ปาฏลิปุตฺตนครมาปนํ
การสร้างพระนครปาฏลิบุตร
๑๕๒. เตน โข ปน สมเยน
สุนิธวสฺสการา [สุนีธวสฺสการา
(สฺยา. ก.)] มคธมหามตฺตา ปาฏลิคาเม นครํ มาเปนฺติ
วชฺชีนํ ปฏิพาหายฯ เตน สมเยน สมฺพหุลา เทวตาโย สหสฺเสว [สหสฺสสฺเสว (สี. ปี. ก.), สหสฺสเสว (ฏีกายํ ปาฐนฺตรํ), สหสฺสสหสฺเสว
(อุทานฏฺฐกถา)] ปาฏลิคาเม วตฺถูนิ ปริคฺคณฺหนฺติฯ
ยสฺมิํ ปเทเส มเหสกฺขา เทวตา วตฺถูนิ ปริคฺคณฺหนฺติ,
มเหสกฺขานํ ตตฺถ รญฺญํ ราชมหามตฺตานํ จิตฺตานิ นมนฺติ นิเวสนานิ มาเปตุํฯ ยสฺมิํ ปเทเส มชฺฌิมา เทวตา วตฺถูนิ ปริคฺคณฺหนฺติ, มชฺฌิมานํ ตตฺถ รญฺญํ ราชมหามตฺตานํ จิตฺตานิ นมนฺติ นิเวสนานิ มาเปตุํฯ ยสฺมิํ ปเทเส นีจา เทวตา วตฺถูนิ ปริคฺคณฺหนฺติ, นีจานํ ตตฺถ รญฺญํ ราชมหามตฺตานํ จิตฺตานิ นมนฺติ นิเวสนานิ มาเปตุํฯ อทฺทสา โข ภควา ทิพฺเพน จกฺขุนา วิสุทฺเธน อติกฺกนฺตมานุสเกน ตา เทวตาโย สหสฺเสว ปาฏลิคาเม วตฺถูนิ ปริคฺคณฺหนฺติโยฯ อถ โข ภควา รตฺติยา ปจฺจูสสมยํ ปจฺจุฏฺฐาย อายสฺมนฺตํ อานนฺทํ อามนฺเตสิ – ‘‘เก นุ โข [โก นุ โข (สี. สฺยา. ปี. ก.)], อานนฺท, ปาฏลิคาเม นครํ มาเปนฺตี’’ติ [มาเปตีติ (สี. สฺยา. ปี. ก.)]? ‘‘สุนิธวสฺสการา, ภนฺเต, มคธมหามตฺตา ปาฏลิคาเม นครํ มาเปนฺติ วชฺชีนํ ปฏิพาหายา’’ติฯ ‘‘เสยฺยถาปิ, อานนฺท, เทเวหิ ตาวติํเสหิ สทฺธิํ มนฺเตตฺวา, เอวเมว โข, อานนฺท, สุนิธวสฺสการา มคธมหามตฺตา ปาฏลิคาเม นครํ มาเปนฺติ วชฺชีนํ ปฏิพาหายฯ อิธาหํ, อานนฺท, อทฺทสํ ทิพฺเพน จกฺขุนา วิสุทฺเธน อติกฺกนฺตมานุสเกน สมฺพหุลา เทวตาโย สหสฺเสว ปาฏลิคาเม วตฺถูนิ ปริคฺคณฺหนฺติโยฯ ยสฺมิํ, อานนฺท, ปเทเส มเหสกฺขา เทวตา วตฺถูนิ ปริคฺคณฺหนฺติ, มเหสกฺขานํ ตตฺถ รญฺญํ ราชมหามตฺตานํ จิตฺตานิ นมนฺติ นิเวสนานิ มาเปตุํฯ ยสฺมิํ ปเทเส มชฺฌิมา เทวตา วตฺถูนิ ปริคฺคณฺหนฺติ, มชฺฌิมานํ ตตฺถ รญฺญํ ราชมหามตฺตานํ จิตฺตานิ นมนฺติ นิเวสนานิ มาเปตุํฯ ยสฺมิํ ปเทเส นีจา เทวตา วตฺถูนิ ปริคฺคณฺหนฺติ, นีจานํ ตตฺถ รญฺญํ ราชมหามตฺตานํ จิตฺตานิ นมนฺติ นิเวสนานิ มาเปตุํฯ ยาวตา, อานนฺท, อริยํ อายตนํ ยาวตา วณิปฺปโถ อิทํ อคฺคนครํ ภวิสฺสติ ปาฏลิปุตฺตํ ปุฏเภทนํฯ ปาฏลิปุตฺตสฺส โข, อานนฺท, ตโย อนฺตรายา ภวิสฺสนฺติ – อคฺคิโต วา อุทกโต วา มิถุเภทา วา’’ติฯ
มเหสกฺขานํ ตตฺถ รญฺญํ ราชมหามตฺตานํ จิตฺตานิ นมนฺติ นิเวสนานิ มาเปตุํฯ ยสฺมิํ ปเทเส มชฺฌิมา เทวตา วตฺถูนิ ปริคฺคณฺหนฺติ, มชฺฌิมานํ ตตฺถ รญฺญํ ราชมหามตฺตานํ จิตฺตานิ นมนฺติ นิเวสนานิ มาเปตุํฯ ยสฺมิํ ปเทเส นีจา เทวตา วตฺถูนิ ปริคฺคณฺหนฺติ, นีจานํ ตตฺถ รญฺญํ ราชมหามตฺตานํ จิตฺตานิ นมนฺติ นิเวสนานิ มาเปตุํฯ อทฺทสา โข ภควา ทิพฺเพน จกฺขุนา วิสุทฺเธน อติกฺกนฺตมานุสเกน ตา เทวตาโย สหสฺเสว ปาฏลิคาเม วตฺถูนิ ปริคฺคณฺหนฺติโยฯ อถ โข ภควา รตฺติยา ปจฺจูสสมยํ ปจฺจุฏฺฐาย อายสฺมนฺตํ อานนฺทํ อามนฺเตสิ – ‘‘เก นุ โข [โก นุ โข (สี. สฺยา. ปี. ก.)], อานนฺท, ปาฏลิคาเม นครํ มาเปนฺตี’’ติ [มาเปตีติ (สี. สฺยา. ปี. ก.)]? ‘‘สุนิธวสฺสการา, ภนฺเต, มคธมหามตฺตา ปาฏลิคาเม นครํ มาเปนฺติ วชฺชีนํ ปฏิพาหายา’’ติฯ ‘‘เสยฺยถาปิ, อานนฺท, เทเวหิ ตาวติํเสหิ สทฺธิํ มนฺเตตฺวา, เอวเมว โข, อานนฺท, สุนิธวสฺสการา มคธมหามตฺตา ปาฏลิคาเม นครํ มาเปนฺติ วชฺชีนํ ปฏิพาหายฯ อิธาหํ, อานนฺท, อทฺทสํ ทิพฺเพน จกฺขุนา วิสุทฺเธน อติกฺกนฺตมานุสเกน สมฺพหุลา เทวตาโย สหสฺเสว ปาฏลิคาเม วตฺถูนิ ปริคฺคณฺหนฺติโยฯ ยสฺมิํ, อานนฺท, ปเทเส มเหสกฺขา เทวตา วตฺถูนิ ปริคฺคณฺหนฺติ, มเหสกฺขานํ ตตฺถ รญฺญํ ราชมหามตฺตานํ จิตฺตานิ นมนฺติ นิเวสนานิ มาเปตุํฯ ยสฺมิํ ปเทเส มชฺฌิมา เทวตา วตฺถูนิ ปริคฺคณฺหนฺติ, มชฺฌิมานํ ตตฺถ รญฺญํ ราชมหามตฺตานํ จิตฺตานิ นมนฺติ นิเวสนานิ มาเปตุํฯ ยสฺมิํ ปเทเส นีจา เทวตา วตฺถูนิ ปริคฺคณฺหนฺติ, นีจานํ ตตฺถ รญฺญํ ราชมหามตฺตานํ จิตฺตานิ นมนฺติ นิเวสนานิ มาเปตุํฯ ยาวตา, อานนฺท, อริยํ อายตนํ ยาวตา วณิปฺปโถ อิทํ อคฺคนครํ ภวิสฺสติ ปาฏลิปุตฺตํ ปุฏเภทนํฯ ปาฏลิปุตฺตสฺส โข, อานนฺท, ตโย อนฺตรายา ภวิสฺสนฺติ – อคฺคิโต วา อุทกโต วา มิถุเภทา วา’’ติฯ
๑๕๒.
เตน โข ปน สมเยน ก็ในสมัยนั้น แล สุนิธวสฺสการา พราหมณ์ชื่อสุนิธะและพราหมณ์ชื่อวัสสการ
มคธมหามตฺตา มหาอำมาตย์แห่งแคว้นมคธ นครํ ยังเมือง มาเปนฺติ = ปติฏฺฐาเปนฺติ ให้ตั้งขึ้น ปาฏลิคาเม
ในบ้านปาฏลิคาม[๑]
ปฏิพาหาย[๒]
เพื่อป้องกันความเจริญ วชฺชีนํ ของเจ้าวัชชีท. เตน สมเยน ในสมัยนั้น
เทวตาโย ทวยเทพ สมฺพหุลา มากด้วยกัน สหสฺส เอว = สหสฺสโส เอว จับกลุ่มละหนึ่งพันองค์ทีเดียว[๓] ปริคฺคณฺหนฺติ
สิงสถิตย์ วตฺถูนิ = ฆรวตฺถูนิ = ฆรปติฏฺฐาปนฏฺฐานานิ พื้นที่สำหรับสร้างเรือนหลายแห่ง ปาฏลิคาเม
ในหมู่บ้านปาฏลิคาม. เทวตา เทวดา มเหสกฺขา ที่มีอานุภาพมาก ปริคฺคณฺหนฺติ
สิงสถิตย์ วตฺถูนิ พื้นที่สำหรับสร้างเรือน ยสฺมิํ ปเทเส
ในพื้นที่ใด, จิตฺตานิ จิต[๔] นมนฺติ
ย่อมน้อมไป มาเปตุํ เพื่อจะตั้ง นิเวสนานิ นิเวศน์ รญฺญํ จ ของพระราชา ราชมหามตฺตานํ จ
และราชมหาอำมาตย์ มเหสกฺขานํ ผู้มีอำนาจมาก ตตฺถ ในที่แห่งนั้น. เทวตา
เทวดา มชฺฌิมา ชั้นกลาง ปริคฺคณฺหนฺติ สิงสถิตย์ วตฺถูนิ
พื้นที่สำหรับสร้างเรือน ยสฺมิํ ปเทเส ในพื้นที่ใด, จิตฺตานิ จิต
นมนฺติ ย่อมน้อมไป มาเปตุํ เพื่อจะตั้ง นิเวสนานิ นิเวศน์ รญฺญํ จ ของพระราชา ราชมหามตฺตานํ จ
และอำมาตย์ผู้ใหญ่ของพระราชา มชฺฌิมานํ ชั้ืนกลางๆ ตตฺถ ในที่แห่งนั้น. เทวตา เทวดา
นีจา ชั้นต่ำๆ ปริคฺคณฺหนฺติ สิงสถิตย์ วตฺถูนิ
พื้นที่สำหรับสร้างเรือน ยสฺมิํ ปเทเส ในพื้นที่ใด, จิตฺตานิ จิต นมนฺติ
ย่อมน้อมไป มาเปตุํ เพื่อจะตั้ง นิเวสนานิ นิเวศน์ รญฺญํ จ ของพระราชา ราชมหามตฺตานํ จ
และอำมาตย์ผู้ใหญ่ของพระราชา นีจานํ ชั้ืนต่ำๆ ตตฺถ ในที่แห่งนั้น.[๕]
ภควา
พระผู้มีพระภาค โข แล อทฺทสา ทอดพระเนตร ตา เทวตาโย
เทวดาเหล่านั้น สหสฺส เอว ที่จับกลุ่มพวกละหนึ่งพัน ปริคฺคณฺหนฺติโย
ที่ิสิงสถิตย์ วตฺถูนิ พื้นที่หลายแห่ง ปาฏลิคาเม
ในหมู่บ้านปาฏลิคาม จกฺขุนา ด้วยพระจักษุ ทิพฺเพน อันเป็นทิพย์ วิสุทฺเธน
อันหมดจด อติกฺกนฺตมานุสเกน พ้นวิสัยแห่งจักษุของมนุษย์. อถ โข
ลำดับนั้น แล ภควา พระผู้มีพระภาค ปจฺจุฏฺฐาย เสด็จลุกขึ้น (สยนา)
จากที่บรรทม ปจฺจูสสมยํ ในเวลาใกล้รุ่ง (อนฺตํ) อันเป็นที่สุด รตฺติยา[๖] แห่งราตรี อามนฺเตสิ
ทรงรับสั่ง อายสฺมนฺตํ อานนฺทํ กับท่านพระอานนท์ ว่า อานนฺท
อานนท์ เก นุ โข พวกใครกันหนอ มาเปนฺติ = ปติฏฺฐาเปนฺติ ตั้ง นครํ [๗]เมือง ปาฏลิคาเม
ในหมู่บ้านปาฏลิคาม อิติ ดังนี้.
