สาริปุตฺตสีหนาโท
๑๔๕.
อถ โข อายสฺมา สาริปุตฺโต เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ; อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺตํ อภิวาเทตฺวา เอกมนฺตํ นิสีทิฯ
เอกมนฺตํ นิสินฺโน โข อายสฺมา สาริปุตฺโต ภควนฺตํ เอตทโวจ – ‘‘เอวํปสนฺโน อหํ, ภนฺเต, ภควติ;
น จาหุ น จ ภวิสฺสติ น เจตรหิ วิชฺชติ อญฺโญ สมโณ วา พฺราหฺมโณ วา
ภควตา ภิยฺโยภิญฺญตโร ยทิทํ สมฺโพธิย’’นฺติฯ
การบันลือสีหนาท (กล่าววาจาอาจหาญ) ของพระสารีบุตรเถระ
๑๔๕. อถ โข ลำดับนั้น, ภควา
พระผู้มีพระภาค วิหรติ ทรงประทับอยู่ เยน = ยตฺถ ทิสาภาเค ในส่วนแห่งทิศใด, อายสฺมา สาริปุตฺโต ท่านพระสารีบุตร อุปสงฺกมิ
เข้าไปเฝ้าแล้ว เตน ทิสาภาเคน โดยส่วนแห่งทิศนั้น. อุปสงฺกมิตฺวา
ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว อภิวาเทตฺวา ถวายบังคมแล้ว ภควนฺตํ
ซึ่งพระผู้มีพระภาค นิสีทิ นั่งแล้ว เอกมนฺตํ อย่างสมควร. อายสฺมา
สาริปุตฺโต ท่านพระสารีบุตร นิสินฺโน โข ผู้นั่งแล้ว เอกมนฺตํ
อย่างสมควร อโวจ ได้กราบทูลแล้ว เอตํ (วจนํ) ซึ่งคำนั้น ภควนฺตํ
กะพระผู้มีพระภาค อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อหํ
ข้าพระองค์ เอวํปสนฺโน เป็นผู้มีความเลื่อมใสเช่นนี้[1] ภควติ ในพระผู้มีพระภาค อมฺหิ
ย่อมเป็น, สมโณ วา สมณะ หรือ พฺราหฺมโณ วา หรือว่า พราหมณ์ อญฺโญ อื่น ภิยฺโญภิญฺญตโร[2]
ผู้มีปัญญารู้แจ้งโดยยิ่งกว่า ภควตา กว่าพระผู้มีพระภาค ยทิทํ สมฺโพธิยํ ในพระสัมโพธิญาณ[3] น
อาหุ จ ไม่ได้มีแล้ว ด้วย น ภวิสฺสติ จ จักไม่มีด้วย น วิชฺชติ ย่อมไม่มี
เอตรหิ ในบัดนี้ จ ด้วย ดังนี้.
‘‘อุฬารา โข เต อยํ,
สาริปุตฺต, อาสภี วาจา ภาสิตา, เอกํโส คหิโต, สีหนาโท นทิโต – ‘เอวํปสนฺโน อหํ, ภนฺเต, ภควติ;
น จาหุ น จ ภวิสฺสติ น เจตรหิ วิชฺชติ อญฺโญ สมโณ วา พฺราหฺมโณ วา
ภควตา ภิยฺโยภิญฺญตโร
ยทิทํ สมฺโพธิย’นฺติฯ
ภควา
พระผู้มีพระภาค อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า สาริปุตฺต
ดูกรสารีบุตร อยํ อาสภี วาจา วาจาอาจหาญ[4] นี้ อุฬารา
อันประเสริฐ[5]
เต อันเธอ ภาสิตา กล่าวแล้ว, เอกํโส ส่วนอย่างเดียว เต อันเธอ คหิโต
ถือเอาแล้ว[6] สีหนาโท
การบันลือสีหนาท (การกล่าววาจาประเสริฐ)[7] เต
อันเธอ นทิโต บันลือแล้ว (อิติ) ว่า ภนฺเต
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อหํ ข้าพระองค์ เอวํปสนฺโน
เป็นผู้มีความเลื่อมใสเช่นนี้ ภควติ
ในพระผู้มีพระภาค อมฺหิ ย่อมเป็น, สมโณ วา สมณะ หรือ พฺราหฺมโณ
วา หรือว่า พราหมณ์ อญฺโญ อื่น ภิยฺโญภิญฺญตโร
ผู้มีปัญญารู้แจ้งโดยยิ่งกว่า ภควตา กว่าพระผู้มีพระภาค ยทิทํ สมฺโพธิยํ
ในพระสัมโพธิญาณ น อาหุ จ ไม่ได้มีแล้ว ด้วย น ภวิสฺสติ จ จักไม่มีด้วย
น วิชฺชติ ย่อมไม่มี เอตรหิ ในบัดนี้ จ ด้วย.
‘‘กิํ เต, สาริปุตฺต, เย เต
อเหสุํ อตีตมทฺธานํ อรหนฺโต สมฺมาสมฺพุทฺธา, สพฺเพ เต
ภควนฺโต เจตสา เจโต ปริจฺจ
วิทิตา – ‘เอวํสีลา เต ภควนฺโต อเหสุํ อิติปิ, เอวํธมฺมา เอวํปญฺญา เอวํวิหารี เอวํวิมุตฺตา เต ภควนฺโต อเหสุํ อิติปี’’’ติ?
สาริปุตฺต
ดูก่อนสารีบุตร เย เต สมฺมาสมฺพุทฺธา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท. เหล่าใด อรหนฺโต ผู้ เป็นพระอรหันต์ อเหสุํ ได้มีแล้ว อตีตํ
อทฺธานํ[8]
ในกาลอันล่วงไปแล้ว, ภควนฺโต พระผู้มีพระภาคท. สพฺเพ ทั้งปวง เต
เหล่านั้น[9] (ตยา
อันเธอ) ปริจฺจ กำหนดแล้ว เจโต ซึ่งใจ (เตสํ ภควนฺตานํ
ของพระผู้มีพระภาคท.เหล่านั้น) เจตสา ด้วยใจ วิทิตา รู้แล้ว อิติ
ว่า อิติปิ แม้เพราะเหตุนี้ ภควนฺโต พระผู้มีพระภาคท. เต
เหล่านั้น เอวํสีลา เป็นผู้มีศีลอย่างนี้ อเหสุํ ได้เป็นแล้ว, อิติปิ
แม้เพราะเหตุนี้ ภควนฺโต พระผู้มีพระภาคท.
เต เหล่านั้น เอวํธมฺมา มีธรรมอย่างนี้ อิติปิ
แม้เพราะเหตุนี้, เอวํปญฺญา มีพระปัญญาอย่างนี้ อิติปิ
แม้เพราะเหตุนี้, เอวํวิหารี มีธรรมเครื่องอยู่อย่างนี้, เอวํวิมุตฺตา มีความหลุดพ้นอย่างนี้ อิติปิ แม้เพราะเหตุนี้ อเหสุํ
ได้เป็นแล้ว ดังนี้ กิํ หรือ ดังนี้.[10]
‘‘โน เหตํ, ภนฺเต’’ฯ
สาริปุตฺโต
พระสารีบุตร อาห กราบทูลแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต
ข้าพระองค์ผู้เจริญ หิ ก็ เอตํ วิทิตํ การรู้นั้น (เม
ของข้าพระองค์) โน (อตฺถิ
ย่อมไม่มี).
‘‘กิํ ปน เต, สาริปุตฺต, เย เต ภวิสฺสนฺติ อนาคตมทฺธานํ อรหนฺโต
สมฺมาสมฺพุทฺธา, สพฺเพ เต ภควนฺโต เจตสา เจโต ปริจฺจ วิทิตา –
‘เอวํสีลา เต ภควนฺโต ภวิสฺสนฺติ อิติปิ, เอวํธมฺมา
เอวํปญฺญา เอวํวิหารี เอวํวิมุตฺตา
เต ภควนฺโต ภวิสฺสนฺติ อิติปี’’’ติ?
