วันพุธที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2559

มหาปรินิพพานสูตร ครั้งที่ ๑๐ ภิกขุอปริหานิยธรรม ชุดที่ ๔

๑๓๙. ‘‘อปเรปิ โว, ภิกฺขเว, สตฺต อปริหานิเย ธมฺเม เทเสสฺสามิ, ตํ สุณาถ, สาธุกํ มนสิกโรถ,         ภาสิสฺสามี’’ติฯ ‘‘เอวํ, ภนฺเต’’ติ โข เต ภิกฺขู ภควโต ปจฺจสฺโสสุํฯ ภควา เอตทโวจ
๑๓๙. ภควา พระผู้มีพระภาค อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อหํ เราตถาคต เทเสสฺสามิ จักแสดง ธมฺเม ซึ่งธรรมทั้งหลาย อปริหานิเย อันสร้างความไม่เสื่อม  สตฺตอปเรปิ       แม้อื่น โว แก่พวกเธอ,  ตุมฺเห พวกเธอ สุณาถ จงฟัง ตํ ธมฺมํ ซึ่งธรรมนั้น,  มนสิกโรถ จงใส่ใจ ตํ ธมฺมํ ซึ่งธรรมนั้น สาธุกํ อย่างดี,  อหํ เรา ภาสิสฺสามิ  จักกล่าว  ดังนี้.  เต ภิกฺขู ภิกษุเหล่านั้น ปจฺจสฺโสสุํ          รับสนองพระดำรัสแล้ว ภควโต ต่อพระผู้มีพระภาค อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เอวํ พระเจ้าข้า ดังนี้.

ยาวกีวญฺจ, ภิกฺขเว, ภิกฺขุ สติสมฺโพชฺฌงฺคํ ภาเวสฺสนฺติ เป.ธมฺมวิจยสมฺโพชฺฌงฺคํ ภาเวสฺสนฺติวีริยสมฺโพชฺฌงฺคํ ภาเวสฺสนฺติปีติสมฺโพชฺฌงฺคํ ภาเวสฺสนฺติปสฺสทฺธิสมฺโพชฺฌงฺคํ ภาเวสฺสนฺติสมาธิสมฺโพชฺฌงฺคํ ภาเวสฺสนฺติอุเปกฺขาสมฺโพชฺฌงฺคํ ภาเวสฺสนฺติ, วุทฺธิเยว, ภิกฺขเว, ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานิฯ
ภควา พระผู้มีพระภาค อโวจ ตรัสแล้ว เอตํ ซึ่งพระดำรัสนั้นว่า ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   อนึ่ง ยาวกีวํ ตราบใด ภิกฺขู  ภิกษุทั้งหลาย สติสมฺโพชฺฌงฺคํ ยังสติสัมโพชฌงค์[1]  ภาเวสฺสนฺติ จักให้เจริญอยู่[2]ธมฺมวิจยสมฺโพชฺฌงฺคํ ยังธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ภาเวสฺสนฺติ จักให้เจริญอยู่ …  วีริยสมฺโพชฺฌงฺคํ ยังวิริยสัมโพชฌงค์ ภาเวสฺสนฺติ จักให้เจริญอยู่ …  ปีติสมฺโพชฺฌงฺคํ ยังปีติสัมโพชฌงค์ ภาเวสฺสนฺติ  จักให้เจริญอยู่ ปสฺสทฺธิสมฺโพชฺฌงฺคํ ยังปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ภาเวสฺสนฺติ จักให้เจริญอยู่ สมาธิสมฺโพชฺฌงฺคํ ยังสมาธิสัมโพชฌงค์ ภาเวสฺสนฺติ จักให้เจริญอยู่ อุเปกฺขาสมฺโพชฺฌงฺคํ ยังอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ภาเวสฺสนฺติ จักให้เจริญอยู่,   ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตาวกีวํ ตราบนั้น วุทฺธิ เอว ความเจริญ นั่นเทียว ปาฏิกงฺขา อันภิกษุพึงหวังได้, ปริหานิ ความเสื่อม โน ปาฏิกงฺขา อันภิกษุไม่พึงหวัง.

‘‘ยาวกีวญฺจ, ภิกฺขเว, อิเม สตฺต อปริหานิยา ธมฺมา ภิกฺขูสุ ฐสฺสนฺติ, อิเมสุ จ สตฺตสุ อปริหานิเยสุ ธมฺเมสุ ภิกฺขู สนฺทิสฺสิสฺสนฺติ, วุทฺธิเยว, ภิกฺขเว, ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา โน ปริหานิฯ
ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ยาวกีวํ ตราบใด ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลาย ธมฺมา ธรรมทั้งหลาย อปริหานิยา อันเป็นเหตุแห่งความไม่เสื่อม สตฺต เจ็ด อิเม เหล่านี้ ฐสฺสนฺติ จักยังดำรงอยู่ ภิกฺขูสุ ในภิกษุทั้งหลาย,  ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลาย สนฺทิสฺสนฺติ จักเห็นดีร่วมกัน ธมฺเมสุ ในธรรมทั้งหลาย อปริหานิเยสุ อันกระทำความไม่เสื่อม สตฺเตสุอิเมสุ เหล่านี้,  ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตาวกีวํ ตราบนั้น วุทฺธิ เอว ความเจริญ นั่นเทียว ปาฏิกงฺขา อันภิกษุพึงหวังได้, ปริหานิ ความเสื่อม โน ปาฏิกงฺขา อันภิกษุไม่พึงหวัง (อิติ ดังนี้).





