๑๔๙. อถ โข ภควา ปาฏลิคามิเก อุปาสเก อามนฺเตสิ – ‘‘ปญฺจิเม,
คหปตโย, อาทีนวา ทุสฺสีลสฺส สีลวิปตฺติยาฯ
กตเม ปญฺจ? อิธ, คหปตโย, ทุสฺสีโล สีลวิปนฺโน ปมาทาธิกรณํ มหติํ โภคชานิํ นิคจฺฉติฯ อยํ ปฐโม
อาทีนโว ทุสฺสีลสฺส สีลวิปตฺติยาฯ
๑๔๙ อถ โข
ต่อมา ภควา พระผู้มีพระภาค อามนฺเตสิ ทรงตรัสแล้ว อุปาสเก
กะอุบาสกท.[1] ปาฏลิคามิเก
ชาวเมืองปาฏลิคาม อิติ ว่า คหปตโย ดูก่อนคฤหบดีท. อาทีนวา โทษท.
ปญฺจ ๕ อิเม เหล่านี้ ทุสฺสีลสฺส แห่งผู้ไม่มีศีล สีลวิปตฺติยา
แห่งศีลวิบัติ, อาทีนวา โทษท. ปญฺจ ๕ กตเม เหล่าไหน, คหปตโย
ดูก่อนคฤหบดีท. ทุสฺสีโล ผู้ไม่มีศีล สีลวิปนฺโน มีศีลวิบัติแล้ว อิธ
ในโลกนี้ นิคจฺฉติ ย่อมประสบ โภคชานึ ซึ่งความเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ มหติํ
ใหญ่หลวง[2] ปมาทาธิกรณํ
เพราะเหตุแห่งความประมาท[3].อาทีนโว
โทษ สีลวิปตฺติยา แห่งศีลวิบัติ ทุสฺสีลสฺส แห่งผู้ไม่มีศีล ปฐโม
อย่างแรก อยํ นี้.[4]
‘‘ปุน จปรํ, คหปตโย, ทุสฺสีลสฺส
สีลวิปนฺนสฺส ปาปโก กิตฺติสทฺโท อพฺภุคฺคจฺฉติฯ อยํ ทุติโย อาทีนโว ทุสฺสีลสฺส
สีลวิปตฺติยาฯ
คหปตโย
ดูก่อนคฤหบดีท. อปรํ (ทุสฺสีลอาทีนวสงฺขาตธมฺมชาตํ) ธรรมชาติคือโทษแห่งผู้ไม่มีศีลอย่างอื่น
อตฺถิ ยังมีอยู่ ปุน จ อีก[5], กิตฺติสทฺโท
กิตติศัพท์ ปาปโก อันชั่ว ทุสฺสีโล
ผู้ทุศีล สีลวิปนฺโน มีศีลวิบัติแล้ว อพฺภุคฺคจฺฉติ ย่อมอื้อฉาว[6]. อาทีนโว
โทษ ทุติโย ที่สอง สีลวิปตฺติยา แห่งศีลวิบัติ ทุสฺสีลสฺส ของผู้ทุศีล
อยํ นี้.
‘‘ปุน จปรํ, คหปตโย, ทุสฺสีโล
สีลวิปนฺโน ยญฺญเทว ปริสํ อุปสงฺกมติ – ยทิ ขตฺติยปริสํ ยทิ พฺราหฺมณปริสํ ยทิ คหปติปริสํ
ยทิ สมณปริสํ – อวิสารโท อุปสงฺกมติ มงฺกุภูโตฯ อยํ ตติโย
อาทีนโว ทุสฺสีลสฺส
สีลวิปตฺติยาฯ
คหปตโย
ดูก่อนคฤหบดีท. อปรํ (สีลวิปตฺติอาทีนวสงฺขาตธมฺมชาตํ)
ธรรมชาติคือโทษแห่งศีลวิบัติอย่างอื่น ปุน จ นอกจากนี้อีก อตฺถิ
มีอยู่, ทุสฺสีโล ผู้ทุศีล สีลวิปนฺโน มีศีลวิบัติแล้ว อุปสงฺกมติ
เข้าไป ปริสํ สู่บริษัท ยํ
ยํ เอว ใดๆ ก็ตาม, คือ ขตฺติยปริสํ สู่ขัตติยบริษัท ยทิ = วา ก็ดี, พฺราหฺมณปริสํ
สู่พราหมณบริษัท ยทิ = วา ก็ดี, คหปติปริสํ สู่สมณบริษัท ยทิ = วา ก็ดี, สมณปริสํ สู่สมณบริษัท ยทิ = วา ก็ดี อวิสารโท เป็นผู้ไม่องอาจ มงฺกุภูโต
เป็นผู้เก้อเขิน หุตฺวา เป็น อุปสงฺกมติ ย่อมเข้าไป, อาทีนโว
โทษ ตติโย ที่สาม สีลวิปตฺติยา แห่งศีลวิบัติ ทุสฺสีลสฺส ของผู้ทุศีล
อยํ นี้.