ภควา พระผู้มีพระภาค
อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า สาริปุตฺต ดูก่อนสารีบุตร ปน
ก็ เย เต สมฺมาสมฺพุทฺธา
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท. เหล่าใด อรหนฺโต ผู้เป็นพระอรหันต์ ภวิสฺสนฺติ จักมี
อนาคตํ อทฺธานํ ในกาลอันยังไม่มาถึง, ภควนฺโต พระผู้มีพระภาคท. สพฺเพ
ทั้งปวง เต เหล่านั้น (ตยา อันเธอ) ปริจฺจ กำหนดแล้ว เจโต
ซึ่งใจ (เตสํ ภควนฺตานํ ของพระผู้มีพระภาคท.เหล่านั้น) เจตสา ด้วยใจ
วิทิตา รู้แล้ว อิติ ว่า ภควนฺโต พระผู้มีพระภาคท. เต
เหล่านั้น เอวํสีลา เป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ภวิสฺสนฺติ จักเป็น อิติปิ แม้เพราะเหตุนี้, ภควนฺโต
พระผู้มีพระภาคท. เต เหล่านั้น เอวํธมฺมา มีธรรมอย่างนี้, อิติปิ แม้เพราะเหตุนี้ เอวํปญฺญา
มีพระปัญญาอย่างนี้, อิติปิ แม้เพราะเหตุนี้ เอวํวิหารี
มีธรรมเครื่องอยู่อย่างนี้, อิติปิ แม้เพราะเหตุนี้ เอวํวิมุตฺตา
มีความหลุดพ้นอย่างนี้ ภวิสฺสนฺติ จักเป็น ดังนี้ กิํ หรือ ดังนี้
‘‘โน เหตํ, ภนฺเต’’ฯ
สาริปุตฺโต
พระสารีบุตร อาห กราบทูลแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต
ข้าพระองค์ผู้เจริญ หิ ก็ เอตํ วิทิตํ การรู้นั้น (เม
ของข้าพระองค์) โน (อตฺถิ
ย่อมไม่มี).
‘‘กิํ ปน เต, สาริปุตฺต, อหํ เอตรหิ อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ เจตสา
เจโต ปริจฺจ วิทิโต – ‘‘เอวํสีโล ภควา อิติปิ, เอวํธมฺโม เอวํปญฺโญ เอวํวิหารี เอวํวิมุตฺโต
ภควา อิติปี’’’ติ?
ภควา พระผู้มีพระภาค
อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า สาริปุตฺต ดูก่อนสารีบุตร ปน ก็
อหํ เราตถาคต สมฺมาสมฺพุทฺโธ
ผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อรหนฺโต เป็นพระอรหันต์ สมาโน มีอยู่ เอตรหิ
ในกาลบัดนี้, (ตยา อันเธอ) ปริจฺจ กำหนดแล้ว เจโต ซึ่งใจ (มยฺหํ
ของเราตถาคต) เจตสา ด้วยใจ วิทิตา รู้แล้ว อิติ ว่า อิติปิ
แม้เพราะเหตุนี้ ภควา พระผู้มีพระภาค เอวํสีลา เป็นผู้มีศีลอย่างนี้
โหติ ย่อมเป็น, อิติปิ แม้เพราะเหตุนี้ ภควา พระผู้มีพระ เอวํธมฺมา
มีธรรมอย่างนี้ อิติปิ แม้เพราะเหตุนี้, เอวํปญฺญา มีพระปัญญาอย่างนี้ อิติปิ
แม้เพราะเหตุนี้, เอวํวิหารี มีธรรมเครื่องอยู่อย่างนี้, เอวํวิมุตฺตา
มีความหลุดพ้นอย่างนี้ อิติปิ แม้เพราะเหตุนี้ โหติ
ย่อมเป็น ดังนี้ กิํ หรือ ดังนี้[11]
‘‘โน เหตํ, ภนฺเต’’ฯ
สาริปุตฺโต
พระสารีบุตร อาห กราบทูลแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต
ข้าพระองค์ผู้เจริญ หิ ก็ เอตํ วิทิตํ การรู้นั้น (เม
ของข้าพระองค์) โน (อตฺถิ
ย่อมไม่มี). [12]
‘‘เอตฺถ จ หิ เต, สาริปุตฺต, อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺเนสุ อรหนฺเตสุ
สมฺมาสมฺพุทฺเธสุ เจโตปริยญาณํ นตฺถิฯ อถ
กิญฺจรหิ เต อยํ, สาริปุตฺต, อุฬารา
อาสภี วาจา ภาสิตา, เอกํโส คหิโต,
สีหนาโท นทิโต – ‘เอวํปสนฺโน อหํ, ภนฺเต, ภควติ; น จาหุ น จ
ภวิสฺสติ น เจตรหิ วิชฺชติ อญฺโญ สมโณ วา พฺราหฺมโณ วา ภควตา ภิยฺโยภิญฺญตโร ยทิทํ
สมฺโพธิย’’’นฺติ?
ภควา พระผู้มีพระภาค
อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า สาริปุตฺต ดูก่อนสารีบุตร หิ ก็ เจโตปริยญาณํ
เจโต-ปริยญาณ (ญาณอันกำหนดรู้ซึ่งใจ)[13] สมฺมาสมฺพุทฺเธสุ
ในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท. อรหนฺเตสุ ผู้เป็นพระอรหันต์ อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺเนสุ
ผู้มีในอดีต อนาคตและปัจจุบัน เอตฺถ จ เหล่านี้ เต ของเธอ นตฺถิ
ย่อมไม่มี, สาริปุตฺต ดูก่อนสารีบุตร อถ =
เอวํ ญาเณ อสติ ครั้นเมื่อญาณ
ไม่มีอยู่ อย่างนี้ กิญฺจรหิ
เพราะเหตุไร
อยํ อาสภี วาจา วาจาอาจหาญ
นี้
อุฬารา อันประเสริฐ เต อันเธอ ภาสิตา กล่าวแล้ว, เอกํโส ส่วนอย่างเดียว เต อันเธอ คหิโต
ถือเอาแล้ว สีหนาโท การบันลือสีหนาท เต อันเธอ นทิโต
บันลือแล้ว (อิติ) ว่า ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อหํ
ข้าพระองค์ เอวํปสนฺโน เป็นผู้มีความเลื่อมใสเช่นนี้ ภควติ ในพระผู้มีพระภาค อมฺหิ
ย่อมเป็น, สมโณ วา สมณะ หรือ พฺราหฺมโณ วา หรือว่า พราหมณ์ อญฺโญ
อื่น ภิยฺโญภิญฺญตโร ผู้มีปัญญารู้แจ้งโดยยิ่งกว่า ภควตา
กว่าพระผู้มีพระภาค ยทิทํ สมฺโพธิยํ ในพระสัมโพธิญาณ น อาหุ จ ไม่ได้มีแล้ว
ด้วย น ภวิสฺสติ จ จักไม่มีด้วย น วิชฺชติ ย่อมไม่มี เอตรหิ
ในบัดนี้ จ ด้วย ดังนี้ ดังนี้.
๑๔๖.
