วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๑๒ ภิกขุอปริหานิยธรรม ชุดที่ ๖

๑๔๑. ‘‘, โว ภิกฺขเว, อปริหานิเย ธมฺเม เทเสสฺสามิ, ตํ สุณาถ, สาธุกํ มนสิกโรถ, ภาสิสฺสามี’’ติฯ ‘‘เอวํ, ภนฺเต’’ติ โข เต ภิกฺขู ภควโต ปจฺจสฺโสสุํฯ ภควา เอตทโวจ
๑๔๑. ภควา พระผู้มีพระภาค อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อหํ เรา เทเสสฺสามิ จักแสดง ธมฺเม ซึ่งธรรมทั้งหลาย อปริหานิเย อันสร้างความไม่เสื่อม  ฉ ๖  โว แก่พวกเธอ,  ตุมฺเห พวกเธอ สุณาถ จงฟัง ตํ ธมฺมํ ซึ่งธรรมนั้น,  มนสิกโรถ จงใส่ใจ ตํ ธมฺมํ ซึ่งธรรมนั้น สาธุกํ อย่างดี,  อหํ เรา ภาสิสฺสามิ  จักกล่าว ดังนี้.  เต ภิกฺขู ภิกษุเหล่านั้น ปจฺจสฺโสสุํ รับสนองพระดำรัสแล้ว ภควโต ต่อพระผู้มีพระภาค อิติ  ว่า  ภนฺเต  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เอวํ พระเจ้าข้า ดังนี้.    ภควา พระผู้มีพระภาค อโวจ ตรัสแล้ว เอตํ ซึ่งพระดำรัสนั้นว่า[๑]
‘‘ยาวกีวญฺจ, ภิกฺขเว, ภิกฺขู เมตฺตํ กายกมฺมํ ปจฺจุปฏฺฐาเปสฺสนฺติ สพฺรหฺมจารีสุ อาวิ เจว รโห จ, วุทฺธิเยว, ภิกฺขเว, ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานิฯ
ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   อนึ่ง ยาวกีวํ  ตราบใด  ภิกฺขู  ภิกษุทั้งหลาย เมตฺตํ[๒]กายกมฺมํ = เมตฺตจิตฺตสมุฏฺฐานํ กายกมฺมํ ยังกายกรรมอันมีจิตมีเมตตาเป็นสมุฏฐาน[๓]ปจฺจุปฏฺฐาเปสฺสนฺติ จักให้เข้าไปตั้งอยู่[๔] สพฺรหฺมจารีสุ ในเพื่อนสพรหมจารี   อาวิ = สมฺมุขา เจว ต่อหน้าด้วยนั่นเทียว รโห = ปรมฺมุขา   ลับหลัง[๕] ด้วย, ภิกฺขเว  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    ตาวกีวํ ตราบนั้น วุทฺธิ เอว ความเจริญ นั่นเทียว ปาฏิกงฺขา อันภิกษุพึงหวังได้, ปริหานิ ความเสื่อม โน ปาฏิกงฺขา อันภิกษุไม่พึงหวัง.
‘‘ยาวกีวญฺจ, ภิกฺขเว, ภิกฺขู เมตฺตํ วจีกมฺมํ ปจฺจุปฏฺฐาเปสฺสนฺติ เป.เมตฺตํ มโนกมฺมํ ปจฺจุปฏฺฐาเปสฺสนฺติ สพฺรหฺมจารีสุ อาวิ เจว รโห จ, วุทฺธิเยว, ภิกฺขเว, ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานิฯ
ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   อนึ่ง ยาวกีวํ  ตราบใด  ภิกฺขู  ภิกษุทั้งหลาย เมตฺตํ วจีกมฺมํ = เมตฺตจิตฺตสมุฏฺฐานํ วจีกมฺมํ ยังวจีกรรมอันมีจิตมีเมตตาเป็นสมุฏฐาน[๖] ปจฺจุปฏฺฐาเปสฺสนฺติ จักให้เข้าไปตั้งอยู่ .... เมตฺตํ มโนกมฺมํ = เมตฺตจิตฺตสมุฏฺฐานํ มโนกมฺมํ ยังมโนกรรมอันมีจิตมีเมตตาเป็นสมุฏฐาน[๗] ปจฺจุปฏฺฐาเปสฺสนฺติ จักให้เข้าไปตั้งอยู่ สพฺรหฺมจารีสุ ในเพื่อนพรหมจารี อาวิ = สมฺมุขา เจว ต่อหน้าด้วยนั่นเทียว รโห = ปรมฺมุขา  ลับหลังด้วย, ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตาวกีวํ ตราบนั้น วุทฺธิ เอว ความเจริญ นั่นเทียว ปาฏิกงฺขา อันภิกษุพึงหวังได้, ปริหานิ ความเสื่อม โน ปาฏิกงฺขา อันภิกษุไม่พึงหวัง.       
‘‘ยาวกีวญฺจ, ภิกฺขเว, ภิกฺขู, เย เต ลาภา ธมฺมิกา ธมฺมลทฺธา อนฺตมโส ปตฺตปริยาปนฺนมตฺตมฺปิ ตถารูเปหิ ลาเภหิ อปฺปฏิวิภตฺตโภคี ภวิสฺสนฺติ สีลวนฺเตหิ สพฺรหฺมจารีหิ สาธารณโภคี, วุทฺธิเยว, ภิกฺขเว, ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานิฯ
ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   อนึ่ง ยาวกีวํ  ตราบใด  ภิกฺขู  ภิกษุทั้งหลาย  ลาภา = ลทฺธปจฺจยา ปัจจัยอันได้แล้วทั้งหลาย[๘]  ธมฺมิกา อันมาแล้วอย่างถูกต้อง[๙] ธมฺมลทฺธา อันได้แล้วอย่างถูกต้อง เย เต[๑๐] เหล่าใด (อตฺถิ) มีอยู่ ปิ แม้ ปตฺตปริยาปนฺนมตฺตํ = ปตฺตสฺส อนฺโตคตํ ทฺวิติกฏจฺฉุภิกฺขามตฺตํ ภิกษาจำนวนสองสามทัพพีภายในบาตร[๑๑] อนฺตมโส = สพฺพนฺติเมน ปริจฺเฉเทน โดยกำหนดอันมีในที่สุดแห่งลาภทั้งปวง (อตฺถิ) มีอยู่[๑๒], ภวิสฺสนฺติ จักเป็น อปฺปฏิวิภตฺตโภคี ผู้ใช้สอยลาภโดยไม่แบ่งแยก[๑๓]สาธารณโภคี ผู้ใช้สอยร่วมกัน  สพฺรหฺมจารีหิ กับเพื่อนพรหมจารี สีลวนฺเตหิ  ผู้มีศีล[๑๔ลาเภหิ ด้วยลาภทั้งหลาย ตถารูเปหิ เช่นนั้น, ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตาวกีวํ ตราบนั้น วุทฺธิ เอว ความเจริญ นั่นเทียว ปาฏิกงฺขา อันภิกษุพึงหวังได้,    ปริหานิ ความเสื่อม  โน ปาฏิกงฺขา อันภิกษุไม่พึงหวัง.