[1] คำว่า สติสมฺโพชฺฌงฺค แยกเป็น สติ + สมฺโพชฺฌงฺค เป็นอวธารณกัมมธารยสมาส. วิ.สติเยว สมฺโพชฺฌงฺโค สติสมฺโพชฺฌงฺโค โพชฌงค์คือสติ เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์. แม้ในสัมโพชฌงค์ที่เหลือก็มีนัยนี้.
คำว่า สมฺโพชฺฌงฺค มาจาก สํ = ปสตฺถ = ปสํสา อันบัณฑิตสรรเสริญ, หรือสุนฺทร ดีงาม + โพธิ + องฺค ส่วน, องค์ประกอบ, เหตุ
คำว่า โพชฌงค์ มีความหมาย ๓ นัย คือ
๑) องค์คือส่วนของธรรมสามัคคีมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น ที่ชื่อว่า โพธิ ตามคำนิยามว่า
ตสฺสา ธมฺมสามคฺคีสงฺขาตาย โพธิยา องฺคาติ โพชฺฌงฺคา ฌานงฺคมคฺคงฺคาทโย วิยฯ
โพชฌงค์ คือ องค์อันเป็นส่วนหนึ่งของธรรมสามัคคี (ความพร้อมเพรียงของธรรม) มีสติและธัมมวิจัยเป็นต้นอันเป็นเหตุตรัสรู้ อันได้ชื่อว่า  โพธิ. เหมือนคำว่า มคฺคงฺค องค์หนึ่งแห่งมรรค, ฌานงฺค องค์อย่างหนึ่งแห่งฌาน. กรณีนี้ องค์มีอรรถว่าเป็นส่วนประกอบของหมู่  (อํ.เอก.อ.และ ฎี. ๔๑๘)
๒) องค์ที่ประกอบเป็นตัวพระอริยสาวก ที่ชื่อว่า โพธิ เพราะเป็นผู้ตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคีมีสติและธรรมวิจัยเป็นต้น ตามคำนิยามว่า
โยเปส ยถาวุตฺตปฺปการาย เอตาย ธมฺมสามคฺคิยา พุชฺฌตีติ กตฺวา อริยสาวโก โพธีติ วุจฺจติ, ตสฺส โพธิสฺส องฺคาติปิ โพชฺฌงฺคา เสนงฺครถงฺคาทโย วิยฯ
โพชฌงค์ คือ องค์ต่างๆที่ประกอบขึ้นเป็นตัวพระอริยสาวก ที่ชื่อว่า โพธิ เพราะเป็นผู้ตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคีมีประกการดังกล่าวมานั้น เหมือนคำว่า รถงฺค ส่วนต่างๆที่ประกอบขึ้นเป็นตัวรถ, เสนงฺค องค์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นกองทัพ. ในกรณีนี้ แสดงความเป็นอวิชชมานบัญญัติ ชนิดปุคคลบัญญัติ (อํ.เอก.อ.และ ฎี. ๔๑๘) คือไม่มีพระอริยสาวกจริง มีแต่องค์ต่างๆ เหล่านี้ที่ประกอบขึ้นเป็นบุคคล.
๓)  เหตุ คือ ธรรมอันเป็นไปเพื่อการตรัสรู้โดยชอบและมุ่งตรงต่อโพธิ คือ นิพพานอันเป็นสัจจะที่พึงตรัสรู้และเหตุมีวิปัสสนาเป็นต้น (อํ.เอก.ฎี.๑๔๘) ดังสาธกว่า
โพธาย สํวตฺตนฺตีติ โพชฺฌงฺคา (ปฏิ.สมฺ.อ.๑๗)
ธรรมอันเป็นไปเพื่อการตรัสรู้ ชื่อว่า โพชฌงค์
โพธ ในที่นี้มีอรรถว่า การรู้ซึ่งโพธิคือนิพพานอันควรตรัสรู้
พุชฺฌิยติ สจฺฉิกรียตีติ นิพฺพานํ โพธิ
สภาวะอันพระอริยะย่อมรู้คือทำให้แจ้ง ชื่อว่า โพธิ ได้แก่ นิพพาน (สํ.ฎี. ๒/๑๔๗)
ส่วนมรรค ผล และวิปัสสนามีกำลัง ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นเหตุแห่งการตรัสรู้โพธิ คือ นิพพาน ดังสาธกว่า