‘‘น โข เม ภนฺเต อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺเนสุ อรหนฺเตสุ
สมฺมาสมฺพุทฺเธสุ เจโตปริยญาณํ อตฺถิ, อปิ จ เม ธมฺมนฺวโย
วิทิโตฯ เสยฺยถาปิ ภนฺเต รญฺโญ ปจฺจนฺติมํ นครํ ทฬฺหุทฺธาปํ ทฬฺหปาการโตรณํ เอกทฺวารํ, ตตฺรสฺส
โทวาริโก ปณฺฑิโต วิยตฺโต เมธาวี อญฺญาตานํ นิวาเรตา ญาตานํ ปเวเสตาฯ โส ตสฺส
นครสฺส สมนฺตา อนุปริยายปถํ อนุกฺกมมาโน น
ปสฺเสยฺย ปาการสนฺธิํ วา ปาการวิวรํ วา, อนฺตมโส พิฬารนิกฺขมนมตฺตมฺปิฯ ตสฺส เอวมสฺส
– ‘เย โข เกจิ
โอฬาริกา ปาณา อิมํ นครํ ปวิสนฺติ วา นิกฺขมนฺติ วา, สพฺเพ
เต อิมินาว ทฺวาเรน ปวิสนฺติ วา นิกฺขมนฺติ วา’ติฯ เอวเมว โข
เม, ภนฺเต, ธมฺมนฺวโย วิทิโต – ‘เย เต, ภนฺเต, อเหสุํ อตีตมทฺธานํ อรหนฺโต
สมฺมาสมฺพุทฺธา, สพฺเพ เต ภควนฺโต ปญฺจ
นีวรเณ ปหาย เจตโส อุปกฺกิเลเส
ปญฺญาย ทุพฺพลีกรเณ จตูสุ สติปฏฺฐาเนสุ สุปติฏฺฐิตจิตฺตา สตฺตโพชฺฌงฺเค ยถาภูตํ
ภาเวตฺวา อนุตฺตรํ สมฺมาสมฺโพธิํ อภิสมฺพุชฺฌิํสุฯ เยปิ เต, ภนฺเต,
ภวิสฺสนฺติ อนาคตมทฺธานํ อรหนฺโต สมฺมาสมฺพุทฺธา, สพฺเพ เต ภควนฺโต ปญฺจ นีวรเณ ปหาย เจตโส
อุปกฺกิเลเส ปญฺญาย ทุพฺพลีกรเณ จตูสุ สติปฏฺฐาเนสุ สุปติฏฺฐิตจิตฺตา สตฺต
โพชฺฌงฺเค ยถาภูตํ ภาเวตฺวา อนุตฺตรํ สมฺมาสมฺโพธิํ อภิสมฺพุชฺฌิสฺสนฺติฯ ภควาปิ,
ภนฺเต, เอตรหิ อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ปญฺจ
นีวรเณ ปหาย เจตโส อุปกฺกิเลเส ปญฺญาย ทุพฺพลีกรเณ จตูสุ
สติปฏฺฐาเนสุ สุปติฏฺฐิตจิตฺโต สตฺต โพชฺฌงฺเค ยถาภูตํ ภาเวตฺวา อนุตฺตรํ
สมฺมาสมฺโพธิํ อภิสมฺพุทฺโธ’’’ติฯ
สาริปุตฺโต
พระสารีบุตร อาห กราบทูลแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เจโตปริยญาณํ เจโตปริยญาณ สมฺมาสมฺพุทฺเธสุ
ในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท. อรหนฺเตสุ ผู้ทรงเป็นพระอรหันต์ อตีตา-นาคตปจฺจุปนฺเนสุ
ที่มีในอดีตอนาคตและปัจจุบัน เม ของข้าพระองค์ น อตฺถิ ย่อมไม่มี
โข โดยแท้, อปิจ แต่ว่า ธมฺมนฺวโย
ความรู้ตามการรู้อย่างประจักษ์ (การถือเอาโดยนัย หรือการรู้โดยเทียบเคียง)[14] เม อันข้าพระองค์ วิทิโต รู้แล้ว[15]. ภนฺเต
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เสยฺยถาปิ เปรียบเหมือนว่า นครํ เมือง ปจฺจนฺติมํ
อันตั้งอยู่ชายแดน รญฺโญ ของพระราชา ทฬฺหุทฺธาปํ มีเชิงเทินมั่นคง[16] ทฬฺหปาการโตรณํ
มีกำแพงและเสาระเนียดมั่นคง เอกทฺวารํ มีประตูเดียว[17] โทวาริโก
นายประตู อสฺส ของพระราชานั้น ปณฺฑิโต เป็นบัณฑิต วิยตฺโต ฉลาด
เมธาวี มีปัญญา[18] นิวาเรตา
ห้ามแล้ว อญฺญาตานํ ซึ่งบุคคลผู้อันตนไม่รู้จักแล้ว ญาตานํ
ยังบุคคลผู้อันตนรู้จักแล้ว ปเวเสตา ให้เข้าไปแล้ว. โส นายประตูนั้น
อนุกฺกม-มาโน เมื่อเดินไปตามลำดับ อนุปริยายปถํ ซึ่งทางเลียบกำแพง สมนฺตา โดยรอบ นครสฺส แห่งเมือง น
ปสฺเสยฺย ไม่พึงเห็น ปาการสนฺธิํ วา ซึ่งรอยต่อแห่งกำแพง หรือ ปาการวิวรํ
วา หรือว่า รอยเจาะแห่งกำแพง พิฬารนิกฺขมนมตฺตํปิ แม้มีประมาณเท่ากับการออกไปของแมว
อนฺตมโส โดยกำหนดมีในที่สุดแห่งสัตว์ทั้งปวงท., จินฺตนํ ความคิด ตสฺส
ของเขา อสฺส[19] พึงมี
เอวํ อย่างนี้ อิติ ว่า เย โข เกจิ ปาณา สัตว์ไรๆ โอฬาริกา
ขนาดใหญ่ ปวิสนฺติ ย่อมเข้า อิมํ นครํ สู่เมืองนี้ วา หรือ นิกฺขมนฺติ
วา หรือว่า ออกไปอยู่, สพฺเพ เต ปาณา สัตว์ท.เหล่านั้นทั้งหมด ปวิสนฺติ
ย่อมเข้า อิมํ นครํ สู่เมืองนี้ วา หรือ นิกฺขมนฺติ
ออกไปอยู่ อิมินา ว ทฺวาเรน ทางประตูนี้เท่านั้น ดังนี้ เสยฺยถาปิ
ฉันใด, ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธมฺมนฺวโย ความรู้ตามการรู้อย่างประจักษ์
เม อันข้าพระองค์ วิทิโต รู้แล้ว เอวํ เอว ฉันนั้น
นั่นเทียว. ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เย เต สมฺมาสมฺพุทฺธา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท.เหล่าใด อรหนฺโต
เป็นพระอรหันต์ อเหสุํ ได้มีแล้ว อตีตํ อทฺธานํ ในกาลอดีต, สพฺเพ
เต ภควนฺโต พระผู้มีพระภาคท.เหล่านั้นทั้ืงปวง
ปหาย ทรงละแล้ว นีวรเณ ซึ่งนิวรณ์ท. ปญฺจ ๕ อุปกฺกิเลเส
อันเป็นกิเลสเหตุมัวหมอง[20] เจตโส
แห่งจิต ปญฺญาย ทุพฺพลีกรเณ เป็นกิเลสสร้างความทุรพลให้แก่ปัญญา[21] สูปติฏฺฐิตจิตฺตา
ทรงเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว สติปฏฺฐาเนสุ ในสติปัฏฐานท. จตูสุ ๔ โพชฺฌงฺเค
ยังโพชฌงค์ท. สตฺต
๗ ภาเวตฺวา ให้เจริญแล้ว ยถาภูตํ ตามความเป็นจริง[22] อภิสมฺพุชฺฌิํสุ
ตรัสรู้แล้ว สมฺมาสมฺโพธิํ ซึ่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ[23] อนุตฺตรํ
อันยอดเยี่ยม. ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เย เต สมฺมาสมฺพุทฺธา
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท. เหล่าใด อรหนฺโต เป็นพระอรหันต์ ภวิสฺสนฺติ
จักมี อนาคตํ อทฺธานํ ในกาล อนาคต, สพฺเพ เต ภควนฺโต พระผู้มีพระภาคท.เหล่านั้นทั้ืงปวง
ปหาย ทรงละแล้ว นีวรเณ ซึ่งนิวรณ์ท. ปญฺจ ๕ อุปกฺกิเลเส อันเป็นกิเลสเป็นเหตุหม่นหมอง
เจตโส แห่งจิต ปญฺญาย ทุพฺพลีกรเณ เป็นกิเลสสร้างความทุรพลให้แก่ปัญญา
สูปติฏฺฐิตจิตฺตา ทรงเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว จตูสุ สติปฏฺฐาเนสุ ในสติปัฏฐานท.
๔ โพชฺฌงฺเค ยังโพชฌงค์ท. สตฺต ๗ ภาเวตฺวา ให้เจริญแล้ว ยถาภูตํ ตามความเป็นจริง อภิสมฺพุชฺฌิสฺสนฺติ
จักตรัสรู้ สมฺมาสมฺโพธิํ ซึ่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ อนุตฺตรํ
อันยอดเยี่ยม. ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภควาปิ แม้พระผู้มีพระภาค
อรหํ ผู้ทรงเป็นพระอรหันต์ สมฺมาสมฺพุทฺโธ
ตรัสรู้โดยชอบด้วยพระองค์เอง เอตรหิ
ในบัดนี้ ปหาย ทรงละแล้ว นีวรเณ
ซึ่งนิวรณ์ท. ปญฺจ ๕ อุปกฺกิเลเส อันเป็นกิเลสเหตุมัวหมอง เจตโส
แห่งจิต ปญฺญาย ทุพฺพลีกรเณ เป็นกิเลสสร้างความทุรพลให้แก่ปัญญา สูปติฏฺฐิตจิตฺตา
ทรงเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว สติปฏฺฐาเนสุ ในสติปัฏฐานท. จตูสุ ๔ โพชฺฌงฺเค
ยังโพชฌงค์ท. สตฺต ๗ ภาเวตฺวา
ให้เจริญแล้ว ยถาภูตํ ตามความเป็นจริง อภิสมฺพุทฺโธ ตรัสรู้แล้ว สมฺมาสมฺโพธิํ
ซึ่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ อนุตฺตรํ อันยอดเยี่ยม ดังนี้[24].