อายสฺมา อานนฺโท
ท่านพระอานนท์ อาห กราบทูลว่า ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สุนิธวสฺสการา
พราหมณ์สุนิธะและพราหมณ์วัสสการ มคธมหามตฺตา อำมาตย์ใหญ่แห่งมคธรัฐ มาเปนฺติ
= ปติฏฺฐาเปนฺติ ตั้ง นครํ เมือง ปาฏลิคาเม
ในหมู่บ้านปาฏลิคาม ปฏิพาหาย เพื่อป้องกันความเจริญ วชฺชีนํ
ของเจ้าวัชชีท. อิติ ดังนี้.
ภควา
พระผู้มีพระภาค อโวจ ได้ตรัสแล้ว (เอตํ วจนํ) ซึ่งพระดำรัสนั้นว่า อานนฺท
อานนท์ สุนิธวสฺสการา พราหมณ์สุนิธะและพราหมณ์วัสสการะ มคธมหามตฺตา มหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐ
มนฺเตตฺวา ปรึกษาแล้ว สทฺธิํ กับ เทเวหิ ทวยเทพ ตาวติํเสหิ
ผู้เป็นบัณฑิตแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (มาเปนฺติ = ปติฏฺฐาเปนฺติ ย่อมตั้ง นครํ) เสยฺยถาปิ
ฉันใด, มาเปนฺติ = ปติฏฺฐาเปนฺติ ตั้ง นครํ เมือง ปาฏลิคาเม
ในหมู่บ้านปาฏลิคาม ปฏิพาหาย เพื่อป้องกันความเจริญ วชฺชีนํ
ของเจ้าวัชชีท., เอวเมว โข ฉันนั้น.[๘]
อานนฺท
อานนท์ อิธ ณ ที่นี้ อหํ เรา อทฺทสํ ได้เห็น เทวตาโย
เทวดาทั้งหลาย สมฺพหุลา เป็นอันมาก สหสฺส = สหสฺสโส เอว รวมกันเป็นกลุ่มละ ๑ พัน ปริคฺคณฺหนฺติโย สิงสถิตย์ วตฺถูนิ
พื้นที่สำหรับสร้างบ้านเรือนหลายแห่ง ปาฏลิคาเม ในหมู่บ้านปาฏลิคาม จกฺขุนา
ด้วยจักษุ ทิพฺเพน อันเป็นทิพย์ วิสุทฺเธน อันหมดจด อติกฺกนฺตมานุสเกน
พ้นวิสัยแห่งจักษุของมนุษย์.
อานนฺท
อานนท์ เทวตา เทวดา มเหสกฺขา ที่มีอานุภาพมาก ปริคฺคณฺหนฺติ
สิงสถิตย์ วตฺถูนิ พื้นที่สำหรับสร้างเรือน ยสฺมิํ ปเทเส
ในพื้นที่ใด, จิตฺตานิ จิต นมนฺติ ย่อมน้อมไป มาเปตุํ
เพื่อจะตั้ง นิเวสนานิ นิเวศน์ รญฺญํ จ ของพระราชา ราชมหามตฺตานํ จ
และอำมาตย์ผู้ใหญ่ของพระราชา มเหสกฺขานํ ผู้มีอำนาจมาก ตตฺถ
ในที่แห่งนั้น. เทวตา เทวดา มชฺฌิมา ชั้นกลาง ปริคฺคณฺหนฺติ
สิงสถิตย์ วตฺถูนิ พื้นที่สำหรับสร้างเรือน ยสฺมิํ ปเทเส
ในพื้นที่ใด, จิตฺตานิ จิต นมนฺติ ย่อมน้อมไป มาเปตุํ เพื่อตั้ง
นิเวสนานิ นิเวศน์ รญฺญํ จ
ของพระราชา ราชมหามตฺตานํ จ และอำมาตย์ผู้ใหญ่ของพระราชา มชฺฌิมานํ
ชั้ืนกลางๆ ตตฺถ ในที่แห่งนั้น. เทวตา เทวดา นีจา ชั้นต่ำๆ ปริคฺคณฺหนฺติ
สิงสถิตย์ วตฺถูนิ พื้นที่สำหรับสร้างเรือน ยสฺมิํ ปเทเส
ในพื้นที่ใด, จิตฺตานิ จิต นมนฺติ ย่อมน้อมไป มาเปตุํ
เพื่อจะตั้ง นิเวสนานิ นิเวศน์ รญฺญํ
จ ของพระราชา ราชมหามตฺตานํ จ และอำมาตย์ผู้ใหญ่ของพระราชา นีจานํ
ชั้ืนต่ำๆ ตตฺถ ในที่แห่งนั้น.
อานนฺท
อานนท์ อริยํ อายตนํ[๙]
ที่ชุมนุมแห่งอารยชน[๑๐] อตฺถิ
มีอยู่ ยาวตา = ยตฺตกํ เพียงใด, วณิปฺปโถ ย่านการค้า[๑๑] อตฺถิ
มีอยู่ ยาวตา = ยตฺตกํ เพียงใด, [๑๒]อิทํ (นครํ) เมืองนี้
ภวิสฺสติ จักเป็น อคฺคนครํ เมืองชั้นเลิศ[๑๓] (เตสํ อริยายตนวณิปฺปถานํ)
แห่งที่ชุมนุมแห่งอารยชนและย่านการค้าเหล่านั้นปาฏลิปุตฺตํ
ชื่อว่าปาฏลิบุตร ปุฏเภทนํ เป็นที่เปิดห่อสินค้า[๑๔]. อานนฺท อานนท์ อนฺตรายา อันตราย ตโย
๓ ประการ อคฺคิโต วา = จ คือ
จากไฟ, อุทกโต วา = จ จากน้ำ, มิถุเภทา
วา = จ[๑๕] และจากการแตกสามัคคี ภวิสฺสติ
จักมี ปาฏลิปุตฺสฺส แก่เมืองปาฏลีบุตร อิติ ดังนี้.
๑๕๓. อถ โข สุนิธวสฺสการา
มคธมหามตฺตา เยน ภควา เตนุปสงฺกมิํสุ; อุปสงฺกมิตฺวา ภควตา
สทฺธิํ สมฺโมทิํสุ, สมฺโมทนียํ กถํ สารณียํ วีติสาเรตฺวา
เอกมนฺตํ อฏฺฐํสุ, เอกมนฺตํ ฐิตา โข สุนิธวสฺสการา มคธมหามตฺตา
ภควนฺตํ เอตทโวจุํ – ‘‘อธิวาเสตุ โน ภวํ โคตโม อชฺชตนาย
ภตฺตํ สทฺธิํ ภิกฺขุสงฺเฆนา’’ติฯ อธิวาเสสิ ภควา
ตุณฺหีภาเวนฯ อถ โข สุนิธวสฺสการา มคธมหามตฺตา ภควโต อธิวาสนํ วิทิตฺวา เยน สโก
อาวสโถ เตนุปสงฺกมิํสุ; อุปสงฺกมิตฺวา สเก อาวสเถ ปณีตํ
ขาทนียํ โภชนียํ ปฏิยาทาเปตฺวา ภควโต กาลํ อาโรจาเปสุํ – ‘‘กาโล,
โภ โคตม, นิฏฺฐิตํ ภตฺต’’นฺติฯ
๑๕๓. อถ โข ลำดับนั้นแล สุนิธวสฺสการา
พราหมณ์สุนิธะและพราหมณ์วัสสการะ มคธมหามตฺตา มหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐ, ภควา
พระผู้มีพระภาค โหติ ทรงเป็นผู้ (ปุคฺคเลน) อันบุคคล อุปสงฺกมิตพฺโพ
พึงเข้าไป เยน (ทิสาภาเคน) โดยส่วนแห่งทิศใด, อุปสงฺกมิํสุ
เข้าไปเฝ้าแล้ว เตน (ทิสาภาเคน) โดยส่วนแห่งทิศนั้น.[๑๖] อุปสงฺกมิตฺวา ครั้นเข้าไปแล้ว
กถํ ยังคำพูด สมฺโมทนียํ อันสมควรรื่นเริง สารณียํ อันสมควรระลึกถึงกัน
วีติสาเรตฺวา ให้ผ่านแล้ว อฏฺฐํสุ ได้ยืนแล้ว เอกมนฺตํ = เอกปสฺสํ โดยที่ข้างหนึ่ง
(หรือ=อนุจฺฉวิเก ฐาเน ณ
ที่อันสมควร)[๑๗]. สุนิธวสฺสการา
พราหมณ์สุนิธะและพราหมณ์วัสสการ มคธมหามตฺตา มหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐ ฐิตา โข
ผู้ยืนแล้ว เอกมนฺตํ = เอกปสฺสํ โดยที่ข้างหนึ่ง อโวจุํ ได้กราบทูล เอตํ วจนํ ซึ่งคำนั้น ภควนฺตํ
กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า โคตโม ขอท่านพระโคดม ภวํ ผู้เจริญ สทฺธิํ
พร้อม ภิกฺขุสงฺเฆน ภิกษุสงฆ์ อธิวาเสตุ =
สมฺปฏิจฺฉตุ โปรดจงรับ ภตฺตํ ซึ่งภัตตาหาร โน
ของพวกข้าพระองค์ อชฺชตนาย = อชฺช ปวตฺตมานาย ปุญฺญปีติปาโมชฺชาย เพื่อบุญและปีติปราโมทย์อันจะเป็นไปในวันนี้เถิด
[๑๘] อิติ
ดังนี้. ภควา พระผู้มีพระภาค อธิวาเสสิ = สมฺปฏิจฺฉสิ ทรงรับแล้ว (ตํ นิมนฺตนํ) ซึ่งคำนิมนต์นั้น ตุณฺหีภาเวน โดยพระอาการดุษนี[๑๙].
อถ โข ลำดับนั้นแล นิธวสฺสการา พราหมณ์สุนิธะและพราหมณ์วัสสการ มคธมหามตฺตา
มหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐ วิทิตฺวา ทราบแล้ว อธิวาสนํ
ซึ่งการรับนิมนต์ ภควโต ของพระผู้มีพระภาค, อาวสโถ ที่พำนัก สโก
ของตน อตฺถิ มีอยู่ เยน = ยตฺถ ทิสาภาเค
ในส่วนแห่งทิศใด, อุปสงฺกมิํสุ เข้าไป เตน = ตตฺถ ทิสาภาเคน ในส่วนแห่งทิศนั้น,
อุปสงฺกมิตฺวา ครั้นเข้าไปแล้ว ปฏิยาทาเปตฺวา ให้ตระเตรียม ขาทนียํ
ของควรเคี้ยว โภชนียํ ของควรฉัน ปณีตํ อันประณีต อาวสเถ
ในที่พำนัก สเก ของพวกตน อาโรจาเปสุํ ให้บุรุษไปกราบทูล กาลํ ซึ่งกาลอันเหมาะสม
ภควโต ต่อพระผู้มีพระภาค ว่า โภ โคตม ข้าแต่พระโคดม ผู้เจริญ กาโล
กาล (สมฺปตฺโต) ถึงพร้อมแล้ว, ภตฺตํ ภัตตาหาร นิฏฺฐิตํ
จัดเตรียมเสร็จแล้ว อิติ ดังนี้.[๒๐]
อถ
โข ภควา ปุพฺพณฺหสมยํ นิวาเสตฺวา ปตฺตจีวรมาทาย สทฺธิํ ภิกฺขุสงฺเฆน เยน สุนิธวสฺสการานํ มคธมหามตฺตานํ อาวสโถ เตนุปสงฺกมิ;
อุปสงฺกมิตฺวา ปญฺญตฺเต อาสเน นิสีทิฯ อถ โข สุนิธวสฺสการา มคธมหามตฺตา
พุทฺธปฺปมุขํ ภิกฺขุสงฺฆํ ปณีเตน ขาทนีเยน โภชนีเยน สหตฺถา สนฺตปฺเปสุํ สมฺปวาเรสุํฯ
อถ โข สุนิธวสฺสการา มคธมหามตฺตา ภควนฺตํ ภุตฺตาวิํ โอนีตปตฺตปาณิํ อญฺญตรํ นีจํ
อาสนํ คเหตฺวา เอกมนฺตํ นิสีทิํสุฯ เอกมนฺตํ นิสินฺเน โข สุนิธวสฺสกาเร
มคธมหามตฺเต ภควา อิมาหิ คาถาหิ อนุโมทิ –
สีลวนฺเตตฺถ โภเชตฺวา, สญฺญเต พฺรหฺมจารโยฯ
‘‘ยา ตตฺถ เทวตา อาสุํ,
ตาสํ ทกฺขิณมาทิเส;
ตา ปูชิตา ปูชยนฺติ, มานิตา
มานยนฺติ นํฯ
เทวตานุกมฺปิโต โปโส, สทา ภทฺรานิ ปสฺสตี’’ติฯ
อถ
โข ภควา สุนิธวสฺสกาเร มคธมหามตฺเต อิมาหิ คาถาหิ อนุโมทิตฺวา อุฏฺฐายาสนา
ปกฺกามิฯ
อถ โข
ลำดับนั้นแล ปุพฺพณฺหสมยํ ในเวลาหนึ่งของช่วงเช้า ภควา
พระผู้มีพระภาค นิวาเสตฺวา ทรงนุ่ง (นิวาสนํ) ซึ่งผ้าสบง (คามปฺปเวสนนิวสนากาเรน)
โดยอาการที่จะทรงนุ่งเพื่อเสด็จเข้าไปยังหมู่บ้าน[๒๑] อาทาย ทรงถือเอาแล้ว
ปตฺตจีวรํ ซึ่งบาตรและจีวร (กายปฏิพทฺธํ กตฺวา) โดยทรงกระทำให้แนบกาย[๒๒],อาวสโถ
ที่พำนัก สุนิธวสฺสการานํ ของพราหมณ์สุนิธะและพราหมณ์วัสสการ มคธมหามตฺตานํ
มหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐ อตฺถิ มีอยู่ เยน = ยตฺถ ทิสาภาเค ในส่วนแห่งทิศใด, อุปสงฺกมิํสุ
เสด็จไป เตน = ตตฺถ ทิสาภาเคน ในส่วนแห่งทิศนั้น สทฺธิํ
พร้อม ภิกฺขุสงฺเฆน ด้วยหมู่แห่งภิกษุ, อุปสงฺกมิตฺวา
ครั้นเสด็จเข้าไปแล้ว นิสีทิ ประทับนั่ง อาสเน บนอาสนะ ปญฺญตฺเต
ที่บุคคลจัดเตรียมไว้.