‘‘ยาวกีวญฺจ, ภิกฺขเว, ภิกฺขู ยานิ กานิ สีลานิ อขณฺฑานิ อจฺฉิทฺทานิ อสพลานิ อกมฺมาสานิ ภุชิสฺสานิ วิญฺญูปสตฺถานิ อปรามฏฺฐานิ สมาธิสํวตฺตนิกานิ ตถารูเปสุ สีเลสุ สีลสามญฺญคตา วิหริสฺสนฺติ สพฺรหฺมจารีหิ อาวิ เจว รโห จ, วุทฺธิเยว, ภิกฺขเว, ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานิฯ
ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   อนึ่ง,  ยานิ ตานิ  สีลานิ ศีลทั้งหลายเหล่าใด อขณฺฑานิ  ไม่มีความขาด[๑๕] อจฺฉิทฺทานิ ไม่มีความทะลุ[๑๖] อสพลานิ ไม่มีความด่าง[๑๗] อกมฺมาสานิ ไม่มีความพร้อย[๑๘]  ภุชิสฺสานิ  กระทำความเป็นไท[๑๙] วิญฺญูปสตฺถานิ = พุทฺธาทิปณฺฑิตปสตฺถานิ อันบัณฑิตผู้รู้แจ้งโดยปกติมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นสรรเสริญ[๒๐] อปรามฏฺฐานิ อันตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดติด[๒๑]สมาธิสํวตฺตนิกานิ ยังสมาธิให้ถึงพร้อม[๒๒] (อตฺถิ) มีอยู่, ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลาย วิหริสฺสนฺติ จัก - สีลสามญฺญคตา มีศีลอันถึงแล้วซึ่งความเสมอกัน[๒๓] สพฺรหฺมจารีหิ กับเพื่อนสพรหมจารี[๒๔] อาวิ = สมฺมุขา เจว ต่อหน้าด้วยนั่นเทียว รโห = ปรมฺมุขา  ลับหลังด้วย สีเลสุ ในศีลท. ตถารูเปสุ เช่นนั้น - อยู่, ยาวกีวํ ตลอดกาลเพียงใด ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วุทฺธิ เอว ความเจริญ นั่นเทียว ปาฏิกงฺขา อันภิกษุพึงหวังได้, ปริหานิ ความเสื่อม โน ปาฏิกงฺขา อันภิกษุไม่พึงหวัง ตาวกีวํ ตลอดกาลเพียงนั้น.
‘‘ยาวกีวญฺจ, ภิกฺขเว, ภิกฺขู ยายํ ทิฏฺฐิ อริยา นิยฺยานิกา, นิยฺยาติ ตกฺกรสฺส สมฺมา ทุกฺขกฺขยาย, ตถารูปาย ทิฏฺฐิยา ทิฏฺฐิสามญฺญคตา วิหริสฺสนฺติ สพฺรหฺมจารีหิ อาวิ เจว รโห จ, วุทฺธิเยว, ภิกฺขเว, ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานิฯ
ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   อนึ่ง, [๒๕]ทิฏฺฐิ = มคฺคสมฺปยุตฺตา สมฺมาทิฏฺฐิ สัมมาทิฏฺฐิอันประกอบด้วยมรรค อริยา อันเป็นอริยะ[๒๖], นิยฺยานิกา เป็นธรรมเครื่องนำออก ยา อยํ ใด นิยฺยาติ  =  วฏฺฏทุกฺขโต นิคจฺฉติ ย่อมออกไป  จากวัฏฏทุกข์  ทุกฺขกฺขยาย   เพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์    สมฺมา อย่างถูกต้อง ตกฺกรสฺส ของบุคคลผู้กระทำตามคำสอน[๒๗], ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลาย วิหริสฺสนฺติ  จัก - ทิฏฺฐิสามญฺญคตา มีสัมมาทิฏฐิอันถึงแล้วซึ่งความเสมอกัน[๒๘] สพฺรหฺมจารีหิ กับเพื่อนสพรหมจารี อาวิ = สมฺมุขา เจว ต่อหน้าด้วยนั่นเทียว รโห = ปรมฺมุขา  ลับหลังด้วย ทิฏฺฐิยา ในทิฏฐิ ตถารูปาย เช่นนั้น - อยู่, ยาวกีวํ ตลอกกาลเพียงใด ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วุทฺธิ เอว ความเจริญ นั่นเทียว ปาฏิกงฺขา อันภิกษุพึงหวังได้,  ปริหานิ ความเสื่อม โน ปาฏิกงฺขา อันภิกษุไม่พึงหวัง ตาวกีวํ ตลอดกาลเพียงนั้น.[๒๙]
‘‘ยาวกีวญฺจ, ภิกฺขเว, อิเม ฉ อปริหานิยา ธมฺมา ภิกฺขูสุ ฐสฺสนฺติ, อิเมสุ จ ฉสุ อปริหานิเยสุ ธมฺเมสุ ภิกฺขู สนฺทิสฺสิสฺสนฺติ, วุทฺธิเยว, ภิกฺขเว, ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา, โน ปริหานี’’ติฯ
ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ยาวกีวํ ตราบใด ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลาย ธมฺมา ธรรมทั้งหลาย อปริหานิยา อันเป็นเหตุแห่งความไม่เสื่อม หก อิเม เหล่านี้ ฐสฺสนฺติ จักยังดำรงอยู่ ภิกฺขูสุ ในภิกษุทั้งหลาย,  ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลาย สนฺทิสฺสนฺติ จักเห็นดีร่วมกัน ธมฺเมสุ ในธรรมทั้งหลาย อปริหานิเยสุ อันกระทำความไม่เสื่อม สตฺเตสุอิเมสุ เหล่านี้,  ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตาวกีวํ ตราบนั้น วุทฺธิ เอว ความเจริญ นั่นเทียว ปาฏิกงฺขา อันภิกษุพึงหวังได้, ปริหานิ ความเสื่อม โน ปาฏิกงฺขา อันภิกษุไม่พึงหวัง (อิติ ดังนี้).





[๑] ครั้นพระผู้มีพระภาค ตรัสธรรมเป็นเหตุให้ภิกษุเจริญงอกงามในธรรมวินัยเกี่ยวกับการเจริญวิปัสสนาตามนัยของโพชฌงค์และอนุปัสนาแล้ว ต่อมาได้ตรัสธรรมชุดที่ ๖ นี้ซึ่งเป็นวิธีการสร้างความเจริญในธรรมวินัยโดยสร้างความมั่นคงอันเกิดจากความสามัคคีในสงฆ์. คัมภีร์อรรถกถาเรียกธรรมชุดนี้ว่า สาราณียธรรม เพราะเป็นเหตุให้มีความระลึกถึงกัน.
[๒] อีกนัยหนึ่ง กายกมฺมํ ยังกายกรรม เมตฺตํ = เมตฺตจิตฺเตน กตฺตพฺพํ อันภิกษุพึงทำด้วยจิตมีเมตตา. (ที.ม.อ.๑๔๑)
เมตฺตํ ในประโยคนี้ เป็นพหุพพีหิสมาส มาจาก เมตฺตํ (จิตฺตํ) + สมุฏฺฐานํ  โดยมี กายกมฺมํ เป็นอัญญปทัตถะ (วิเสสนะของบทว่า กายกมฺมํ). วิเคราะห์ว่า
            เมตฺตา เอตสฺส อตฺถีติ เมตฺตํ, จิตฺตํ. เมตตามีอยู่แก่จิตนี้ เหตุนั้น จิตนี้ ชื่อว่า เมตฺตํ
เมตฺตํ สมุฏฺฐานํ อสฺสาติ เมตฺตสมุฏฺฐานํ, กายกมฺมํ. จิตที่มีเมตตา เป็นสมุฏฐาน ของกายกรรมนั้น เหตุนั้น กายกรรมนั้น ชื่อว่า เมตตสมุฏฺฐาน กายกรรมมีจิตมีเมตตาเป็นสมุฏฐาน. และเมื่อสำเร็จเป็นบทสมาสแล้ว ลบบทหลังคือ สมุฏฐานํ เหลือเพียง เมตฺตํ จัดเป็นอุตตรโลปสมาส (สมาสชนิดที่ลบบทหลัง) ดังคัมภีร์ฎีกาวิเคราะห์ว่า ตํสมุฏฺฐานํ กายกมฺมํ เมตฺตํ กายกมฺมํ กายกรรมอันมีเมตตาจิตนั้นเป็นสมุฏฐาน เรียกว่า เมตฺตํ กายกมฺมํ. (ที.ม.ฎี.๑๔๑)
กายกรรมในที่นี้ได้แก่ การกระทำ มีการทำอาทิ การร่วมมือกันทำจีวรกิจ การทำสามีจิกรรมเป็นต้น มิใช่กิจอันพึงกระทำ ดังนั้น กายกรรมที่มีเมตตาจิตเป็นสมุฏฐาน จึงได้แก่ จิตชรูป.
[๓]กายกรรมเหล่านี้มีทั้งที่เป็นของบรรพชิตและฆราวาส ดังนั้น พระโอวาทนี้จึงครอบคลุมการปฏิบัติของบริษัททั้ง ๔ เพื่อการอยู่ร่วมกันในหมู่คณะอย่างผาสุกอันจะนำความเจริญมาให้. แต่การที่ทรงแสดงไว้ในพระบาฬีเฉพาะภิกษุเท่านั้น เพราะบริษัท ๔ มีมีภิกษุบริษัทเป็นประธาน.  พระอรรถกถาจารย์แนะนำไว้เป็นแนวทางปฏิบัติ ดังนี้. 
สำหรับบรรพชิต ได้แก่ การบำเพ็ญธรรมคืออาภิสมาจาริกวัตร คัมภีร์ฎีกาอธิบายเพิ่มเติมว่า ความจริง เมตตากายกรรมยังสงเคราะห์ได้ด้วยการศึกษาในส่วนของอาทิพรหมจริยกศีล (ปาติโมกข์ศีล คือ ข้อห้าม) อีก แต่ในที่นี้เน้นจาริตตศีล (อาภิสมาจาริกวัตร คือ ข้อควรทำ ไม่ใช่ข้อห้าม) มากกว่า.
สำหรับฆราวาสได้แก่ การไปไหว้พระเจดีย์ ไหว้ต้นโพธิ์ นิมนต์สงฆ์ การพบเหล่าภิกษุเข้าบ้านไปบิณฑบาตแล้วต้อนรับ รับบาตร ปูอาสนะ เดินตาม ทาน้ำมัน.
[๔] ปติ + อุป + ฐา ตั้งอยู่+ ณาเป + สสนฺติ = ปจฺจุปฏฺฐาเปสฺสนฺติ. ความหมายคือ ทำกิจด้วยเมตตาจิต.
[๕] อาวิ  และ รโห เป็นนิบาตลงในอรรถสัตตมีวิภัตติ.  อาวิ ในที่แจ้ง มีความหมายว่า ปกาสภาว คือ คือ การเปิดเผย คือให้ปรากฏชัด ส่วน รโห มีความหมายว่า ในที่ลับ คือ การไม่เปิดเผยให้ปรากฏ.  คัมภีร์อรรถกถา อธิบายว่า ได้แก่ สมฺมุขา ต่อหน้า และ ปรมฺมุขา ลับหลัง ตามลำดับคัมภีร์ฎีกากล่าวว่า การใช้สมฺมุขา อธิบาย อาวิ ศัพท์ในที่นี้ก็ เพราะกายกรรมที่ตนทำให้ใครโดยเฉพาะ กายกรรมนั้น ก็จะปรากฏให้ผู้นั้นเห็นต่อหน้า, และ การใช้ ปรมฺมุขา เพราะกรรมนั้นจะไม่ปรากฏให้ผู้นั้นเห็นต่อหน้าของผู้ที่ตนจะทำให้นั้น.