๑๔๗.
ตตฺรปิ สุทํ ภควา นาฬนฺทายํ วิหรนฺโต ปาวาริกมฺพวเน เอตเทว พหุลํ ภิกฺขูนํ ธมฺมิํ กถํ กโรติ – ‘‘อิติ สีลํ, อิติ สมาธิ, อิติ
ปญฺญาฯ สีลปริภาวิโต สมาธิ มหปฺผโล โหติ มหานิสํโสฯ สมาธิปริภาวิตา ปญฺญา มหปฺผลา
โหติ มหานิสํสาฯ ปญฺญาปริภาวิตํ จิตฺตํ สมฺมเทว อาสเวหิ วิมุจฺจติ, เสยฺยถิทํ – กามาสวา, ภวาสวา,
อวิชฺชาสวา’’ติฯ
สุทํ
ได้ยินว่า ภควา พระผู้มีพระภาค วิหรนฺโต เมื่อประทับอยู่ ปาวาริกมฺพวเน ในปาวาริกัมพวัน
นาฬนฺทายํ ในเมืองชื่อว่า นาฬันทา ตตฺร ปิ แม้นั้น กโรติ
ย่อมทรงกระทำ กถํ ซึ่งพระดำรัส ธมฺมิํ อันประกอบด้วยธรรม เอตํ นี้ เอว
นั่นเทียว ภิกฺขูนํ แก่ภิกษุทั้งหลาย พหุลํ =
ปุนปฺปุนํ
บ่อยๆ อิติ ว่า สีลํ ศีล อิติ เป็นอย่างนี้และมีเท่านี้, สมาธิ
สมาธิ อิติ เป็นอย่างนี้และมีเท่านี้, ปญฺญา อิติ
เป็นอย่างนี้และมีเท่านี้. สมาธิ สมาธิ สีลปริภาวิโต
อันศีลให้เกิดโดยประการทั้งปวงแล้ว มหปฺผโล เป็นคุณชาตมีผลมาก มหานิสํโส เป็นคุณชาตมีอานิสงส์มาก
โหติ ย่อมเป็น. ปญฺญา ปัญญา
สมาธิปริภาวิตา อันสมาธิทำให้มีโดยประการทั้งปวงแล้ว มหปฺผลา
เป็นคุณชาตมีผลมาก มหานิสํสา เป็นคุณชาตมีอานิสงส์มาก โหติ
ย่อมเป็น. จิตฺตํ จิต ปญฺญาปริภาวิตํ
อันปัญญาให้เกิดโดยประการทั้งปวงแล้ว วิมุจฺจติ
ย่อมหลุดพ้น สมฺมา เอว โดยชอบนั่นเทียว อาสเวหิ
จากอาสวะทั้งหลาย เสยฺยถิทํ คือ กามาสวา
กามาสวะ, ภวาสวา ภวาสวะ อวิชฺชาสวา อวิชชาสวะ.
**************
[1]
เอวํปสนฺโน
เป็นบทสมาสวิเคราะห์ว่า เอวํ อีทิโส ปสนฺโน เอวํปสนฺโน เป็นผู้มีความเลื่อมใสแล้ว.
ปสนฺโน เป็นบทลงต ปัจจัยลงในกัตตุสาธนะ
ดังพระอรรถกถาจารย์อธิบายเป็นตติยาพหุพพีหิสมาสว่า อุปฺปนฺนสทฺโธ
มีศรัทธาอันเกิดแล้ว ซึ่งหมายถึง ตัวบุคคลผู้เกิดศรัทธา
เหมือนกิตบทคือปสนฺโนที่ประกอบด้วย ตปัจจัยอันแสดงถึงตัวบุคคลผู้เลื่อมใส.
และอาขยาตบทกัตตุวาจกว่า เอวํ สทฺทหามิ ข้าพระองค์ย่อมเชื่อ อย่างนี้. นอกจากนี้
ตปัจจัยนี้ยังเป็นปัจจุบันกาลด้วย พระฎีกาจารย์อธิบายว่า คำว่า ปสนฺโน นี้แสดงให้เห็นว่ากำลังเกิดความเลื่อมใส
(ที.ม.อ.,-ฎี ๑๔๕). คัมภีร์สัททนีติกล่าวว่า ตปัจจัย ในกัตตุสาธนะ สามารถลงได้ถึง
๓ กาล เช่น สพฺเพ สงฺขตาสงฺขตสมฺมุติเภเท ธมฺเม พุชฺฌติ อพุชฺฌิ พุชฺฌิสฺสตีติ
พุทฺโธ. พระผู้มีพระภาคพระองค์ใด ย่อมตรัสรู้ ตรัสรู้แล้ว จักตรัสรู้ธรรมทั้งปวงอันมีประเภทแห่งสังขตธรรม,อสังขตธรรม และบัญญัติ เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงพระนามว่า
พุทฺธ (นีติ.สุตฺต ๑๑๔๔. พุธคมาทีหิ สพฺพตฺถ กตฺตริ.
ลง ต ปัจจัยท้าย พุธ และ คมุ ธาตุเป็นต้นในกาลทั้งปวงในกัตตุสาธนะ).
[2]
ภิยฺโยภิญฺญตโร ผู้รู้ยิ่งอย่างพิเศษเลิศล้ำกว่าพระผู้มีพระภาค
แยกเป็น ภิยฺโย+อภิญฺโญ+ตร วิเคราะห์ตามลำดับดังนี้
อภิญฺญายตีติ
อภิญฺโญ ผู้รู้ (อภิ + ญา + อ)
ภิยฺโย อธิโก อภิญฺโญ พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้โดยยิ่ง
ชื่อว่า ภิยฺโยภิญฺโญ (ภิยฺโย + อภิญฺโญ)
อยมสฺส
วิเสเสน ภิยฺโยภิญฺโญ ภิยฺโยภิญฺญตโร
ผู้รู้โดยยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาคผู้รู้ยิ่งนั้น. (ภิยฺโยภิญฺญ +
ตร)
อีกนัยหนึ่ง
ผู้มีญาณอันยิ่งอย่างพิเศษเลิศล้ำกว่าพระผู้มีพระภาค แยกเป็น ภิยฺโย+อภิญฺญ+ตร. วิเคราะห์ว่า
อภิชานาตีติ
อภิญฺญา อภิญฺญา คือ ธรรมที่รู้ยิ่ง ได้แก่ ปัญญาอันพิเศษ.
ภิยฺโย
อภิญฺญา เอตสฺสาติ อภิญฺโญ ปัญญาพิเศษ อย่างยิ่ง ของพระผู้มีพระภาคนั้น มีอยู่
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคชื่อว่า ภิยฺโยภิญฺโญ ผู้มีปัญญาพิเศษอย่างยิ่ง,
โส อยํ
อสฺส อติสโย อภิญฺญาย ภิยฺโยภาวกโต
ผู้มีภิยโยภาพอันกระทำแล้วในปัญญาอันยิ่งอย่างเลิศล้ำกว่าพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น.
พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า
ภิยฺยตโร อภิญฺญาโต ผู้รู้โดยยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาค ชื่อว่า ภิยฺโยภิญฺญตโร
อีกนัยหนึ่ง ,
ภิยฺยตราภิญฺโญ วา, อุตฺตริตรญาโณ
ผู้มีปัญญาโดยยิ่งกว่า คือ มีญาณโดยเหนือกว่าพระผู้มีพระภาค
[3]สมฺโพธิ
ในคำว่า สมฺโพธิญาณํ วิเคราะห์ว่า สมฺพุชฺฌติ เอตายาติ สมฺโพธิ
พระญาณเป็นเหตุตรัสรู้ คือ สัมโพธิ. ได้แก่ พระสัพพัญญุตญาณหรืออรหัตตมัคคญาณ. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงบรรลุพุทธคุณทั้งปวง
ก็ด้วยอรหัตตมัคคญาณ. เพราะพระสัพพัญญุตญาณและพระพุทธคุณทั้งสิ้นย่อมสำเร็จด้วยอรหัตตมรรคญาณนั้นนั่นเอง.