อถ โข
ลำดับนั้นแล สุนิธวสฺสการา พราหมณ์สุนิธะและพราหมณ์วัสสการ มคธมหามตฺตา มหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐ
ภควนฺตํ (อังคาส)พระผู้มีพระภาค ภิกฺขุสงฺเฆน สทฺธิํ พร้อมด้วยหมู่แห่งภิกษุ
สนฺตปฺเปสุํ ให้อิ่มหนำแล้ว[๒๓] สมฺปวาเรสุํ
ให้เพียงพอแล้ว (หรือปวารณาแล้ว)[๒๔] ขาทนีเยน
ของควรเคี้ยว โภชนีเยน ของควรฉัน ปณีเตน อันประณีต สหตฺถา = สหตฺเถน ด้วยมือของตนเอง.[๒๕]
อถ โข
ลำดับนั้นแล สุนิธวสฺสการา พราหมณ์สุนิธะและพราหมณ์วัสสการ มคธมหามตฺตา มหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐ
(ญตฺวา) ทราบแล้ว[๒๖] ภควนฺตํ
ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ภุตฺตาวิํ ผู้เสวยเสร็จแล้ว[๒๗] โอนีตปตฺตปาณิํ
มีพระหัตถ์อันพระองค์ทรงแยกออกจากบาตรแล้ว[๒๘] คเหตฺวา
จึงถือเอา อาสนํ ซึ่งที่นั่ง นีจํ ต่ำ อญฺญตรํ ในบางที่ นิสีทิํสุ
นั่งแล้ว เอกมนฺตํ ข้างหนึ่ง. ภควา พระผู้มีพระภาค อนุโมทิ
ทรงอนุโมทนา สุนิธวสฺสกาเร ซึ่งพราหมณ์สุนิธะและพราหมณ์วัสสการ มคธมหามตฺเต
มหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐ นิสินฺเน โข ผู้นั่ง เอกมนฺตํ
ข้างหนึ่งแล้ว [๒๙]
อิมาหิ คาถาหิ ด้วยพระคาถาเหล่านี้ว่า
(มนุสฺโส)
มนุษย์ ปณฺฑิตชาติโย[๓๐] ชาติบัณฑิต กปฺเปติ
สำเร็จ วาสํ การอยู่ ยสฺมิํ ปเทเส ในสถานที่ใด, พฺรหฺมจารโย[๓๑]พึงอาราธนาผู้ประพฤติพรหมจรรย์
สีลวนฺเต ผู้มีศีล สญฺญเต ผู้สำรวม โภเชตฺวา ให้ฉัน เอตฺถ
= เอตสฺมิํ
สกปฺปิตปฺปเทเส
ในสถานที่อันสำเร็จการอยู่ของตนนั้น, ยา เทวตา เทวดาเหล่าใด อาสุํ
มีแล้ว ตตฺถ ในที่นั้น, อาทิเส = อาทิเสยฺย[๓๒] พึงอุทิศ ทกฺขิณํ ซึ่งทักษิณา[๓๓] ตาสํ (เทวตานํ) แก่เทวดาเหล่านั้น. ตา
(เทวตา) เทวดาเหล่านั้น ปณฺฑิตชาติเกน มนุสฺเสน อันมนุษย์ชาติบัณฑิต ปูชิตา
บูชาแล้ว ปูชยนฺติ ย่อมบูชาตอบ นํ[๓๔]
ปณฺฑิตชาติกํ มนุสฺสํ มนุษย์ชาติบัณฑิตนั้น[๓๕], ปณฺฑิตชาติเกน
มนุสฺเสน อันมนุษย์ชาติบัณฑิต มานิตา นับถือแล้ว มานยนฺติ
ย่อมนับถือตอบ นํ ปณฺฑิตชาติกํ มนุสฺสํ มนุษย์ชาติบัณฑิตนั้น[๓๖], ตโต
เพราะการบูชาและการนับถือนั้น เทวตา เทวดาท. อนุกมฺปนฺติ
ย่อมอนุเคราะห์ นํ ปณฺฑิตชาติกํ มนุสฺสํ มนุษย์ชาติบัณฑิตนั้น มาตา
ปุตฺตํ โอรสํ อนุกมฺปมานา ว เหมือนมารดา อนุเคราะห์ บุตร ที่วางในอ้อมอกให้เติบโต,
โปโส บุรุษ เทวตานุกมฺปิโต ผู้ซึ่งเทวดาอนุเคราะห์แล้ว ปสฺสติ
ย่อมประสบ ภทฺรานิ ซึ่งความเจริญ สทา ในกาลทุกเมื่อ อิติ
ดังนี้.
อถ โข
ครั้งนั้นแล ภควา พระผู้มีพระภาคเจ้า อนุโมทิตฺวา ครั้นอนุโมทนาแล้ว[๓๗] สุนิธวสฺสกาเร
กะพราหมณ์สุนิธะและพราหมณ์วัสสการ มคธมหามตฺเต มหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐ อิมาหิ
คาถาหิ ด้วยพระคาถาท.เหล่านี้แล้ว อุฏฺฐาย ทรงลุกขึ้นแล้ว อาสนา
จากอาสนะ ปกฺกามิ เสด็จหลีกไปแล้ว.
๑๕๔. เตน โข ปน สมเยน
สุนิธวสฺสการา มคธมหามตฺตา ภควนฺตํ ปิฏฺฐิโต ปิฏฺฐิโต อนุพนฺธา โหนฺติ – ‘‘เยนชฺช สมโณ โคตโม ทฺวาเรน นิกฺขมิสฺสติ, ตํ
โคตมทฺวารํ นาม ภวิสฺสติฯ เยน ติตฺเถน คงฺคํ นทิํ ตริสฺสติ, ตํ
โคตมติตฺถํ นาม ภวิสฺสตี’’ติฯ อถ โข ภควา เยน ทฺวาเรน
นิกฺขมิ, ตํ โคตมทฺวารํ นาม อโหสิฯ อถ
โข ภควา เยน คงฺคา นที เตนุปสงฺกมิฯ เตน โข ปน สมเยน คงฺคา นที ปูรา โหติ
สมติตฺติกา กากเปยฺยาฯ อปฺเปกจฺเจ มนุสฺสา นาวํ ปริเยสนฺติ, อปฺเปกจฺเจ
อุฬุมฺปํ ปริเยสนฺติ, อปฺเปกจฺเจ กุลฺลํ พนฺธนฺติ อปารา [ปารา (สี. สฺยา. ก.), โอรา
(วิ. มหาวคฺค)], ปารํ คนฺตุกามาฯ อถ โข ภควา –
เสยฺยถาปิ นาม พลวา ปุริโส สมิญฺชิตํ วา พาหํ ปสาเรยฺย, ปสาริตํ วา พาหํ สมิญฺเชยฺย, เอวเมว – คงฺคาย นทิยา โอริมตีเร อนฺตรหิโต ปาริมตีเร ปจฺจุฏฺฐาสิ สทฺธิํ
ภิกฺขุสงฺเฆนฯ อทฺทสา โข ภควา เต มนุสฺเส อปฺเปกจฺเจ นาวํ ปริเยสนฺเต อปฺเปกจฺเจ
อุฬุมฺปํ ปริเยสนฺเต อปฺเปกจฺเจ กุลฺลํ พนฺธนฺเต อปารา ปารํ คนฺตุกาเมฯ อถ โข ภควา
เอตมตฺถํ วิทิตฺวา ตายํ เวลายํ อิมํ อุทานํ อุทาเนสิ –
‘‘เย ตรนฺติ อณฺณวํ สรํ,
เสตุํ กตฺวาน วิสชฺช ปลฺลลานิ;
กุลฺลญฺหิ ชโน พนฺธติ[๓๘] , ติณฺณา เมธาวิโน ชนา’’ติฯ
ปฐมภาณวาโรฯ
๑๕๔.
เตน โข ปน สมเยน ในสมัยนั้นแล สุนิธวสฺสการา
พราหมณ์สุนิธะและพราหมณ์วัสสการะ มาคธมหามตฺตา มหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐ โหนฺติ
เป็น อนุพนฺธา ผู้ตาม ภควนฺตํ ซึ่งพระผู้มีพระภาค ปิฏฺฐิโต
ปิฏฺฐิโต ข้างหลังติดๆ[๓๙] จินฺตเนน ด้วยคิดว่า อชฺช
ในวันนี้ สมโณ พระสมณะ โคตโม ผู้เสด็จสมภพแต่โคตมโคตร นิกฺขมิสฺสติ
จักเสด็จออก เยน ทฺวาเรน ทางประตูใด, ตํ ทฺวารํ ประตูนั้น ภวิสฺสติ
จักมี นาม ชื่อว่า โคตมทฺวารํ โคตมทวาร (ประตูโคดม), ตริสฺสติ
จักข้าม นทิํ แม่น้ำ คงฺคํ คงคา เยน ติตฺเถน โดยท่าข้ามใด, ตํ
ติตฺถํ ท่าข้ามนั้น ภวิสฺสติ จักมี นาม ชื่อว่า โคตมติตฺถํ
โคตมดิษฐ์ (ท่าโคดม) อิติ ดังนี้.
อถ โข
ครั้งนั้นแล ภควา พระผู้มีพระภาค นิกฺขมิ เสด็จออกแล้ว เยน
ทฺวาเรน ทางประตูใด, ตํ ทฺวารํ ประตูนั้น อโหสิ ได้มี นาม
ชื่อว่า โคตมทฺวารํ โคตมทวาร (ประตูโคดม)
[๔๐].
