วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๑๓ เสด็จไปยังเมืองนาฬันทา

 เสด็จไปยังเมืองนาฬันทา

๑๔๒. ตตฺร สุทํ ภควา ราชคเห วิหรนฺโต คิชฺฌกูเฏ ปพฺพเต เอตเทว พหุลํ ภิกฺขูนํ ธมฺมิํ กถํ กโรติ – ‘‘อิติ สีลํ, อิติ สมาธิ, อิติ ปญฺญาฯ สีลปริภาวิโต สมาธิ มหปฺผโล โหติ มหานิสํโสฯ สมาธิปริภาวิตา ปญฺญา มหปฺผลา โหติ มหานิสํสาฯ ปญฺญาปริภาวิตํ จิตฺตํ สมฺมเทว อาสเวหิ วิมุจฺจติ, เสยฺยถิทํ กามาสวา, ภวาสวา, อวิชฺชาสวา’’ติฯ

สุทํ ได้ยินว่า ภควา พระผู้มีพระภาค วิหรนฺโต เมื่อประทับอยู่ ปพฺพเต ที่ภูเขา คิชฺฌกูเฏ ชื่อว่า คิชฌกูฏ ราชคเห ใกล้เมืองชื่อว่า ราชคฤห์ กโรติ ย่อมทรงกระทำ กถํ ซึ่งพระดำรัส ธมฺมิํ  อันประกอบด้วยธรรม[1] เอตํ นี้ เอว นั่นเทียว ภิกฺขูนํ แก่ภิกษุทั้งหลาย พหุลํ = ปุนปฺปุนํ บ่อยๆ[2] อิติ ว่า สีลํ ศีล[3] อิติ[4] เป็นอย่างนี้และมีเท่านี้, สมาธิ สมาธิ อิติ เป็นอย่างนี้และมีเท่านี้[5], ปญฺญา อิติ   เป็นอย่างนี้และมีเท่านี้. สมาธิ สมาธิ สีลปริภาวิโต อันศีลให้เกิดโดยประการทั้งปวงแล้ว[6] มหปฺผโล เป็นคุณชาตมีผลมาก มหานิสํโส เป็นคุณชาตมีอานิสงส์มาก โหติ ย่อมเป็น[7]. ปญฺญา ปัญญา สมาธิปริภาวิตา อันสมาธิทำให้มีโดยประการทั้งปวงแล้ว มหปฺผลา เป็นคุณชาตมีผลมาก มหานิสํสา เป็นคุณชาตมีอานิสงส์มาก[8] โหติ ย่อมเป็น. จิตฺตํ จิต ปญฺญาปริภาวิตํ อันปัญญาให้เกิดโดยประการทั้งปวงแล้ว[9] วิมุจฺจติ ย่อมหลุดพ้น สมฺมา เอว โดยชอบนั่นเทียว[10] อาสเวหิ จากอาสวะทั้งหลาย เสยฺยถิทํ คือ[11] กามาสวา กามาสวะ, ภวาสวา ภวาสวะ อวิชฺชาสวา อวิชชาสวะ.

๑๔๓. อถ โข ภควา ราชคเห ยถาภิรนฺตํ วิหริตฺวา อายสฺมนฺตํ อานนฺทํ อามนฺเตสิ  ‘‘อายามานนฺท, เยน อมฺพลฏฺฐิกา เตนุปสงฺกมิสฺสามา’’ติฯ ‘‘เอวํ, ภนฺเต’’ติ โข อายสฺมา อานนฺโท ภควโต ปจฺจสฺโสสิฯ อถ โข ภควา มหตา ภิกฺขุสงฺเฆน สทฺธิํ เยน อมฺพลฏฺฐิกา ตทวสริฯ ตตฺร สุทํ ภควา อมฺพลฏฺฐิกายํ วิหรติ ราชาคารเกฯ ตตฺราปิ สุทํ ภควา อมฺพลฏฺฐิกายํ วิหรนฺโต ราชาคารเก เอตเทว พหุลํ ภิกฺขูนํ ธมฺมิํ กถํ กโรติ  ‘‘อิติ สีลํ อิติ สมาธิ อิติ ปญฺญาฯ สีลปริภาวิโต สมาธิ มหปฺผโล โหติ มหานิสํโสฯ สมาธิปริภาวิตา ปญฺญา มหปฺผลา โหติ มหานิสํสาฯ ปญฺญาปริภาวิตํ จิตฺตํ สมฺมเทว อาสเวหิ วิมุจฺจติ, เสยฺยถิทํ กามาสวา, ภวาสวา, อวิชฺชาสวา’’ติฯ