กายกรรมดังกล่าวจึงจำแนกออกเป็น ๒ นัยคือ ต่อหน้า และลับหลัง พระอรรถกถาจารย์จำแนกพอเป็นแนวทางปฏิบัติไว้ดังนี้ กายกรรมต่อหน้า ได้แก่ การมีเมตตาจิตคือเข้าถึงความเป็นสหายกับภิกษุใหม่ในจีวรกรรมเป็นต้น เพราะการเป็นสหายช่วยเหลือในกิจเหล่านั้น ต้องทำกันอยู่ต่อหน้า และทำสามีจิกรรมทั้งปวงต่อพระเถระมีการล้างเท้าเป็นต้น. และกายกรรมลับหลัง คือ บรรดาวัตถุท.มีท่อนไม้และสิ่งของเป็นต้นที่พระนวกะและพระเถระเหล่านั้นวางทิ้งไว้ ก็ไม่ดูหมิ่นในท่านเหล่านั้นแล้วเก็บงำสิ่งของเหล่านั้น ทำดังว่าเป็นของที่ตนวางทิ้งไว้ฉะนั้น.
[๖] ในวจีกรรมก็มีความเป็นไปเช่นเดียวกับกายกรรม ดังนั้น ในกิจที่เกี่ยวกับการใช้คำพูด อาทิ การเรียนพระพุทธวจนะคือพระไตรปิฎก การบัญญัติอาจาระและสิกขาบทโดยการสอบถามและอธิบายความหมาย, การบอกพระกัมมัฏฐาน การแสดงธรรม เป็นต้น  ควรมีเมตตาเป็นสมุฏฐานเสมอ. สำหรับคฤหัสถ์ ได้แก่ การบอกกล่าวเพื่อให้ทำกิจอันเป็นกุศลกรรมเป็นต้น ควรมีเมตตาเป็นสมุฏฐานเสมอ. แนวทางที่พระอรรถกถาจารย์ให้ไว้มีดังนี้
            การกล่าวยกย่องต่อพระเถระอย่างนี้ว่า พระเทวเถระ พระติสสเถระ ดังนี้ ชื่อว่า ตั้งเมตตาวจีกรรมไว้ต่อหน้า, การที่ภิกษุสอบถามถึงผู้ที่ไม่มีอยู่ในวัดกล่าวถ้อยคำที่น่ารักว่า พระเทวเถระของเราไปไหน, พระติสสเถระของเราไปไหน เมื่อไรจักมา ดังนี้ ชื่อว่า ตั้งเมตตาวจีกรรมไว้ลับหลัง.
[๗] มโนกรรมนั้น คือ การแผ่จิตอันประกอบด้วยเมตตาไปยังเพื่อนสพรหมจารีในวิหารนี้ว่า ขอภิกษุในวิหารนี้จงมีสุข ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน เป็นต้น. แม้คฤหัสถ์ ก็แผ่เมตตาจิตไปในพระสงฆ์ว่า ขอพระผู้เป็นเจ้าจงมีสุข ดังนี้เป็นต้น. และการที่ลืมตาอันชุ่มชื่นด้วยความรักอันเนื่องด้วยเมตตาแล้วแลดูด้วยใบหน้าอันผ่องใส ชื่อว่า เมตตามโนกรรมต่อหน้า. การส่งจิตไปว่า ขอพระเทวเถระ พระติสสเถระ จงปราศจากโรคาพาธ นี้ชื่อว่า เมตตามโนกรรมลับหลัง. พระฎีกาจารย์อธิบายเพิ่มว่า ความจริง การลืมตาและการมองดูนั้น จัดเป็นกายกรรมโดยแท้, กระนั้น การที่นัยน์ตาและใบหน้าบ่งออกถึงความมีเมตตานั้น ก็มีเหตุมาจากจิตนั่นเอง ดังนั้น ท่านหมายเอาจิตที่ทำให้เกิดกายกรรมนั้นว่า เมตตามโนกรรม.
[๘] ลาภ ศัพท์ ในที่นี้ เป็นกรรมสาธนะ อดีตกาล วิเคราะห์ว่า ลพฺภตีติ ลาโภ สิ่งอันบุคคลย่อมได้ ชื่อว่า ลาภ.
[๙] ธมฺมิกา วิเคราะห์ว่า ธมฺมโต อาคตาติ ธมฺมิกา ปัจจัยมีจีวรเป็นต้น อันมาแล้ว โดยสมควร ชื่อ ธมฺมิกา (ที.ม.ฎี.๑๔๑).  ธมฺม ศัพท์มีอรรถมาก ดังมีที่มาในคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาคาถา ๗๘๔.
ธมฺโม สภาเว ปริยตฺติปญฺญา,
ญาเยสุ สจฺจปฺปกตีสุ ปุญฺเญ;
เญยฺเย คุณาจาร สมาธิสูปิ,
นิสฺสตฺตตาปตฺติสุ การณาโทฯ
ธมฺมศัพท์ใช้ในอรรถเหล่านี้ เช่น สภาวะ, พระปริยัติ, ปัญญา, ความสมควร, สัจจะ, ปกติ, บุญ, เญยธรรม (ธรรมควรรู้ ๕ คือ สังขาร ลักษณะ นิพพาน วิการ บัญญัติ), คุณ, ความประพฤติ, สมาธิ, นิสสัตตะ, อาบัติ.
ในบทว่า ธมฺมิกา และ ธมฺมลทฺธา นี้ ธมฺม ศัพท์มีอรรถว่า ญาย ความสมควร ดังพระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า ธมฺมิกาติ กุหนาทิเภทํ มิจฺฉาชีวํ วชฺเชตฺวา ธมฺเมน สเมน ภิกฺขาจารวตฺเตน อุปฺปนฺนาฯ บทว่า ธมฺมิกา ได้แก่ ปัจจัยที่เกิดขึ้นที่จัดเป็นการหลอกลวงเป็นต้น (ดูรายละเอียดในคัมภีร์วิสุทธิมรรค) แล้วเกิดขึ้นโดยธรรม คือ โดยถูกต้อง ด้วยการเที่ยวบิณฑบาต. (ที.ม.อ.๑๔๑)
[๑๐] ประโยคว่า เย เต ในที่นี้เป็น ประโยคอนิยมะ และ ประโยคว่า ตถารูเปหิ เป็นประโยคนิยมะ.ตสัพพนามในที่นี้ไม่แปล เพราะเป็นสัพพนามที่มีอรรถเดียวกับตัวหน้า. อีกนัยหนึ่ง แปลประโยคว่า เย เต นี้เป็นวิเสสนะของคำว่า ตถารูเปหิ  ดังนี้ อปฺปฏิวิภตฺตโภคี จักเป็นผู้ไม่บริโภคปัจจัยอย่างแบ่งแยก ลาเภหิ ด้วยลาภทั้งหลาย ตถารูเปหิ  เช่นนั้น เย เต คือ ลาภา ลาภทั้งหลาย  ...  ปิ แม้ ปตฺตปริยาปนฺนมตฺตํ อันเป็นข้าวจำนวนสองสามทัพพีที่อยู่ในบาตร อตฺถิ มีอยู่.