อถ โข
ครั้งนั้นแล ภควา พระผู้มีพระภาค คงฺคา นที แม่น้ำคงคา อตฺถิ
มีอยู่ เยน = ยตฺถ ทิสาภาเค ในส่วนแห่งทิศใด, อุปสงฺกมิ
เสด็จไปแล้ว เตน = ตตฺถ ทิสาภาเค
ในส่วนแห่งทิศนั้น. เตน สมเยน ในสมัยนั้น โข ปน นั่่นเอง[๔๑] คงฺคา นที
แม่น้ำคงคา โหติ เป็นแม่น้ำ ปูรา เต็มเปี่ยม (อุทกสฺส)
ด้วยน้ำ สมติตฺติกา เต็มด้วยน้ำจนเสมอฝั่ง
กากเปยฺยา กาพึงดื่มได้[๔๒]. มนุสฺสา
มนุษย์ท. คนฺตุกามา ผู้ต้องการไป ปารํ สู่ฝั่งโน้น อปารา = โอริมปารา จากฝั่งนี้ อปฺเปกจฺเจ บางพวก ปริเยสนฺติ แสวงหา
นาวํ ซึ่งเรือ, อปฺเปกจฺเจ บางพวก ปริเยสนฺติ แสวงหา อุฬุมฺปํ
ซึ่งแพ, อปฺเปกจฺเจ บางพวก พนฺธนฺติ ย่อมผูก กุลฺลํ ซึ่งทุ่น.[๔๓]
อถ โข ครั้งนั้นแล
ภควา พระผู้มีพระภาค, ปุริโส บุรุษ พลวา มีกำลังดี ปสาเรยฺย
พึงเหยียดออก พาหํ ซึ่งแขน สมิญฺชิตํ ที่คู้เข้า วา
หรือ, สมิญฺเชยฺย วา หรือว่า พึงคู้เข้า พาหํ ซึ่งแขน ปสาริตํ
ที่เหยียดออก เสยฺยถาปิ นาม แม้ฉันใด, อนฺตรหิโต ทรงอันตรธานแล้ว โอริมตีเร
ที่ฝั่งนี้ คงฺคาย นทิยา แห่งแม่น้ำคงคา ปจฺจุฏฺฐาสิ ปรากฏแล้ว ปาริมตีเร
ที่ฝั่งโน้น สทฺธิํ พร้อม ภิกฺขุสงฺเฆน กับภิกษุสงฆ์ เอวเมว
ฉันนั้น. ภควา พระผู้มีพระภาค อทฺทสา โข ได้ทรงเห็นแล้ว เต
มนุสฺเส ซึ่งมนุษย์พวกนั้น คนฺตุกาเม
ผู้ต้องการไป ปารํ ฝั่งโน้น อปารา = โอริมปารา จากฝั่งนี้ อปฺเปกจฺเจ บางพวก ปริเยสนฺเต กำลังแสวงหา
นาวํ ซึ่งเรือ อปฺเปกจฺเจ บางพวก ปริเยสนฺเต กำลังแสวงหา อุฬุมฺปํ
ซึ่งแพ, อปฺเปกจฺเจ บางพวก พนฺธนฺเต กำลังผูก กุลฺลํ
ซึ่งทุ่น วิทิตฺวา ทรงทราบ เอตํ อตฺถํ เนื้อความนั้น[๔๔] อุทาเนสิ แล้วทรงเปล่ง อุทานํ ซึ่งพระอุทาน อิมํ
นี้ ตาย เวลาย ในเวลานั้น ว่า
เย ชนา ชนเหล่าใด
ตรนฺติ จะข้าม สรํ แม่น้ำ อณฺณวํ อันเป็นห้วงมหรรณพ[๔๕], เต ชนา
ชนเหล่านั้น กตฺวาน กระทำแล้ว เสตุํ ซึ่งสะพาน วิสชฺช = อนาสชฺช ไม่ติดแล้ว ปลฺลลานิ[๔๖]
ซึ่งสระน้อยท. (ตรนฺติ) ย่อมข้ามไปได้, หิ อนึ่ง (อยํ อิทํ
อปฺปมตฺตกํ ตริตุกาโม) ชโน ชนผู้ต้องการเพื่อข้ามน้ำเล็กน้อยนี้ พนฺธติ
ย่อมผูก กุลฺลํ ซึ่งแพ, ปน แต่ ชนา ชน เมธาวิโน
ผู้มีปัญญา วินาปิ แม้เว้น กุลฺเลน จากแพ อิทีเสน เช่นนี้ ติณฺณา
ข้ามแล้ว ตณฺหาสรํ แม่น้ำคือตัณหา อีทิสํ เช่นนี้ได้[๔๗].
ปฐมภาณวาโร ภาณวาร ปฐโม ที่ ๑ นิฏฺฐิโต
จบ.
*************
[๑] ปาฏลิคาเม นครํ มาเปนฺตีติ ปาฏลิคามสงฺขาเต
ภูมิปเทเส นครํ มาเปนฺติฯ ให้สร้างเมืองขึ้นในส่วนแห่งพื้นที่ลก่าวคือปาฏลิคาม. แต่ในอรรถกถามหาปรินิพพานสูตรนี้เป็น
ปาฏลิคามํ นครํ กตฺวา มาเปนฺติ ให้สร้างขึ้นโดยทำปาฏลิคามให้เป็นเมือง จึงได้ความหมายของบทนี้ถึง
๒ นัย คือ ตามมติของอรรถกถาอุทาน แสดงว่า ตั้งเมืองขึ้นในพื้นที่ของบ้านปาฏลิคาม.
ส่วนมติของอรรถกถามหาปรินิพพานสูตร คือ ทำบ้านปาฏลิคามนั่นเองยกฐานะเป็นพระนคร ดังฎีกาว่า
ปาฏลิคามํ นครํ กตฺวาติ ปุพฺเพ ‘‘ปาฏลิคาโม’’ติ ลทฺธนามํ ฐานํ อิทานิ นครํ กตฺวาฯ มาเปนฺตีติ ปติฏฺฐาเปนฺติฯ มาเปนฺตีติ
ปติฏฺฐาเปนฺติฯ ที่ว่า ยกปาฏลิคามให้เป็นพระนคร หมายความว่า
กระทำสถานที่ซึ่งเคยมีชื่อว่า ปาฏลิคาม ในกาลก่อนแล้วยกขึ้นเป็นพระนครในบัดนี้.
ที่ว่า สร้าง (มาเปนฺติ) ได้แก่ ปติฏฺฐาเปนฺติ สถาปนา.
[๒] ปฏิพาหาย
(ปติ + พาห ในอรรถ วารณ ป้องกัน + อ) ลงจตุตถีวิภัตติในอรรถตทัตถะเป็นประโยชน์ของสิ่งนั้น
ในที่นี้ เป็นประโยชน์ของกิริยาว่า มาเปติ ส่วน บทว่า วชฺชีนํ ลงฉัฏฐีวิภัตติในอรรถสัมพันธ์ของบทว่า
ปฏิพาหาย. ดังคัมภีร์อรรถกถาไขความว่า วชฺชิราชกุลานํ อายมุขปจฺฉินฺทนตฺถํ
เพื่อตัดช่องทางเจริญของสกุลเจ้าวัชชี.
[๓] สหสฺเสว
อรรถกถาอธิบายว่า สหสฺเสวาติ เอเกกวคฺควเสน สหสฺสํ สหสฺสํ หุตฺวาฯ เทวดาท.เหล่านั้นแบ่งกลุ่มกันเป็นพวกละหนึ่งพัน. แต่ฎีกาเสนอว่า มีบางแห่งมีรูปเป็น สหสฺสเสว
โดยตัดบทเป็น สหสฺสโส เอว ซึ่งก็สอดคล้องกับคำอธิบายของพระอรรถกถาจารย์นั่นเอง.
สรุปว่า สหสฺสเสว เป็นรูปที่ลง โส ปัจจัย ในวิภาคตัทธิต คือ
จำแนกเป็นกลุ่มละหนึ่งพัน. ส่วนรูป สหสฺส เอว มีการลบ ส
พยัญชนะที่ซ้ำกันออกหนึ่งตัว โดยเอกเสสนัย. อย่างไรก็ตาม ในอุทานอัฏฐกถา มีปาฐะว่า
สหสฺสสหสฺส เอว .
[๔] พึงเติมปาฐเสสะตามอรรถกถาว่า
วตฺถุวิชฺชาปาฐกานํ จิตฺตานิ จิตของอาจารย์ผู้ชำนาญวิชาดูพื้นที่, นอกจากนี้อาจเป็นเพราะเทวดาเข้าสิงในร่างของอาจารย์พวกนั้นแล้วน้อมจิตไปเพื่อให้ก่อสร้างนิเวศน์ในที่ตนสิงอยู่นั้น.
ส่วนฎีกาอธิบายว่า จิตของพวกอาจารย์เหล่านั้นน้อมไปในสถานที่เหล่านั้น
เป็นเพราะอานุภาพของเทวดา.
[๕] เรื่องนี้พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า
อาจารย์เหล่านี้ใช้อานุภาพของวิชาการของพวกตนมองเห็นภายใต้แผ่นดินลึกถึง ๖๐ ศอก
ทราบว่า สถานที่นี้เป็นที่อยู่ของพวกนาค ยักษ์ หรือบริเวณนี้มีหินหรือตอไม้อยู่,
อาการที่อาจารย์เหล่านั้นสาธยายมนต์
เหมือนกับว่ากำลังปรึกษากับเหล่าเทวดาที่สิงอยู่ในบริเวณนั้น โดยแนะนำให้หลีกเลี่ยงสถานที่ซึ่งมีพวกนาคเป็นต้นจับจองอยู่แล้วสร้างบ้านเรือนในพื้นที่ที่ไม่มีนาคเป็นต้นจับจอง. พอเขาตอกเสาหมุดลงใน ๔ มุม เทวดาเหล่านั้น
จึงเข้าสิงพื้นที่ เทวดาผู้มีศรัทธา ทำอย่างนั้นแก่ตระกูลผู้มีศรัทธา,
เพราะเหตุที่ผู้มีศรัทธามีความคิดอย่างนี้ว่า คนทั้งหลายในโลกนี้
ครั้นสร้างบ้านเรือนแล้ว ก็จักได้เห็นผู้มีศีล ฟังธรรมกถา การแก้ปัญหาและอนุโมทนา.
ผู้คนให้ทานแล้วจักให้ส่วนบุญแก่เรา. แม้พวกเทวดาที่ไม่มีศรัทธา ก็ทำอย่างนั้นแก่ตระกูลผู้ไม่มีศรัทธา
เพราะมีความคิดว่า “พวกเราจักได้เห็นจักได้ฟังการปฏิบัติของมนุษย์เหล่านั้นตามควรแก่ความต้องการของตน”
[๖] ความว่า
ทรงตื่นบรรทมแต่เช้ามืด. ปจฺจูสสมย (ปจจูส + สมย)
คัมภีร์สีลขันธวรรคฎีกา (๑/๓๘) อธิบายว่า เป็นชื่อกาลช่วงหนึ่งโดยเฉพาะที่นับเนื่องอยู่ในปัจฉิมยามแห่งราตรี.
ส่วน ปจฺจูส มาจาก ปติ + อุส + ณ ปัจจัย. วิเคราะห์ว่า ปจฺจูสติ วินาเสติ
ติมิรนฺติ ปจฺจูโส (ธาน.ฎี. ๖๘) สมัยที่กำจัด คือทำความมืด (แห่งราตรี)
ให้หมดสิ้นไป ชื่อว่า ปจฺจูส. อุสธาตุที่มี ปติเป็นบทหน้ามีความหมายว่า กำจัด. คำว่า
ปจฺจูส และ สมย เป็นคำศัพท์ที่บ่งถึงกาลเวลาเหมือนกัน ดังนั้น คำนี้จึง
ถือเอาความโดยโวหารัตถนัยว่า เช้ามืด, ใกล้รุ่ง. ในที่นี้เพิ่มปาฐเสสะว่า อนฺตํ.
แต่ถ้าจะไม่เพิ่มปาฐะเสสะดังกล่าว อาจแปลโดยตรงว่า ปจฺจูสสมยํ
ในเวลาที่กำจัดความมืด รตฺติยา แห่งราตรี . แต่ความหมายคือ ใกล้รู่งนั่นเอง.
[๗] ปกติเป็นเหตุกัตตุวาจก
ยังเมืองให้ตั้งขึ้น แต่ในที่นี้แปลเป็นกัตตุวาจก เพื่อให้ความสละสลวยในภาษาไทย
[๘] เสยฺยถาปิ และ
เอวํ เป็นนิบาตใช้ในอรรถอุปมาอุปไมย ความหมายเท่ากับ วิย หรือ อิวนิบาต
ดังนั้นจึงแปลอีกนัยหนึ่งตามที่พระอรรถกถาจารย์ประกอบความอธิบายว่า ตาวติํเสหิ
สทฺธิํ มนฺเตตฺวาปิ วิย มาเปนฺติ ย่อมสร้างพระนคร เหมือนกับว่า
ได้ปรึกษากับเหล่าทวยเทพผู้เป็นบัณฑิตแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ฉะนั้น.
ในที่นี้พระผู้มีพระภาคหมายเอาท้าวสักกะและวิสสุกรรมเทพบุตร
โดยตรัสว่า “เทวดาชั้นดาวดึงส์ (เทเวหิ ตาวติํเสหิ)” ซึ่งพระอรรถกถาจารย์อธิบายไว้ว่า
ชื่อเสียงว่า เทพบัณฑิตชั้นดาวดึงส์ เพราะอาศัยท้าวสักกะและวิสสุกรรมเทพบุตร
นั่นเอง ซึ่งเปรียบได้กับโลกมนุษย์คือตระกูลหรือสำนักวัด มีชื่อเสียงโด่งดัง
เพราะอาศัยภิกษุผู้เป็นบัณฑิตในวัดนั้น มนุษย์ผู้เป็นบัณฑิต ในตระกูลนี้ ฉะนั้น.