เพราะฉะนั้น จึงไม่มีผู้ที่ยิ่งกว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยอรหัตตมรรคญาณนั้น (ที.ม.อ.๑๔๕).
พระฎีกาจารย์อธิบายว่า คือ พระสัพพัญญุตญาณและพระอรหัตตมรรคญาณทั้งสอง เพราะญาณทั้งสองต่างมีความสัมพันธ์โดยความเป็นเหตุผลของกันและกัน
กล่าวคือ พระสัพพัญญุตญาณมีอรหัตตมัคคญาณเป็นปทัฏฐาน และอรหัตตมัคคญาณก็เป็นปทัฏฐานของพระสัพพัญญุตญาณ.
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ถ้าจะหมายถึงพระสัพพัญญุตญาณ
ก็จะหมายถึงพระญาณอันเป็นประธานของญาณทั้งปวง.และถ้าหมายถึงพระอรหัตตมรรคญาณ
หมายถึงพระญาณอันเป็นปทัฏฐาน. ส่วน
ยทิทํ เป็นเพียงนิบาต ไม่มีความหมาย.
[4]
ฉบับสยามรัฐ
เป็น อาสภิวาจา. ในที่นี้คงปาฐะตามฉบับมหาจุฬาและฉบับฉัฏฐสังคายนา. อาสภี วาจา หมายถึง คำพูด
ที่อาจหาญมั่นคงไม่หวั่นไหวของพระสารีบุตรเถระ เหมือนความอาจหาญของโคอุสภะ. อาสภี
เดิมเป็น อาสภ เป็นบทวิเสสนะเป็นไปในลิงค์ทั้งสามและเมื่อเป็นวิเสสนะของ วาจา
ที่เป็นอิตถีลิงค์จึงลงอีปัจจัยเป็น อาสภี โดยมีการสำเร็จรูปตามลำดับดังนี้
อุสภสฺส
ฐานํ อิทํ อาสภํ นี้เป็นฐานะของโคอุสภะ ชื่อว่า อาสภํ. ลง ณปัจจัยในอรรถนี้เป็นของสิ่งนั้น (ตัสเสทตัทธิต)
ตามสูตร ณ ราคา เตนรตฺตํ ตสฺเสทมญฺญตฺเถสุ จ (รู.๓๗๖) แปลง อุ ของ
อุสภ ศัพท์ เป็น อา เพราะ ณปัจจัยข้างหลัง (อาสภํ). ตามสูตร อาตฺตญฺจ. (รู.๓๗๗). ได้แก่
สูรตฺตํ ความอาจหาญ.
อาสภํ
วิย อาสภี (วาจา) เหมือนอาสภ ชื่อว่า อาสภี
วาจาที่อาจหาญเหมือนความอาจหาญของโคอุสภะ. ลง ณ ปัจจัยในอรรถอุปมา ท้าย อาสภ ศัพท์
และ ลง อีอิตถีโชตกปัจจัย เพื่อต้องการให้เป็นอิตถีลิงค์ตาม วาจา ที่เป็นวิเสสยะ.
ดังคัมภีร์อรรถกถาและฎีกาวิเคราะห์ว่า
อุสภสฺส อยนฺติ อาสภี นี้เป็นของโคอุสภะ ชื่อว่า อาสภี. อาสภี วิยาติ อาสภี. เหมือนอาสภี ชื่อว่า อาสภี ได้แก่
วาจาเสมอด้วยความอาจหาญของโคอุสภะ. (ที.ม.ฎี.๑๔๔)
อีกนัยหนึ่ง
มาจาก อาสภ + ณ ตัสสเสทตัทธิต = อาสภ และ ลง อีปัจจัยอัสสัตถิตัทธิต
วิเคราะห์ว่า
อุสภสฺส
อิทนฺติ หิ อาสภํ,
สูรภาโว, เตน ยุตฺตตฺตา ปนายํ วาจา ‘‘อาสภี’’ติ วุจฺจติฯ (สี.ฎี.๑)
นี้เป็นของโคอุสภะ
ชื่อ อาสภะ คือ ความอาจหาญ, วาจานี้ ชื่อ อาสภี เพราะประกอบด้วยความอาจหาญนั้น.
[5]
อุฬาร
ศัพท์ในที่นี้มีอรรถ เสฏฺฐ ประเสริฐ ในบรรดาอรรถทั้งหลายว่า มธุร หวาน, เสฏฺฐ
ประเสริฐ, วิปุล กว้างใหญ่.
[6]
เอกํโส
คหิโต
หมายถึง สนฺนิฏฺฐานกถาว กถิตา กล่าวคำยืนยันอย่างแน่นอน
เหมือนกับว่าได้บรรลุสิ่งนั้นด้วยปัญญาเห็นประจักษ์
โดยไม่ถือเอาเหตุอย่างอื่นมีการฟังตามมาเป็นต้น. คัมภีร์ฎีกากล่าวว่า
เมื่อพระเถระกล่าวถึงพุทธวิสัยเหมือนกับที่ท่านบรรลุพุทธวิสัยด้วยญาณเห็นประจักษ์
ดังนั้น
คำนี้จึงเป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคผู้ดำรงอยู่ในพุทธวิสัยแล้วตรัสเตือนพระเถระ
และคำพูดแบบนี้ก็ไม่ใช่วิสัยของพระเถระ.
[7]
สีหนาท
แยกศัพท์เป็น สีห ประเสริฐ + นาโท การบันลือ (เปล่งเสียงดังกึกก้อง) พึงทราบว่า
ศัพท์เหล่านี้คือ สีห พฺยคฺฆ คโว นาคเป็นต้น เมื่ออยู่ในสมาสกล่าวอรรถประเสริฐ
ไม่กล่าวอรรถเดรัจฉานมีราชสีห์เป็นต้น ดังนั้น จึงแปลว่า เสียงบันลืออันประเสริฐ.
อีกนัยหนึ่ง เป็นการบันลือที่สูงส่งเหมือนดังราชสีห์ที่ว่องไว อาจหาญ
เปล่งเสียงฉะนั้น.
คำนี้จึงเป็นอุปมาตัทธิต วิเคราะห์ว่า สีหนาโท วิย สีหนาโท.
การบันลืออันประเสริฐเหมือนกับการบันลือของราชสีห์ประเสริฐ.
[8]
อตีตมทฺธานํ =
อตีเต อทฺธาเน ในกาลอันเป็นส่วนอดีต ทุติยาวิภัตติในที่นี้ลงในอรรถสัตตมีวิภัตติ
ที่เป็นกาลสัตตมี (รู. ๒๙๐ ตติยาสตฺตมีนญฺจ) . และคัมภีร์ชาตกัฏฐกถา
ได้อธิบายศัพท์เป็น อตีตมทฺธานนฺติ อตีเต อทฺธาเน. (ชา.อ.๑/๕๐) แม้ในคำว่า
อนาคตมทฺธานํ ก็มีนัยเดียวกัน.
[9]
สพฺเพ
เต
เพิ่ม อตีเต นิรุทฺเธ สมฺมาสมฺพุทฺเธ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงดับขันธ์ปรินิพพานในอดีต. ด้วยคำนี้ทรงแสดงว่า “พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใด
ได้มีแล้วในอดีตกาล ขั้นต่ำโดยอภินีหารของเธอ, เธอพึงรู้ซึ่งความเป็นไปของโลกิยจิตของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นได้
เหมือนอย่างที่พวกปุถุชนมีมารเป็นต้นพอที่จะกำหนดธรรมอันเป็นที่เที่ยวของญาณของพระสาวกเหล่านั้นได้.