[๑๑] อนฺตมโส มาจาก อนฺต ที่สุด + อิม ปัจจัยในอัสสัตถิตัทธิต + โส ปจจัย เป็นอัพยยศัพท์ มีความหมายว่า ต่ำสุด (แปลง อิ เป็น อ. ตามนัยของกังขาโยชนา).  ได้แก่ ต่ำสุดของลาภทั้งหลายเหล่านั้นทั้งหมด.   ในที่นี้แปลโดยสัททัตถนัย ตามที่คัมภีร์อรรถกถาทั้งหลายขยายความไว้ว่า ปจฺฉิมโกฏิยา โดยส่วนท้ายสุด (ที.ม.อ. ๑๔๑), สพฺพนฺติเมน ปริจฺเฉเทน โดยกำหนดอันมีในที่สุดแห่งสิ่งทั้งปวง (วิ.อ.๑/๒๒๓.).  เหฏฺฐิมโต อย่างต่ำ (ขุ.มหา.อ.๓๗๔)  ส่วนคำว่า ปตฺตปริยาปนฺนมตฺตํ พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า ปตฺเต ปริยาปนฺนํ ปตฺตสฺส อนฺโตคตํ ทฺวิติกฏจฺฉุภิกฺขามตฺตมฺปิฯ ก้อนข้าวสองสามทัพพีที่อยู่ในบาตร
ข้อความนี้แปลแยกเป็น ๒ ประโยค โดยให้ ปตฺตปริยาปนฺนมตฺตํ เป็นกัตตา ใน อตฺถิ ที่เพิ่มเข้า, อนฺตมโส เป็นตติยาวิเสสนะใน ปตฺตปริยาปนฺนมตฺตํ และปิ เป็นนิบาตใช้ในอรรถครหะ.
อีกนัยหนึ่งเป็นวิเสสนะของบทว่า ลาภา ดังนี้ ลาภา ลาภท.เหล่าใด ปตฺตปริยาปนฺนมตฺตํ ปิ แม้เป็นจำนวนคือภิกษาสองสามทัพพีในบาตร อนฺตมโส โดยกำหนดอันมีในที่สุดแห่งลาภทั้งหลายทั้งปวง อตฺถิ มีอยู่
[๑๒] ปตฺตปริยาปนฺนมตฺตํ พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า ปตฺเต ปริยาปนฺนํ ปตฺตสฺส อนฺโตคตํ ทฺวิติกฏจฺฉุภิกฺขามตฺตมฺปิฯ จำนวนแห่งข้าวสองสามทัพพี ที่อยู่ในบาตร ชื่อ ปตฺตปริยายปนฺนมตฺตํ.  มตฺตศัพท์ มีอรรถปมาณ.
[๑๓] อปฺปฏิวิภตฺตโภคี แยกเป็น อปฺปฎิวิภตต ไม่แบ่งแยก + โภคี ผู้ใช้สอย วิเคราะห์ว่า โย อปฺปฏิวิภตฺตํ ภุญฺชติ, อยํ อปฺปฏิวิภตฺติโภคี นาม ภิกษุใด ย่อมใช้สอยไม่แบ่งแยก, ภิกษุนี้ ชื่อว่า อปฺปฏิวิภตฺตโภคี.
พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า ‘‘เอตฺตกํ ทสฺสามิ, เอตฺตกํ น ทสฺสามี’’ติ เอวํ จิตฺเตน วิภชนํ อามิสปฺปฏิวิภตฺตํ นามฯ ‘‘อสุกสฺส ทสฺสามิ, อสุกสฺส น ทสฺสามี’’ติ เอวํ จิตฺเตน วิภชนํ ปน ปุคฺคลปฺปฏิวิภตฺตํ นามฯ
การแบ่งแยกมี ๒ คือ การแบ่งแยกสิ่งของ (อามิสปฺปฏิวิภตฺตํ) และ การแบ่งแยกบุคคล (ปุคฺคลปฺปฏิวิภตฺตํ). การแบ่งแยกสิ่งของ คือ การจำแนกด้วยคิดว่า เราจะให้สิ่งของเท่านี้ ไม่ให้เท่านี้. การแบ่งแยกบุคคล คือ การจำแนกด้วยคิดว่า จะให้ผู้โน้น ไม่ให้ผู้โน้น.  ภิกษุผู้บริโภคอย่างไม่แบ่งแยกโดยการแบ่งแยกสองนั้น ชื่อ อปฺปฏิวิภตฺตโภคี.
อนึ่ง พระอรรถกถาจารย์อธิบาย อปฺปฏิวิภตฺต ด้วยศัพท์ภาวสาธนะว่า วิภชนํ แสดงว่าเป็นภาวสาธนะ และพระฎีกาจารย์อธิบายเพิ่มว่า อปฺปฏิวิภตฺต มีสองนัย คือ เป็นกิริยาวิเสสนะ หรือเป็นบทกรรมของโภคีก็ได้.
ถ้าเป็นกิริยาวิเสสนะ แปลว่า ผู้ไม่บริโภคอย่างแบ่งแยก ตามที่พระอรรถกถาจารย์อธิบาย.
แต่ในกรณีที่เป็นบทกรรม วิเคราะห์ว่า อปฺปฏิวภตฺตํ ลาภํ ภุญฺชตีติ อปฺปฏิวภตฺตโภคี ผู้ใช้สอยซึ่งลาภอันไม่ถูกแบ่งแยก.  ในที่นี้แปลเป็นกิริยาวิเสสนะตามนัยของพระอรรถกถาจารย์.