มคฺคผเลหิ นิพฺพานสฺส ปจฺจเวกฺขณาย กตกิจฺจสฺส พุชฺฌนตฺถาย, มคฺเคน วา กิเลสนิทฺทาโต ปพุชฺฌนตฺถาย ผเลน ปพุทฺธภาวตฺถายาปีติ วุตฺตํ โหติฯ พลววิปสฺสนายปิ โพชฺฌงฺคา โพธาย สํวตฺตนฺติฯ ตสฺมา อยํ วิปสฺสนามคฺคผลโพชฺฌงฺคานํ สาธารณตฺโถฯ ตีสุปิ หิ ฐาเนสุ โพธาย นิพฺพานปฏิเวธาย สํวตฺตนฺติฯ เอเตน โพธิยา องฺคาติ โพชฺฌงฺคาติ วุตฺตํ โหติฯ (ปฏิ.สมฺ.อ.๑๗)
โพชฌงค์ทั้งหลาย ย่อมเป็นไป เพื่อการตรัสรู้นิพพาน ด้วยมรรคและผลของบุคคลผู้มีกิจอันทำแล้ว             ด้วยปัจจเวกขณญาณ, หมายความว่า เพื่อประโยชน์แก่การตื่นจากความหลับคือกิเลสด้วยมรรค, เพื่อการเป็นผู้ตื่นแล้วด้วยผล. ย่อมเป็นไปเพื่อการตรัสรู้ แม้ด้วยวิปัสสนามีกำลัง, เพราะฉะนั้น ความหมายนี้ คือ “เป็นไปเพื่อนิพพาน”  ย่อมเป็นความหมายที่ทั่วไปแก่วิปัสสนาโพชฌงค์ มรรคโพชฌงค์ และผลโพชฌงค์. เพราะว่า โพชฌงค์ย่อมเป็นไปเพื่อการแทงตลอดนิพพาน อันชื่อว่า โพธะ ในฐาะทั้งหลายสามแม้เหล่านี้. หมายความว่า ที่ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะเหตุว่า เป็นเหตุแห่งโพธิก็ด้วยความหมายนี้.
ตามนัยของปฏิสัมภิทามรรคอรรถกถานี้ วิปัสสนา มรรคและผล ท่านเรียกว่า โพชฌงค์ คือ วิปัสสนาโพชฌงค์ มรรคโพชฌงค์ และผลโพชฌงค์ เพราะเป็นไปเพื่อการตรัสรู้นิพพาน อันชื่อว่า โพธิ.  แม้ธรรมสามัคคีมีสติเป็นต้นอันเป็นเหตุของการตรัสรู้มรรคนั้น ก็ชื่อว่า โพชฌงค์ เหมือนกัน. ดังคัมภีร์ปรมัตถทีปนี มหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา อธิบายว่า องค์คือปัจจัยมีกำลังที่ทำสัมโพธิคือมรรคญาณให้ตั้งขึ้น.
โพชฌงค์อันบัณฑิตสรรเสริญ (ปสตฺถ = ปสํสา) หรือ ดีงาม (สุนฺทร) เรียกว่า สัมโพชฌงค์. ดังวิเคราะห์ว่า ปสตฺโถ, สุนฺทโร วา โพชฺฌงฺโค สมฺโพชฺฌงฺโคฯ (ที.ม.อ/ฎี.๑๓๙).
คัมภีร์ปรมัตถทีปนี มหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา แยกศัพท์เป็น สมฺโพธิ มรรคญาณ ๔ + องฺค ปัจจัยมีกำลัง.  สํ ใน สมฺโพธิศัพท์ มีอรรถ สมนฺตโต.  ญาณในมรรค ๔ ได้ชื่อว่า สมฺโพธิ เพราะญาณนั้นเมื่อตรัสรู้สัจจธรรม ๔ ย่อมตรัสรู้พร้อมด้วยกิจ ๑๖ ทั้งหมดในขณะเดียวกัน มิใช่ทีละส่วน.  ส่วนปัจจัยมีกำลังที่เกิดขึ้นร่วมกัน ชื่อว่า องค์.  องค์คือปัจจัยของสัมโพธินั้น ชื่อว่า สัมโพชฌงค์ เพราะทำสัมโพธิให้ตั้งชึ้น. สติเป็นต้น เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์ เพราะเป็นเหตุแห่งสัมโพธิ. (ปรมัตถ.สังคหฎีกา)
[2] ภาเวสฺสนฺติ ควรเพิ่ม สมุฏฺฐาเปนฺโต เป็นอัพภันตรกิริยา หมายถึง จักตั้งสัมโพชฌงค์นั้นๆให้เจริญต่อไป ตามเหตุอันควรต่อสัมโพชฌงค์นั้นๆ. เหตุแห่งสัมโพชฌงค์แต่ละประเภท ควรศึกษาในอรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น