๑๔๓. อถ โข ลำดับต่อจากนั้น แล ภควา พระผู้มีพระภาค วิหริตฺวา ทรงประทับอยู่ ยถาภิรนฺตํ ตามความพอพระทัย[12] ราชคเห ในกรุงราชคฤห์ อามนฺเตสิ ตรัสเรียกแล้ว[13]   อายสฺมนฺตํ อานนฺทํ กะท่านพระอานนท์ อิติ ว่า อานนฺท ดูก่อนอานนท์ มยํ เราทั้งหลาย อายาม จะไป, อมฺพลฏฺฐิกา  พระราชอุทยานชื่อว่า อัมพลัฏฐิกา อตฺถิ มีอยู่ เยน = ยตฺถทิสาภาเค ในส่วนแห่งทิศใด, มยํ   เราทั้งหลาย อุปสงฺกมิสฺสาม จะเข้าไป เตน ทิสาภาเคน โดยส่วนแห่งทิศนั้น ดังนี้. อถ โข ครั้งนั้นแล อายสฺมา อานนฺโท ท่านพระอานนท์ ปจฺจสฺโสสิ ทูลรับพระดำรัสแล้ว ภควโต ต่อพระผู้มีพระภาค.  อถ โข ครั้งนั้นแล ภควา พระผู้มีพระภาค อมฺพลฏฺฐิกา พระราชอุทยานชื่อว่า อัมพลัฏฐิกา อตฺถิ มีอยู่ เยน = ยตฺถ ทิสาภาเค ในส่วนแห่งทิศใด, อวสริ  เสด็จไปแล้ว ตํ ทิสาภาคํ สู่ส่วนแห่งทิศนั้น สทฺธิํ พร้อม ภิกฺขุสงฺเฆน กับภิกษุสงฆ์ มหตา หมู่ใหญ่. สุทํ ได้ยินว่า ภควา พระผู้มีพระภาค วิหรนฺโต   เมื่อประทับอยู่ ราชาคารเก ในพระตำหนักหลวง อมฺพลฏฺฐิกายํ ในพระราชอุทยานชื่อว่า อัมพลัฏฐิกา  ตตฺร อปิ (อมฺพลฏฺฐิกายํ) ในพระราชอุทยานชื่อว่าอัมพลัฏฐิกาแม้นั้น กโรติ ย่อมทรงกระทำ กถํ ซึ่งพระดำรัส ธมฺมิํ อันประกอบด้วยธรรม เอตํ นี้ เอว นั่นเทียว ภิกฺขูนํ แก่ภิกษุทั้งหลาย พหุลํ = ปุนปฺปุนํ บ่อยๆอิติ ว่า สีลํ ศีล อิติ เป็นอย่างนี้และมีเท่านี้, สมาธิ สมาธิ อิติ เป็นอย่างนี้และมีเท่านี้, ปญฺญา อิติ เป็นอย่างนี้และมีเท่านี้. สมาธิ สมาธิ สีลปริภาวิโต อันศีลให้เกิดโดยประการทั้งปวงแล้ว มหปฺผโล  เป็นคุณชาตมีผลมาก มหานิสํโส เป็นคุณชาตมีอานิสงส์มาก โหติ ย่อมเป็น. ปญฺญา ปัญญา สมาธิปริภาวิตา อันสมาธิทำให้มีโดยประการทั้งปวงแล้ว มหปฺผลา เป็นคุณชาตมีผลมาก มหานิสํสา เป็นคุณชาตมีอานิสงส์มาก โหติ ย่อมเป็น. จิตฺตํ จิต ปญฺญาปริภาวิตํ อันปัญญาให้เกิดโดยประการทั้งปวงแล้ว วิมุจฺจติ ย่อมหลุดพ้น สมฺมา เอว โดยชอบนั่นเทียว อาสเวหิ จากอาสวะทั้งหลาย เสยฺยถิทํ คือ กามาสวา กามาสวะ, ภวาสวา ภวาสวะ อวิชฺชาสวา อวิชชาสวะ.

