรไปว่าเป็นผู้มีอัธยาศัยดี และที่สำคัญ ถ้าอาคันตุกะนั้นเป็นพระเถระวินัยธร ท่านย่อมสงเคราะห์ตอบด้วยการสอนพระวินัย และถ้าเป็นสุตตันตธร อภิธรรมธร ก็จะสอนให้ศึกษาพระสูตรพระอภิธรรม เพราะดำรงอยู่ในโอวาทของพระเถระผู้อาคันตุกะ และผู้เป็นเจ้าอาวาสย่อมสามารถบรรลุคุณวิเศษได้ในที่สุด. นี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากการตั้งความปราถนาและต้อนรับการมาเยือนของเพื่อนสพรหมจารี ผู้อาคันตุกะ. นี้เป็นความโดยสังเขป รายละเอียดทั้งหมดควรถือเอาจากอรรถกถานี้เถิด.
[7] สนฺทิสฺสติ มาจาก สํ + ทิส ปากฏ, เห็น ภูวาทิ (นีติ.ธาตุ.)  + ติ,  (แต่ในนิรุตติทีปนีเป็น ทิวาทิคณะ ลง ย ปัจจัย เป็น สนฺทิสฺสติ) ถ้าในอรรถนี้แปลว่า ปรากฏ ก็มี, แต่ในที่นี้มีอรรถว่า เห็นดีร่วมกัน รับกัน ไม่ขัดแย้ง เป็นไปร่วมกัน เป็นอันเดียวกัน. ดังพระบาฬีเขมาสูตร สฬายตนสังยุตต์ ๔๑๐ ว่า ยตฺร หิ นาม สตฺถุ เจว สาวิกาย จ อตฺเถน อตฺโถ พฺยญฺชเนน พฺยญฺชนํ สํสนฺทิสฺสติ, สเมสฺสติ, น วิโรธยิสฺสติ ยทิทํ อคฺคปทสฺมิํฯอรรถกถาสฬายตนสังยุตอธิบายว่า เอกํ ภวิสฺสติ พยัญชนะเป็นอย่างเดียวกันกับพยัญชนะ ส่วนในอรรถกถาอังคุตรนิกาย อธิบาย(พระสูตรที่มีข้อความเดียวกันกับสฬายตนสังยุต) ว่า สมฺปวตฺติสฺสติ พยัญชนะจักดำเนินไปร่วมกัน. เป็นอันว่า มีความหมายว่า ลงรอยกัน.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น