วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๑๕. เสด็จไปปาฏลิคาม ตรัสโทษของผู้ทุศีลและอานิสงส์ของผู้มีศีล

ทุสฺสีลอาทีนวา
๑๔๘. อถ โข ภควา นาฬนฺทายํ ยถาภิรนฺตํ วิหริตฺวา อายสฺมนฺตํ อานนฺทํ อามนฺเตสิ –  ‘‘อายามานนฺท, เยน ปาฏลิคาโม เตนุปสงฺกมิสฺสามา’’ติฯ ‘‘เอวํ, ภนฺเต’’ติ โข อายสฺมา อานนฺโท ภควโต ปจฺจสฺโสสิ
อถ โข ครั้งนั้นแล ภควา พระผู้มีพระภาค วิหริตฺวา ครั้นประทับอยู่ นาฬนฺทายํ ในเมืองนาฬันทา ยถาภิรนฺตํ ตามพอพระทัย อามนฺเตสิ ตรัสเรียกแล้ว[1] อายสฺมนฺตํ อานนฺทํ ซึ่งท่านพระอานนท์ อิติ ว่า อานนฺท ดูก่อนอานนท์ มยํ เราท. อายาม จะไป, ปาฏลิคาโม เมืองปาฏลิคาม อตฺถิ มีอยู่ เยน = ยตฺถทิสาภาเค ในส่วนแห่งทิศใด, มยํ เราท. อุปสงฺกมิสฺสาม จะเข้าไป เตน ทิสาภาเคน โดยส่วนแห่งทิศนั้น ดังนี้. อายสฺมา อานนฺโท ท่านพระอานนท์ ปจฺจสฺโสสิ ทูลรับพระดำรัสแล้ว ภควโต ต่อพระผู้มีพระภาค อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เอวํ พระเจ้าข้า ดังนี้.


อถ โข ภควา มหตา ภิกฺขุสงฺเฆน สทฺธิํ เยน ปาฏลิคาโม ตทวสริฯ อสฺโสสุํ โข ปาฏลิคามิกา อุปาสกา – ‘‘ภควา กิร ปาฏลิคามํ อนุปฺปตฺโต’’ติฯ   อถ โข ปาฏลิคามิกา อุปาสกา เยน ภควา  เตนุปสงฺกมิํสุ; อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺตํ อภิวาเทตฺวา เอกมนฺตํ นิสีทิํสุฯ เอกมนฺตํ นิสินฺนา โข ปาฏลิคามิกา อุปาสกา ภควนฺตํ เอตทโวจุํ – ‘‘อธิวาเสตุ โน, ภนฺเต, ภควา อาวสถาคาร’’นฺติฯ อธิวาเสสิ ภควา  ตุณฺหีภาเวนฯ
อถ โข ต่อมา ภควา พระผู้มีพระภาค, ปาฏลิคาโม  ปาฏลิคาม อตฺถิ มีอยู่ เยน = ยตฺถ ทิสาภาเค ในส่วนแห่งทิศใด, อวสริ = อนุปาปุณิ เสด็จถึงโดยลำดับแล้ว[2] ตํ ทิสาภาคํ ซึ่งส่วนแห่งทิศนั้น สทฺธิํ  พร้อม ภิกฺขุสงฺเฆน ด้วยภิกษุสงฆ์ มหตา หมู่ใหญ่. อุปาสกา อุบาสกท. ปาฏลิคามิกา ชาวปาฏลิคาม[3] อสฺโสสุํ โข ได้ฟังแล้ว แล อิติ ว่า กิร ข่าวว่า ภควา พระผู้มีพระภาค อนุปฺปตฺโต เสด็จถึงโดยลำดับแล้ว   ปาฏลิคามํ   ซึ่งปาฏลิคาม  ดังนี้.  อถ โข  ลำดับนั้น, ภควา พระผู้มีพระภาค วิหรติ ทรงประทับอยู่ เยน = ยตฺถ ทิสาภาเค ในส่วนแห่งทิศใด,อุปาสกา อุบาสกท. ปาฏลิคามิกา ชาวปาฏลิคาม  อุปสงฺกมิ เข้าไปเฝ้าแล้ว เตน ทิสาภาเคน โดยส่วนแห่งทิศนั้น. อุปสงฺกมิตฺวา ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว   อภิวาเทตฺวา ถวายบังคมแล้ว ภควนฺตํ  ซึ่งพระผู้มีพระภาค นิสีทิํสุ  นั่งแล้ว เอกมนฺตํ อย่างสมควร.  