[7]
‘‘ปุน จปรํ, คหปตโย, ทุสฺสีโล
สีลวิปนฺโน สมฺมูฬฺโห กาลงฺกโรติฯ อยํ จตุตฺโถ อาทีนโว ทุสฺสีลสฺส สีลวิปตฺติยาฯ
คหปตโย
ดูก่อนคฤหบดีท. อปรํ (สีลวิปตฺติอาทีนวสงฺขาตธมฺมชาตํ)
ธรรมชาติคือโทษแห่งศีลวิบัติอย่างอื่น ปุน จ นอกจากนี้อีก อตฺถิ
มีอยู่, ทุสฺสีโล ผู้ไม่มีศีล สีลวิปนฺโน มีศีลวิบัติแล้ว สมฺมูฬฺโห
เป็นผู้หลง[8] หุตฺวา
เป็น กโรติ ย่อมกระทำ กาลํ ซึ่งความสิ้นไปแห่งชีวิต, อาทีนโว
โทษ จตุตฺโถ ที่สี่ อยํ นี้ สีลวิปตฺติยา แห่งศีลวิบัติ ทุสฺสีลสฺส
ของผู้ทุศีล.
‘‘ปุน จปรํ, คหปตโย, ทุสฺสีโล สีลวิปนฺโน กายสฺส เภทา ปรํ มรณา อปายํ ทุคฺคติํ วินิปาตํ นิรยํ
อุปปชฺชติฯ อยํ ปญฺจโม อาทีนโว ทุสฺสีลสฺส สีลวิปตฺติยาฯ
คหปตโย
ดูก่อนคฤหบดีท. อปรํ (สีลวิปตฺติอาทีนวสงฺขาตธมฺมชาตํ) ธรรมชาติคือโทษแห่งศีลวิบัติอย่างอื่น
ปุน จ นอกจากนี้อีก อตฺถิ มีอยู่, ทุสฺสีโล ผู้ทุศีล สีลวิปนฺโน
มีศีลวิบัติแล้ว อุปปชฺชติ ย่อมเข้าถึง[9] นิรยํ
ซึ่งนรก อปายํ เป็นภพภูมิไม่มีความเจริญ ทุคฺคติํ เป็นภพภูมิแห่งความทุกข์
วินิปาตํ เป็นภพภูมิที่ตกไปจากกองแห่งความสุข[10] ปรํ ภายหลัง มรณา จากการตาย เภทา
เพราะการแตกสลาย กายสฺส แห่งกาย[11].อาทีนโว
โทษ ปญฺจโม ที่ห้า อยํ นี้ ทุสฺสีลสฺส แห่งผู้ทุศีล สีลวิปนฺนสฺส
มีศีลวิบัติ.
อิเม โข, คหปตโย, ปญฺจ อาทีนวา ทุสฺสีลสฺส สีลวิปตฺติยาฯ
คหปตโย
ดูก่อนคฤหบดีท. อาทีนวา โทษท. ปญฺจ ห้า สีลวิปตฺติยา แห่งศีลวิบัติ
ทุสฺสีลสฺส ของผู้ทุศีล อิเม โข เหล่านี้แล.
******************
[1]
พระผู้มีพระภาคตรัสอานิสงส์แห่งศีลและโทษแห่งความทุศีลกับอุบาสกเหล่านี้
แต่การที่ทรงแสดงโทษของความทุศีลก่อน เหตุที่ในกลุ่มอุบาสกเหล่านั้น ผู้มีศีลมีอยู่มากกว่า
เพราะฉะนั้นจึงทรงแสดงศีลวิบัติเสียก่อน.