[๙] อายตนํ
ในที่นี้มีอรรถ สโมสรณฏฺฐาน ที่ประชุม เป็นอรรถหนึ่งในบรรดาอรรถ ๖ ของ อายตนศัพท์
คือ สญฺชาติเทเส ในสถานที่เกิด, เหตุมฺหิ ในเหตุ, วาสฏฺฐานากเรสุ
ในที่อยู่และบ่อเกิด, สโมสรณฏฺฐาเน
ในที่ประชุม ปทปูรเณ ในปทปูรณะ
(ธาน.๘๐๑,ทีฆนิกาย พฺรหฺมชาลสุตฺต อฏฺฐกถา, อายตนวิภงฺค อฏฺฐกถา)
[๑๐] อริยํ
อายตนํ คัมภีร์อรรถกถาอธิบายว่า อริยายตน
โดยแสดงรูปวิเคราะห์เป็นฉัฏฐีตัปปุริสสมาสว่า อริยกมนุสฺสานํ โอสรณฏฺฐานํ ที่รวมของมนุษย์ผู้เจริญ
ดังนั้น คำนี้เป็นสมาสและลงนิคคหิตอาคม เหมือนรูปว่า อมตํ ปทํ ทางแห่งความไม่ตาย,
จกฺขุํ อุทปาทิ จักษุเกิดขึ้นแล้ว, อวํสิโร มีหัวห้อยลง, กุสลํ พหุุํ กุศลมาก, ปุริมํ ชาติํ ชาติก่อน.
ดังคัมภีร์นิรุตติทีปนีแสดงไว้ในสูตรที่ ๕๒
(โมคฺ.๓๘) นิคฺคหีตํฯ ลงนิคคหิตอาคมได้บ้างตามอุทาหรณ์.
[๑๑] วณิปฺปถ
คำนี้พระอรรถกถาจารย์ให้ความหมายไว้ ๒ นัย คือ
๑)
สถานที่ประกอบการค้า. คัมภีร์อรรถกถาอธิบายว่า วาณิชานํ อาภตภณฺฑสฺส
ราสิวเสเนว
กยวิกฺกยฏฺฐานํ
สถานที่ซื้อขายสิ่งที่พวกพ่อค้านำมาโดยเป็นกอง, พระฎีกาจารย์อธิบายว่า ปถ
มีอรรถว่า ปวตฺติฏฐาน เป็นที่ดำเนินกิจกรรม และวาณิช มีอรรถว่า การค้า วิเคราะห์ว่า
วาณิชาย ปโถ ปวตฺติฏฺฐานนฺติ วณิปฺปโถ สถานที่ดำเนินไปแห่งการค้าขาย ชื่อว่า
วณิปฺปโถ. (แต่คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา คาถา ๔๔๖ กล่าวศัพท์ที่แสดงถึงการค้าขาย
โดยรูปว่า วณิชฺช วาณิชฺช และเป็นนปุงสกลิงค์). แม้คัมภีร์อภิธานนัปฺปทีปิกา ๘๖๘
กล่าวถึงศัพท์นี้ว่า เป็นความหมายหนึ่งของคำว่า นิคม ที่นอกจากจะหมายถึง เมือง
และคัมภีร์นิคมเวทแล้ว ยังหมายถึงย่านการค้าที่มาในพระสูตรนี้อีกด้วย. อภิธาน.ฎีกา
วิ. วณิปฺปเถ วาณิชานํ โวหารกมฺมปเถฯ
คำว่า วณิปฺปเถ คือ ในที่ดำเนินไปเพื่อการประกอบการค้าของพ่อค้า.
๒)
สถานที่อยู่ของพวกพ่อค้า (วาณิชานํ วสนฏฺฐานํ) คัมภีร์ฎีกาอธิบายว่า ปถ
มีอรรถเท่ากับ ปวตฺติฐาน สถานที่เป็นไป วิเคราะห์ว่า วาณิชานํ ปโถ ปวตฺติฏฺฐานนฺติ
วณิปฺปโถ สถานที่ดำเนินกิจกรรมของพวกพ่อค้าทั้งหลาย ชื่อว่า วณิปฺปถ.
แม้คัมภีร์อภิธานฯ คาถา ๔๖๙ กล่าวถึงศัพท์ที่แสดงพ่อค้าว่า กยวิกฺกยิก, สตฺถวาห,
อาปณิก, วาณิช.
[๑๒] อิทํ
เป็นประธานของบทนี้ โดยหมายถึง นครํ, ส่วน อคฺคนครํ, ปาฏลิปุตฺตํ, ปุฏเภทนํ
สามศัพท์นี้ถือเป็นวิกติกัตตา ในภวิสฺสติ. โดยสังเกตว่า
บทกิริยาในประโยคที่มีวิกติกัตตา มักจะวางไว้หลังบทนามตัวแรกและหน้าบทนามอีกสองบท
โดยบทนามเหล่านั้นถือเป็นวิกติกัตตา.
[๑๓] อคฺคนครํ
เมืองชั้นเลิศ คือเป็นเมืองสำคัญและเจริญที่สุดแห่งเมืองที่มีชุมชนอารยะ
และย่านการค้าทั้งหมดในอินเดีย.
[๑๔] ปุฏเภทนํ
สถานที่เปิดห่อสินค้า. ยุ ปัจจัยใน เภทน เป็นอธิกรณสาธนะ ภณฺฑปุเฏ ภินฺทนฺติ
โมเจนฺติ เอตฺถาติ ปุฏเมภทนํ, โมจนฏฺฐานํ พ่อค้าท.ย่อมเปิดห่อสินค้าท.ในเมืองนี้
เหตุนั้น เมืองนี้ จึงชื่อว่า ที่เปิดห่อสินค้า.
คำนี้ถือเป็นคำพูดที่สื่อถืงความเจริญของการค้า
ดังคัมภีร์อรรถกถาอธิบายถึงที่มาของศัพท์นี้ว่า
“เป็นที่เปิดห่อบรรจุสินค้าของเจ้าของสินค้าต่างๆ. ใครก็ตามที่ไม่ได้สิ่งของในที่อื่นๆ
ก็ต้องได้ในเมืองนี้, แม้ผู้ที่ไม่ได้ไปค้าขายในที่อื่น ก็จักไปในที่นี้
เพราะฉะนั้นพวกเขาจักแก้ห่อสินค้าในที่นี้เท่านั้น.
วันหนึ่งมีมูลค่าการซื้อขายถึงห้าแสน (กหาปนะ) ต่อวัน คือ ที่ประตูพระนคร ๔
ด้านวันละสี่แสน และที่สภา (หอประชุมหรือตลาดกลาง) หนึ่งแสน.
[๑๕] วาศัพท์
ในที่นี้มีอรรถแห่งจศัพท์ ที่มีอรรถสมุจจยะ. ด้วยอรรถสมุจจยะนี้
ทำหน้าที่รวบรวมความพินาศทั้งสิ้นของเมืองปาฏลิบุตร
มิได้ให้เลือกเอาอย่างหนึ่งแล้วทิ้งส่วนที่เหลือเหมือนอรรถวิกัปของวาศัพท์โดยทั่วไป.
พระอรรถกถาจารย์กล่าวถึงความพินาศโดยเหตุทั้งสามไว้ว่า ส่วนหนึ่งของเมืองปาฏลิบุตร
นี้จักฉิบหายเพราะไฟ โดยที่มิอาจดับได้, อีกส่วนหนึ่งถูกแม่น้ำคงคาพัดพาไป.
และอีกส่วนหนึ่งจะพินาศเพราะพวกมนุษย์แตกสามัคคีกันเองโดยไม่มีการสนทนาพูดคุยกันและกันด้วยปิสุณวาจา.
[๑๖] โดยนัยนี้แปลเป็นบทลงตติยาวิภัตติในอรรถตติยาวิเสสนะ.
อีกนัยหนึ่ง เยน และ ตตฺถ เป็นบทลงตติยาวิภัตติลงในอรรถสัตตมีวิภัตติ ภควา พระผู้มีพระภาค วิหรติ ทรงประทับอยู่ เยน = ยตฺถ (ทิสาภาเค) ในส่วนแห่งทิศใด, อุปสงฺกมิํสุ
เข้าไปแล้ว เตน = ตตฺถ (ทิสาภาเค) ในส่วนแห่งทิศนั้น.
[๑๗] เอกมนฺตํ
เป็นได้ทั้งบทนิบาตและบทนาม.
ถ้าเป็นบทนิบาตก็จะมีอรรถของสัตตมีวิภัตติ.
(ปทรูปสิทธิ) ความหมายคือ อนุรูเป ฐาเน. (ปทรูปสิทธิฎีกา)
ในสถานที่อันเหมาะสม.
กรณีที่เป็นบทนามศัพท์
จัดเป็นบทลงทุติยาวิภัตติในอรรถกริยาวิเสสนะ มีความหมายว่า เอโกกาสํ =
เอกปสฺสํ มุมหนึ่ง คือ ข้างหนึ่ง. (สัททนีติ สุตตมาลา สูตรที่ ๕๙๐ ว่า ภาวนปุํสเก
ทุติเยกวจนํ.ลงทุติยาวิภัตติ เอกวจนะท้ายคำกิริยาวิเสสนะอันชื่อว่า
ภาวนปุงสกะ)
คัมภีร์อรรถกถากล่าวว่า
บทว่า เอกมนฺตํ นี้เป็นบทลงทุติยาวิภัตติในอรรถกิริยาวิเสสนะ ดังนี้ว่า เอกมนฺตนฺติ
ภาวนปุํสกนิทฺเทโส,
เอโกกาสํ เอกปสฺสนฺติ วุตฺตํ โหติฯ บทว่า เอกมนฺตํ
เป็นบทกิริยาวิเสสนะ ความหมายคือ นั่งอยู่ข้างหนึ่ง (ขุ.สุ.อ.). และได้อธิบายความหมายว่า ยถา ฐิตา เอกมนฺตํ ฐิตา
โหติ, ตถา อฏฺฐาสีติ เอวเมตฺถ อตฺโถ ทฏฺฐพฺโพฯ (สํ.อ. ๑/๑๕) พึงเห็นความหมายในบทว่า
เอกมนฺตํ ดังนี้ว่า ยืนแล้วโดยประการใด นับว่าเป็นผู้ยืนแล้วอยู่อย่างสมควรโดยที่แห่งหนึ่ง
ได้ยืนแล้วโดยประการนั้น”. พึงทราบว่า การอธิบายโดยใช้ ยถา ตถา ศัพท์ขยายความ
แสดงว่าบทตั้งลงวิภัตติในอรรถกิริยาวิเสสนะ (สังวัณณนานิยาม กฏข้อที่ ๑๔
ของปกิณณกสังวรรณนา)
นอกจากจะเป็นบทลงทุติยาวิภัตติในอรรถกิริยาวิเสสนะแล้ว
อาจเป็นบทลงทุติยาวิภัตติในอรรถสัตตมีวิภัตติ โดยมีความหมายว่า เอกสฺมิํ ปเทเส
แปลว่า ในที่แห่งหนึ่ง ซึ่งที่แห่งนั้นเป็นที่สมควรต่อการสนทนา เพราะปราศจากโทษ ๖
ประการ คือ ไม่ยืนข้างหลัง
ไม่ยืนข้างหน้า
ไม่ยืนใกล้และไกล
ไม่ยืนที่ชื้นแฉะ ไม่ยืนเหนือลม
ไม่ยืนที่ต่ำและที่สูง (มงคลสูตรวรรณนา ขุททกปาฐะอรรถกถา).
คัมภีร์ปาจิตติยอัตถโยชนาอธิบายอนฺตศัพท์ในที่นี้ว่ามีอรรถ
สมีปเทส สถานที่ใกล้ หรือ มีอรรถ โกฏิเทส สถานที่ท้ายสุด ดังนั้น
เมื่อถือเอาตามานัยนี้ มีคำแปลว่า ในสถานที่ใกล้ๆกับผู้ที่ตนจะไปหา, หรือ
ในที่ท้ายสุดของสถานที่นั้น โดยไม่เจาะจงว่าเป็นจุดใด.
คัมภีร์พระไตรปิฎกนิสสยะ
เล่ม ๑ อธิบายว่า มีความหมายสองนัย คือ ๑) เป็นคำนามลงทุติยาวิภัตติในอรรถอาธาระ
(เรียกชื่อสัมพันธ์ว่า ทุติยาอาธาระ) มีความหมายว่า เอกสฺมิํ ปเทเส
ในส่วนใดส่วนหนึ่งของสถานที่นั้น, ๒) เป็นคำกริยวิเสสนะ (ภาวนปุํสก) แปลว่า
อย่างสมควรแก่ฐานะของตน.