อุปาสกา อุบาสกท. ปาฏลิคามิกา ชาวปาฏลิคาม นิสินฺนา โข ผู้นั่งแล้ว เอกมนฺตํ อย่างสมควร อโวจุํ ได้กราบทูลแล้ว เอตํ (วจนํ) ซึ่งคำนั้น ภควนฺตํ กะพระผู้มีพระภาค อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภควา พระผู้มีพระภาค อธิวาเสตุ โปรดทรงรับ[4] อาวสถาคารํ ซึ่งเรือนรับรอง[5] โน ของข้าพระองค์ท. ดังนี้.  ภควา พระผู้มีพระภาค อธิวาเสสิ  ทรงรับแล้ว ตุณฺหีภาเวน โดยดุษนียภาพ (ความเป็นผู้นิ่ง)[6]

อถ โข ปาฏลิคามิกา อุปาสกา ภควโต อธิวาสนํ วิทิตฺวา อุฏฺฐายาสนา ภควนฺตํ อภิวาเทตฺวา ปทกฺขิณํ กตฺวา เยน อาวสถาคารํ เตนุปสงฺกมิํสุ; อุปสงฺกมิตฺวา สพฺพสนฺถริํ อาวสถาคารํ สนฺถริตฺวา อาสนานิ ปญฺญเปตฺวา อุทกมณิกํ ปติฏฺฐาเปตฺวา เตลปทีปํ อาโรเปตฺวา เยน ภควา เตนุปสงฺกมิํสุ, อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺตํ อภิวาเทตฺวา เอกมนฺตํ อฏฺฐํสุฯ เอกมนฺตํ ฐิตา โข ปาฏลิคามิกา อุปาสกา ภควนฺตํ เอตทโวจุํ – ‘‘สพฺพสนฺถริสนฺถตํ, ภนฺเต, อาวสถาคารํ, อาสนานิ ปญฺญตฺตานิ, อุทกมณิโก ปติฏฺฐาปิโต, เตลปทีโป อาโรปิโต; ยสฺสทานิ, ภนฺเต, ภควา กาลํ มญฺญตี’’ติฯ อถ โข ภควา สายนฺหสมยํ ฯ นิวาเสตฺวา ปตฺตจีวรมาทาย สทฺธิํ ภิกฺขุสงฺเฆน เยน อาวสถาคารํ เตนุปสงฺกมิ; อุปสงฺกมิตฺวา ปาเท ปกฺขาเลตฺวา อาวสถาคารํ ปวิสิตฺวา มชฺฌิมํ ถมฺภํ นิสฺสาย ปุรตฺถาภิมุโข นิสีทิฯ ภิกฺขุสงฺโฆปิ โข ปาเท ปกฺขาเลตฺวา อาวสถาคารํ ปวิสิตฺวา ปจฺฉิมํ ภิตฺติํ นิสฺสาย ปุรตฺถาภิมุโข นิสีทิ ภควนฺตเมว ปุรกฺขตฺวาฯ ปาฏลิคามิกาปิ โข อุปาสกา ปาเท ปกฺขาเลตฺวา อาวสถาคารํ ปวิสิตฺวา ปุรตฺถิมํ ภิตฺติํ นิสฺสาย ปจฺฉิมาภิมุขา นิสีทิํสุ ภควนฺตเมว ปุรกฺขตฺวาฯ
อถ โข ลำดับนั้น อุปาสกา อุบาสกท. ปาฏลิคามิกา ชาวเมืองปาฏลิคาม  วิทิตฺวา รู้แล้ว อธิวาสนํ ซึ่งการรับ ภควโต ของพระผู้มีพระภาค อุฏฐาย ลุกขึ้นแล้ว อาสนา จากอาสนะ กตฺวา กระทำแล้ว ปทกฺขิณํ ซึ่งความเคารพ อภิวาเทตฺวา โดยถวายบังคม ภควนฺตํ ซึ่งพระผู้มีพระภาค[7], อาวสถาคารํ เรือนรับรอง อตฺถิ มีอยู่ เยน = ยตฺถ ทิสาภาเค ในส่วนแห่งทิศใด, อุปสงฺกมิํสุ เข้าไปแล้ว ตํ ทิสาภาคํ  สู่ส่วนแห่งทิศนั้น,[8] อุปสงฺกมิตฺวา ครั้นเข้าไปแล้ว สนฺถริตฺวา ปูลาดแล้ว อาวสถาคารํ  ซึ่งเรือนรับรอง สพฺพสนฺถริํ ปูลาดทั้งหมด[9] ปญฺญเปตฺวา ปูลาดแล้ว อาสนานิ ซึ่งอาสนะท. ปติฏฺฐาเปตฺวา ตั้งแล้ว อุทกมณิกํ[10]  ซึ่งโอ่งน้ำ อาโรเปตฺวา ยกขึ้นแล้ว เตลปทีปํ[11] ซึ่งโคมไฟน้ำมัน,  ภควา พระผู้มีพระภาค วิหรติ ทรงประทับอยู่ เยน = ยตฺถ ทิสาภาเค  ในส่วนแห่งทิศใด,  อุปาสกา อุบาสกท. ปาฏลิคามิกา ชาวเมืองปาฏลิคาม อุปสงฺกมิ เข้าไปเฝ้าแล้ว เตน ทิสาภาเคน โดยส่วนแห่งทิศนั้น. อุปสงฺกมิตฺวา ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว อภิวาเทตฺวา ถวายบังคมแล้ว ภควนฺตํ ซึ่งพระผู้มีพระภาค นิสีทิํสุ  นั่งแล้ว เอกมนฺตํ อย่างสมควร. อุปาสกา อุบาสกท. ปาฏลิคามิกา ชาวเมืองปาฏลิคาม นิสินฺนา โข ผู้นั่งแล้ว เอกมนฺตํ อย่างสมควร อโวจุํ ได้กราบทูลแล้ว เอตํ (วจนํ) ซึ่งคำนั้น ภควนฺตํ กะพระผู้มีพระภาค อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อาวสถาคารํ เรือนรับรอง โหติ ย่อมเป็นเรือน อมฺเหหิ อันข้าพระองค์ท. สพฺพสนฺถริ-สนฺถตํ ปูลาดทั่วเรือนแล้ว[12], อาสนานิ อาสนะท. อมฺเหหิ อันข้าพระองค์ท. ปญฺญตฺตานิ ปูลาดแล้ว[13], อุทกมณิโก โอ่งน้ำ อมฺเหหิ อันข้าพระองค์ท. ปติฏฺฐาปิโต ให้ตั้งแล้ว, เตลปทีโป โคมไฟน้ำมัน อมฺเหหิ อันข้าพระองค์ท. อาโรปิโต ให้ยกขึ้นแล้ว, ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ, ทานิ บัดนี้ ภควา พระผู้มีพระภาค มญฺญติ ย่อมทรงรู้ กาลํ ซึ่งกาล ยสฺส คมนสฺส แห่งการเสด็จไปใด, กโรตุ จงกระทำ ตํ คมนํ ซึ่งการเสด็จไปนั้นเถิด. อถ โข ทีนั้น ภควา พระผู้มีพระภาค นิวาเสตฺวา ทรงนุ่งแล้ว สายณฺหสมยํ ในเวลาเย็น อาทาย ทรงถือแล้ว ปตฺตจีวรํ ซึ่งบาตรและจีวร, อาวสถาคารํ เรือนรับรอง อตฺถิ มีอยู่ เยน = ยตฺถ   ทิสาภาเค ในส่วนแห่งทิศใด,  อุปสงฺกมิํสุ  เสด็จเข้าไปแล้ว ตํ ทิสาภาคํ  สู่ส่วนแห่งทิศนั้น สทฺธิํ กับ ภิกฺขุสงฺเฆน ด้วยหมู่ภิกษุ, อุปสงฺกมิตฺวา ครั้นเสด็จเข้าไปแล้ว ปกฺขาเลตฺวา ทรงล้างแล้ว ปาเท ซึ่งพระบาทท.[14] ปวิสิตฺวา เสด็จเข้าไปแล้ว อาวสถาคารํ สู่เรือนรับรอง นิสีทิ ประทับนั่งแล้ว นิสฺสาย พิง ถมฺภํ ซึ่งเสา มชฺฌิมํ กลาง  ปุรตฺถาภิมุโข ผินพระพักตร์ไปยังทิศตะวันออก.  ภิกฺขุสงฺโฆปิ แม้ภิกษุสงฆ์ โข = เอว ก็เหมือนกัน ปกฺขาเลตฺวา ล้างแล้ว ปาเท ซึ่งเท้าท. ปวิสิตฺวา เข้าไปแล้ว อาวสถาคารํ สู่เรือนรับรอง นิสีทิ นั่งแล้ว นิสฺสาย พิง ภิตฺติํ ซึ่งฝา  ปจฺฉิมํ ด้านหลัง ปุรตฺถาภิมุโข หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ปุรกฺขตฺวา แวดล้อม ภควนฺตํ เอว ซึ่งพระผู้มีพระภาคนั่นเทียว.