[2]
ความเสื่อมแห่งโภคะใหญ่หลวงอันเป็นผลมาจากความเสียศีล
อันเนื่องจากความความประมาท ย่อมเกิดขึ้นทั้งแก่คฤหัสถ์และบรรพชิต. สำหรับคฤหัสถ์
ผู้ประกอบอาชีพต่างๆไม่ว่าจะค้าขายหรือกสิกรรมก็ตาม หากประมาทโดยไม่รักษาศีลมีปาณาติบาตเป็นต้น
ก็จะไม่สามารถทำทรัพย์ให้เกิดขึ้นตามกาลอันสมควรได้, แม้ต้นทุนก็เสื่อมสิ้น,
ในเวลาที่เขาสั่งห้ามฆ่า ก็ยังฆ่าสัตว์และลักทรัพย์เป็นต้น ในที่สุดก็จะเสื่อมทรัพย์เพราะการถูกลงโทษทัณฑ์.
ส่วนบรรพชิต จะเสื่อมจากศีล จากพุทธพจน์ จากฌานและจากอริยทรัพย์ ๗
เพราะเหตุแห่งความประมาท.
[3] ปมาทาธิกรณํ ความหมายเท่ากับ ปมาทการณา. เพราะเป็นปฐมาวิภัตติลงในอรรถเหตุ
ตามสัททนีติสูตรว่า ๕๗๙.เหตุมฺหิ. ลงปฐมาวิภัตติในอรรถเหตุด้วย.
[4] ทุ
ในคำว่า ทุสฺสีโล มีอรรถ อภาว ไม่มี ดังนั้น คำว่า ทุสฺสีโล หมายถึง ความไม่มีศีลของบุคคล,
ในเรื่องนี้ ความไม่มีศีลมี ๒ ประการคือ
เพราะการไม่สมาทานหรือเพราะการแตกทำลายแห่งศีลที่สมาทาน.
ในกรณีที่ไม่สมาทานไม่มีโทษมากเหมือนกรณีหลัง.
สีลวิปนฺโน เป็นพหุพพีหิสมาสชนิดวิเสสนะอยู่หลัง
ความหมายเท่ากับ วิปนฺนสีโล มีศีลวิบัติแล้ว. ได้แก่ ผู้มีการสำรวม กล่าวคือ ศีลที่ได้สมานทานไว้แตกทำลายแล้ว.
พระพุทธองค์ตรัสคำว่า สีลวิปนฺโน มีศีลวิบัติแล้ว
เพื่อแสดงความไม่มีศีลอันเป็นเหตุแห่งโทษตามที่ทรงระบุไว้ ด้วยเทศนาเป็นบุคคลาธิฏฐาน.
ด้วยเหตุนี้ คำว่า สีลวิปนฺโน ผู้มีศีลวิบัติแล้ว เป็นคำอธิบายความหมายของคำว่า
ทุสฺสีโล.
[5] ปุน จปรํ ตัดบทเป็น ปุน จ อปรํ.
อธิบายว่า เราจะแสดงโทษของความทุศีลอื่นที่จะยิ่งไปกว่าการเสื่อมไปแห่งโภคะ,
พวกท่านจงฟังเถิด. (ถือเอาคำอธิบายโดยเทียบกับที่มาในฎีกาสติปัฏฐานสูตร
ที.ม.ฎี.๓๗๕)
[6] อพฺภุคฺคจฺฉติ มาจา อภิ + อุ + คจฺฉติ.
กรณีนี้แปลว่า ฟุ้งขึ้น ทุสฺสีลสฺส สีลวิปนฺนสฺส
เป็นฉัฏฐีวิภัตติในอรรถสัมพันธะของ กิตฺติสทฺโท ธรรมดา. แต่ถ้าประกอบทุติยาวิภัตติ เป็น ทุสฺสีลํ
สีลวิปนฺนํ อภิ นั้น จะไม่ใช่อุปสัค แต่เป็นศัพท์ชนิด “กัมมัปปวจนียะ”
เคยกล่าวอรรถกริยา ดังนั้น ทุติยาวิภัตติที่ประกอบกับ อภิ จะมีอรรถฉัฏฐีวิภัตติ
เหมือน ตํ โข ปน ภควนฺตํ เอวํ กลฺยาโณ ฯปฯ อพฺภุคฺคโต.