๑๔๔. อถ โข ภควา อมฺพลฏฺฐิกายํ ยถาภิรนฺตํ วิหริตฺวา อายสฺมนฺตํ อานนฺทํ อามนฺเตสิ – ‘‘อายามานนฺท, เยน นาฬนฺทา เตนุปสงฺกมิสฺสามา’’ติฯ ‘‘เอวํ, ภนฺเต’’ติ โข อายสฺมา อานนฺโท ภควโต    ปจฺจสฺโสสิฯ อถ โข ภควา มหตา ภิกฺขุสงฺเฆน สทฺธิํ เยน นาฬนฺทา ตทวสริ, ตตฺร สุทํ ภควา นาฬนฺทายํ วิหรติ ปาวาริกมฺพวเนฯ

๑๔๔. อถ โข ลำดับต่อจากนั้น แล ภควา พระผู้มีพระภาค วิหริตฺวา ทรงประทับอยู่  ยถาภิรนฺตํ ตามความพอพระทัย อมฺพลฏฺฐิกายํ ในพระราชอุทยานชื่อว่าอัมพลัฏฐิกา อามนฺเตสิ  ตรัสเรียกแล้ว อายสฺมนฺตํ อานนฺทํ กะท่านพระอานนท์ อิติ ว่า อานนฺท ดูก่อนอานนท์ มยํ เราทั้งหลาย อายาม จะไป, นาฬนฺทา พระนครชื่อว่า นาฬันทา อตฺถิ มีอยู่ เยน = ยตฺถทิสาภาเค ในส่วนแห่งทิศใด, มยํ เราทั้งหลาย อุปสงฺกมิสฺสาม จะเข้าไป เตน ทิสาภาเคน โดยส่วนแห่งทิศนั้น ดังนี้. อถ โข ครั้งนั้นแล อายสฺมา อานนฺโท ท่านพระอานนท์ ปจฺจสฺโสสิ ทูลรับพระดำรัสแล้ว ภควโต ต่อพระผู้มีพระภาค   อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เอวํ พระเจ้าข้า ดังนี้.   อถ โข ครั้งนั้นแล ภควา พระผู้มีพระภาค นาฬนฺทา พระนครชื่อว่า นาฬันทา อตฺถิ มีอยู่ เยน = ยตฺถ    ทิสาภาเค ในส่วนแห่งทิศใด,  อวสริ  เสด็จไปแล้ว ตํ ทิสาภาคํ  สู่ส่วนแห่งทิศนั้น  สทฺธิํ  พร้อม ภิกฺขุสงฺเฆน ด้วยภิกษุสงฆ์  มหตา หมู่ใหญ่. สุทํ ได้ยินว่า ภควา พระผู้มีพระภาค วิหรติ ทรงประทับอยู่ ปาวาริกมฺพวเน ในป่ามะม่วงชื่อว่า ปาวาริกะ ตตฺร ในเมืองนาฬันทานั้น.