[1] ในกรณีนี้แปล อามนฺเตสิ ในอรรถว่า ปกฺโกสน ร้องเรียก. แต่ถ้าในอรรถอามนฺตน เรียกให้รู้ตัว ก็แปลว่า ตรัสแล้ว.
[2] คำว่า อวสริ หมายถึง การมาถึงโดยลำดับ. คัมภีร์อุทานอัฏฐกถากล่าวถึงการเสด็จถึงปาฏลิคามโดยลำดับ ดังนี้ว่า ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงรับสั่งให้สร้างเจดีย์บรรจุอัฏฐิธาตุของพระธรรมเสนาบดีที่ (พระวิหารเชตวัน) เมืองสาวัตถีแล้ว จึงเสด็จออกจากเมืองสาวัตถีนั้นเสด็จมาประทับที่เมืองราชคฤห์ และรับสั่งให้สร้างเจดีย์บรรจุอัฏฐิธาตุของท่านพระมหาโมคคัลลานะที่เมืองราชคฤห์นั้นแล้วจึงเสด็จออกมาประทับที่อัมพลัฏฐิกา เมื่อทรงจาริกไปในเมืองต่างๆ โดยการจาริกแบบไม่เร่งรีบ ประท้บอยู่ที่เมืองนั้นๆ แห่งละ ๑ ราตรี ทรงสงเคราะห์แก่ชาวโลกแล้วได้เสด็จมาถึงปาฏลิคามโดยลำดับ.”
[3] ปาฏลิคาม คือ หมู่บ้านหนึ่งในแคว้นมคธ. ปาฏลิ แปลว่า ต้นแคฝอย, ปาฏลิคาม จึงแปลโดยคำศัพท์ว่า บ้านแคฝอย. เหตุที่ได้นามว่า ปาฏลิคาม เพราะมีต้นแคฝอย งอกขึ้นสองสามหน่อในบริเวณที่จะสร้างหมู่บ้าน พวกเขาได้ตั้งชื่อว่า ปาฏลิคาม เพราะอาศัยหน่อแคฝอยนี้.  ปาฏลิคามิก หมายถึง ผู้อยู่ในเมืองปาฏลิคาม มาจาก ปาฏลิคาม + ณิก = อยู่, นอกจากนี้ยังมีรูปที่ลง อิย ปัจจัยว่า ปาฏลิคามิย ดังในพระบาฬีอุทานว่า อสฺโสสุํ โข ปาฏลิคามิยา อุปาสกา (ขุ.อ.๗๖)
[4] คำว่า โปรดทรงรับ (อธิวาเสตุ) หมายถึง การทูลให้ทรงรับการนิมนต์เพื่อการเสด็จเข้าพักแรมในเรือนนี้ มิใช่การทูลให้ทรงรับเป็นของสงฆ์. พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า อุบาสกชาวปาฏลิคาม ครั้นสร้างอาคารเสร็จแล้ว ได้ทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคซึ่งเสด็จมายังปาฏลิคามในเวลานั้นเพื่อมาประทับที่นี้ด้วยความประสงค์ว่า เมื่อพระพุทธองค์และภิกษุสงฆ์เสด็จมาประทับที่เรือนพักแรมนี้ พวกตนจะได้ถวายภัตตาหาร, เมื่อภิกษุสงฆ์มาแล้ว ก็ชื่อว่า มีพระไตรปิฎกคือพระพุทธวจนะได้มาแล้วเช่นกัน, ทูลให้ทรงตรัสมงคลและแสดงธรรม. อนึ่ง  เมื่อพระพุทธองค์และพระสงฆ์ที่นับว่าเป็นพระรัตนะ ได้ใช้สอยอาคารนี้ก่อนแล้ว การที่ตนและชนเหล่าอื่นได้ใช้สอยภายหลังก็จะได้รับประโยชน์และความเจริญตลอดกาลนาน. พวกอุบาสกเห็นพ้องฉะนี้แล้วจึงได้เข้าไปทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ด้วยคำนี้.