ความเสื่อมเสียของคฤหัสถ์ผู้ทุศีลจะปรากฏแก่บริษัททั้งปวงว่า
ผู้นี้ ที่เกิดในตระกูลโน้น เป็นคนทุศีล มีบาป สละโลกนี้โลกหน้า ไม่เคยให้แม้แต่สลากภัต.
สำหรับบรรพชิตก็ว่า
“ท่านผู้โน้นไม่สามารถรักษาศีล, ไม่สามารถเรียนพระพุทธพจน์,
เลี้ยงชีพด้วยอเนสนามีเวชกรรมเป็นต้น
(เลี้ยงชีพด้วยการแสวงหาลาภผิดทางมีการประกอบยาเพื่อลาภเป็นต้น), ประกอบด้วยอคารวะ
๖ (ความไม่เคารพใน ๖ ประการมีพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์เป็นต้น).
[7] ยญฺญเทว
ตัดเป็น ยํ ยํ เอว โดยแปลงนิคหิตท้าย ยตัวแรกเป็น ญฺ และ แปลง ย ที่ ยํ
ตัวหลังเป็น ญ ตามหลักการของรูปสิทธิปกรณ์สูตรที่ ๕๑ ว่า ส เย จ
แปลง นิคคหิตเป็น ญ ในเพราะ ย ข้างหลัง แล้วซ้อน ญ ที่แปลงมา เป็น ญฺญํ
หรือ นิรุตติทีปนีสูตรที่ ๔๘ ว่า เยวหิสุ โญ เพราะ ย หิ และเอว
แปลง นิคคหิตเป็น ญฺ และ ยเป็น ญ ปุพพรูป แปลง นิคคหิตที่ ยํ ตัวหลังเป็น ท)
บริษัท (ปริสา)
หมายถึง ที่นั่งประชุมแห่งชนท. มีกษัตริย์เป็นต้น. มีวิเคราะห์ว่า สมนฺตโต สีทนฺติ
เอตฺถ อกตพุทฺธิโนติ ปริสา กษัตริย์เป็นต้น ผู้ยังไม่เกิดความรู้ ย่อมนั่งอยู่ในที่ประชุมนี้
เหตุนั้น จึงชื่อว่า ปริสา (บริษัท).
อีกนัยหนึ่ง คือ หมู่แห่งกษัตริย์เป็นต้น. ในที่นี้ ท่านหมายถึงบริษัทแห่งกษัตริย์ พราหมณ์
สมณะและคฤหบดีเท่านั้น โดยเว้นจาก สูท ไป. เหตุที่บริษัทมีกษัตริย์เป็นต้นเหล่านั้นมีความถึงพร้อมแห่งการมา
และ ปัญญา. คัมภีร์คัณฐีบทปฏิสัมภิทามรรคอธิบายว่า
การมาในที่นี้มี ๒ นัย คือ
สมบูรณ์ด้วยการมาคือบุญอันเป็นเหตุแห่งชาติมีกษัตริย์เป็นต้น หรืออีกนัยหนึ่ง
สมบูรณ์ด้วยการกระทำกิจมีการเล่าเรียนเป็นต้น ซึ่งอาคม กล่าวคือ พระพุทธวจนะ
และคัมภีร์อื่น. ส่วนความสมบูรณ์แห่งปัญญา ได้แก่ สมบูรณ์ด้วยปฏิสนธิปัญญา.
อีกนัยหนึ่งได้แก่
สมบูรณ์ด้วยปัญญาอันเกิดจากการเรียนเป็นต้นอันมีปฏิสนธิปัญญานั้นเป็นแดนเกิด. (คัณฐิปทปฏิสัมภิทามรรคมาติกา)
ความไม่องอาจของผู้ทุศีล สำหรับคฤหัสถ์จะเกิดขึ้นว่า
ในบริษัทเหล่านั้น จักต้องมีบางคนที่รู้จักการกระทำของเราเป็นแน่,
และพวกเขาจักต้องตำหนิเรา, หรือ ไม่ก็หวาดเกรงว่า พวกเขาจักนำเราส่งหลวงแน่ ดังนี้
ย่อมเป็นผู้หวั่นเกรงเข้าไป เป็นผู้เก้อเขิน มีคอตก นั่งก้มหน้าใช้นิ้วเขียนพื้น, ถึงเป็นผู้อาจหาญก็ไม่อาจกล่าวอะไรๆ.