ทว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใด ในอดีตกาลอย่างยิ่ง เบื้องหน้าแต่การกำหนดขั้นต่ำโดยอภินิหารของเธอนั้น
ผู้มีกุศลและอกุศลกัมมวัฏฏะอันตัดแล้ว มีปปัญจธรรมอันตัดแล้ว
มีกัมมวัฏฏะทั้งปวงอันสิ้นแล้ว ผู้ก้าวล่วงทุกข์ทั้งปวง, เธอจักรู้ธรรมมิใช่วิสัยของสาวกญาณแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น
อย่างไร. (ที.ปา.ฎี.๑๔๒)
[10]พระผู้มีพระภาคทรงตั้งปัญหาย้อนถามปรารภการบันลือสีหนาทของพระเถระเพื่อให้ท่านแก้.
เพราะบางคนเมื่อบันลือสีหนาท แต่เมื่อถูกย้อนถามก็ไม่สามารถตอบคำถามได้
ย่อมไม่อดทนต่อการเสียดสี วุ่นวายสับสนเหมือนลิงติดตัง เหมือนดังถ่านแดงที่กลายมาจากโลหะไม่บริสุทธิ์อันเขาเผาอยู่
ฉะนั้น. แต่พระเถระอดทนต่อการเสียดสี
สามารถแก้ปัญหาที่ถูกย้อนถามในการบันลือสีหนาทได้
เหมือนทองคำที่หลอมดีงดงามยิ่งฉะนั้น.
[11]
ข้อความเหล่านี้พึงทราบตามคัมภีร์อรรถกถาและฎีกาอรรถาธิบายดังนี้.
“จะกล่าวถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงปรินิพพานแล้วก่อน, พระผู้มีพระภาค
เมื่อจะตรัสถามว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท. ผู้ทรงถึงความหาบัญญัติมิได้ ดับแล้วเหมือนเปลวประทีปดับแล้วฉะนั้น,เธอจักรู้ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น
ผู้ถึงความหาบัญญัติมิได้อย่างนี้ ได้อย่างไร,
ส่วนคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตท.
อันเธอกำหนดแล้วด้วยจิตของตนแล้วรู้ได้ละหรือ? ดังนี้ จึงตรัสอย่างนี้ว่า กิํ
ปน เต สาริปุตฺต เย เต ภวิสฺสนฺติ ดูก่อนสารีบุตร เธอ ฯลฯ ได้หรือ?.
พระผู้มีพระภาค เมื่อจะทรงซักถามว่า
แม้พระพุทธเจ้าท. ในอนาคต ยังไม่ประสูติ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เสด็จอุบัติ
เธอจักรู้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นได้หรือ? เพราะ
การรู้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น ย่อมเป็นเหมือนการดูรอยเท้าในอากาสอันไม่ใช่หนทาง.
บัดนี้ เธออยู่ในวิหารเดียวกัน, ไปบิณฑบาตด้วยกันกับเรา,
นั่งอยู่เบื้องขวาของเราในเวลาที่แสดงธรรม, ก็ เธอกำหนดคุณของเราด้วยจิตของตนรู้ได้หรือ
ดังนี้ จึงตรัสอย่างนี้ว่า ”กิํ ปน สาริปุตฺต อหํ เอตรหิ” (อรรถกถา)
ปน
ศัพท์ในคำว่า อนาคตพุทฺธานํ ปน นี้แสดงอรรถวิเสสะ (แตกต่าง) แปลว่า แต่ว่า,
ด้วย ปน ศัพท์นั้น ย่อมแสดงว่า เพราะขันธ์ได้มีแล้ว
การที่ญาณเป็นไปในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอดีต อันเป็นวิสัยของตน พึงมีได้ก่อน,
แต่ว่า ญาณจะเป็นไปในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต
ผู้ยังไม่เสด็จอุบัติโดยประการทั้งปวง พึงมีได้อย่างไร ดังนั้น พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวว่า อนาคตาปิ แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตกาล
ดังนี้เป็นต้นไว้.
ถามว่า เพราะเหตุไร พระอรรถกถาจารย์
จึงใช้คำว่า “กำหนดด้วยใจแล้วรู้” จิตอันเป็นไปภายใน ๗
วันเท่านั้นไม่ว่าอดีตหรืออนาคต ย่อมเป็นอารมณ์ของเจโตปริยญาณ มิใช่หรือ,
จะไม่มีมากไปกว่านี้ ?
ตอบ ข้อนี้ท่านมิได้กล่าวถึงกิจของเจโตปริยญาณ
แต่กล่าวไว้ด้วยอำนาจของปุพพเพนิวาสานุสติและอนาคตังสญาณ. ดังนั้น
จึงไม่ใช่ข้อผิดพลาดอะไร. (ฎีกา)
[12]
พระอรรถกถาจารย์และพระฎีกาจารย์อธิบายว่า
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามแล้วอย่างนี้ๆแล้ว
พระเถระจึงปฏิเสธว่า “โน เหตํ ภนฺเต”.
ถามว่า แม้สิ่งที่พระเถระรู้ ก็มี,
ที่ไม่รู้ ก็มี, พระเถระปฏิเสธในสิ่งที่ท่านรู้หรือในที่สิ่งที่ท่านไม่รู้.
ตอบว่า ไม่ปฏิเสธ ในสิ่งที่ท่านรู้,
และปฏิเสธในสิ่งที่ท่านไม่รู้เท่านั้น.
ได้ยินว่า
เมื่ือพระผู้มีพระภาคทรงเริ่มการซักถามนั่นเทียว พระเถระก็ได้ทราบแล้ว. ท่านมิได้ปฏิเสธในสาวกบารมีญาณของตนแล้วปฏิเสธในพระสัพพัญญุตญาณอันเป็นสิ่งที่ตนไม่รู้
ดังนี้ว่า นี้ไม่ใช่คำถามในสาวกบารมีญาณ, นี้เป็นคำถามในสัพพัญญุตญาณ. ด้วยคำว่า โน เหตํ ภนฺเต นี้
พระเถระได้แสดงเนื้อความแม้นี้ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ ไม่มีสัพพัญญุตญาณ
อันสามารถกำหนดรู้เหตุ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุตติของพระพุทธเจ้าท. ในอดีต
อนาคตและปัจจุบัน”
พระฎีกาจารย์อธิบายเพิ่มเติมว่า
พระเถระไม่ปฏิเสธในสิ่งที่ท่านรู้
เพราะการปฏิเสธเช่นนั้น อันสิกขาบทนั่นเทียวห้ามไว้ และเพราะการละกิเลสได้เด็ดขาด.
ถามว่า ทำไมท่านปฏิเสธในสิ่งทั้งสองนั่นเทียว,
ไม่แยกตอบ ดังนั้น พระอรรถกถาจารย์ จึงชี้แจงว่า ได้ยินว่า พระเถระ
ไม่ปฏิเสธในสาวกบารมีญาณแล้วปฏิเสธในพระสัพพัญญุตญาณ.
คำว่า สาวกบารมีญาณ
มีวิเคราะห์ตามลำดับดังนี้
ปารํ ปริยนฺตํ มิโนตีติ ปารมี คำว่า
บารมี ได้แก่ ธรรมอันถึงซึ่งฝั่งคือที่สุด (ปารํ ฝั่่ง + มิ + อีปัจจัย) คือ ปัญญา
สา เอว ญาณํ ปารมิญาณํ. บารมี ก็คือ
ปัญญา (เพราะเป็นธรรมอันถึงที่สุด) คือ บารมีญาณ
สาวกานํ ปารมิญาณํ สาวกปารมิญาณํ
บารมีคือปัญญา ของพระสาวก คือ สาวกบารมีญาณ.
คำถามในสาวกบารมีญาณ นั้น. หมายความว่า
คำถามนี้ ไม่ใช่คำถามในการรู้อันถึงที่สุดอย่างสูงสุดของสาวกทั้งหลาย
โดยที่แท้แล้ว เป็นคำถามในการรู้ ของพระสัพพัญญุตญาณ.
อาจารย์ทั้งหลายอธิบายความหมายว่า คำว่า สาวกปารมิญาเณ นี้ หมายถึง
สาวกปารมิญาณวิสเย แปลว่า ในวิสัย (อารมณ์, ที่ตั้ง) ของญาณบารมีของพระสาวก. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้.
คำว่า อันสามารถรู้เหตุแห่งศีลเป็นต้น
(สีล .. สมตฺถํ) คือ ความสามารถรู้เหตุกล่าวคือ ศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุตติ.
เพราะศีลของพระพุทธเจ้าเป็นต้น
เป็นเหตุของพุทธกิจของพระพุทธเจ้าท.และเหตุแห่งการรู้ว่า“พุทฺธ”โดยผู้อื่น.