[๑๘] อชฺชตนาย
(อชฺชตน + ส > อาย)
โดยรูปเดิมของศัพท์เป็นบทลง ตน ปัจจัยในอัพยยตัทธิตท้าย อชฺช ในอรรถว่า อชฺช ภวํ มีในวันนี้.
ในที่นี้ ได้แก่ บุญและปีติปราโมทย์ที่เกิดจากการถวายภัตตาหารแก่พระผู้มีพระภาคทั้งภิกษุสงฆ์
ซึ่งได้ทำในวันนี้. ดังคัมภีร์อรรถกถาโปกขรสาติ
อธิบายว่า อชฺชตนายาติ ยํ เม ตุมฺเหสุ การํ
กโรโต อชฺช ภวิสฺสติ ปุญฺญญฺจ ปีติปาโมชฺชญฺจ ตทตฺถายฯ
บทว่า อชฺชตนาย ความว่า
บุญและปีติปราโมทย์ อันใด จักมีแก่ข้าพระองค์ ผู้ทำสักการะในพระองค์,
ขอพระองค์จงรับภัตตาหารเพื่อประโยชน์แก่บุญและปีติปราโมทย์นั้นเถิด.
[๑๙] อาการที่ทรงรับนิมนต์ของพระพุทธองค์
เป็นไปโดยไม่เคลื่อนไหวกาย หรือเปล่งวาจาแต่อย่างใด แต่ทรงรับไว้โดยที่ทรงโดยยินดีภายในใจเท่านั้น
หมายถึง ทรงรับไว้ด้วยพระทัยอนุเคราะห์ผู้มานิมนต์. (ที.อ./สี.ฎีโปกฺขรสาติ.
๒/๒๙๖)
[๒๐] พระอรรถกถาจารย์กล่าวถึงเหตุผลในการนิมนต์พระผู้มีพระภาคของพราหมณ์นี้ไว้ว่า
เมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาถึงหมู่บ้านปาฏลิคาม หากพระเจ้าอชาตศัตรูทรงเป็นองค์อุปัฏฐากพระองค์
ทรงรู้ก็จะต้องตรัสถามถึงการเข้าไปนิมนต์พระพุทธองค์ หากไม่นิมนต์ก็จักต้องโทษทัณฑ์ได้
นี้ประการหนึ่ง, และเมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาถึง เหล่าสัตว์กาฬกัณณี (สัตว์ผู้มีอานุภาพน้อย
ที่มักจะสร้างอุปัทวะแก่ผู้อื่น ที่ได้นามว่า กาฬกัณณี
เพราะตนเองมากไปด้วยธรรมฝ่ายดำคือบาปธรรม และเพราะเป็นเหตุให้วิบากของบาปธรรมเกิดขึ้น
อีกทั้งความฉิบหายจากประโยชน์ของผู้อื่น /ที.ม.ฎี.) ก็จะหลีกหนีไป และจักอาราธนาให้ทรงแสดงธรรมอันเป็นเหตุเจริญแห่งพระนคร
(นครมงฺคลํ).
[๒๑] เพิ่มอรรถาธิบายตามนัยของอรรถกถาและฎีกา
เพื่อกันความสงสัยว่า โดยปกติมิได้ทรงนุ่งผ้านุ่ง (สบง) กันหรืออย่างไร. ความจริง
หลังจากตื่นนอน ผ้านุ่งที่นุ่งไว้เมื่อยามนอนอาจหลุดลุ่ยหรือหละหลวม,
เมื่อตื่นขึ้นจึงจัดผ้าให้เรียบร้อย และรัดประคดเอว ให้พร้อมที่จะเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน.
[๒๒] ของแนบกาย
(กายปฏิพทฺธํ) ในทีนี้หมายถึง ทรงห่มจีวรและอุ้มบาตรด้วยพระหัตถ์. ดังนั้น
กิริยาว่า “ถือ” ในพระบาฬี มิได้หมายถึง การถือเอาเหมือนอย่างถือสิ่งของ
แต่หมายถึงการห่มจีวรและการอุ้มบาตร ตั้งแต่ออกจากวิหารไป.
[๒๓]
สนฺตปฺเปสิ
ให้อิ่มหนำอย่างดี (สํ = สุฏฺฐุ + ตปฺป อิ่มหนำ ภูวาทิ + เณ อิ วิภัตติ เหตุกัตตุวาจก ถ้าเป็นกัตตุวาจกจะเป็น
ตปฺปติ ย่อมอิ่ม เช่น สปฺปิอาทีหิ อภิสงฺขเตน มธุรปายาเสน ตปฺปติ
ย่อมอิ่มหนำด้วยข้าวมธุปายาสที่ปรุงด้วยเนยเป็นต้น). หมายความว่า ทำให้อย่างเต็มที่
ทำให้อิ่ม ให้ถึงความสุขเพราะหมดทุกข์แต่ความหิว จนเพียงพอต่อความต้องการด้วยอาหาร.
(ที.สี.อ. และ สี.ฎี. ๒๒๗)
[๒๔]
สมฺปวาเรสิ ให้เพียงพอ เป็นคำแปลโดยโวหารัตถนัย มีคำแปลโดยสัททัตถนัยได้สองวิธีเนื่องด้วยอรรถของวรธาตุ
กล่าวคือ ธาตุวัตถสังคหปาฐนิสสยะจัด วร ธาตุ เป็นทวิคณิกธาตุ คือ ภูวาทิคณิกธาตุและจุราทิคณิกคณิกธาตุ.
๑) กรณีที่
ปวาเรสิ มาจาก สํ = สุฏฺฐุ + ป + วร ภูวาทิคณิกธาตุ มีอรรถว่า ภตฺติ เข้าหา คือ รับใช้ + เณ
การิตปัจจัย + ส + อิ. รูปนี้เหตุกัตตุรูป แปลว่า ให้ทรงปฏิเสธ คือ
ห้ามภัตตาหาร. ดังพระอรรถกถาจารย์ไขความว่า อลํ อลนฺติ หตฺถสญฺญาย
ปฏิกฺขิปาเปสิ ห้ามด้วยการโบกมือเพื่อสื่อความว่า พอแล้ว (ที.สี.อ.๒๙๗).
นอกจากนี้ยังสามารถห้ามด้วยการพูดก็มี,
การส่ายหน้าก็มี แต่ในที่นี้ยกเอาการโบกมือมาเป็นตัวอย่างเท่านั้น
เพราะในบางคราวใช้ถึงสองอาการในขณะเดียวกัน
๒)
กรณีที่มาจาก วร ในจุราทิคณิกธาตุ มีอรรถอาวรณะ + เณ
วิกรณปัจจัยของจุราทิคณิกธาตุ. รูปนี้เป็นสุทธกัตตุรูป แปลว่า ย่อมปวารณา. เมื่อถือเอาโดยนัยนี้ แม้พราหมณ์ ปวารณาพระผู้มีพระภาคโดยนัยว่า
ขอพระองค์และภิกษุสงฆ์ทรงรับภัตตาหารเท่าที่ทรงปรารถนาเถิด.
เกี่ยวกับเรื่องนี้
คัมภีร์สารัตถทีปนีกล่าวถึงปวารณา ๔ คือ ๑. วสฺสํ วุฏฐปวารณา
ปวารณาของภิกษุผู้อยู่จำพรรษา ๒. ปจฺจยปวารณา ปวารณาด้วยปัจจัย ๓. ปฏิกฺเขปปวารณา
การห้ามคือการปฏิเสธ ๔. ยาวทตฺถปวารณา ปวารณาจนพอแก่ความต้องการ. (ปฐมปวารณาสิกขาบทที่ ๕ โภชนวรรค ปาจิตติยกัณฑ์)
ตามมติของพระอรรถกถาจารย์
จัดเป็นปฏิกเขปปวารณา ดังคัมภีร์สีลขันธวรรคฎีกา (๒๙๗) กล่าวว่า
การห้ามในลักษณะนี้จัดเป็นปฏิกเขปปวารณา
เพราะปฏิเสธปัจจัยที่ทายกนำมาถวายเพิ่มอีก.
ส่วนคัมภีร์สารัตถทีปนี
จัดเป็นปฏิกเขปปวารณา และยาวทัตถปวารณา
กล่าวคือ พระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ ถูกพราหมณ์ปวารณาด้วยยาวทัตถปวารณา
โดยนัยว่า ขอพระผู้พระภาคทรงรับเท่าที่ทรงปรารถนาเถิด และปวารณาโดยปฏิกเขปปวารณา
ด้วยตนเอง โดยนัยว่า พอแล้ว.
[๒๕] สหตฺถา
เป็นบทปัญจมีวิภัตติลงในอรรถของตติยาวิภัตติ แปลว่า ด้วยมือของตน คัมภีร์สีลขันธวรรคฎีกาอธิบายว่า
‘‘สหตฺถา’’ติ อิทํ กรณตฺเถ นิสฺสกฺกวจนํฯ เตนาห ‘‘สหตฺเถนา’’ติฯ (บทว่า สหตฺถา
เป็นปัญจมีวิภัตติใช้ในอรรถกรณะ. เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์จึงไขความว่า
สหตฺเถน. สี.ฎี. ๒/๒๒๙.)
แม้คัมภีร์ไวยากรณ์ทั้งหลาย
โดยเฉพาะคัมภีร์นิรุตติทีปนี ยกคำนี้เป็นอุทาหรณ์นี้แสดงไว้ในสูตรว่า ๓๑๗. ปุถุนานาหิ จ ลงปัญจมีวิภัตติท้ยปุถุและนานาศัพท์และอื่นๆ
ซึ่งนอกจากลงท้ายศัพท์เหล่านั้นแล้วยังลงในอรรถอื่นๆ เช่น ลงปัญจมีในอรรถกรณะ
ดังตัวอย่างว่า ‘สหตฺถา ทานํ เทติ ถวายทานด้วยมือของตน,
สหตฺถา ปฏิคฺคณฺหาติ ย่อมรับด้วยมือของตน
ส่วนในพระไตรปิฎกนิสสยะเล่ม ๑ อธิบายว่า สหตฺถา เป็นบทลงตติยาวิภัตตินั่นเอง โดยแปลง นา เป็น
อา แปลว่า ด้วยมือของตน หมายความว่า พราหมณ์จัดการอังคาสพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยตนเอง
ไม่ได้ใช้ให้บริวารทำ. ส่วนลูกศิษย์อังคาสภิกษุสงฆ์.
[๒๖]
เพิ่มปาฐเสสะเข้ามาตามนัยของสีลขันธวรรคฎีกาเพื่อสัมพันธ์กับบทว่า
ภควนฺตํ.
[๒๗] ภุตฺตาวี
ภุช + ตาวี ปัจจัย ในอดีตกาล จึงแปลว่า เสวยเสร็จแล้ว ความเท่ากับ กตภตฺตกิจฺโจ
ทำภัตตกิจเสร็จแล้ว.
[๒๘]
โอนีตปตฺตปาณิ
มีรูปวิเคราะห์เป็นติปทพหุพพีหิสมาสว่า โอนีตา ปตฺตโต ปาณิ เอตสฺสาติ
โอนีตปตฺตปาณิ พระหัตถ์ อันวางลง จากบาตร ของพระผู้มีพระภาค มีอยู่ เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาค ทรงพระนามว่า โอนีตปตฺตปาณิ. มีรูปที่่ง่ายต่อการจดจำคือ อปนีตหตฺถ
วางหัตถ์จากบาตร. คำนี้เป็นกิริยาที่บ่งถึงการเสร็จจากภัตตกิจ ดังนั้น
พราหมณ์จึงทราบได้ว่า ทรงเสวยภัตตาหารอิ่มแล้ว.
คำนี้ในคัมภีร์อรรถกถาอธิบายว่า
บางแห่งเป็นปาฐะว่า โอนิตฺตปตฺตปาณิ ซึ่งในกรณีเช่นนี้แปลความได้ ๒ นัยคือ
๑) มีความหมายว่า
แยก หมายถึง ทรงแยกบาตรออกจากพระหัตถ์แล้ว ดังพระอรรถกถาจารย์ไขความว่า โอนิตฺตํ
นานาภูตํ คำว่า โอนิตฺต แปลว่า แยก. วิเคราะห์ว่า (โอณิตฺตํ) วินาภูตํ ปตฺตํ
ปาณิโต อสฺสาติ โอณิตฺตปตฺตปาณิ
บาตรรอันแยกแล้วจากพระหัตถ์ของพระผู้มีพระภาคนี้มีอยู่ เหตุนั้น ทรงพระนามว่า
โอณิตฺตปตฺตปาณิ (สี.ฎี. ๒๒๗).