[5] อาวสถาคารํ หมายถึง เรือนรับรองเพื่ออาคันตุกะมาพำนัก.  คำว่า อาวสถ วิเคราะห์ว่า อาคนฺตฺวา วสนฺติ เอตฺถ อาคนฺตุกาติ อาวสโถ, ตเทว อคารํ. อาคันตุกะมาแล้วย่อมพำนักที่เรือนนี้ ดังนั้น เรือนนี้ชื่อว่า อาวสถ, อาคาร คือ อาวสถ ชื่อว่า อาวสถาคารํ.  พระอรรถกถาจารย์กล่าวถึงเหตุที่ต้องสร้างเรือนรับรองในปาฏลิคามนี้ว่า พระสหายของเจ้าลิจฉวีและของพระเจ้าอชาตศัตรู มักเดินทางมาพำนักในปาฏลิคามโดยให้เจ้าของบ้านออกไปแล้วอยู่ในบ้านนั้นเสียหลายเดือน. พวกชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนจึงสร้างสถานที่พักให้พวกเขาโดยจัดแบ่งเป็นสถานที่เก็บสัมภาระสิ่งของไว้ส่วนหนึ่งและเป็นเรือนพำนักเป็นส่วนหนึ่ง เพื่ออาคันตุกะเหล่านั้น.
[6] การรับโดยดุษณียภาพ คือ มิทรงรับโดยเปล่งพระวาจาหรือทรงกระทำสัญญาณกาย แต่เป็นการรับโดยทำความพอพระทัยไว้ภายใน. กล่าวคือ ทรงรับคำนิมนต์เพื่ออนุเคราะห์ต่ออุบาสกเหล่านั้นด้วยพระหทัยนั่นเอง.
[7]  ปทกฺขิณ คัมภีร์อรรถกถาสามัญผลสูตร อธิบายคำว่า กระทำประทักษิณ (ปทกฺขิณํ กตฺวา) ว่า กระทำประทักษิณ ๓ ครั้ง (ติกฺขตฺตุํ ปทกฺขิณํ กตฺวา). พึงเห็นวิธีการปฏิบัติดังพระอรรถกถาจารย์แสดงไว้ในอรรถกถานั้น ดังนี้ พระเจ้าอชาตศัตรูทรงถวายการประทักษิแด่พระผู้มีพระภาค ๓ ครั้งแล้วทรงประนมอัญชลีไว้ที่เหนือเศียร ค่อยๆถอยหลังกลับ จนถึงที่ละคลองจักษุแล้วจึงทรงถวายบังคมกราบพระพุทธองค์ด้วยเบญจางคประดิษฐ์แล้วจึงเสด็จกลับ (ที.สี.อ.๒๕๒). คัมภีร์สีลขันธวรรคฎีกา อธิบายคำว่า ทำประทักษิณสามครั้ง (ติกฺขตฺตํ ปทกฺขิณํ กตฺวา) ที่มาในอรรถกถาว่า “เป็นเพียงข้อความที่ได้รับมาจากธรรมเนียมปฏิบัติตามที่เคยมีมาเท่านั้น.  ปทกฺขิณ มีรูปวิเคราะห์ว่า ปการโต กตํ ทกฺขิณํ ปทกฺขิณํ การเคารพอันกระทำแล้วโดยหลายรอบ ชื่อว่า ปทกฺขิณํ”. (‘‘ติกฺขตฺตุํ ปทกฺขิณํ กตฺวา’’ติอาทิ ยถาสมาจิณฺณํ ปกรณาธิคตมตฺตํ ทสฺเสตุํ วุตฺตํฯ ตตฺถ ปทกฺขิณนฺติ ปการโต กตํ ทกฺขิณํฯ เตนาห ‘‘ติกฺขตฺตุ’’นฺติฯ ที.สี.ฎี. ๒/๒๕๒).