[13]
เจโตปริยญาณในที่นี้
หมายถึง ปุพพเพนิวาสานุสติและอนาคตังสญาณ เพราะเจโตปริยญาณจะมีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายใน
๗ วัน เป็นอย่างมากก่อนหรือหลังนับจากปัจจุบันเป็นอารมณ์. (ที.ปา.ฎี.๑๔๒)
[14]
ธมฺมนฺวโย
แปลได้สองนัยคือ ๑. สัททัตถนัย โดยความหมายตามธาตุและปัจจัย คือ
การรู้ตามซึ่งธรรมอันเห็นประจักษ์ ๒.อธิปเปตัตถนัย
โดยความหมายที่ประสงค์เอาในที่นี้ คือ
อนุมานญาณ หรือ การถือเอาโดยนัย.
๑) โดยสัททัตถนัย มาจาก
ธมฺม = ปจฺจกฺขโต ญาณํ ความรู้โดยประจักษ์ + อนฺวโย = ความรู้ตาม.
ธมฺม ในที่นี้ หมายถึง
ความรู้โดยประจักษ์ (ปัจจักขญาณ) มีนิยามว่า อนุมานญาณํ วิย สํสยปิฏฺฐิกํ
อหุตฺวา ‘‘อิทมิท’’นฺติ ยถาสภาวโต เญยฺยํ ธาเรติ นิจฺฉิโนตีติ ธมฺโม,
ปจฺจกฺขญาณํ (ที.ปา.ฎี.๑๔๓) ปัจจักขญาณ เรียกว่า
ธรรม เพราะเป็นสภาพที่ทรงไว้ คือ
ตัดสินซึ่งธรรมควรรู้โดยความเป็นจริงตามสภาวะได้ว่า สิ่งนี้ สิ่งนี้
โดยไม่มีความสงสัยอยู่ข้างหลัง เหมือนอนุมานญาณ.
อนฺวโย (อนุ +
อิ ไป + อ) วิเคราะห์ว่า อนุเอตีติ อนฺวโย ความเป็นไปตาม ชื่อว่า อนฺวโย.
ธมฺมนฺวโย คือ
ความรู้ตามธรรมคือความรู้อย่างประจักษ์
๒) โดยอธิปเปตัตถนัย
ได้แก่ อนุมานญาณ หรือ การถือเอาโดยนัย ดังพระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า ธมฺมนฺวโยติ
ธมฺมสฺส
ปจฺจกฺขโต ญาณสฺส อนุโยคํ อนุคนฺตฺวา อุปฺปนฺนํ อนุมานญาณํ นยคฺคาโห
วิทิโต.
(ที.ปา.อ.๑๔๓) คำว่า การรู้ตามความรู้ประจักษ์ (ธมฺมนฺวโย) ได้แก่
การพิจารณาตาม คือ การรู้โดยเทียบเคียง
อันเกิดขึ้นภายหลังแห่งธรรมคือความรู้โดยประจักษ์ได้ คือ การถือเอาโดยนัย
อันข้าพระองค์ได้แล้ว.
ก. อนุมานญาณ
[อนุมาน + ญาณ] (อนุมาน = อนุ + มา กำหนด + ยุ คือ
การเทียบเคียงพิจารณา วิเคราะห์ว่า อนุเมยฺยํ อนุมิโนตีติ อนุมานํ
ปัญญาที่ตามกำหนดซึ่งธรรมอันควรกำหนด) ได้แก่ ญาณที่เกิดภายหลังปัจจักขญาณ มีนิยามว่า ปจฺจกฺขสิทฺธญฺหิ
อตฺถํ อนุคนฺตฺวา อนุมานญาณสฺส ปวตฺติ ทิฏฺเฐน อทิฏฺฐสฺส อนุมานํ
(ที.ปา.ฎี.๑๔๑)การเป็นไปตามอรรถที่ปรากฏอย่างประจักษ์แล้วของอนุมานญาณ ก็คือ
การเทียบเคียงในสิ่งที่ตนไม่เห็นด้วยสิ่งที่เห็นแล้ว.
ข. การถือเอาโดยนัย
[นยคฺคาโห = นย + คาโห)] ได้แก่
การไม่เห็นโดยประจักษ์แล้วเทียบเคียง โดยนัยที่ได้จากการฟังเป็นต้น ดังนิยามว่า นิทสฺสเน
ทิฏฺฐนเยน อนุเมยฺยํ คณฺหาตีติ นยคฺคาโห (ที.ปา.ฎี.๑๔๑)
ปัญญาถือเอาซึ่งเนื้อความที่พึงอนุมานโดยนัยที่เห็นแล้วในธรรมอ้นปรากฏ
พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า
พระเถระกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์
ดำรงอยู่ในสาวกบารมีญาณเท่านั้นแล้วรู้โดยอาการนี้เช่นกัน. ที่จริง
การถือเอาโดยนัยของพระเถราะ หาประมาณมิได้ ไม่มีที่สิ้นสุด. พระสัพพัญญุตญาณ
ไม่มีประมาณ หรือ ไม่มีที่สิ้นสุด โดยประการใด, การถือเอาโดยนัยของพระธรรมเสนาบดี
ก็มีโดยประการนั้น. เพราะฉะนั้น ท่านจึงทราบว่า
“พระผู้มีพระภาคทรงเป็นพระศาสดา ทรงป็นอย่างนี้ ด้วยเหตุนี้, ทรงยอดเยี่ยม
ด้วยเหตุนี้”. อันที่จริง
การถือเอาโดยนัยของพระเถระมีความเป็นไปดุจพระสัพพัญญุตญาณทีเดียว.
พระฎีกาจารย์อธิบายเพิ่มว่า
เพราะการที่การถือเอาโดยนัยของพระเถระอันไม่สิ้นสุดนั่นเอง
เมื่อท่านประสงค์จะทราบเรื่องใดๆที่จะพึงเทียบเคียง,
อนุมานญาณของท่านที่ไม่มีอะไรติดขัดกีดขวางก็จะเป็นไปในเรื่องนั้นๆ. อนึ่ง
การถือเอาโดยนัยนี้ มิใช่ว่าพระสาวกทุกรูปจะมีได้
แต่จะมีก็เฉพาะพระอัครสาวกคือพระสารีบุตรเถระเท่านั้น และการรู้โดยประจักษ์ในพุทธคุณทัั้งสิ้นอันหาประมาณมิได้ของพระเถระจึงมีเพียงส่วนหนึ่ง
ตามกำลังแห่งอานุภาพของสาวกบารมีญาณเท่านั้น
ในพุทธคุณส่วนที่เหลือท่านรู้ได้โดยอนุมานญาณเท่านั้น. (ที.ปา.ฎี. ๑๔๑, ๑๔๓)
[15]
วิทิโต ได้แล้ว
มาจาก วิท ธาตุ ในอรรถว่า ลาภ ได้, ญาณ รู้ (ธาตวัตถ.๓๖๖) ทั้งสองความหมายนี้ คือ อธิคต บรรลุ. ดังคัมภีร์ฎีกาอธิบายว่า วิทิโตติ
วิทฺโธ ปฏิลทฺโธ,
อธิคโตติ อตฺโถฯ (ที.ปา.ฎี.๑๔๓).
ความจริง ญาณ ถึงจะเป็นผู้รู้ซึ่งสิ่งที่รู้แล้ว แต่ก็ชื่อว่า ถูกรู้
โดยสภาวะนั่นเทียว เพราะเหตุนั้น ท่านจีงกล่าวว่า
การถือเอาซึ่งนัยอันข้าพระองค์ได้แล้ว ดังนั้น บาฬีข้อนี้ หมายความว่า
พระเถระทูลว่า ถึงข้าพระองค์ไม่มีสัพพัญญตญาณ แต่ก็ได้บรรลุอนุมานญาณ
อันสามารถถือเอาโดยนัยได้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท.ในอดีต ละนิวรณ์ ๕ ฯลฯ
ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว.