[๑๔] พระอรรถกถาจารย์กำหนดลักษณะของภิกษุผู้จะเป็นสาธารณโภคี ผู้ใช้สอยปัจจัยร่วมกันกับเพื่อนพรหมจารี ผู้มีศีล ไว้สามประการว่า เมื่อได้ลาภที่ประณีตมา ก็ไม่ให้แก่คฤหัสถ์โดยหวังจะเอาลาภต่อลาภ, ก็จะไม่ใช้สอยด้วยตนเอง, และเมื่อรับ ก็รับด้วยคิดว่า ปัจจัยนี้จงเป็นสิ่งที่สงฆ์ใช้สอยร่วมกัน ดังนี้ เห็นดังว่าเป็นสมบัติของสงฆ์พึงเคาะระฆังใช้สอย.
[๑๕] อขณฺฑานิ ในที่นี้แปลตามสัททัตถนัย ตามที่คัมภีร์ฎีกาวิเคราะห์เป็นนนิปาตพหุพพีสมาสว่า นตฺถิ เอเตสํ ขนฺฑนฺติ อขณฺฑานิ การขาด ของศีลเหล่านั้น ย่อมไม่มี เหตุนั้น ศีลเหล่านั้น จึงชื่อว่า มีการขาดหามิได้.  ส่วนคำว่า ขณฺฑํ ศีลมีการขาด ในวิเคราะห์นี้เป็นศัพท์อัสสัตถิตัทธิต วิเคราะห์ว่า ขณฺฑิตฉินฺนตา ขณฺฑํ, ตํ เอตสฺส อตฺถีติ ขณฺฑํ, สีลํ. ขณฺฑ หมายถึง การแตกขาด. การแตกขาด ของศีลนี้ ย่อมมี เหตุนั้น ศีล จึงชื่อว่า ขณฺฑํ แปลว่า ศีลมีความฉีกขาด.
พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า บรรดาอาบัติ ๗ กอง สิกขาบทของภิกษุใด ขาดในเบื้องต้น หรือว่า ในที่สุด, ศีลของภิกษุนั้น ชื่อว่า ขาด เหมือนอย่างผ้าขาดที่ชาย. พระฎีกาจารย์อธิบายเพิ่มว่า ที่ว่าขาดในเบื้องต้นหรือในที่สุด สำหรับศีลของผู้อุปสมบท นับตามลำดับอุทเทส กล่าวคือ ตั้งแต่ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑, ๒ เป็นต้นไป, สำหรับของอนุปปสัมบัน ก็โดยการสมาทาน กล่าวคือ ตั้งแต่การเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้นไป. และการยกอุปมาด้วยผ้าขาดที่ชาย เรียกว่า วิสทิสูปมา อุปมาที่ไม่เหมือนอุปไมย. เพราะ อขณฺฑานิ หมายถึง ศีลไม่ขาด. แต่พระอรรถกถาจารย์ใช้คำว่า ผ้าที่ขาด เพื่อแสดงให้เห็นความแตกต่างกัน. แม้คำว่า อจฺฉิทฺทานิ ไม่ทะลุ เป็นต้นที่จะกล่าวถึงต่อไปข้างหน้า ก็มีนัยนี้.
[๑๖]หมายถึง การขาดไปของศีลข้อกลางๆ เหมือนผ้าที่ขาดตรงกลาง ต่างกับ อขณฺฑานิ ที่เป็นการขาดข้อต้นหรือท้าย.
[๑๗] อสพลานิ เป็นนนิปาตพหุพพีหิสมาสเช่นกัน เพราะท่านขยายความด้วยคำว่า รหิต ว่า สพลรหิตานิ อสพลานิ ศีลที่ปราศจากสีด่าง ชื่อว่า อสพล ไม่มีสีด่าง (ที.ม.ฎี.๑๔๑). ศัพท์ว่า สพล แปลว่า สีต่างๆ มีวิเคราะห์ว่า  สพตีติ สพล สีที่เป็นไปต่างๆ ชื่อว่า สพล (สพิ ในอรรถว่า ไป + อล ปัจจัย). ดังที่คัมภีร์อภิธานนัปปทีปิกา จัดอยู่ในกลุ่มศัพท์ที่มีอรรถว่า สีด่างหรือลาย คือ สพล กมฺมาส และจิตฺร (ธาน.๙๙).
ศีลที่ชื่อว่า สพล ด่าง ในที่นี้จึงหมายถึง การขาดไปของสิกขาบท ๒ - ๓ สิกขาบทติดๆ กัน ดูด่างๆ เหมือนแม่โคด่างที่มีสีต่างๆ ที่ไม่เหมือนกัน เช่น ดำ, แดง เป็นต้น บริเวณท้องหรือหลัง.
[๑๘] อกมฺมาสานิ เป็นเป็นนนิปาตพหุพพีหิสมาสเช่นกัน มีนัยเดียวกับ อสพลานิ. ศีลที่มีความพร้อยนี้ ได้แก่ สิกขาบทที่ขาดในระหว่างๆ คือ เป็นหย่อมๆ  เหมือนกับแม่โคที่มีลายจุดต่างๆ ในระหว่างๆ. แม้ สพล และกมฺมาส จะหมายถึงสีด่างเหมือนกัน แต่พระผู้มีพระภาคทรงนำมาเป็นเครื่องจำแนกศีลไว้ต่างกัน กล่าวคือ สพล หมายถึง การด่างเป็นปื้น แต่ กมฺมาส หมายถึง การด่างเป็นจุๆ ดังนั้น ศีลที่ชื่อ กมฺมาสานิ เป็นศีลที่ขาดกระจัดกระจาย.
สรุปลักษณะศีลขาด ๔ ประการ คือ ขณฺฑานิ คือ ขาด ได้แก่ ขาดข้อต้นหรือข้อท้าย, ฉิทฺทานิ คือ ทะลุ ได้แก่ขาดข้อกลาง, สพลานิ คือ ด่าง ได้แก่ ขาดติดต่อกันหลายข้อ ไม่จำกัดว่า อยู่เบื้องต้น ท่ามกลาง หรือเบื้องปลายของกลุ่มสิกขาบท, กมฺมาสานิ คือ พร้อย ได้แก่ ขาดข้อโน้นบ้าง ข้อนี้บ้าง ไม่เรียงตามลำดับของข้อสิกขาบท.