ฝ่ายบรรพชิต ผู้ทุศีล คิดว่า ภิกษุเป็นอันมากประชุมกัน จักต้องมีใครสักคนรู้ถึงการกระทำของเรา,
ทีนั้น จักห้ามแม้อุโบสถ แม้ปวารณา ทำให้เราเคลื่อนออกจากความเป็นสมณะแล้วฉุดออกไป,
ถึงเป็นคนกล้าก็ไม่อาจพูดอะไร. ภิกษุบางรูป แม้ทุศีล ก็เที่ยวไปอย่างผู้ไม่ทุศีล (ฉัฏฐสังคายนา
เป็น ทปฺปิโต แปลว่า อย่างผู้เย่อหยิ่ง, อรรถกถาปาฏลิคามิย เป็น สมาโน สุสีโล วิย
จรติ แปลว่า อย่างผู้มีศีลดี) ย่อมเป็นผู้เก้อเขินเพราะความเป็นผู้เดือดร้อน (ที.ม.อ.๑๔๙)
[8]
หลงทำความสิ้นชีวิตไป สมฺมูฬฺโห
กาลงฺกโรติ หมายความว่า
ผู้ทุศีลเมื่อนอนบนเตียงใกล้ตายเหตุการณ์ที่เคยกระทำไว้อย่างเหนียวแน่นในการงานเกี่ยวกับความทุศีล
ก็จะปรากฏในใจ, ในเวลาที่ลืมตาจะเห็นหน้าบุตรภรรยาในโลกนี้ แต่หลับตาจะเห็นโลกหน้า
(สิ่งที่มาปรากฏในเวลาที่หลับตา เรียกว่า คตินิมิต สิ่งที่บ่งบอกถึงคติที่มีต่อจากภพนี้),
อบาย ๔ ปรากฏ, เป็นดังถูกหอกร้อยเล่มแทงที่ศีรษะ ร้องว่า “ห้ามที ห้ามที” แล้วตายไป.
นี้คือกิริยาที่เรียกว่า หลงตาย.
[9] ย่อมเข้าถึง (อุปฺปชฺชติ) หมายถึง
เข้าถึงโดยปฏิสนธิ มิใช่ไปด้วยกายนิรมิตเป็นต้น.
อุปปชฺชติ (ปทธาตุ (ทิ.) ในอรรถว่า คติ ไป, ถึง, เป็นไป)
แปลเป็นสกัมมธาตุโดย นิรยํ เป็นกรรม.
ในกรณีที่แปลเป็นอกัมมธาตุ มีความหมายเท่ากับ นิพฺพตฺตติ ย่อมอุบัติ (เกิดหรือเป็นไป) นิริยํ มีอรรถ สัตตมี แปลว่า ในนรก.
[10] ในที่นี้ นิรยํ เท่านั้นเป็นอวุตตกรรมใน อุปปชฺชติ. เพราะอปายศัพท์เป็นต้น เป็นไวพจน์ของคำว่า นรก. หมายความว่า นรก ก็
ชื่อว่า อบาย เพราะเป็นภูมิที่ปราศจากความเจริญ กล่าวคือ บุญ
อันเป็นเหตุแห่งสวรรคและนิพพาน, หรือเพราะไม่มีเจริญ หรือไม่ความมาถึงซึ่งความสุขทั้งหลาย.
ชื่อว่า ทุคติ เพราะเป็นคติ คือ ที่พำนักอาศัยแห่งทุกข์, อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่า
ทุคติ เพราะเป็นคติอันเกิดแล้วด้วยกรรมชั่ว เหตุที่มีความโกรธมาก. ชื่อว่า วินิบาต
เพราะเป็นที่ปราศจากอำนาจตกไปแห่งผู้ทำกรรมชั่ว, อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่า วินิบาต
เพราะเป็นที่สัตว์พินาศตกไปมีอวัยวะน้อยใหญ่กระจัดกระจาย. ชื่อว่า นิรยะ
เพราะในภพนี้ไม่มีความน่ายินดี.