***************************






คำชี้แจง

[1] ธมฺมี กถา เป็นศัพท์ตัทธิตมาจาก ธมฺม + อี = ธมฺมี มีคำแปลอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามควรแก่อรรถของ อีปัจจัยนี้ เช่น
ก. ธมฺมสํยุตฺตา ธมฺมี. (ที.อ. ๒/๒)
ถ้อยคำ อันประกอบด้วยธรรม ชื่อว่า ธมฺมี
ข. ธมฺมูปสญฺหิตฺตา ธมฺมโต อนเปตาติ ธมฺมี (ที.ฎี.๒/๒)
ถ้อยคำอันไม่ปราศจากธรรม เพราะประกอบมั่นคงด้วยธรรม ชื่อว่า ธมฺมี
ค. ธมฺเมน ยุตฺตา (สี. ฎี ๑/๖๘)
คำพูดอันประกอบด้วยธรรม ชื่อว่า ธมฺมี
ง. ธมฺมสฺส ปติรูปา (สี. ฎี ๑/๖๘)
คำพูดอันควรแก่ธรรม ชื่อว่า ธมฺมี
[2] พหุลํ ในที่นี้ มีความหมายว่า ปุนปฺปุนํ โดยแปลเป็นกิริยาวิเสสนะของ กโรติ. เมื่อว่าโดยสัททัตถนัย พหุลํ แยกเป็น พหุ + ลา ถือเอา + อ ปัจจัยในกัตตุสาธนะ วิเคราะห์ว่า พหุํ ลาติ คณฺหาตีติ พหุโล ถือเอาสิ่งนั้นมาก (นิรุตติทีปนี  ๗๘๔) หมายความว่า มีสิ่งของเป็นอันมาก. เหตุผลในการที่ทรงโอวาทภิกษุในช่วงนี้บ่อยๆ เพราะอีกเพียงแค่๑ปีเศษๆ พระองค์จักเสด็จปรินิพพาน.  เมื่อว่าโดยสัททัตถนัย พหุลํ แยกเป็น พหุ + ลา ถือเอา + อ ปัจจัยในกัตตุสาธนะ วิเคราะห์ว่า พหุํ ลาติ คณฺหาตีติ พหุโล ถือเอาสิ่งนั้นมาก (นิรุตติทีปนี  ๗๘๔) หมายความว่า มีสิ่งของเป็นอันมาก.
[3] ศีลในที่นี้ได้แก่ จตุปาริสุทธิศีล ๔ ที่เป็นโลกิยะ ซึ่งเป็นธรรมที่สั่งสมไว้โดยเป็นปัจจัยแก่มรรค
[4] อิติ ศัพท์ในที่นี้มี ๒ อรรถรวมกัน คือ อรรถปการ แปลว่า มีลักษณะเช่นนี้ และ มีอรรถปมาณ แปลว่า เท่านี้  หมายถึง ไม่มากกว่านี้ ดังคัมภีร์อรรถกถาอธิบายว่า เอวํ สีลํ, เอตฺตกํ สีลํ. ศีลเป็นอย่างนี้, ศีลมีเท่านี้. ดังนี้เป็นต้น
[5] สมาธิ ได้แก่ เอกัคคตาจิต อันเป็นธรรมที่สั่งสมไว้เพื่อมรรค. ส่วนปัญญา ได้แก่ วิปัสสนาปัญญา.
[6] หมายถึง ทำให้เกิดโดยประการทั้งปวง ตามที่พระฎีกาจารย์อธิบายว่า ปริภาวิโตติ เตน สีเลน สพฺพโส ภาวิโต สมฺภาวิโต ความหมายคือ พระโยคีท.ดำรงอยู่ในศีลใด อันเป็นปทัฏฐานแก่โลกุตรกุศล แล้วทำมรรคสมาธิ และ ผลสมาธิ ให้เกิดขึ้น, สมาธินั้น อันศีลนั้นทำให้เกิดขึ้นโดยประการทั้งปวง จึงชื่อว่า สีลปฺปภาวิโต ชื่อว่า อันศีลอมรมแล้ว. แม้ปัญญาที่สมาธิอบรมแล้ว ก็มีนัยนี้.
[7] ความมีผลมากของสมาธิกล่าวคือ มรรคสมาธิและผลสมาธิ ในทีนี้ คือ มีสามัญญผลเป็นผล, มีอานิสงส์มาก คือ การทำวัฏฏทุกข์ให้สงบลง, (ดับทุกข์ในวัฏฏะ). นัยอื่นอีก มีผลมาก ก็เพราะมีปฏิปัสสัทธิปหานเป็นผล, มีอานิสงส์มาก ก็เพราะการบรรลุถึงสุขคือความดับทุกข์.
