วันพุธที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2559

มหาปรินิพพานสูตร ครั้งที่ ๑๑ ภิกขุอปริหานิยธรรม ชุดที่ ๕

๑๔๐. ‘‘อปเรปิ โว, ภิกฺขเว, สตฺต อปริหานิเย ธมฺเม เทเสสฺสามิ, ตํ สุณาถ, สาธุกํ มนสิกโรถ,        ภาสิสฺสามี’’ติฯ ‘‘เอวํ, ภนฺเต’’ติ โข เต ภิกฺขู ภควโต ปจฺจสฺโสสุํฯ ภควา เอตทโวจ
๑๔๐. ภควา พระผู้มีพระภาค อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อหํ เรา ตถาคต เทเสสฺสามิ จักแสดง ธมฺเม ซึ่งธรรมทั้งหลาย อปริหานิเย อันสร้างความไม่เสื่อม  สตฺต ๗ ประการ อปเรปิ แม้อื่น โว แก่พวกเธอ,  ตุมฺเห พวกเธอ สุณาถ จงฟัง ตํ ธมฺมํ ซึ่งธรรมนั้น,  มนสิกโรถ จงใส่ใจ ตํ ธมฺมํ ซึ่งธรรมนั้น สาธุกํ อย่างดี,  อหํ เรา ภาสิสฺสามิ  จักกล่าว  ดังนี้.  เต ภิกฺขู ภิกษุเหล่านั้น ปจฺจสฺโสสุํ รับสนองพระดำรัสแล้ว ภควโต ต่อพระผู้มีพระภาค อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เอวํ พระเจ้าข้า ดังนี้. ภควา พระผู้มีพระภาค อโวจ ตรัสแล้ว เอตํ ซึ่งพระดำรัสนั้นว่า

‘‘ยาวกีวญฺจ, ภิกฺขเว, ภิกฺขู อนิจฺจสญฺญํ ภาเวสฺสนฺติเป.อนตฺตสญฺญํ ภาเวสฺสนฺติอสุภสญฺญํ ภาเวสฺสนฺติอาทีนวสญฺญํ ภาเวสฺสนฺติปหานสญฺญํ ภาเวสฺสนฺติวิราคสญฺญํ ภาเวสฺสนฺตินิโรธสญฺญํ ภาเวสฺสนฺติ, วุทฺธิเยว, ภิกฺขเว, ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานิฯ
ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   อนึ่ง ยาวกีวํ  ตราบใด  ภิกฺขู  ภิกษุทั้งหลาย อนิจฺจสญฺญํ ภาเวสฺสนฺติ จักยังอนิจจสัญญา ให้เจริญอยู่[1] ... อนตฺตสญฺญํ ภาเวสฺสนฺติ จักยังอนัตตสัญญา ให้เจริญอยู่ ... อสุภสญฺญํ ภาเวสฺสนฺติ จักยังอสุภสัญญา ให้เจริญอยู่ ... อาทีนวสญฺญํ ภาเวสฺสนฺติ จักยังอาทีนวสัญญา ให้เจริญอยู่ ... ปหานสญฺญํ ภาเวสฺสนฺติ จักยังปหานสัญญา ให้เจริญอยู่ ... วิราคสญฺญํ ภาเวสฺสนฺติ จักยังวิราคสัญญา ให้เจริญอยู่ ... นิโรธสญฺญํ ภาเวสฺสนฺติ จักยังนิโรธสัญญา ให้เจริญอยู่, ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตาวกีวํ ตราบนั้น วุทฺธิ เอว ความเจริญ นั่นเทียว ปาฏิกงฺขา อันภิกษุพึงหวังได้, ปริหานิ ความเสื่อม โน ปาฏิกงฺขา อันภิกษุไม่พึงหวัง.