หนังสือ “นานาวินิจฉัย” ท่านให้ทัสนะว่า ปทกฺขิณํ แม้จะมีความหมายตามศัพท์ว่า ทำไว้เบื้องขวา ก็ตาม ควรแปลว่า เคารพเท่านั้น เพราะในคัมภีร์อรรถกถาฎีกาต่างๆ มิได้พรรณนาในอรรถว่า “เวียนขวา” แต่พรรณนาไว้ในอรรถอื่น อาทิ  “กุสลา ความฉลาด, สุสิกฺขิตา ศึกษาดี, วุทฺธิยุตฺตา ประกอบด้วยความเจริญ, วิเสเสน กุสลา ดีโดยพิเศษ, สมฺมา สมฺปฏิจฺฉน รับโดยเคารพ, สมฺมาปฏิปตฺติ การปฏิบัติชอบ, วฑฺฒิตกมฺมํ การงานอันเจริญ “ ดังนี้เป็นต้น.
คำว่า ปทกฺขิณํ กตฺวา ได้มาโดยการเดินเวียนอันเป็นธรรมเนียมการทำความเคารพของชาวอินเดีย ซึ่งแยกการกระทำไว้ ๓ อย่างคือ ถ้าเคารพสิ่งมีชีวิต จะไม่เวียนรอบแล้วทำความเคารพ แต่ถ้าเคารพบุคคลหรือวัตถุซึ่งไม่มีชีวิต จะมีการเวียน ๑ รอบบ้าง ๒ รอบบ้าง  ๓รอบบ้าง แล้วทำความเคารพ.  แต่ในพระบาฬีแยกแยะการทำความเคารพไว้สองประการคือ เคารพสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต โดยการเคารพสิ่งมีชีวิตไม่มีคำว่า ติกฺขตฺตุํ เช่นในพระบาฬีมหาปรินิพพานสูตรและสามัญผลสูตร.  แต่การเคารพสิ่งไม่มีชีวิต ใช้คำว่า ติกฺขตฺตุํ เช่น อถ กฏฺฐานิ สํกฑฺฒิตฺวา จิตกํ กริตฺวา มาตาปิตูนํ สรีรํ จิตกํ อาโรเปตฺวา อคฺคิํ ทตฺวา ปญฺชลิโก ติกฺขตฺตุํ จิตกํ ปทกฺขิณํ อกาสิฯ (วิ.มหา.๔๖๐) ทีฆาวุกุมาร เอากองฟืนมาทำเป็นเชิงตะกอนแล้วยกสรีระของพระชนกและพระชนนี ขึ้นสู่เชิงตะกอนแล้วจึงจุดไฟ เป็นผู้มีอัญชลีอยู่ กระทำความเคารพเชิงตะกอน ๓ ครั้ง. และ ตานิปิ โข ปญฺจภิกฺขุสตานิ เอกํสํ จีวรํ กตฺวา อญฺชลิํ ปณาเมตฺวา ติกฺขตฺตุํ จิตกํ ปทกฺขิณํ กตฺวา ภควโต ปาเท สิรสา วนฺทิํสุฯ (ที.มหา. ๒๓๔) แม้ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านั้นทำจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่งยกมือไหว้แล้วทำความเคารพเชิงตะกอน ๓ ครั้งที่พระบาทของพระศาสดา”. จะเห็นวา พระบาฬีและธรรมเนียมของชาวอินเดียมีความคล้ายคลึงกัน