วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2559

มหาปรินิพพานสูตร ๕ ภิกขุอปริหานิยธรรม ๒/๗


ภิกขุอปริหานิยธรรม ๒ /๗

‘‘ยาวกีวญฺจ, ภิกฺขเว, ภิกฺขู สมคฺคา สนฺนิปติสฺสนฺติ, สมคฺคา วุฏฺฐหิสฺสนฺติ, สมคฺคา สงฺฆกรณียานิ กริสฺสนฺติ, วุทฺธิเยว, ภิกฺขเว, ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานิฯ

ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ยาวกีวํ ตราบใด ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลาย สมคฺคา พร้อมเพรียงกันแล้ว สนฺนิปติสฺสนฺติ จักประชุมกัน, สมคฺคา พร้อมเพรียงกันแล้ว วุฏฺฐหิสฺสนฺติ จักออกจากที่ประชุม, สมคฺคา พร้อมเพรียงกันแล้ว กริสฺสนฺติ จักกระทำ สงฺฆกรณียานิ ซึ่งกิจที่ควรทำของสงฆ์, ตาวกีวํ ตราบนั้น ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วุทฺธิ เอว ความเจริญ นั่นเทียว ปาฏิกงฺขา อันภิกษุพึงหวังได้, ปริหานิ ความเสื่อม โน ปาฏิกงฺขา อันภิกษุไม่พึงหวัง.[1]





[1] แม้ในอปริหานิยธรรข้อที่ ๒ ก็เป็นเช่นเดียวกับราชอปริหานิยธรรม.  กล่าวคือ เมื่อเกิดกิจของสงฆ์ อาทิ การซ่อมแซมเสนาสนะของสงฆ์ หรือ ในโอกาสที่พระสังฆเถระจะให้โอวาท. ก็จะใช้สัญญาณเสียงกลองหรือระฆังนัดหมายกันเพื่อทำกิจบางอย่างมีนัยว่า สงฆ์จงประชุม. หากทอดธุระนั้นด้วยอ้างว่า มีกิจต่างๆต้องทำ ชื่อว่า ไม่พร้อมเพรียงประชุม.
ถ้าละทิ้งกิจส่วนตัวแล้วมาประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน ชื่อว่า พร้อมกันเข้าประชุม. อีกกรณีหนึ่ง เมื่อประชุมกันแล้ว ไม่เลิกพร้อมกัน ก็ชื่อว่า ไม่พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม. แต่ถ้ามีภิกษุที่มาก่อน คิดว่า เราได้ยินแต่เรื่องอื่นๆ มาแล้ว บัดนี้จะต้องมีวินิจฉัยแน่นอน แล้วก็นั่งประชุมกันเรื่อยไปจนถึงเวลาปิดประชุมจึงเลิกในเวลาเดียวกัน กับผู้อื่น ชื่อว่า พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม.  อีกกรณีหนึ่ง ถ้ามีเหตุการณ์มิชอบตามข้อ ๑ ต่างรูปก็อาสาไม่ต้องเกี่ยงกันไประงับเหตุ อย่างนี้ก็ชื่อว่า เลิกประชุมพร้อมเพรียงกัน.
ในกรณีที่มีกิจอื่นของสงฆ์เกิดขึ้นโดยเกี่ยวกับเป็นวัตรปฏิบัติต่างๆ เช่น อาคันตุกวัตร คิลานวัตร ภิกขาจารวัตร หรือแม้กระทั่งสงเคราะห์ผู้กำลังจะย่ำแย่ด้วยอรรถและธร เห็นอาคันตุกะมาก็ช่วยกันทำอาคันตุกวัตร เห็นคัมภีร์หนึ่งกำลังจะสูญหายไปโดยพระบาฬีและอรรถ คือ ไม่มีใครศึกษาความหมายและท่องจำตัวบทพยัญชนะ ก็นิมนต์ภิกษุผู้มีปัญญารูปหนึ่ง ให้รื้อฟื้นคัมภีร์นั้นขึ้นมาใหม่ โดยท่องจำให้คล่องแคล้วและทำคำอธิบายขึ้น. อย่างนี้แหละ ชื่อว่าพร้อมเพรียงทำกิจของสงฆ์.  ทำได้อย่างนี้ ความเจริญย่อมมีแก่ภิกษุเหล่านั้น และพระศาสนาอย่างแน่นอน.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น