ศีลที่ไม่มีการขาดโดยประการทั้งปวง ชื่อว่า อขณฺฑานิ เป็นต้น เป็นศีลที่เสมอกันของพระอริยะทั้งหลาย.
[๑๙] ภุชิสฺส กระทำความเป็นไท  (ภุชิสฺส ความเป็นไท + กรณ กระทำ) มีศัพท์เต็มว่า ภุชิสฺสภาวกรณานิ เป็นตัปปุริสสมาสสมาสชนิดลบบทหลัง คือ  กรณ ดังพระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า ตณฺหา-ทาสพฺยโต โมเจตฺวา ภุชิสฺสภาวกรณโต ภุชิสฺสานิ ศีล ชื่อว่า ภุชิสฺสานิ เพราะกระทำความเป็นไทโดยเปลื้องออกจากความเป็นทาสของตัณหา. พระฎีกาจารย์อธิบายเพิ่มว่า การเปลื้อง (ตนคือศีล) ออกจากความเป็นทาสตัณหา ได้แก่ การให้ถึงความเป็นปัจจัยเกื้อหนุนแก่กุศลที่นำออกจากวัฏฏะ. และเพราะเหตุที่บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยศีลนั้น เป็นเสรี มีอำนาจด้วยตนเอง จึงชื่อว่า เป็นไท ดังนั้น ศีลนั้น จึงชื่อว่า กระทำความเป็นไท.
บทว่า ภุชิสฺสานิ มีวิเคราะห์ตามลำดับ ดังนี้  
๑. ก. อปราธีนตาย ภุโช วิย อตฺตโน กิจฺเจ เอสิตพฺโพติ ภุชิสฺโส. ผู้พึงปรารถนาในกิจของตนเหมือนคนอิสระ เพราะไม่ต้องพึ่งผู้อื่น ชื่อว่า ผู้เป็นไท คือ เป็นตัวของตัวเอง. (ภุช เหมือนผู้อิสระ + อิสุ ปรารถนา + ณ - ที.ฎี.๑/๒๒๑)
ข. ภุโช อตฺตโน ยถาสุขวินิโยโค อิสฺโส อิจฺฉิตพฺโพ เอตฺถาติ ภุชิสฺโส, สามิโก. ความเป็นไท คือ การได้ใช้สอยตามสบายของตน พึงปรารถนาในบุคคลนี้ ๆ ชื่อว่า ภุชิสฺส ผู้เป็นไท ได้แก่ เจ้าของ. (ภุช + อิสฺส - ม.มู.ฎี.๔๒๖)
ค. ภุญฺชตีติ ภุชิสฺโส ผู้บริโภค (ภุช คุ้มครองหรือกลืนกิน + อิส ปัจจัย)  คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา แสดงศัพท์นี้ร่วมกับคำว่า อทาส ที่ใช้ในความหมายว่า ไม่ใช่ทาส (ธาน.๕๑๖)
๒. ภุชิสฺสสฺส ภาโว ภุชิสฺโส, ความเป็นแห่งบุคคลผู้เป็นไท ชื่อว่า ภุชิสฺส ได้แก่ ความเป็นไท, ความอิสระ, ความเสรี. (ภุชิสฺส ผู้อิสระ + ภาว ความเป็น) ในที่นี้เป็นภาวปธาน คือ มีการลบภาวศัพท์ข้างหลังไป.
               ๓. ภุชิสฺสภาวกรณโต ภุชิสฺสานิ  สีลานิ ศีลอันเป็นเครื่องกระทำความเป็นไท (ภุชิสฺสภาว ความเป็นไท + กรณ ศีลเป็นเครื่องกระทำ) บทนี้เป็นอุตตรโลปสมาส โดยลบบทว่า ภาว ที่ภุชิสฺสภาว และ ลบบว่า กรณ อันเป็นศัพท์หลัง. ส่วนปาฐะในฎีกาเป็น ภุชิสฺสภาวการณโต ภุชิสฺสานิ โดยนัยนี้ แปลว่า ศีลเป็นเหตุแห่งความเป็นไท ชื่อว่า ภุชิสฺสานิ.  
[๒๐] ศีลที่วิญญูชนกล่าวคือบัณฑิตมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นทรงสรรเสริญ ก็เพราะเป็นศีลที่บริสุทธิ์. บทว่า วิญฺญู (วิ + ญา รู้ + รูปัจจัย) ผู้รู้แจ้งเป็นปกติ  วิเคราะห์ว่า วิชานิตุํ สีลํ ยสฺส, วา วิชานนสีโลติ วิญฺญู การรู้เป็นปกติของบุคคลใด, หรือว่า บุคคลผู้มีการรู้เป็นปกติ บุคคลนั้น ชื่อว่า มีการรู้เป็นปกติ. (รู.๕๙๓ ภิกฺขาทิโต จ) ในที่นี้ หมายถึง บัณฑิต หรือสัตตบุรุษ มีพระพุทธเจ้าเป็นต้นผู้ได้แทงตลอดอริยสัจจ์แล้ว แต่ในบางแห่งหมายถึงบุคคล ๓ มีอุคฆติตัญญูเป็นต้น.
[๒๑]ผู้รักษาศีลที่ถูกตัณหายึดไว้จะรักษาศีลด้วยความคิดอย่างนี้ว่า เราจะเป็นเทพก็เพราะศีลนี้” ที่ถูกความเห็นผิดยึดไว้ ก็จะคิดว่า เราเป็นผู้ยั่งยืน ในความเป็นเทพนั้น และจะบริสุทธิ์ก็เพราะศีลนี้.