‘‘ยาวกีวญฺจ, ภิกฺขเว, อิเม สตฺต อปริหานิยา ธมฺมา ภิกฺขูสุ ฐสฺสนฺติ, อิเมสุ จ สตฺตสุ อปริหานิเยสุ ธมฺเมสุ ภิกฺขู สนฺทิสฺสิสฺสนฺติ, วุทฺธิเยว, ภิกฺขเว, ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานิฯ
ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ยาวกีวํ ตราบใด ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลาย ธมฺมา ธรรมทั้งหลาย อปริหานิยา อันเป็นเหตุแห่งความไม่เสื่อม สตฺต เจ็ด อิเม เหล่านี้ ฐสฺสนฺติ จักยังดำรงอยู่  ภิกฺขูสุ ในภิกษุทั้งหลาย,  ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลาย สนฺทิสฺสนฺติ จักเห็นดีร่วมกัน ธมฺเมสุ ในธรรมทั้งหลาย อปริหานิเยสุ อันกระทำความไม่เสื่อม สตฺเตสุอิเมสุ เหล่านี้,  ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตาวกีวํ ตราบนั้น วุทฺธิ เอว ความเจริญ นั่นเทียว ปาฏิกงฺขา อันภิกษุพึงหวังได้, ปริหานิ ความเสื่อม โน ปาฏิกงฺขา อันภิกษุไม่พึงหวัง (อิติ ดังนี้)





[1] อนิจจสัญญา คือ สัญญาที่เกิดขึ้นร่วมกับอนิจจานุปัสสนา คือ การพิจารณาเห็นว่า ว่า ไม่เที่ยง ไม่งาม ไม่ใช่ตน มีโทษ พึงละ พึงคลายความยินดี เป็นสภาพดับไป ในสังขารธรรมในภูมิ๓.  เพราะวิปัสสนานั้น เมื่อสัญญาคือความหมายรู้ที่เกิดขึ้นกับตน (วิปัสสนา) ได้รับการอบรมให้มีเกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นอันพระโยคีบุคคลย่อมเจริญ ด้วยเหตุนี้ อนิจจานุปัสสนา จึงถูกแสดงร่วมกับคำว่า สัญญา เป็นอนิจจสัญญา. อีกกรณีหนึ่ง สัญญาศัพท์ หมายถึง วิปัสสนาญาณ ตามที่พระฎีกาจารย์อธิบายว่า เป็นคำแสดงวิปัสสนานั่นเอง ด้วยยกความกำหนดหมายเป็นประธาน. (ที.ม.ฎี.๑๔๐).
อปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ในหมวดนี้เป็นธรรมระดับวิปัสสนาเป็นโลกียวิปัสสนา เพราะถือว่า มีสังขารธรรมเป็นอารมณ์ แต่เมื่อว่าโดยพระบาฬีอันเป็นอาคตสถาน วิราคสัญญาและนิโรธสัญญา ที่เป็นโลกุตระก็มี ดังนี้  เอตํ สนฺตํ, เอตํ ปณีตํ, ยทิทํ สพฺพสงฺขารสมโถ วิราโค นิโรโธ นิพพานนี้สงบ ประณีต คือ ธรรมที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดออกซึ่งอุปธิทั้งปวง สิ้นตัณหา ปราศจากราคะ. (อํ. นวก. ๙.๓๖) กรณีนี้ ถือว่าเป็นโลกุตระ เพราะสัญญา ๒ ประการตามที่มาในพระบาฬีเหล่านั้นมีนิพพานอารมณ์. คัมภีร์ฎีกาอธิบายว่า การที่ทราบได้ว่าเป็นได้ทั้งโลกียวิปัสสนาและทั้งที่เป็นโลกุตระ โดยอัตถาปัตตินัย (วิธีการเข้าถึงเนื้อความโดยไม่ต้องกล่าว) เพราะในคัมภีร์อรรถกถาได้อธิบายไว้ด้วยคำว่า อิมา สตฺต โลกิยวิปสฺสนาปิ โหนฺติ, เทฺว โลกุตฺตราปิ โหนฺติ. สัญญา ๗ ทั้งที่เป็นโลกิยวิปัสสนาก็มี สัญญา ๒ แม้ที่เป็นโลกุตรก็มี. ด้วยปิศัพท์ (แม้-ท้้งที่) สามารถสื่อได้ว่า สัญญาทั้ง ๗ นี้ เป็นการแสดงโดยคละกันระหว่างโลกิยะและโลกุตระ โดยวิราคสัญญาและนิโรธสัญญา ที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ก็มี (ที.ม.ฎี.๑๔๐)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น