อนึ่ง คัมภีร์สีลขันธวรรคฎีกาให้ใช้รูปว่า
โอณิตฺตปตฺตปาณิ โดยระบุว่า โอณิตฺต ศัพท์ที่มีความหมายว่า
วินา แยกจากสิ่งหนึ่ง จะต้องเป็น ณ และ ตสังโยค.
๒) มีความหมายว่า
สุจิกรณ ทำความสะอาด (ล้าง) หมายถึง ทรงล้างพระหัตถ์และบาตรแล้ว
ดังคัมภีร์สารัตถทีปนีอธิบายว่า โอณิตฺตํ อามิสาปนยเนน สุจิกตํ ปตฺตํ ปาณิ จ
อสฺสาติ โอณิตฺตปตฺตปาณิ. บาตรและพระหัตถ์ อันกระทำให้สะอาดแล้ว
เพราะกำจัดอาหารออกแล้ว ของพระผู้มีพระภาค มีอยู่ เหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า
โอณิตฺตปตฺตปาณิ. ความหมายคือ ทรงล้างบาตรและพระหัตถ์แล้ว (สารตฺถ. ฏี. ๑.๒๓).
พระไตรปิฎกนิสสยะ
อธิบายความว่า คำนี้ในคัมภีร์อรรถกถาอธิบายว่า บางแห่งเป็นปาฐะว่า โอณิตฺตปตฺตปาณิ
ซึ่งในกรณีเช่นนี้ให้แปลว่า “ผู้ทรงแยกบาตรออกจากพระหัตถ์แล้ว” จะอย่างไรก็ตาม
ทั้ง ๒ นัย หมายความว่า พระพุทธองค์ทรงเสร็จภัตตกิจ
ทรงล้างพระหัตถ์และวางบาตรในที่อันหมาะสม. (นิส.ไทย ๑/๒๗๑)
[๒๙]
นัยนี้แปลเป็นบทกรรม อีกนัยหนึ่ง แปลเป็นลักขณวันตะว่า
สุนิธวสฺสกาเร เมื่อพราหมณ์.. มคธมหามตฺเต มหาอำมาตย์.. นิสินฺเน
โข เป็นผู้นั่ง เอกมนฺตํ ข้างหนึ่งแล้ว สนฺติ มีอยู่. นัยนี้
สุนิธวสฺสกาเร เป็นสมาหารทวัสทสมาส.
[๓๐]
ปณฺฑิตชาติโย
ที่แปลว่า ชาติบัณฑิต เป็นคำแปลโดยโวหารัตถะ เหมือนโวหารว่า ชาติชาย, ชาติเสือ
เป็นต้น. แปลโดยสัททัตถะความหมายตามศัพท์ว่า ผู้มีประการของบัณฑิต กล่าวคือ มีปัญญา
มาจาก ปณฺฑิต + ชาติย ปัจจัย ในอรรถมีประการนั้น (ด้วยสูตรโมคคัลลานไวยากรณ์๔/๑๑๓.
ณาทิกัณฑ์[ตัทธิต]และคัมภีร์นิรุตติทีปนี
๕๒๒.ว่า ตพฺพติ ชาติโยฯ ลงชาติยปัจจัย
ท้ายนามศัพท์ที่กล่าวธรรมดาของสิ่งนั้น ในอรรถว่ามีประการนั้น เช่น วิเสเสน
ปฏุรูโป ปณฺฑิโต ปฏุชาติโย. บัณฑิต ผู้ฉลาดโดยพิเศษ ชื่อว่า ปฏุชาติยะ. วิเสเสน
มุทุรูปํ วตฺถุ มุทุชาติยํ วัตถุ ที่อ่อน โดยพิเศษ ชื่อว่า มุทุชาติยะ. อีกนัยหนึ่ง
ปทานุกรมติปิฎกเมียนมาร์อภิธาน แยกเป็น ปณฺฑิต + ชาติ + ก (สกัตถตัทธิต)
และแปลง ก เป็น ย. ดังพระอรรถกถาจารย์ขยายความด้วยรูปทุติยาวิภัตติในบาทคาถาต่อไปว่า
“ตโต นนฺติ ตโต นํ ปณฺฑิตชาติกํ มนุสฺสํฯ โดยนัยนี้ ชาติศัพท์มีอรรถสภาวะ (สภาพอันเป็นของตน)
หมายความว่า ผู้มีสภาวะแห่งบัณฑิต หรือผู้มีปัญญา. ดังพระอังคุตรฎีกาจารย์ไขความบทนี้ว่า
“ปณฺฑิตชาติโกติ ปณฺฑิตสภาโว (อํ.ฎี.๒/๑๙๙). อย่างไรก็ตาม
ทั้งสองศัพท์หมายถึงมนุษย์ผู้มีปัญญาซึ่งเป็นสภาพโดยปกติของผู้ได้นามว่า บัณฑิต.
[๓๑]
พฺรหฺมจารโย (พฺรหฺมจาริ + โย ทุติยาวิภัตติ เพราะโย
แปลง อิ เป็น อ ด้วยสูตร
โยสฺวกตรสฺโส
โฌฯ
เพราะโย อิอี ชื่อ ฌ ที่ไม่ถูกลบจะถูกแปลงเป็น อ. - รูป.๑๔๘).
พฺรหฺมจาริ
มาจาก พฺรหฺม + จร + อิ มีวิเคราะห์เป็นกิตันตทุติยาตัปปุริสสมาส ว่า พฺรหฺมํ
จรตีติ พฺรหฺมจาริ ผู้ประพฤติอาจาระอันประเสริฐ ชื่อว่า พรหมจาริ เป็น อิ การันต์
แจกเหมือน มุนิ อคฺคิ. ส่วนฉบับสยามรัฐเป็น พฺรหฺมจาริโน (พฺรหฺมจารี + โย
ทุติยาวิภัตติ ด้วยสูตร โยนํ โนฯ ท้าย
อิอีชื่อฌ ที่รัสสะแล้ว แปลงโย เป็น โน – รูป. ๑๕๑.) กรณีนี้
พฺรหฺมจารี มาจาก พฺรหฺมจาร + อี มีวิเคราะห์เป็นอัสสัตถิตัทธิต พฺรหฺมํ เสฏฺฐํ
อาจารํ อสฺส อตฺถีติ พฺรหฺมจารี ผู้มีการประพฤติอาจาระอันประเสริฐ ชื่อว่า
พรหมจารี. หรือ พฺรหฺม + จร + ณี มีวิเคราะห์เป็นตัสสีลสมาสว่า พฺรหฺมํ เสฏฺฐํ
อาจารํ จรณสีโลติ พฺรหฺมจารี ผู้มีปกติประพฤติซึ่งอาจาระอันประเสริฐ ชื่อว่า
พรหมจารี. ดูรายละเอียดของการวินิจฉัยสองปาฐะนี้ คือ พฺรหฺมจารโยและพฺรหฺมจาริโน
ในคัมภีร์สัททนีติ ปทมาลา.
แต่คัมภีร์นิรุตติทีปนีกล่าวว่า
พฺรหฺมจารโย เป็นรูปที่มาจาก พฺรหฺมจารี แปลง อี เป็น อ เพราะโย โดยมีตัวอย่างจากพระบาฬีเป็นต้นว่า
สญฺญเต พฺรหฺมจารโย (สัปปุริสสูตร อัง.อัฏฐก.)
ซึ่งพระอรรถกถาจารย์ไขความว่า พฺรหฺมจาริโน. กรณีนี้มีไม่มากนักจึงสำเร็จรูปด้วยมหาสูตร
(นิรุตติทีปนี อีการันต์ปุงลิงค์).
สรุป ถ้าเอาปาฐะฉบับสยามรัฐว่า
พฺรหฺมจาริโน แปลว่า
ผู้มีการประพฤติอาจาระอันประเสริฐ (พฺรหฺมจารี + โย) ถ้าเอาปาฐะฉบับฉัฏฐสังคายนา
แปลว่า ผู้ประพฤติอาจาระอันประเสริฐ (พฺรหฺมจาริ + โย)
[๓๒]
อาทิเส
มาจาก อา + ทิส ให้ (ภูวาทิ. - ธาตวัตถ ๑๙๓) + เอยฺย สัตตมีวิภัตติ แปลง เอยฺย
เป็น เอ. ในที่นี้ได้แก่ การอุทิศบุญจากการถวายทาน
แก่เทวดาทั้งหลาย ดังพระอรรถกถาจารย์ไขความว่า ปตฺติํ ทเทยฺย พึงมอบส่วนบุญให้.
[๓๓] ทกฺขิณ
หมายถึง ทานพิเศษ วิเคราะห์ว่า กมฺมญฺจ ผลญฺจ สทฺทหิตฺวา ทินฺนทานํ ทกฺขิณํ.
ทักษิณา คือ ทานที่บุคคลให้โดยเชื่อกรรมและผลของกรรม. (ชา.อ.). อีกนัยหนึ่ง ทกฺขนฺติ วทฺธนฺติ สตฺตา เอตาย ยถาธิปฺเปตาหิ
สมฺปตฺตีหิ อิทฺธา วุทฺธา อุกฺกํสคตา โหนฺตีติ ทกฺขิณา, ทาตพฺพวตฺถุฯ (นีติ.ธาตุ) ทานที่เป็นเหตุให้บุคคลเจริญ คือ
ถึงความสูงส่งด้วยสมบัติตามที่ปรารถนา ชื่อว่า ทักษิณา ได้แก่ วัตถุที่จะพึงให้.
บางแห่งหมายถึง
จาคเจตนา ไม่ใช่วัตถุทาน ดังอรรถกถาปาฏิวรรคอธิบายว่า ทานสงฺขาตา ทกฺขิณา, น
เทยฺยธมฺมสงฺขาตา (ที.ปา.อ.๓๑๓). ทักษิณา ได้แก่ การให้ ไม่ใช่ไทยธรรม. วิเคราะห์ว่า
ทกฺขนฺติ วฑฺฒนฺติ เอตายาติ ทกฺขิณา, ปริจฺจาคมยํ
ปุญฺญํ. (ที.ฎี. ๑๖๓) ทักษิณา คือเจตนาเป็นเหตุให้บุคคลเจริญขึ้น ได้แก่
บุญที่เกิดจากการบริจาค.
แต่ในที่นี้หมายถึง
ปตฺติ คือ บุญที่จะพึงมอบให้ ดังพระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า สงฺฆสฺส ทินฺเน จตฺตาโร
ปจฺจเย ตาสํ ฆรเทวตานํ อาทิเสยฺย, ปตฺติํ ทเทยฺยฯ เมื่อถวายปัจจัยสี่แด่สงฆ์แล้ว
พึงอุทิศ คือ พึงให้บุญ แก่เทวดาในเรือนเหล่านั้น. และพระฎีกาจารย์ขยายความว่า อตฺตนา ปสุตํ
ปุญฺญํ ตาสํ เทวตานํ อนุปฺปทชฺเชยฺย กล่าวคือ
มอบบุญที่ตนขวนขวายทำอยู่นั้นให้แก่เทวดาเหล่านั้น. แม้คัมภีร์ชาตกัฏกถาอธิบายว่า ทกฺขิณนฺติ
อิมสฺมิํ ฐาเน ปตฺติทานํ ทกฺขิณา นาม. ทานคือบุญ ชื่อว่า ทักษิณา ในที่นี้.
อนึ่ง
ทกฺขิณา ที่มีความหมายเกี่ยวกับทาน ไม่ว่าจะเป็นวัตถุทาน จาคเจตนา หรือปัตติทาน จะเป็นอิตถีลิงค์
แต่ถ้าเป็นปุงลิงค์ ได้แก่ แขนข้างขวา ดังคัมภีร์อภิธานฯคาถา ๙๙๗ ระบุว่า ทกฺขิณา ทานเภทสฺมิํ วามโต’ญฺญมฺหิ
ทกฺขิโณ. ทกฺขิณา ศัพท์ อิตถีลิงค์ ย่อมเป็นไป ในทานพิเศษ (ทานที่บุคคลถวายโดยเชื่อกรรมและผลของกรรม)
ทกฺขิณ ศัพท์ ปุงลิงค์ (สิยา) ย่อมเป็นไป ในแขนข้างขวาซึ่งตรงข้ามกับแขนซ้าย
[๓๔]
บางฉบับมี นํ ท้ายบาทคาถานี้ว่า ปูชา ปูชยนฺติ นํ. ในที่นี้จึงเพิ่ม ปณฺฑิตชาติกํ เป็นบทที่ นํ
สื่อถืง. อย่างไรก็ตาม ถึงไม่มี นํ ก็ควรแปลเช่นนั้นเพราะมี นํ
วางไว้ท้ายบาทคาถาว่า มานิตา มานยนฺติ นํ.