อปรามฏฺฐานิ นอกจากจะแปลตามนั้นแล้ว ยังมีคำแปลอีกนัยหนึ่งว่า เกนจิ อันใครๆ อปรามฏฺฐานิ ไม่เหยียดหยาม. ในกรณีนี้หมายความว่า ไม่ถูกผู้หนึ่งผู้ใด ที่เคยเห็นการต้องอาบัติข้อใดข้อหนึ่งแล้วเหยียบย่ำเอาว่า ท่านเคยต้องอาบัติข้อนี้ นี้เป็นความผิดของท่านในศีลข้อนี้ๆ”. (ที.ม.อ. และฎี.๑๔๑)
[๒๒] คำว่า สมาธิสํวตฺตนิกานิ (สมาธิ + สํ + วตุ + ยุ ปัจจัย + ณิก ตัพพภาวะ) วิเคราะห์ว่า อุปจารสมาธิํ วา อปฺปนาสมาธิํ วา สํวตฺตยนฺตีติ สมาธิสํวตฺตนิกานิ ศีลที่ยังอุปจารสมาธิ หรือ อัปปนาสมาธิให้ถึงพร้อม ชื่อ สํวตฺตนิกานิ. (ที.ม.อ.๑๔๑)
พระฎีกาจารย์แนะให้แปลเป็นบทตัทธิตได้อีกนัยหนึ่งว่า สมาธิสํวตฺตนปฺปโยชนานิ โดยลงณิกปัจจัยท้าย สมาธิสํวตฺตน (ที.ม.ฎี.๑๔๑) วิเคราะห์ว่า สมาธิสํวตฺตนํ ปโยชนํ อสฺส อตฺถีติ สมาธิสํวตฺตนิกานิ. การเป็นไปเพื่อสมาธิ เป็นประโยชน์ ของศีลใด ศีลนั้น ชื่อว่า สมาธิสํวตฺตนิกานิ มีการเป็นไปเพื่อสมาธิเป็นประโยชน์.
[๒๓] สีลสามญฺญคตา พระอรรถกถาจารย์แก้เป็น สมานภาวคตสีลา มีศีลอันถึงความเสมอกัน ดังนั้น จึงเป็นพหุพพีหิสมาสที่มีวิเสสนะอยู่หน้า เช่นเดียวกับคำว่า อคฺยาหิโต พราหมณ์มีไฟอันบูชาแล้ว. มีคำขยายความว่า จักมีศีลเข้าถึงความเสมอกันกับด้วยภิกษุทั้งหลายในถิ่นที่ต่างๆ กล่าวคือ เสมอกันด้วยศีลอันบริบูรณ์. ศีลที่พระผู้มีพระภาคทรงหมายถึงได้แก่ ศีลในมรรค เหตุที่ศีลของพระอริยบุคคลท.มีพระโสดาบันเป็นต้น ย่อมเสมอกับศีลของพระอริยบุคคลท.มีพระโสดาบันเป็นต้นเหล่าอื่น แม้จะอยู่ภายในมหาสมุทร แม้ในเทวโลก ก็ตาม. ส่วนปาริสุทธิศีล ๔ ของปุถุชน ถึงจะไม่ต่างกัน ก็จริง, กระนั้น ก็ยังไม่แน่นอนว่าจะเสมอกัน แต่ศีลในมรรคนี้ แน่นอนที่จะเสมอกัน เพราะเป็นศีลที่แน่นอนว่าไม่ขาดเป็นต้น ดังนั้น ศีลที่พระผู้มีพระภาคทรงหมายถึงในข้อนี้ว่า ไม่ขาด ไม่ทะลุเป็นต้น จึงได้แก่ ศีลในมรรค เท่านั้น.
[๒๔] สพฺรหฺมจารีหิ เป็นบทลงตติยาวิภัตติในอรรถสหัตถตติยา แปลว่า กับ.
[๒๕] พระฎีกาจารย์ประกอบความหมายพระบาฬีนี้ว่า ยา อยํ มยฺหญฺเจว ตุมฺหากญฺจ ปจฺจกฺขภูตา ทิฏฺฐิ = มคฺคสมฺปยุตฺตา สมฺมาทิฏฐิ อริยา = นิทฺโทสา นิยฺยานิกา นิยฺยาติ ... สัมมาทิฏฐิอันประกอบด้วยมรรค ปราศจากโทษ อันเป็นธรรมออกไปจากวัฏฏทุกข์ ที่ทั้งเราตถาคตและพวกเธอเห็นประจักษ์แล้ว ย่อมออกไป .....  
[๒๖] อริยศัพท์ ในที่นี้มีอรรถว่า ไม่มีโทษ เพราะโทษคือบาปธรรมมีราคะเป็นต้นถูกกำจัดได้อย่างเด็ดขาดแล้ว. ความเห็นเป็นอริยะ จึงเป็นสัมมาทิฏฐิที่สัมปยุตกับมรรค.
[๒๗] ตกฺกร แยกเป็น ตํ = สตฺถุ อนุสิฏฺฐํ คำพร่ำสอนของพระศาสดา + กร ผู้ทำ, ต สัพพนามเมื่อเข้าสมาส ให้ลงนิคคหิตอาคมแล้วแปลงนิคคหิตเป็นวัคคันตพยัญชนะของศัพท์หลัง จึงสำเร็จรูปเป็น ตกฺกร. ความหมาย คือ ผู้ปฏิบัติตามคำสอนของพระศาสดา วิเคราะห์ว่า ยา สตฺถุ อนุสิฏฺฐิ, ตํ กโรตีติ ตกฺกโร, ตสฺส, ยถานุสิฏฺฐํ ปฏิปชฺชนกสฺสาติ อตฺโถฯ คำพร่ำสอนของพระศาสดาใด ย่อมกระทำซึ่งคำพร่ำสอนของพระศาสดานั้น ชื่อว่า ตกฺกโร ได้แก่ ผู้ปฏิบัติตามคำพร่ำสอน.
ในพระบาฬีนี้มีความหมายว่า สัมมาทิฏฐิอันเป็นอริยะนั้น ย่อมนำผู้ประพฤติตามคำสอนของพระศาสดาออกไปจากวัฏฏะเพื่อความสิ้นทุกข์ เพราะสัมมาทิฏฐินั้น เมื่อตนออกไปได้ ก็สามารถกล่าวได้ว่า พาบุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยตนให้ออกไปได้เช่นกัน. (ที.ม.ฎี.๑๔๑)
[๒๘] ความเห็นถูกอันเสมอกัน ที่ภิกษุผู้เป็นพระอริยบุคคลเข้าถึงเพราะเป็นความเห็นถูกชนิดเดียวกัน เนื่องจากไม่ต่างกัน โดยความเป็นการแทงตลอดอริยสัจ.
[๒๙] ภิกษุผู้มีความดำรงอยู่ด้วยความเห็นถูกอันเป็นอริยะอย่างนี้ ย่อมเจริญอย่างไม่มีวันเสื่อมในอริยวินัย. พระฎีกาจารย์แสดงว่า พระพุทธองค์หวังความความเจริญอย่างยั่งยืนของพระพุทธศาสนาจึงแสดงอปริหานิยธรรมข้อนี้

************
ขออนุโมทนา
สมภพ สงวนพานิช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น