[8] ปัญญาที่สมาธิอันเป็นปาทกฌานและวุฏฐานคามินีสมาธิ อบรมแล้วมีผลมาก ได้แก่ มรรคปัญญาและผลปัญญา. สำหรับความมีผลมากของปัญญาได้แก่ เป็นเหตุแห่งประเภทธรรมคือโพชฌังคมัคคังคและฌานังคะ, ความมีอานิสงส์มาก ได้แก่ เป็นเหตุของการจำแนกทักขิเณยยบุคคลเป็น ๗ ประเภท.
[9] จิตในที่นี้ได้แก่ มรรคจิตและผลจิต. ส่วนปัญญาที่อบรมมรรคจิตและผลจิตได้แก่ วิปัสสนาปัญญา หรือสมาธิวิปัสสนาปัญญา เพราะสำหรับสมถยานิก ปัญญาที่ีสหรคตด้วยสมาธิ ชื่อว่า เป็นปัจจยพิเศษโดยเฉพาะ เพื่อการบรรลุมรรค.
[10] หลุดพ้นโดยชอบ ในที่นี้ หมายถึง หลุดในขณะแห่งอรหัตตมรรค เพราะแม้เพียงเสี้ยวหนึ่งของอาสวะทั้งหลายย่อมไม่มีเหลือ ดังนั้น พระฎีกาจารย์ จึงไข สมฺมเทว ว่า สุฏฺฐุ ด้วยดี ได้แก่ สพฺพโส โดยประการทั้งปวง (เสร็จสมบูรณ์).
[11] เสยฺยถีทํ ในที่นี้ แปลเป็นนิบาตใช้ได้สองอรรถคือ ปุจฉนัตถนิบาต แปลว่า อย่างไรนี้ และ เป็นนิยมัตถหรือวิภาชนัตถนิบาต คือ กำหนดอรรถที่ยังไม่ได้กำหนดและจำแนกอรรถที่ยกขึ้นไว้ (อนิยมิตนิยมนิกฺขิตฺตอตฺถวิภาชนฏฺเฐ ที.ม.อ.๑๒๒ ตามที่หนังสืออธิบายวากยสัมพันธ์อ้างอิงไว้). ในกรณีที่แปลเป็นปุจฉนัตถนิบาต ดังนี้, วิมุจฺจติ ย่อมหลุดพ้น อาสเวหิ จากอาสวะท., เต อาสวา อาสวะท.เหล่านั้น เสยฺยถีทํ = กตเม อย่างไรนี้, กามาสวา กามาสวะท. ภวาสวา ภวาสวะท. อวิชฺชาสวา อวิชชาสวะท. อิเม เหล่านี้. แต่ในที่นี้แปลเป็นนิยมัตถนิบาต เพราะได้ความกระชับกว่า.
[12] การประทับอยู่ ณ อารามแห่งหนึ่งแล้วจะเสด็จไปยังอีกแห่งหนึ่ง เป็นอัธยาศัยของพระองค์ มิใช่เกิดจากความร้อนรนเพราะความเบื่อเหมือนปุถุชนที่เมื่ออยู่ในสถานที่แห่งหนึ่งนานๆ ก็เบื่อหน่ายใคร่จะย้ายไปอยู่ที่อื่น
[13] อามนฺเตสิ แม้มาจาก มนฺต ที่แปลว่า พูด เช่นเดียวกับ พฺรู, กถ ในการกล่าวเช่นเดียวกัน แต่ มนฺต ใช้ใน ๒ อรรถ คือ คิด และ พูดในที่ใกล้. กรณีนี้ พระอรรถกถาจารย์อธิบาย พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพระอานนท์เถระมากล่าว เพราะท่านอยู่ใกล้พระองค์. ฝ่ายพระเถระ ก็จะไปบอกภิกษุทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลายจงเก็บบาตรและจีวรเถิด, พระผู้มีพระภาคทรงประสงค์จะเสด็จพระดำเนินไปยังที่โน้นๆ.

************************
ขออนุโมทนา
สมภพ สงวนพานิข

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น