แต่อรรถกถาท่านพรรณนาด้วยคำว่า ติกฺขตฺตุํ เหมือนกันหมด ดังที่พระฎีกาจารย์กล่าวว่า เป็นเพียงคำที่ติดมาจากที่มาเดิม ดังนั้น ในที่นี้จึงมีความหมายว่า ทำความเคารพ.” ดังนั้น  ข้อความนี้จึงแปลว่า ปทกฺขิณํ กตฺวา กระทำแล้ว ซึ่งความเคารพ ภควนฺตํ อภิวาเทตฺวา โดยถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว
[8] ความจริงแม้เรือนนั้นจะสร้างเสร็จและประดับตกแต่งจนงดงามประดุจเทพวิมานแล้วก็จริง แต่มิได้ปูพุทธอาสน์อันเหมาะแก่พระพุทธเจ้าไว้ เหตุที่ยังไม่ทราบพุทธประสงค์ว่า จะทรงยินดีในการประทับภายในบ้านหรือไม่ เพราะการมีพระอัธยาศัยน้อมไปในป่า ยินดีในป่า เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. เมื่อทราบชัดถึงความพอพระทัยที่จะประทับภายในบ้านแล้ว จึงมายังเรือนพักแรมเพื่อปูพุทธอาสน์.
[9] สพฺพสนฺถริํ ลงทุติยาวิภัตติในอรรถกิริยาวิเสสนะ เพราะมีธาตุซ้ำกับบทว่า สนฺถริสุํ และ เป็นภาวสาธนะ. ความหมายคือ ปูลาดหมดทั้งหลัง. พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า ยถา สพฺพํ สนฺถตํ โหติ, เอวํ สนฺถริํ ย่อมเป็นอันปูลาดแล้วทั้งสิ้น โดยประการใด, ปูลาดแล้วโดยประการนั้น. ด้วยคำอธิบายนี้แสดงว่า สนฺถริ เป็นวิเสสนะของบทกริยาว่า สนฺถริํ. พระฎีกาจารย์วิเคราะห์ว่า สนฺถตนฺติ สนฺถริ, สพฺพํ สนฺถริ สพฺพสนฺถริ. การปูลาด คือ สนฺถริ. การปูลาดทั้งสิ้น คือ สพฺพสนฺถริ (สํ + ถร ปูลาด + อิ ปัจจัยภาวสาธนะ).
[10] คัมภีร์อรรถกถาปาฏลิคามิยสูตร อธิบายว่า อุทกมณิกนฺติ มหากุจฺฉิกํ อุทกจาฎิํ. (ขุ.อุ. อ.๗๖) อุทกมณิก คือ ภาชนะใส่น้ำที่ป่องตรงกลาง. ในที่นี้ได้แก่ โอ่งใส่น้ำใช้ น้ำฉัน. พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า อุบาสกเติมน้ำใสสะอาดดังแก้วมณีไว้ในโอ่งเหล่านั้้นจนเต็ม ใส่ดอกไม้และน้ำอบเพื่อให้น้ำมีกลิ่นหอม สำหรับพระพุทธองค์พร้อมทั้งภิกษุสงฆ์จักทรงล้างพระบาท สรงพระพักตร์ตามต้องการ ปิดฝานั้นไว้ด้วยใบตอง.