[16]
ทฬฺหุทฺธาป
เชิงเทิน คือ ทฬฺห + อุทฺธาป, อุทฺธาป (อุ
= อุทฺธ + อป
แน่น) ได้แก่ ฐานกำแพง คัมภีร์ฎีกาวิเคราะห์ว่า ปาการสฺส
ถิรภาวํ อุทฺธมุทฺธํ อาเปตีติ อุทฺธาปํ,
ปาการมูลํ
รากฐานที่เชื่อมส่วนบนๆ ของกำแพงให้ถึงความมั่นคง ได้แก่ ฐานกำแพง. ส่วน ทฬฺหปาการโตรณํ
หมายถึง ตัวกำแพงและป้อมปราการที่อยู่ด้านหลังของกำแพง
[17]
การแสดงอุปมาในข้อนี้ว่า มีประตูเดียว
มีเหตุผลว่า เมื่อเมืองมีหลายประตู ก็ต้องมีนายทวารบาลที่เป็นบัณฑิตหลายคน
แต่ถ้ามีประตูเดียวจะมีคนเดียวก็พอ.
พระเถระต้องการแสดงเนื้อความแห่งอุปมาด้วยประตูเดียวเพื่อแสดงนายทวารบาลผู้เป็นบัณฑิตเพียงหนึ่งเดียวว่า
ไม่มีผู้มีปัญญามากเสมอด้วยตน.
[18]
สามศัพท์ คือ ปณฺฑิต พฺยตฺต และ เมธาวี
เป็นไวพจน์แสดงความเป็นผู้มีปัญญา. แต่แสดงถึงลักษณะของปัญญาต่างกัน กล่าวคือ
บัณฑิต คือ ผู้มีปัญญาที่ชื่อว่า ปณฺฑา ปณฺฑา เป็นชื่อของความผ่องใส. พยตฺต
หมายถึง มีปัญญาแกล้วกล้า ฉลาดเฉลียวในกิจอันควรทำทุกประการ, เมธาวี หมายถึง
ผู้มีปัญญาที่กำจัดความหลง ซึ่งเกิดขึ้นโดยพลัน.
[19]
อสฺส พึงเป็น มาจาก อส ธาตุ =
มี, เป็น + เอยฺย แปลง เอยฺย พร้อม
สพยัญชนะที่สุดธาตุเป็น อสฺส (รู.๕๐๐ ตุสฺส ตถุตฺตํ)
[20]
อีกนัยหนึ่ง อุปกฺกิเลส มาจาก อุป + กิลิส มัวหมอง +
เณ + อ ปัจจัย ในรูปสำเร็จลบการิตปัจจัย. เจตโส สัมพันธ์เป็นฉัฏฐีกัมมะใน
อุปกฺกิเลเส แปลว่า อันเป็นกิเลสยังจิตให้มัวหมอง พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า ปญฺจ
นีวรณานิ จิตฺตํ อุปกฺกิเลเสนฺติ กิลิฏฺฐํ กโรนฺติ อุปตาเปนฺติ วิพาเธนฺติ, ตสฺมา ‘‘เจตโส อุปกฺกิเลสา’’ติ
วุจฺจนฺติฯ เรียก นิวรณ์ ๕ ว่า เจตโส
อุปกฺกิเลสา ทำจิตให้มัวหมอง เพราะทำให้จิตหมอง ได้แก่ ให้เดือดร้อน คับแค้น.
[21]
พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า นีวรณา
อุปฺปชฺชมานา อนุปฺปนฺนาย ปญฺญาย อุปฺปชฺชิตุํ น เทนฺติ, อุปฺปนฺนาย ปญฺญาย วฑฺฒิตุํ น เทนฺติ, ตสฺมา ‘‘ปญฺญาย ทุพฺพลีกรณา’’ติ วุจฺจนฺติฯ นิวรณ์เมื่อเกิดขึ้น
ย่อมไม่ให้โอกาสปัญญาที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ไม่ให้เจริญขึ้น
(เพราะเหตุที่ไม่ให้โอกาสเกิดขึ้นโดยกำจัดปัจจัย - ฎีกา) จึงเรียกนิวรณ์ว่า
ทำปัญญาให้ทุรพล (ปญฺญาย ทุพฺพลีกรเณ)
[22]
พระอรรถกถาจารย์และพระฎีกาจารย์อธิบายว่า
สตฺต โพชฺฌงฺเค (ยถาภูตํ = ยถาสภาเวน =) อวิปรีตสภาเวน ยถา ปฏิปกฺขา สมุจฺฉิชฺชนฺติ, เอวํ
ภาเวตฺวาฯ ปฏิปักขธรรม ย่อมถูกกำจัดโดยเด็ดขาด โดยประการใด
ก็เจริญโพชฌงค์ ๗ โดยประการนั้น ตามสภาวะไม่ผิดเพี้ยน
[23]
สัมมาสัมโพธิญาณ
ได้แก่ พระอรหัตต์หรือพระสัพพัญญุตญาณ ก็ได้ เพราะสติปัฏฐานและสัมโพชฌงค์ผสมกันอยู่.
อีกนัยหนึ่ง สติปัฏฐาน คือ วิปัสสนา, สัมโพชฌงค์ คือ มรรค, ดังนั้น อนุตตรสัมมาสัมโพธิ
ได้แก่ พระอรหัตต์ (ผล). เพราะคำว่า
สติปัฏฐาน หรือ มรรค เป็นโพชฌงค์อันเจือกันด้วยอำนาจสมถะและวิปัสสนา. สัมมาสัมโพธิ
ได้แก่ พระอรหัตต์. ส่วนพระมหาสิวเถระ ผู้สวดคัมภีร์ทีฆนิกาย เห็นว่า ได้แก่
สัพพัญญุตญาณเท่านั้น เพราะว่า เมื่อถือเอาว่าวิปัสสนาเป็นนสติปัฏฐาน
ดังที่กล่าวว่า “มีพระมนัสตั้งมั่นดีในสติปัฏฐาน ๔”, แล้วถือเอาว่ามรรคและสัพพัญญุตญาณ เป็นโพชฌงค์ ดังที่กล่าวว่า
“เจริญโพชฌงค์ตามเป็นจริง” และเพราะการประหารนิวรณ์และสติปัฏฐานเหล่านั้นที่นับเนื่องอยู่ในมรรค
ถือเป็นโพชฌงค์โดยตรง ดังนี้แล้ว พระโลกนาถ ย่อมทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ เมื่อได้บรรลุคุณเหล่านั้นโดยประการทั้งปวง.
แต่มตินี้ พระโบราณาจารย์ไม่ถือเอา. - เรียบเรียงจากอรรถกถาฎีกา
(ที.ปา.อ.และฎี.๑๔๓)
[24]
ด้วยข้อความทั้งหมดดังกล่าวมานี้ พระสารีบุตรเถระแสดงความไม่ต่างกันแห่งพระสัพพัญญูพุทธเจ้า
ในการประหารนีวรณ์, ในสติปัฏฐานภาวนาและสัมโพธิญาณ เหมือนทองและเงินที่ต่างกันในท่ามกลาง.
อนึ่ง ด้วยอุปมาว่าด้วยเมืองนี้
เป็นอันพระเถระตอบการซักถามในสีหนาทของท่าน. พึงทราบการเปรียบเทียบดังนี้
พระนิพพาน
เหมือนนคร เพราะเป็นสถานที่อันบุคคลผู้ต้องการประโยชน์เขาถึง
และเพราะมีสภาพที่บรรลุถึงความสุขอันไร้อันตรายแห่งบุคคลผู้มาถึง. ศีลเหมือนกำแพง
เพราะมีสภาพเหมือนกำแพงที่ป้องกันโดยรอบให้บุคคลผู้มาถึง, หิริเหมือนทางเดินรอบกำแพง
เพราะมีสภาพที่เป็นที่ตั้งแห่งกำแพงคือศีล, อริยมรรคเหมือนประตู
เพราะมีสภาพที่เข้าถึงเมืองคือพระนิพพาน, พระธรมเสนาบดีเหมือนคนเฝ้าประตูที่ฉลาด เพราะเป็นผู้กำหนดการเข้าไปของบุคคลผู้เข้าไปยังเมืองคือนิพพาน,
พระพุทธเจ้าทั้งหลายที่อุบัติในอดีต อนาคตและปัจจุบัน เหมือนสัตว์ใหญ่ที่เข้าออกในนคร,
ศีลและสมถะเป็นต้นของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น ปรากฏแก่พระสารีบุตรเหมือนกับการที่สัตว์ท.ที่ปรากฏแก่นายประตู
ฉะนั้น. (ที.ปา.อ.๑๔๓)
*******************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น