วิธีการเช่นนี้จัดเป็น อันตทีปนัย
วิธีเหมือนกับการวางประทีปไว้ในมุมใดมุมหนึ่งของห้อง
ย่อมส่องสว่างได้ทั่วห้องฉะนั้น.
[๓๕]
การบูชา
คือ การให้บุญที่ตนกำลังขวนขวายทำนั้น. ส่วนการบูชาตอบ คือ
การจัดแจงปกป้องอุปัทวะในอนาคต. สัมพันธภาพระหว่างมนุษย์และเทวดาก็จะเกิดขึ้นโดยอาศัยการให้ส่วนบุญนั้น
กล่าวคือ เมื่อเทวดาได้รับการบูชาแล้วก็จะสร้างมิตรภาพแก่มนุษย์โดยคิดว่า โดยมากแล้วมนุษย์ที่เป็นญาติกัน
ก็ทำการบูชานับถือเฉพาะญาติที่ล่วงลับไป, แต่มนุษย์เหล่านี้
แม้จะมิได้เป็นญาติกับพวกเรา ก็ยังอุทิสส่วนบุญให้ ดังนั้นก็ควรที่จะจัดแจงอารักขาแก่เขา
ดังนี้แล้ว จึงเชื้อเชิญกันและกันแล้วให้ถึงความขวนขวายในอารักขาแก่มนุษย์เหล่านั้นเป็นอย่างดี.
[๓๖]
การทำพลีกรรม ฝ่ายมนุษย์ ชื่อว่า การนับถือ
ส่วนการกำจัดอันตรายที่เกิดขึ้นปัจจุบัน เป็นการนับถือตอบฝ่ายเทวดา. นอกจากการอุทิศบุญให้เทวดา
แม้การเคารพนับถือด้วยการทำพลิกรรม ก็ยังเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีด้วย กล่าวคือ
เมื่อเทวดาได้รับการนับถือด้วยพลิกรรมตามกาลอันสมควรแล้ว ก็จะนับถือมนุษย์ด้วยเห็นว่า
มนุษย์เหล่านี้ ถึงจะมิได้เป็นญาติของพวกเรา แต่ก็ทำพลิกรรมแก่พวกเราสี่เดือนหกเดือน
ดังนี้ ก็จะกำจัดอันตรายที่เกิดขึ้นแล้วให้มนุษย์ด้วย
นี้จัดเป็นการนับถือตอบฝ่ายเทวดา.
[๓๗]
คำว่า อนุโมทิตฺวา ทรงอนุโมทนาแล้ว ความว่า
พระผู้มีพระภาคตรัสธรรมกถาเกี่ยวกับอนุโมทนาบุญที่พราหมณ์สองท่านขวนขวายทำอยู่ในเวลานั้น.
ถึงพราหมณ์ได้ฟังพระคาถานี้แล้ว ก็ได้อุทิศบุญนั้นให้เทวดา.
[๓๘]
[กุลฺลํ ชโน จ พนฺธติ (สฺยา.), กุลฺลํ
หิ ชโน ปพนฺธติ (สี. ปี. ก.)] - ติณฺณา
[นิติณฺณา,
น ติณฺณา (ก.)]เมธาวิโน
ชนา
[๓๙]
การใช้คำซ้อนกันเพื่อแสดงการทำซ้ำๆ
อย่างต่อเนื่อง นี้เรียกว่า อภิกขัญญะ เช่น ภตฺตํ ปจติ ปจติ หุงข้าวเรื่อยๆ, ปฏํ
ปฏํ กโรติ ส่งเสียงปฏะติดต่อกัน(โมค. ๑/๕๔ สัญญาทิกัณฑ์. - นิรุตติ. ๕๕.
วิจฺฉาภิกฺขญฺเญสุ ทฺเว). ในที่นี้หมายความว่า
เดินตามหลังพระผู้มีพระภาคไปเรื่อยๆ อย่างไม่ให้พลาดสายตา.
[๔๐]
ประตูเมืองปาฏลีบุตรที่พระผู้มีพระภาคเสด็จออกได้ชื่อว่า
โคตมทวาร ประตูโคตมะ ส่วนท่าข้ามแม่น้ำคงคาที่พราหมณ์หมายจะตั้งชื่อว่า โคตมดิษฐ์
ท่าข้ามโคตมะ ตามนิมิตที่พระผู้มีพระภาคเสด็จข้ามนั้นไม่ปรากฏ
เหตุที่พระองค์มิได้เสด็จข้ามแม่น้ำคงคาเลย.
[๔๑]
โข ปน เป็นนิบาตสมุทายะ มีอรรถอวธารณะ ทำหน้าที่เน้นความหมายของคำที่ตนประกอบอยู่
(นิส.ไทย. ๑/๑๘) แปลว่า เท่านั้น,
นั่นเอง, นั่นแหละ. ในที่นี้หมายถึง ในขณะที่เสด็จมาถึงแม่น้ำคงคานั่นเอง ไม่ใช่ขณะอื่น.
[๔๒]
ทั้งสามบท
คือ ปูรา เต็มเปี่ยม สมติตฺติกา มีน้ำเสมอฝั่ง กากเปยฺยา กาดื่มกินได้ แสดงถึงความที่แม่น้ำคงคามีน้ำเต็มเปี่ยมเสมอฝั่งสองด้าน.
ในสามบทนั้น บทว่า ปูรา แม่น้ำที่เต็ม
(ปูร เต็ม+ ณ) เป็นกัตตุสาธนะ อดีตกาล ความเท่ากับ ปุณฺณา (ปูร + ต ลบที่สุดธาตุ
แปลง ต เป็น ณ ซ้อน ณฺ) เต็มเปี่ยม เพราะท่านอธิบายด้วยบทลง
ต ปัจจัยที่เป็นอดีตกาล แสดงว่าลง ณ ในอดีตกาลด้วยสูตร ณาทโย เตกาลิกา.
บทว่า สมติตฺติกา (สม + ติป เปี่ยม +
ต + ณิก สกัตถตัทธิต) วิเคราะห์ว่า ตีรสมํ
อุทกสฺส ติตฺตา ภริตา
แม่น้ำที่ เต็มด้วยน้ำ จนเสมอกับฝั่ง ชื่อว่า สมติตฺติกา.
บทว่า กากเปยฺย มีวิเคราะห์เป็นตติยาตัปปุริสสมาสว่า
กาเกหิ เปยฺยา แม่น้ำอันกาท.พึงดื่มกิน ชื่อ กากเปยฺยา.
คัมภีร์อรรถกถาทั้งหลายอธิบายว่า กากเปยฺยาติ สกฺกา โหติ ตีเร ฐิเตน กาเกน
ปกติยาปิ มุขตุณฺฑิกํ โอตาเรตฺวา ปาตุํฯ (สํ.นิ.อ.โปกฺขรณีสูตร) บทว่า กากเปยฺย คือ
แม่น้ำที่กาซึ่งจับอยู่ที่ฝั่งสามารถหย่อนจงอยปากลงไปดื่มได้ตามปกติ.
[๔๓]
ทั้งสามบทนี้เป็นพาหนะข้ามแม่น้ำ
คือ นาวา ได้แก่ เรือทั่วไป ส่วน อุฬุมฺป และ กุลฺล ได้แก่ แพเหมือนกัน
ดังคัมภีร์อภิธาน.คาถา ๖๖๕. จัดอยู่ในกลุ่มคำศํพท์ที่แสดงความหมายว่าแพ ๕ ศัพท์
คือ อุฬุมฺป, ปฺลว, กุลฺล, ตร, ปจฺจรี. แต่อุฬุมฺป
ได้แก่ แพที่มีลักษณะเหมือนเรือ. กุลฺล ได้แก่ แพที่มีลักษณะท้องแบนโดยทั่้วไป. พระอรรถกถาจารย์และพระฎีกาจารย์แยกรูปทรงและวัสดุประกอบของแพสองชนิดนี้ไว้ความว่า
อุฬุมฺป คือ พ่วงที่เขาเอาเครื่องไม้เบาๆ มาตอกลิ่มเข้าพื่อทำให้ติดกัน เหมือนกระดานที่ทำประตูแล้วทำเป็นแบบเรือเพื่อไว้ข้ามฝั่ง. กุลฺลํ ได้แก่
แพที่เขาลาดไม้ไผ่และไม้อ้อเป็นต้น แล้วใช้เถาวัลย์เป็นต้นผูกเป็นกำ (สารัตถทีปนีแปล
๔/๑๗๔/๒๕๓ โดย อ.สิริ เพชรไชย).
[๔๔]
ทรงทราบความที่มหาชนไม่สามารถแม้เพียงจะข้ามแม่น้ำคงคา
และความที่พระองค์พร้อมทั้งภิกษุสงฆ์ข้ามมหรรณพคือสังสารวัฏฏ์ที่กว้างและลึกยิ่งแล้วยั้งอยู่ได้
โดยประการทั้งปวง ดังนี้แล้ว จึงทรงเปล่งพระอุทานเพื่อแสดงความข้อนั้น.
[๔๕]
สร โดยทั่วไปหมายถึง สระน้ำ แต่ในที่นี้ ได้แก่ แม่น้ำ โดยความหมายว่า สรติ สนฺทติ ย่อมไหลไป. ส่วน อณฺณว ได้แก่ ห้วงน้ำที่มีพื้นที่ทั้งสิ้นเท่ากับหนึ่งโยชน์
โดยคำนี้ใช้เป็นชื่อของสถานที่มีน้ำขนาดใหญ่ซึ่งทั้งลึกและกว้าง เช่น มหาสมุทร.
แต่ในที่นี้่ คือ สถานที่มีน้ำตามบริบทที่กล่าวถึง ไม่ใช่มหาสมุทร ดังนั้น จึงแปล
อณฺณวํ เป็นวิเสสนะของ สรํ.
[๔๖]
ปลฺลล หมายถึง บ่อน้ำขนาดเล็ก พระอรรถกถาจารย์กล่าวถึงศัพท์นี้ว่า
อุทกภริตานิ นินฺนฏฺฐานานิ สถานที่ต่ำ คือ เป็นที่ลุ่ม มีน้ำขังอยู่เต็มเปี่ยม.
แม้อภิธาน.คาถา ๖๗๘ นิยามไว้ว่า ปลฺลลํ ขุทฺทโก สโร สระเล็กๆ ชื่อ ปลฺลล.
[๔๗]
คาถานี้แปลโดยเป็นอุปมาอุปไมย กล่าวคือ คาถาแรกกล่าวถึงสภาพแม่น้ำจริงๆ
ที่ชนผู้จะข้ามต้องใช้พาหนะข้ามไปได้โดยไม่ตกน้ำ
ส่วนคาถาหลังเป็นอุปไมยเปรียบเทียบว่า อันที่จริง แม่น้ำคือตัณหาที่กว้างเพราะแผ่ขยายไปตลอดโลกทั้งสามและลึกเพราะหยั่งถึงไม่ได้
สะพานหรือพาหนะเหล่านั้นคืออริยมรรค มนุษย์เหล่านั้นได้แก่ปุถุชนที่ต้องการข้ามแม่น้ำ
ส่วนผู้มีปัญญาได้แก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวกของพระพุทธองค์.
อีกนัยหนึ่ง
คาถานี้เป็นการแสดงธรรมโดยปุคคลาธิษฐาน ประกอบความพระบาฬีและเรียบเรียงคำแปลตามนัยที่พระอรรถกถาจารย์และพระฎีกาจารย์แนะนำว่า
เย
ชนา ชนเหล่าใด ตรนฺติ จะข้าม ตณฺหาสรํ
ซึ่งแม่น้ำคือตัณหา อณฺณวํ อันเป็นห้วงน้ำใหญ่ คมฺภีรวิตฺถตํ
ทั้งลึกและกว้าง, เต ชนา
ชนเหล่านั้น กตฺวาน เสตุํ ซึ่งสะพาน อริยมคฺคสงฺขาตํ คืออริยมรรค วิสชฺช
= อนาสชฺช
ไม่ติดแล้ว =
อนามสิตฺวา ไม่สัมผัสถูกแล้ว ปลฺลลานิ ซึ่งแม่น้ำ,หิ =
สจฺจํ
จริงอย่างนั้น ชโน ชน ตริตุกาโม ผู้หวังเพื่อข้าม อุทกํ น้ำ อปฺปมตฺตกํปิ
แม้มีเล็กน้อย อิทํ นี้ ปพนฺธติ ย่อมผูก กุลฺลํ ซึ่งแพ, ปน
แต่ ชนา ชน เมธาวิโน ผู้มีปัญญาคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์สาวกของพระองค์
วินาปิ แม้เว้น กุลฺเลน จากแพ อิทีเสน เช่นนี้ ติณฺณา
ข้ามแล้ว สรํ แม่น้ำ อีทิสํ เช่นนี้ได้.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น