[11] เตลทีป มีวิเคราะห์ว่า เตลยุตฺโต ทีโป เตลทีโป โคมไฟอันประกอบด้วยน้ำมัน (ปฏิ.สํ.อ.๒/๕๕).  คำนี้เป็นบทกรรมในกิริยาว่า อาโรเปตฺวา และ อาโรปิโต (ต่อไป). คำว่า อาโรเปตฺวา (อา + รุป ยกขึ้น + เณ จุราทิ + ตฺวา) มีความหมายตามคำศัพท์ คือ ยกโคมไฟเหล่านี้ขึ้น แต่มีความหมายโดยนัย คือ ชาลยิตฺวา ยังประทีปน้ำมันให้โพลงแล้ว หรือ ตามประทีปแล้ว. ดังคัมภีร์อรรถกถาอธิบายว่า  รชตสุวณฺณาทิมยทณฺฑทีปิกาสุ โยธกรูปวิลาสขจิตรูปกาทีนํ หตฺเถ ฐปิตสุวณฺณรชตาทิมยกปลฺลิกาสุ เตลปฺปทีปํ ชาลยิตฺวา ยังประทีปน้ำมันให้ลุกโพลงแล้ว ที่โคมไฟมีด้ามที่ทำด้วยเงินทองเป็นต้น ที่จานเงินและทองเป็นต้นที่วางไว้บนมือของรูปปั้นที่สลักอย่างสวยงามเป็นรูปทหารเป็นต้น. (อุทาน.อ.๑๗๖). พึงทราบว่า วิธีการแสดงนี้เรียกว่า อวุตตสิทธินัย ทราบเนื้อความได้โดยไม่ต้องกล่าวถึง, การยกประทีปขึ้นก็โดยต้องการแสงสว่างจากประทีปมิเพียงแต่ประดับไว้สวยๆงามๆเท่านั้น ดังนั้น เมื่อเอ่ยถึงการยกประทีปขึ้นตั้งไว้ในวัสดุรองรับ ก็เท่ากับเป็นการจุดประทีปให้สว่างไสวนั่นเอง.
[12] ปาฐะนี้ในฉบับสยามรัฐ เป็น สพฺพสนฺถริตํ สตฺถตํ แต่ฉบับอื่นๆของพม่าเป็น สพฺพสนฺถริํ สนฺถตํ. แม้ในข้อความข้างหน้าก็เหมือนกัน. ในที่นี้คงปาฐะตามฉบับฉัฏฐสังคายนา และแปลเป็นตติยาตัปปุริสสมาสว่า สพฺพสนฺถรินา สนฺถริ. ปูลาดแล้วโดยการปูลาดทั้งสิ้น. ตติยาวิภัตติในรูปวิเคราะห์มีอรรถวิเสสนะ ตามเชิงอรรถที่อธิบายคำว่า สพฺพสนฺถริํ อาวสถาคารํ สนฺถริตฺวา.
[13] การปูอาสนะถวายพระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ของอุบาสกชาวปาฏลิคามจัดไว้อย่างวิจิตร ดังพระอรรถกถาจารย์พรรณนาไว้ว่า “จริงอยู่ ตรงกลางอาสนะทั้งหลาย อันดับแรก พวกเขาตั้งพุทธอาสน์มีค่ามาก พิงกับเสามงคลแล้วลาดเครื่องลาดที่อ่อนนุ่ม น่ารื่นรมย์ใจ บนพุทธอาสน์นั้น แล้วจัดแจงหมอนพิงที่มีสีแดง ๒ ข้าง น่ารื่นรมย์ใจ ขึงเพดานอนจิตด้วยดาวทองดาวเงินไว้บนพุทธอาสน์ ประดับพวงของหอม พวงดอกไม้และพวงใบไม้เป็นต้น กั้นข่ายดอกไม้ในที่ ๑๒ ศอก โดยรอบแล้ว ให้เอาม่านผ้าล้อมที่ประมาณ ๓๐ ศอก ตั้งแค่ พนักอิง เตียงและตั่งเป็นต้น เพื่อภิกษุสงฆ์ ติดกับฝาด้านหลัง ข้างบนเครื่องปูสีขาว จัดศาลาด้านทิศตะวันออกให้เหมาะสำหรับเป็นที่นั่งของเขา”.

[14] แม้ว่า ฝุ่นและตมมิอาจแปดเปื้อนพระบาทก็จริง แต่กระนั้น ทรงหวังความเจริญแห่งกุศลแก่พวกอุบาสกเหล่านั้นและให้อนุชนเหล่าอื่นถือปฏิบัติตาม. อีกประการหนึ่ง ขึ้นชื่อว่า อุปาทินนกสรีระ ก็ควรจะทำให้เย็นลงบ้าง พระผู้มีพระภาคทรงเล็งเห็นประโยชน์อย่างนี้ จึงทรงล้างพระบาทและสรงสนาน.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น