อีกนัยหนึ่ง เพราะเหตุที่
อปายศัพท์เป็นต้น ได้แก่ อบายภูมิ ๓ ที่เหลือ คือ เดรัจฉาน เปรต และอสุรกาย
เพราะได้ถือเอานรกไปแล้วด้วยนิรยศัพท์ โดยโคพลิพัททนัย. ดังนั้น ประโยคนี้ จึงแปลโดยอธิปเปตัตถะว่า
อุปฺปชฺชติ ย่อมเข้าถึง นิรยํ ซึ่งนรก อปายํ =
ติรจฺฉานโยนิํ ซึ่งกำเนิดเดรัจฉาน ทุคฺคติํ =
เปตฺติวิสยํ ซึ่งที่อยู่คืออัตตภาพเปรต วินิปาตํ = อสุรกายํ ซึ่งหมู่แห่งอสูร. จริงอย่างนั้น พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า ด้วยคำว่า
อบาย แสดงกำเนิดดิรัจฉาน. จริงอย่างนั้น ดิรัจฉาน ชื่อว่า อบาย เพราะปราศจากสุคติ,
แต่ไม่ใช่ทุคติ เพราะเป็นที่เกิดของพระยานาคที่มีศักดามาก,
ด้วยคำว่า ทุคฺคติ
แสดงเปตติวิสัย (เปตติวิสัย คือ โลกหรืออัตตภาพ แห่งเปรต). จริงอย่างนั้น โลกแห่งเปรตนั้น
เป็นอบายด้วย เป็น ทุคติด้วย เพราะปราศจากคติที่ดี และเพราะเป็นคติแห่งทุกข์,
แต่มิได้เป็นวินิบาต เพราะมิได้เป็นที่ตกไปโดยไร้อำนาจ เหมือนพวกอสูร และเพราะเป็นภพที่มีเปรตซึ่งมีฤทธิ์มากอยู่.
(อสูร เป็นชื่อของเทวดาพวกหนึ่งที่รบกับท้าวสักกะแล้วพ่ายแพ้ต้องตกมาจากดาวดึงส์เทวโลก.
ในข้อนี้หมายถึง เปตตวิสัย เรียกว่า เป็นอบาย ทุคติ แต่ไม่เป็นวินิบาต ด้วยเหตุผล
คือ ๑) คำว่า วินิปาต คือ การตกไปโดยไร้อำนาจ เหมือนอย่างภพแห่งพวกอสูร,
แต่เปตตวิสัย หาได้มีลักษณะเช่นนั้นไม่ ๒) วินิบาต ต้องไม่มีอำนาจคือฤทธิ์
แต่ในเปตติวิสัย ยังมีเปรตที่มีอำนาจมีฤทธิ์มากอยู่), ด้วยคำว่า วินิปาต
แสดงอสุรกาย. จริงอย่างนั้น พวกอสุรกาย ชื่อว่า อบาย, กับ ทุคติ
เพราะความหมายดังกล่าวมาแล้วและ ชื่อว่า วินิปาต เพราะเป็นตกไปโดยไร้อำนาจจากกองสมบัติทั้งปวง.)
ด้วยคำว่า นิรย จึงแสดงนรกมากมายหลายประการมีอเวจีมหานรกเป็นต้น. (อุทาน.อ.๗๖.
- ปาฏลิคามิยสุตฺตวณฺณนา)
[11]
คำว่า
เพราะกายแตก (กายสฺส เภทา) หมายถึง การสละอุปาทินนกขันธ์, คำว่า หลังจากตาย
(ปรํ มรณา) หมายถึง การถือเอาขันธ์ที่เกิดขึ้นใหม่ในภพถัดไป, และโดยอภิธัมมนัย
ความแตกไปแห่งกาย หมายถึง ชีวิตินทรีย์ขาดไป, คำว่า หลังจากการตาย หมายถึง
ภายหลังจากจุติจิต. (อุทาน.อ.- ๖.ปาฏลิคามิยสุตฺตวณฺณนา ๗๖.)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น